รวมบทคัดย่อ 5 เรื่อง


ค้นหาได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ กับบทคัดย่อจากหลายสถาบันการศึกษา
1.  ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. รัฐศาสตร์ (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
ปีที่จบการศึกษา
2538
ชื่อนิสิต
ปรียทิพย์ เทวกุล
ชื่อวิทยานิพนธ์
แบบแผนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมขบวนการทางสังคมของนักธุรกิจ ในกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะกรณีเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ สุริชัย หวันแก้ว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแบบแผนและปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการเข้าร่วมขบวนการทางสังคมของนักธุรกิจในกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะกรณีเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ปัจจัยต่าง ๆ อันได้แก่ ทัศนคติ ที่มีต่อรัฐบาลในขณะนั้น,ทัศนคติที่มีต่อกลุ่ม องค์กรที่นำการคัดค้านรัฐบาล,ความคาดหวังที่มี ต่อความสำเร็จในการคัดค้านรัฐบาล,ความคาดหวังต่อปฏิกิริยาของคนใน ครอบครัวเพื่อนร่วมงาน ที่มีต่อการคัดค้านรัฐบาล,ความคาดหวังเกี่ยวกับ การได้รับผลประโยชน์หรือการสูญเสียผลประโยชน์ จากการเข้าร่วมการคัดค้าน รัฐบาล ตลอดจนอิทธิพลการชักจูงจากสื่อมวลชน ล้วนมีความสัมพันธ์กับระดับ การเข้าร่วมขบวนการทางสังคมของนักธุรกิจในกรุงเทพมหานคร ในเหตุการณ์ เดือนพฤษภาคม 2535 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการวิเคราะห์ค่าความ แตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้เข้าร่วม กับกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วม ขบวนการทางสังคม พบว่า มีความแตกต่างกันในปัจจัยด้านต่าง ๆ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ประการที่สอง การเข้าร่วมขบวนการดังกล่าว ยังมีความเกี่ยวข้อง กับความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อรัฐบาล,โครงสร้างทางสังคมที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน,โครงสร้างโอกาสทางการเมือง,อุดมการณ์และการตระหนัก ในผลประโยชน์ของกลุ่ม และการระดมทรัพยากร ประการสุดท้าย แบบแผนการเข้าร่วมขบวนการทางสังคมของนักธุรกิจนั้น มีทั้งในระดับปัจเจกบุคคล,ระดับกลุ่ม และระดับองค์กรหลักของภาคธุรกิจเอกชน อันได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เป้าหมายของขบวนการทางสังคมในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ได้ประสบผลสำเร็จในการทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนและจัดระเบียบแบบ แผนทางการเมืองใหม่ และผลสืบเนื่องมาอีกประการหนึ่งก็คือ การรวมตัวของ นักธุรกิจจัดตั้งกลุ่มเพื่อแสวงหากลไกใหม่ ๆ ในการทำให้เกิดระบบการเมือง ที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนของสังคมไทยที่นักธุรกิจเริ่มเข้ามา มีบทบาททางด้านการเมืองอย่างเปิดเผยตามวิถีทางประชาธิปไตยและเป็นอิสระ มากขึ้น
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์
185 P.
ISBN
974-633-934-6
1. Institute

Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School

Major
Master. Arts (Sociology and Anthropology)
Year
1995
Authour
Preeyatip Devakula
Title
Patterns And Factors Influencing The Bangkok Businessmens Participation In Social Movement : A Case Study Of The May Event Of 1992
Advisor
Asso.Prof. Surichai Wungaeo
Abstract
The aims of the research was to study the patterns and factors influencing the businessmen of Thailand in participating the social movement in May 1992. 4 The findings indicated that,firstly,there were the correlations between the participation in social movement of May 1992 and a) attitude towards the government of that period b) attitude towards the leading group that opposed the government c) expectations to the success of the opposition to the government d) expectations to the reactions of family and colleagues of the businessmen e) expectations of gaining or loosing the social interests regarding the participation in social movement f) the influences of press and media. There were differences among the factors cited above between the group of businessmen who had joined the social movement and the group who had not. Secondly,other factors leading to social movement participation were also the feelings of unsatisfaction to the government,structural blockage of freedom,political opportunity structure,ideology and realization of group interests,resource mobilization. Lastly,patterns of the businessmens participation in social movement varied from individuals,groups and private organizations such as the Chamber of Commerce of Thailand,the Industrial council of Thailand,and the bankers Association of Thailand. The social movement of May 1992 had been successful in trickling changes in politics and           re-organizing the thai political pattern. The other result was formation of the businessmens association in order to search for the new mechanisms for the improvement of the political system. From the result of this research,we can be assured that Thai society has come a turning point which the businessmen have come to play key roles in politics more openly and more freely and,in more democratically.
Descriptor
SOCIAL MOVEMENT / BUSINESSMEN / THE MAY EVENT OF 1992
Page
185 P.
ISBN
974-633-934-6
2.  ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. รัฐศาสตร์ (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
ปีที่จบการศึกษา
2538
ชื่อนิสิต
นวรัตน์ นพคุณ
ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองของ เกษตรกร ศึกษากรณีเกษตรกรในท้องที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ ดร นิเทศ ตินณะกุล
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพการดำรงอยู่ของ อาชีพเกษตรกรในเขตพื้นที่ศึกษาและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการ ประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาเป็นเกษตรกรในพื้นที่หมู่ 3,4,5 และ 6 ของตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จำนวน 402 คน ผู้ศึกษาใช้แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ตนเอง และนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการทางสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ และค่าไคสแควร์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของสมมติฐาน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การวิจัยมีสมมติฐาน ดังนี้ 1) เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาสูง น่าจะมีความต้องการ ในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกรที่มีระดับ การศึกษาต่ำ 2) เกษตรกรที่มีครัวเรือนขนาดเล็ก น่าจะมีความต้องการใน การประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกรที่มีครัวเรือน ขนาดใหญ่     3) เกษตรกรที่มีความรู้จักประมาณในการกิจการใช้สูง น่าจะมี ความต้องการในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกร ที่มีความรู้จักประมาณในการกินการใช้สูง 4) เกษตรกรที่มีขนาดของพื้นที่ที่ถือครองมาก น่าจะมีความต้องการ ในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่ ถือครองน้อย 5) เกษตรกรที่มีรายได้จากการขายผลผลิตสูง น่าจะมีความต้องการ ในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกรที่มีการขาย ผลผลิตต่ำ        6) เกษตรกรที่มีความผูกพันกับสังคมท้องถิ่นเดิมสูง น่าจะมีความ ต้องการในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกร ที่มีความผูกพันกับสังคมท้องถิ่นเดิมต่ำ 7) เกษตรกรที่มีการได้รับข่าวสารมาก น่าจะมีความต้องการใน การประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของชนบทมากกว่าเกษตรกรที่ได้รับข่าวสารน้อย           8) เกษตรกรที่มีความสัมพันธ์กับราชการสูง น่าจะมีความต้องการ ในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกรที่มีความ สัมพันธ์กับราชการต่ำ        9) เกษตรกรที่มีการเข้ารวมกลุ่มเกษตรกรสูง น่าจะมีความต้องการ ในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่นของตนเองมากกว่าเกษตรกรที่มีการเข้า รวมกลุ่มเกษตรกรต่ำ จากผลการวิจัยพบว่า เป็นไปตามสมมติฐาน 4 ข้อ คือ ข้อ 1,3,4 และข้อ 6 ส่วนข้อ 2,5,7,8 และข้อ 9 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
คำสำคัญ
 
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์
 
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์
133 P.
ISBN
974-632-793-3
สถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์
 
2. Institute
Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School
Major
Master. Arts (Sociology and Anthropology)
Year
1995
Authour
Navarat Noppakun
Title
Factors Influencing Occupational Needs For Agriculturalists In Their Local Areas : A Case Study Of Agriculturalists In Chaiyo District,Ang Thong Province
Advisor
Asst.Prof.Dr. Nithet Tinnakul
Abstract
Objective of this research is to study occupational conditions for agriculturalists in their local areas and to find out what are the factors that influencing occupational needs for agriculturalists in their local areas. Sample being used in this research are 402 agriculturalists in Moo 3,4,5 and 6 Chaiyo Sub-District,Chaiyo District,And Thong Province. Researcher was using questionnaires as a mean of gathering information and analyzed the information obtained by using percentage and Chi-square in determining the hypotheses statistically significant relation at the level 0.05. Hypotheses of this research are as follows: 1) Agriculturalists who have higher education have higher occupational need in their local areas than agriculturalists who have lower education. 2) Agriculturalists who have smaller family size have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who have bigger family size. 3) Agriculturalists who have higher consciousness on consumption have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who have lower consciousness on consumption. 4) Agriculturalists who have bigger size of land in possession have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who have smaller size of land in their possesion. 5) Agriculturalists with higher income from selling their own agricultural products have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists with lower income from selling their own agricultural product. 6) Agriculturalists who have more concern on their local affairs have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who have less concern on their local affair. 7) Agriculturalists who obtained more agricultural informations have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who obtained less agricultural informations. 8) Agriculturalists who have higher relationship with governmental sectors have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who have lower relationship with governmental sectors. 9) Agriculturalists who have more agricultural social interaction have higher occupational needs in their local areas than agriculturalists who have less agricultural social interaction. In conclusion,according to the finding of this research numbers 1,3,4,and 6 agree with the hypotheses where as numbers 2,5,7,8 and 9 do not agree with the hypotheses.
Descriptor
OCCUPATIONAL NEED IN LOCAL AREAS / AGRICULTURALISTS
Language
 
Page
133 P.
ISBN
974-632-793-3
Location
 
ส่วนบนของฟอร์ม
3.ชื่อสถาบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. รัฐศาสตร์ (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)
ปีที่จบการศึกษา
2538
ชื่อนิสิต
พิสมัย พึ่งวิกรัย
ชื่อวิทยานิพนธ์
การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชนบทในภาคกลางอันเนื่องมา จากการพัฒนาอุตสาหกรรม
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ ดร ปรีชา คุวินทร์พันธุ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงชุมชนชนบท หมู่ที่ 5 ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเนื่องมา จากการที่มีส่วนอุตสาหกรรมโรจนะเข้ามาตั้งในพื้นที่ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลง ในด้านลักษณะอาชีพ การศึกษา ครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ทัศนคติ และพฤติกรรมทางสังคมผู้ศึกษาได้ใช้แนวความคิดของ Herbert Blumer เกี่ยวกับช่องทางของอุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การที่มีสวนอุตสาหกรรมโรจนะเข้ามาตั้งในพื้นที่ ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก มีผลทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็วชาวนาบางส่วนจึงพากันขายที่ของตนให้กับทางสวนอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดความหลากหลายในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้เป็นผล ทางตรงและผลทางอ้อมผลทางตรงได้แก่ การเป็นลูกจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรมส่วนผลทางอ้อมได้แก่อาชีพบริการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา อาชีพ ดังกล่าวนี้สามารถให้รายได้และความแน่นอนของรายได้ดีกว่าอาชีพเดิม คือ การทำนา เมื่อประกอบกับการขายที่ของชาวนาด้วยแล้วฉะนั้น อาชีพทำนา จึงลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะหมาดไปในอนาคต ลักษณะอาชีพ และเศรษบกิจที่ดีขึ้นโดยภาพรวมของชุมชนมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางด้านการศึกษา ครอบครัวความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านทัศนคติและพฤติกรรม ทางสังคมของชุมชนตามมา
คำสำคัญ
 
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์
 
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์
93 P.
ISBN
974-632-848-4
สถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์
 
Institute
Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School
3. Major
Master. Arts (Sociology and Anthropology)
Year
1995
Authour
Pissamai Phungwigrai
Title
Social And Economic Changes In A Central Thai Community : A Study Of The Impact Of Industrial Development
Advisor
Asso.Prof.Dr. Precha Kuwinpant
Abstract
This research has the objective to study the changes in a rural community at Mou 5,Tumbon Kan-ham,Amphur Utai,Phra Nakhon Si Ayutthaya on account of the establishment of Rojana Industrial Park. considerations are given on the changes in occupational,educational,family,relations with the neighbours,attitude and social behaviour. In this research,the researcher used the concept of Herbert Blumer in relation to the industrial process as it makes contact with and enters into group life that lead to the social changes. The fidings are that the establishment of the industrial park in an area where people used to utilize as a paddy field pay an important roles on the social and economic changes of the people in the community. Firstly,the establishment of the industrial park rising the land price sharply,this induces the need of the farmers to sell their land to the industries without hesitate,Furthermore,the establishment also effect on the various changes in occupational of the people both in the direct and indirect bring off The direct transform is to be employed as a worker in the industrial park,whereas the indirect transforms are the immersing of other business result from the immigration of the labour in to the area. These indirect transform business are including,room rent services,dealings,and etc. These transforms business earn more and certain income than the yield from farming. These transforms business together with the high potential on land selling result in the reduction and limitation of the farming occupational rapidly. It may conclude that farming occupation would be no longer valid in the study area in future. Consequently,the better earning of livelihood and economy as a common appearance of the community result in the changes in educational,family,relations with neighbours,attitude and social behaviour of the community.
Descriptor
IMPACT / INDUSTRIAL DEVELOPMENT / CHANGES / COMMUNITY
Page
93 P.
ISBN
974-632-848-4
4.  The purpose of this thesis is to study the factors influence labour mobility. It
is assumed that the movement has closely effected to social and economic 
structure of Ban Maekee, Tambol Pa Sang Amphoe Maechan, Chiang Rai 
Province.
The Qualitative Method was used as a guideline in this research. All data 
was collected from participated observation and written documents.
The result of this study indicated that the labour movement was supported 
by social, economic and cultural factors of the village. The social and economic 
structure of the village has remarkable change in the form of the social relationship 
among villages the traditional ceremonies. Occupational change such as from 
farmer to service works or merchants.
 
5.เลขหมู่
HQ1240.5.ท9จ63 2546
ชื่อผู้แต่ง
จิราพร แซ่เตียว
ชื่อวิทยานิพนธ์
บทบาทของผู้หญิงในชุมชนเมือง : ผลกระทบจากการไล่รื้อที่อยู่อาศัย และการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนตลาดบางเขน หลักสี่ กรุงเทพมหานคร (Role of women in urban community : the consequences of housing eviction and the women's socio-economic adjustment in Talad Bang Khen community, Bangkok)
สาขาวิชา
สาขาวิชามานุษยวิทยา
สาระสังเขป
 
 
 
                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของผู้หญิงในชุมชนเมือง พิจารณาบทบาทของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะ ในพื้นที่ส่วนตัว การได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมจากกระบวนการพัฒนา การกลายเป็นเมือง และการถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการปรับตัวการจัดการต่อผลกระทบดังกล่าว วิธีการศึกษาดำเนินการด้วยระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาโดยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลประวัติชีวิต กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือชาวบ้านในชุมชนตลาดบางเขน    โดยให้ความ สำคัญกับกลุ่มผู้หญิงในชุมชนซึ่งจะคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิหลังทางวัฒนธรรม วัย ระดับการศึกษา เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และสังคมของผู้ให้ข้อมูล    ผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงในตลาดบางเขนมีบทบาททุกด้าน ซึ่งบทบาทในการทำงานบ้าน    การดูแลความเป็นอยู่ของ
สมาชิกในครอบครัวเป็นบทบาทซึ่งผู้หญิงรับผิดชอบเป็นหลัก       ขณะที่บทบาทการหารายได้นอก
บ้าน บทบาทในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านประเพณี พิธีกรรม      รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
สาธารณะของชุมชนเป็นบทบาทที่ผู้หญิงมีเคียงคู่ไปกับผู้ชาย แต่มักเป็นบทบาทในฐานะผู้สนับสนุน 
เห็นได้ชัดเจนจากเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่อการไล่รื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งบทบาทเช่นนี้เป็นผลมาจาก
ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม กล่าวคือทั้งกลุ่มผู้หญิงที่เกิดเติบโตที่ตลาดบางเขน กลุ่มที่ย้ายเข้ามาอยู่
กับครอบครัวสามีและกลุ่มที่เข้ามาเพื่อหาแหล่งที่อยู่อาศัยในเมืองที่ตลาดบางเขนได้เข้ามาอยู่ท่าม
กลางสังคม วัฒนธรรมของตลาดบางเขนซึ่งให้ความสำคัญกับบทบาทผู้ชายในฐานะผู้นำมากกว่า
ผู้หญิง  อย่างไรก็ตามบทบาทเหล่านี้ไม่แบ่งขั้วตายตัวแต่เป็นบทบาทที่หญิง ชายสามารถเกื้อกูลและ
ปรับเปลี่ยนได้ตามแต่สถานการณ์
                    นอกจากนี้ยังพบว่าการถูกนิยามให้เป็นชุมชนแออัดโดยรัฐ ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินทำให้ชุมชนดั้งเดิมที่อยู่อาศัยโดยการเช่าที่เช่นตลาดบางเขนต้องถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัย และแหล่งทำมาหากิน
อย่างกระทันหัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตทุกด้านของผู้คนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผลกระทบต่ออาชีพแม่ค้า ซึ่งเป็นอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้หญิง 
5. The purposes of this research were to study ways of living of women in urban 
community; to consider roles of women both in public and private spheres; and
 to study their economic and social impacts resulted from social development process, 
urbanization and eviction as well as the women’s socio-economic adjustment.
The study employed anthropological methods via observation, interview, and collection 
of life histories of the women in Talad Bang Khen Community.  Considerations were 
given to the differences in their age, educational, economic and social background of 
the respondents.
The research found that the women of Talad Bang Khen Community played important 
roles in all aspects of family lives.  Their major responsibilities were for the well-being of 
family members, and the housework.  They also assumed the roles of breadwinners and 
participated in social and community activities, generally taking a supporting role to the men.  
Such roles for women; as dictated by social and traditional factors, were clearly reflected in 
their reaction toward housing eviction.  All groups of women, whether those born and 
grown up in the community, the outsiders who followed one’s husband into the community 
or the new comers who settled down in Talad Bang Khen Community, had all played 
significant roles at the center of the social and traditional environments of this community.  
Although, the men’s roles in this community were considered superior to womens, the actual 
roles of men and women could be supportive and interchangeable, depending on the situation.
In addition, the study also pointed out that “slum” was merely an official status designated 
by the government and may not reflect the real situation in the community.  It also found 
that a sudden eviction had negative impact on all aspects of lives in the community, particularly 
on women’s jobs as petty vendors which were considered on appropriate career for the women 
in this community.
ส่วนล่างของฟอร์ม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17553เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2006 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท