การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียน เพื่อตั้งชื่อเรื่องทำวิจัย


การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนของครูเอง เน้นวิชาที่ตัวเองสอนเท่านั้นอย่ามองปัญหาทั้งหมด

           ปัญหาที่ครูพบในการเรียนการสอน  มักจะมีอยู่มากมาย  ดังนั้นครูผู้วิจัยจึงมีข้อได้เปรียบนักวิจัยภายนอก  เนื่องจากครูมีส่วนร่วมในฐานเป็น  “คนใน”  ในชั้นเรียน  จึงเข้าใจสภาพโดยพื้นฐานของปัญหา  สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและเลือกปัญหาที่ควรทำการวิจัยได้ดีกว่านักวิจัยภายนอก

  ปัญหาวิจัยคืออะไร
     ปัญหาวิจัย  (research  problem)   คือ  คำถามหรือโจทย์ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น  ซึ่งต้องการคำตอบที่เชื่อถือได้  และการได้มาซึ่งคำตอบจะต้องอาศัยกระบวนการที่มีระบบระเบียบ  ดังนั้นปัญหาที่เรียกว่าปัญหาวิจัยต้องเป็นโจทย์ที่มีความลึกซึ่ง  ไม่ใช่เป็นเพียงคำถามโดยผิวเผินที่สามารถหาคำตอบได้โดยไม่อาศัยกระบวนการวิจัย  ดังเช่น  ถ้าเป็นปัญหาที่ครูสามารถได้รับคำตอบจากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนครูผู้มีประสบการณ์  หรือกับผู้รู้ในวงการศึกษาเช่นนักการศึกษา  หรือ  ศึกษานิเทศก์  โดยไม่ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าตามระบบวิธีวิจัยโดยสมบูรณ์    ในกรณีเช่นนี้  ก็ไม่จัดว่าเป็นปัญหาวิธีวิจัย  กล่าวคือไม่เหมาะสมแก่การนำมาเป็นโจทย์เพื่อเสาะแสวงหาคำตอบด้วยวิธีการวิจัย
         การสังเกตเป็นสมรรถวิสัยเบื้องต้นที่จำเป็นในการวิจัย  เพราะว่าเป็นปัญหาวิจัยเริ่มต้นจากปัญหาที่ครูสังเกตพบจริง  จนเกิดคำถามขึ้นในใจของครู  ต่อมาเมื่อได้พินิจเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจในคำถามนั้น  ๆ  และกลั่นกรองปัญหาหลักที่สนใจ  ก็จะพัฒนาไปสู่ปัญหาวิจัยที่เหมาะสมได้
 ปัญหาวิจัยที่ดีสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน  มีลักษณะเบื้องต้น  3  ประการ  ได้แก่
          1. ปัญหาวิจัยควรมีความหมายและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน  โดยตรง  ประเด็นนี้นับว่าเป็นหัวใจของการวิจัยเป็นชั้นเรียนดังได้กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้น  ข้อสำคัญที่ควรย้ำคือปัญหาวิจัยที่ดีนั้น  เมื่อครูทำการวิจัยแล้วจะให้คำตอบที่เกิดประโยชน์ทางปฏิบัติแก่ครูผู้วิจัย  หรือทำให้เกิดความเข้าใจปัญหาดีขึ้น  นำไปสู่การปฏิบัติได้ดีขึ้นต่อไป
             คำตอบที่ได้จากการวิจัยจะไม่ให้ความรู้ใหม่เชิงปฏิบัติที่ครูผู้วิจัยจะนำไปใช้ได้ทันที  หรือเป็นไปว่าปัญหาเช่นนี้มีคำตอบจากการวิจัยทางการศึกษาอยู่แล้ว  ซึ้งครูอาจหาได้จากรายงานการวิจัยทางการศึกษาต่าง ๆ  เช่น  วิทยานิพนธ์  เป็นต้น
          2. ปัญหาวิจัยนั้นต้องสามารถทำคำตอบได้อย่างสอดคล้องกับศักยภาพของครูมักจะพบว่า  ปัญหาในการเรียนการสอนบางปัญหาไม่อยู่ในวิสัยที่ครูจะหาข้อมูล  เพื่อตอบคำถามอย่างมั่นใจ  จึงไม่ใช่ปัญหาวิจัยที่ดีถึงแม้ว่าจะเป็นปัญหาที่มีความหมายและได้ประโยชน์ก็ตาม  นอกจากนี้  ปัญหาวิจัยที่ดีควรมีขอบเขตที่เหมาะสม  ไม่กว้างขวางหรือลึกซึ้งเกินศักยภาพของครูที่จะทำการวิจัย  ทั้งในด้านความรู้ -  ประสบการณ์  เวลา  และภาระรับผิดชอบของครูที่สำคัญการดำเนินการวิจัยโดยเฉพาะในขั้นตอนการเก็บข้อมูล  ควรจะกลืนเป็นส่วนหนึ่งของการสอนของครู  ซึ่งครูจะสามารถทำการสังเกตหรือเก็บข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ  ได้ง่าย
          3. ปัญหาวิจัยควรสอดคล้องกับประสบการณ์  ความสนใจและความถนัดของผู้วิจัย
ประเด็นนี้เกี่ยวกับความพร้อมและแรงจูงใจในการวิจัย  เพราะถ้าครูได้ทำการวิจัยในเรื่อง
ที่มีพื้นฐานมาก่อน  หรือในเรื่องที่ชอบ  ตรงกับความถนัดเฉพาะตน  ย่อมจะเกิดแรงจูงใจในการทำวิจัย  ทำให้การวิจัยเป็นเรื่องสนุกและไม่ก่อให้เกิดความเครียดมากนัก  ดังนั้นถ้าเลือกได้ครูไม่ควรทำการวิจัยตามที่คิดว่าควรจะกระทำ  เท่านั้น  เช่นทำตามนโยบายของผู้บริหาร  โดยที่ขัดแย้งต่อความรู้สึกของตน  เป็นต้น


ทองสง่า ผ่องแผ้ว

4/04/2551

 

หมายเลขบันทึก: 175155เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2008 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทำวิจัยเรื่องเด็กไม่กินผัก แต่ยังไม่รู้ว่าจะวิธีแก้ยังไง ไม่รู้ว่าจะสร้างนวัตกรรมอะไรมาใช้ดี ขอคำแนะนำหน่อยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท