หากคิดให้รอบ ทุกอย่างมีทางเลือกเสมอ


มีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาถึง 4 ทางเลือก และอาจเลือกใช้ทางเลือกร่วมกันมากกว่าหนึ่งวิธี

   ขวากหนามอันหนึ่งที่กล่าวไว้ในบันทึกก่อน ก็คือเรื่อง “เวลา”  จริงๆ แล้ว โครงการนี้ กลุ่มลูกหินเสนอตั้งแต่ใน Otop 1 แต่ไม่สำเร็จ ทางกลุ่มบอกว่าเพราะงานที่เข้ามาแต่ละวันมีเพิ่มขึ้นตลอดทำให้ไม่มีเวลา และหลังจากได้ระดมสมองก็พบว่า เวลาส่วนหนึ่งหมดไปกับการที่ต้องเดินมาเอาสิ่งส่งตรวจที่ลิฟท์ (ส่งจากชั้น 1 มาชั้น 3) วันละหลายรอบ นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังต้องผละจากงานทดสอบที่กำลังทำอยู่ หรือหากติดพันทิ้งมาไม่ได้ ก็จะทำให้สิ่งส่งตรวจค้างอยู่ในลิฟท์ ส่งผลต่อคุณภาพของตัวอย่างตรวจอีกด้วย  จึงเสนอให้คนชั้น 1 (จุดรับสิ่งส่งตรวจ) เดินส่งให้ถึงห้องแล็บแทนการใช้ลิฟท์

   หลังจากเจรจาข้อร้องขอดังกล่าวกับผู้เกี่ยวข้องก็ได้ความว่า คงไม่ได้ เพราะการเดินขึ้นบันไดชั่งโมงละประมาณ 3-4 รอบ ทั้งวัน คงไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นแน่ โดยเฉพาะอายุอานามของคนเดินก็เลข 3 แก่ๆ หรือเลยเลข 4 กันแล้ว เดินวันสองวันคงไม่เป็นไร แต่เป็นเดือนเป็นปีก็คงไม่ไหว

   การหารือมีผลออกมาแบบนี้ ทำเอากลุ่มลูกหินทำท่าจะถอดใจเลยทีเดียว

   แต่กลุ่มลูกหิน ก็พยามหาทางออกต่อเพื่อให้โครงการ Otop 2 เดินหน้าให้ได้ จึงได้มาขอปรึกษาหารือกับตนเอง แล้วก็ได้พบทางเลือกอื่นๆ อีกถึง 4 ทางเลือก

  1. การนัดแนะเวลา ส่ง-รับ ให้ตรงกัน จะทำให้ไม่ต้องเดินมาที่ลิฟท์แล้วไม่เจอของที่ต้องการ
  2. แต่ละให้ดียิ่งขึ้นกว่าวิธีที่ 1 คือ มีสัญญานบอกห้องแล็บว่า มีสิ่งส่งตรวจของห้องแล็บ มาแล้วจ้า ตรงนี้ เป็นข้อเสนอของอ.ประสิทธิ์ รองหัวหน้าภาคฝ่ายบริการ อาจารย์บอกว่า ทำได้ไม่ยาก ผู้ส่งก็กดปุ่มหน้าลิฟท์ ระบุห้องแล็บ แล้วให้มีสัญญาณ อาจเป็นดวงไฟสีแดง หรือ เสียงด้วยก็ได้
  3. ที่ชั้น 3 นอกจากมีแล็บจุลฯ แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของอีก 2 แล็บคือแล็บ sero และพันธุศาสตร์ ทุกแล็บก็ต้องเดินมาที่ลิฟท์ตัวเดียวกัน ทำไมไม่ share กันเดิน จะลดความซ้ำซ้อนลงไปได้แน่ๆ (หมายเหตุกันตรงนี้ การจัดก็คงต้องสอดคล้องกับปริมาณงานของใครมากกว่ากัน)
  4. ในช่วงวัน มีช่วงใดบ้าง ที่กลุ่มลูกหินง่วนอยู่กับการทำการทดสอบมากๆ (prime time) สัก 2 ชม อาจจะเจรจากับคนชั้น 1 ให้เดินส่งถึงห้องจุลฯ

    เห็นไม่คะ มีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาถึง 4 ทางเลือก และอาจเลือกใช้ทางเลือกร่วมกันมากกว่าหนึ่งวิธี ซึ่งจะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการส่วนนี้เป็นทวีคูณ และเป็นทางเลือกที่ทุกคนน่าจะ happy ทางภาษาบริหารเขาเรียกว่าเป็นทางเลือกที่ win-win กันทั้ง 2 ฝ่าย (ในที่นี้ 3 หรือ 4 ฝ่ายเลยทีเดียว)

หมายเลขบันทึก: 17554เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท