ควันหลงจาก competency


     กลับมาแล้วค่ะหลังจากหายหน้าไปหลายวัน ( ไม่ได้ไปสนามหลวงนะคะ )บังเอิญเมื่อวันที่2-3มีนาคมได้เข้าไปร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องการนำ competency ไปสู่ภาคปฎิบัติซึ่งจัดโดยกลุ่มเลขานุการภาควิชา ฝ่ายบริการพยาบาลและเภสัชกรรม มีผู้ร่วมอบรมประมาณ 200 คนมาจากสถานที่ต่างๆไกลที่สุดเห็นจะเป็นพี่กาญจนาจาก รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ ซึ่งมูลเหตุที่ขอสมัครเข้าไปอบรมเนื่องจากก่อนที่ทุกคนจะต้องสอบ general competency มักจะถูกถามว่าทำไมต้องสอบcompetency และถ้าไม่สอบได้ไหม? และสอบเพื่อขอ ISO หรือ? คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นแรงบันดาลใจให้สมัครไปหาคำตอบพร้อมๆกับชาวพยาธิอีก4ท่าน ( พี่สมแข, พี่ประภาณี, สันติ และน้องเสาวณีย์ )  จึงขอนำมาเล่าย่อๆดังนี่ competency คือ " บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคลซึ่งสามารถผลักดันให้บุคคลนั้นสร้างผลการปฎิบัตงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ "   เและวัตถุประสงค์ของการประเมินcompetency 1 .เพื่อพัฒนาบุคลากร    2. เพื่อวางแผนทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 3.เพื่อทราบแนวทางในการวางแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล  สุดท้ายถามว่าเราได้อะไรจากcompetency? ก็ได้คำตอบว่า competency เป็นเครื่องมือช่วยแปรกลยุทธขององค์กรไปสู่กระบวนการบริหารคน และ competency  ก็เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของคนในองค์กรอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง และเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการบริหารงานบุคคลภายในองค์กร       ทุกคนเห็นประโยชน์ของcompetencyแล้วก็คงจะปฏิเสธการสอบcompetency ไม่ได้ใช่ไหมคะ อาจจะหนักหัวไปหน่อยนะคะ แล้วจะค่อยๆทยอยเล่าตอนต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17595เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอปรบมือให้ดัง ๆ ค่ะ สรุปความสำคัญได้ตรงประเด็นมาก  จากการที่ได้เข้าร่วมฟังทำให้เห็นว่า บุคลากรในหน่วยงานคณะแพทย์นั้นมีศักยภาพสูงกันทั้งนั้นไม่ว่าจะอยู่ในระดับปฏิบัติการไหน เพียงแต่รอโอกาสเปล่งประกายท่านั้น

   ในหน่วยงานของผู้เฒ่าก็มีการจัดทำ competency ตามอายุการทำงานเหมือนกัน เช่น ถ้าเข้ามาทำงาน 0-1 ปี ควรจะเพาะเลี้ยง,เก็บเกี่ยวเซลล์ (harvesting),เตรียมสไลด์จากเซลล์เม็ดเลือดได้  ควรจะวิเคราะห์โครโมโซมระดับพื้นฐาน คือแบ่งเป็น 7 กลุ่มได้อย่างถูกต้อง ถ้ามีโครโมโซมเกินหรือขาดในแต่ละกลุ่ม(เป็นความผิดปกติระดับ จำนวน)ต้องบอกได้

    ถ้าทำงาน 1-2 ปี ควรจะเพาะเลี้ยงและเตรียมสไลด์จากน้ำคร่ำได้, ควรบอกความผิดปกติของโครโมโซมในระดับ "โครงสร้าง" ได้อย่างคร่าว ๆ โดยยังต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ super เป็นต้น

    จากการเข้าร่วม workshop ทำให้ทราบว่ายังขาด dictionary ที่ชัดเจน แต่มี mapping แล้ว คิดว่าน่าจะได้เอามาประยุกต์ใช้ต่อไปค่ะ

 

ขอชื่นชมทั้งเจ้าของ blog และคนต่อยอด "ผู้เฒ่า genetics" เป็นการกำหนด specific job competency ที่น่าจะเป็นแบบอย่างให้หน่วยงานอื่น 

มีบันทึกของอ.ปารมีที่เขียนเอาไว้ เมื่อปลายสิงหา ปีที่แล้ว ถึง 2 บันทึกซึ่งตัวเองคิดว่าตอบคำถามเกี่ยวกับการสอบ competency ได้หมดและยังให้ความคิดอะไรดีๆด้วย ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ อ่านแล้วอยากให้รางวัลอาจารย์ (ไม่ทราบเหมือนกันค่ะว่าเป็นรางวัลอะไรดี มีอะไรก็ให้ได้หมดเลย...)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท