Wikipedia : ขุมความรู้บนอินเทอร์เน็ต


บทความนี้เขียนเพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น "ข่าวชุมพร" ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ.2549

สังเกตไหมครับว่าในช่วงนี้ถ้าเราใช้กูเกิล search หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ทโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมือง, นักแสดง, นักธุรกิจระดับสูง ฯลฯ ผลการค้นหาลำดับต้น ๆ จะพาเราไปที่เว็บไซท์ http://th.wikipedia.org มีสัญลักษณ์จิ๊กซอว์ของภาษาต่าง ๆ ต่อกันเป็นลูกโลก สร้างความสงสัยให้กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ทว่า นี่คือเว็บไซท์อะไรกัน? ทำงานอย่างไร ? ฯลฯ

วิกิพีเดีย (Wikipedia) คือสารานุกรมเสรีบนอินเทอรเน็ต ที่ทุกคนสามารถอานและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาใหมีความสมบูรณยิ่งขึ้นไดซึ่งทําใหวิกิพีเดียกลายเปนสารานุกรมที่ไดรับการแกไขรวบรวมดูแลรักษาจากผูใชจํานวนหลายหมื่นคนทั่วโลก

วิกิพีเดียเริ่มต้นเปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2544 โดยผู้ร่วมก่อตั้งคือ จิมมี เวลส์, แลร์รี แซงเกอร์ และเพื่อน ๆ อีกเพียงไม่กี่คน โดยในขณะนั้นมีฉบับภาษาอังกฤษเพียงฉบับเดียว ด้วยขบวนการที่เปิดกว้างให้แก้ไขเพิ่มเติมอย่างเสรีทำให้ปัจจุบันวิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้เวลาไม่ถึง 4 ปีนับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการมีบทความจำนวน 450,000 ชิ้น, จำนวนคำรวมกันถึง 77 ล้านคำ เฉพาะในฉบับภาษาอังกฤษ และมีบทความมากกว่า 1.3 ล้านชิ้นในฉบับภาษาต่าง ๆ รวมกัน ปัจจุบัน (3 มีนาคม 2549) วิกิพีเดียฉบับภาษาไทยมีบทความถึง 7,598 ชิ้น มีการแก้ไขหน้าข้อความทั้งหมด 119,957 ครั้ง เฉลี่ยแล้วมีการแก้ไขข้อความ 4.94 ครั้งต่อหน้า และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉลี่ย 500-600 บทความต่อเดือน มีสมาชิกที่ลงทะเบียนเขารวมเขียน 3,402 คน

ผู้เป็นเจ้าภาพและให้การสนับสนุนกิจกรรมทั้งหมดคือองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อว่า มูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) นอกจากสารานุกรมแล้ว วิกิพีเดียยังมีฐานข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนวิทยาการความรู้ และเทคโนโลยีในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายรวมอยู่ด้วยทั้งในลักษณะของจดหมายเหตุ, อักขรานุกรมภูมิศาสตร์, วารสารเฉพาะด้าน รวมทั้งสถานการณ์ข่าว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า เนื้อหาข้อมูลส่วนใหญ่ในวิกิพีเดียนั้นไม่ถูกต้อง และไม่อยู่ในฐานะที่จะใช้อ้างอิงอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับสารานุกรมแบบดั้งเดิมได้ ทั้งนี้เพราะมีผู้ประสงค์ร้ายที่มือบอนเข้าไปบิดเบือนข้อมูล เขียนเนื้อหาในลักษณะที่ผิดไปจากความจริง ทำลายข้อมูลหรือสิ่งดี ๆ (Vandalism) ในวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านั้นจะถูกจับที่มาที่ไปได้ และมีการเข้าไปแก้ไขเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนเหล่านั้นให้กลับมามีความถูกต้องอย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้วิกิพีเดียที่ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่าสุด อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้วิกิพีเดียก็เป็นเว็บไซต์ที่ถูกนำไปใช้อ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ท

ช่วงนี้ปี่กลองทางการเมืองกำลังโหมโรงอยู่อย่างเข้มข้น ผมได้ทดลองใช้ วิกิพีเดีย หาข้อมูลตัวบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นำเสนอให้ได้อ่านกันสนุก ๆ ได้ข้อมูลมาแบบนี้ครับ

  • รัฐบาลของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรงเสมอ โดยมักจะมาจากความแตกต่างกันด้านแนวคิดและอุดมการณ์ในการพัฒนาประเทศอีกส่วนหนึ่งคือเสียงวิจารณ์ว่ารัฐบาลมุ่งหาประโยชน์ให้กับพวกพ้อง
  • นักวิจารณ์หลายท่านให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์ของประชาชน อย่างไรก็ตามบางท่านกล่าวว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาเคลื่อนไหวเพราะผลประโยชน์ส่วนตัว
  • ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงอภิสิทธิ์ว่าเป็นคนที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดที่คนอื่นเสนอมาได้อย่างเป็นระบบ แต่ภาวะการนำมัก"เป็นแบบท้วงติงและตอบโต้ (reactive) มากกว่าริเริ่มนำเสนออะไรใหม่ ๆ (proactive) เพราะโดยพื้นฐานแล้วคุณอภิสิทธิ์ไม่ใช่คนชอบเสนออะไรที่ท้าทายและแปลกใหม่ทางความคิด"

ความคิดเสรีนี่อ่านสนุกและได้ความรู้ดีนะครับ ขอเชิญเข้าไปร่วมค้นหาใน วิกิพีเดีย ได้เลยครับ.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17512เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท