"ท่านจะปลอดภัยและสบายใจ เมื่อพบกับการตรวจสอบภายใน"


การตรวจสอบภายใน
หน่วยตรวจสอบภายใน” ชื่อนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อยากได้ยินหรือเข้าใกล้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า บุคคลต่าง ๆ ก็คิดจินตนาการไปตามที่เคยได้รับรู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวข้อง เช่น .เป็นหน่วยงานที่มุ่งคอยจับผิดบุคคลหรือหน่วยงานอื่น รวมทั้งมีการทำงานที่จำกัดเฉพาะในด้านการตรวจสอบเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง

“การตรวจสอบภายใน” มีความหมายและขอบเขตที่กว้างขวางเป็นอย่างมาก กล่าวคือ...

การตรวจสอบภายใน หมายถึง กิจกรรมการให้หลักประกันอย่างเที่ยงธรรม และการให้คำปรึกษาอย่างเป็นอิสระ มีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายในขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่า และปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ

ผมได้อ่านพบบทความที่น่าจะเป็นประโยชน์และสื่อให้เข้าใจบทบาทของ“หน่วยตรวจสอบภายใน” ได้เป็นอย่างดี ของ ท่านอาจารย์สงบสุข ศรีน้ำเงิน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายใน กรมทางหลวง จึงใคร่ขออนุญาตผู้เขียนนำบทความมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจได้รับทราบ ดังนี้

"ท่านจะปลอดภัยและสบายใจ เมื่อพบกับการตรวจสอบภายใน"
You will happy with internal audit

การตรวจสอบภายในช่วยท่านได้อย่างไร

การตรวจสอบภายในช่วยให้การทำงานเป็นไปตามระบบถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ โดยมิได้มีเจตนาจับผิดผู้ใด เพราะการทำงานทุกคนมีสิทธิทำผิดกันได้ (We all make mistake) ซึ่งผู้ตรวจสอบภายในจะพิจารณาที่เจตนา ผู้ตรวจสอบภายในก็คือ ส่วนหนึ่งของระบบงานตามปกติ การตรวจสอบเป็นสิ่งสร้างสรรค์ไม่ใช่ทำลาย ปัจจุบันทุกองค์การต้องมีงานตรวจสอบภายใน เพื่ออำนวยประโยชน์ให้ทุกสาขา มิใช่เพียงงานการเงินและบัญชีเท่านั้น

ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากงานตรวจสอบภายใน คือ

1. ผู้บริหาร ถ้าส่วนราชการมีการตรวจสอบภายในที่ดีผู้บริหารย่อมมีเวลาในการคิดสร้างสรรค์และริเริ่มงานใหม่ ๆได้มากขึ้นโดยมั่นใจว่าระบบการควบคุมงานที่ใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่า

1.1 ผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้านเป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่วางไว้

1.2 การใช้ทรัพยากร เงินงบประมาณ แรงงาน และทรัพย์สินเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของกิจการ

1.3 ระบบการเสนอข้อมูลเพื่อการบริหารมีความถูกต้องเชื่อถือได้ และใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจสั่งการได้ทันเวลา อุปสรรคและข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้บริหารจะได้รับทราบและสั่งการแก้ไขได้โดยทันท่วงที

1.4 มีการสำรวจ วิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการ การปรับปรุง เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตลอดเวลา

ผู้บริหารที่มองการณ์ไกล ย่อมเข้าใจว่าการตรวจสอบเป็นงานด้านหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่างานด้านอื่น ๆ

จากรายงานการตรวจสอบ ซึ่งผู้ตรวจสอบได้เสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งหัวหน้าหน่วยงานผู้รับตรวจ มีส่วนทำให้ได้ทราบผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติงานอยู่ในตำแหน่งและหน้าที่ต่าง ๆ ในสำนักงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด มีข้อบกพร่องมากน้อยเพียงใด และตรงจุดไหนของหน่วยงาน สาเหตุมาจากอะไร เป็นต้นว่า ปัญหาจากงานที่ปฏิบัติ

ปัญญาบุคลากร หรือปัญหาจากอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวก ตลอดจนสถานที่ทำงาน เป็นต้นซึ่งข้อมูลเหล่านี้ผู้บริหารจะได้นำมาพิจารณาหาทางแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านี้ และป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อีก และให้ความสำคัญในจุดที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานมากหรือโดยตรงหาวิธีการควบคุม แก้ไขป้องกัน รวมทั้งสนับสนุนผู้มีความจริงใจและตั้งใจในการปฏิบัติงาน

2. หัวหน้าหน่วยงานผู้รับตรวจ เนื่องจากในบางครั้งผู้บังคับบัญชาไม่สามารถตรวจสอบงานทุกอย่างที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ครบถ้วน งานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอมาเพื่อพิจารณาหรืออนุมัติอาจจัดทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยความที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ด้วยความประมาทเลินเล่อ หรือด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ก็ตาม

สิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้มีอำนาจอนุมัติในภายหลัง กรณีเหล่านี้หากผู้ตรวจสอบภายในได้ตรวจพบก็จะได้รวบรวมข้อผิดพลาด และเสนอไว้เป็นข้อสังเกตแก่หัวหน้าหน่วยงานผู้รับตรวจนั้น ๆ เพื่อป้องกันและเพิ่มความระมัดระวังต่อไป

3. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (ผู้รับตรวจ)

(ผู้รับตรวจ)

3.1 เป็นการเร่งรัดเจ้าหน้าที่ให้มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนให้ทันเวลา ไม่เก็บงานไว้คั่งค้าง เอาใจใส่ระมัดระวังรอบคอบ มีผลทำให้ความผิดพลาดลดน้อยลงก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

3.2 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ และมติ ครม.ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการเงิน การงบประมาณ และพัสดุตลอดจนระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง

3.3 ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่กรณีมีปัญหาในการปฏิบัติงาน ในบางเรื่องที่ระเบียบครอบคลุมไว้ไม่ถึง ทำให้ไม่แน่ใจหรือไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการต่อไป ทำให้งานราชการหยุดชะงักได้หรือกรณีการตีความในข้อระเบียบต่าง ๆ ไม่ชัดเจน

การปรึกษาหารือทำให้ได้ข้อคิดที่ดี การนำเอาระเบียบอื่นมาใช้อ้างอิงแทนกันได้หรือทำให้ทราบถึงระเบียบ คำสั่งที่ประกาศใช้ใหม่ แต่ยังไม่เป็นที่ทราบทั่วกัน เหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความเชื่อมั่น และสามารถตัดสินใจที่จะดำเนินงานต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดชะงัก แต่หากไม่สามารถแก้ปัญหาในขณะนั้นได้ เนื่องจากต้องประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ก็จะมีการนำปัญหากลับมาปรึกษาหาวิธีการกับหน่วยงานนั้น ๆ ต่อไปในส่วนกลาง

3.4 เป็นการป้องปราม ป้องกันการประพฤติมิชอบในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งความผิดพลาดและการทุจริตต่าง ๆ เราสามารถตรวจสอบได้จากเอกสารที่ถูกจัดทำขึ้น และวิธีการตรวจสอบอื่นที่จำเป็น การตรวจสอบโดยสม่ำเสมอ เป็นการปิดโอกาสมิให้มีการทุจริตเกิดขึ้นได้โดยง่าย

3.5 เป็นการติดตาม ดูแล รักษา และป้องกันทรัพย์สินของทางราชการ ก่อให้เกิดความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

3.6 แนะวิธีปรับปรุง แก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นรวมถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป และพร้อมที่จะรับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบภายนอก คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

3.7 จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในซึ่งได้ปฏิบัติงานในทุกภาคของประเทศ ช่วยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน

หน้าที่และคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน

ในปัจจุบันงานตรวจสอบภายในเข้ามามีบทบาทสำคัญในหน่วยงานมากขึ้น แต่บุคคลในระดับต่าง ๆ ก็ยังมีความไม่เข้าใจในเรื่อง หน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในและผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องคัดเลือกและใช้บริการของผู้ตรวจสอบภายใน ก็ควรจะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ งานในหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในโดยทั่วไป มีดังนี้

1. วินิจฉัยความเหมาะสมของวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ในทางการเงินและการบัญชีว่ามีลักษณะของการควบคุมภายในที่ดี

2. สอบทานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินว่า ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบ คำสั่งข้อบังคับหรือกฎหมายโดยมิชักช้า และเป็นไปโดยประหยัด

3. พิสูจน์ความถูกต้องของมูล ตัวเลข และดำเนินการวิเคราะห์

4. สืบสวนและเสนอแนะวิธีป้องกันเกี่ยวกับการรั่วไหล และ / หรือการทุจริตในทรัพย์สิน หรือรายรับต่าง ๆ ของกิจการ

5. ประสานงานกับผู้ตรวจสอบภายนอก

6. ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูง

เมื่อได้ทราบภาระหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในแล้วการคัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับหน้าที่ดังกล่าว ก็เป็นเรื่องสำคัญ คงมิใช่เพียงแต่คัดเลือกผู้ที่จบการศึกษาทางสาขาบัญชีเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูงจึงควรทราบถึงคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายในพึงมี เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือก ดังนี้

1. มีความรู้ความสามารถด้านการเงินและการบัญชีและมีความชำนาญงานด้านการตรวจสอบบัญชี

2. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี

3. มีความซื่อสัตย์และมีอุดมคติ

4. มีความคิดริเริ่ม ช่างสังเกตและมีไหวพริบดี

5. มีความเป็นอิสระทั้งในการปฏิบัติงาน และในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆ

6. มีความรู้ในด้านงบประมาณเป็นอย่างดี

7. มีความรู้ในด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ

8. มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี

มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ แม้ว่าผู้บริหารมีอำนาจจะมอบหมายงานใด ๆ ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติแต่ก็พึงเข้าใจด้วยว่าการมอบหมายของผู้บริหารควรมอบงาน ซึ่งควรอยู่ในกรอบภาระหน้าที่ที่เหมาะสมกับงานของผู้ตรวจสอบภายใน สิ่งหนึ่งที่มักมีการมอบหมายงานผิดเสมอ ๆ คือ มักมอบหมายงานประเภท “ตรวจก่อนจ่าย” ซึ่งเป็นงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและบัญชีมากกว่าที่จะเป็นงานของผู้ตรวจสอบภายใน

จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน

สมาคมผู้ตรวจสอบภายในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในไว้อย่างน่าศึกษามายึดเป็นแนวปฏิบัติดังนี้ คือ

1. จะต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์และขยันขันแข็ง

2. จะต้องมีความจงรักภักดีต่อองค์กร โดยให้ความร่วมมือกับกิจกรรมขององค์กรและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย

3. พึงหลีกเลี่ยงกับการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ขัดกับส่วนได้เสียขององค์การหรือที่อาจเป็นเหตุให้ต้องละเลยจากจุดมุ่งหมายในการตรวจสอบ

4. จะต้องไม่รับผลตอบแทน หรือของขวัญจากพนักงาน หรือผู้ที่ติดต่อกับองค์การ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายบริหารระดับสูง

5. จะต้องระมัดระวังในการใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบ และจะต้องไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นความลับขององค์การเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือที่จะก่อให้เกิดความเสียหายองค์การ

6. เมื่อจะแสดงข้อคิดเห็นจะต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อให้ได้หลักฐานจากข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอรายงานของผู้ตรวจสอบภายในจะต้องแสดงถึงข้อเท็จจริง ซึ่งถ้างดเว้นที่จะเปิดเผยแล้ว จะกลายเป็นการบิดเบือนรายงานผลงานการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และปกปิดกิจกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย

7. ต้องเป็นผู้ที่พยายามในการปรับปรุงตนอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ผู้บริหารได้รับจากการตรวจสอบภายใน

ถ้ากิจการมีการตรวจสอบภายในที่ดี ผู้บริหารย่อมมีเวลาในการคิดสร้างสรรค์และริเริ่มงานใหม่ ๆ ได้มากขึ้น โดยมั่นใจว่าระบบการควบคุมงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้แน่ใจว่า

1. ผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้านเป็นไปตามแผนงาน และเป้าหมายที่วางไว้

2. การใช้ทรัพยากร แรงงาน และทรัพย์สินเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของกิจการ

3. ระบบการเสนอข้อมูลเพื่อการบริหารมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจสั่งการได้ทันเวลา อุปสรรคและข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้บริหารจะได้รับทราบและสั่งการแก้ไขได้โดยทันท่วงที

4 มีการสำรวจวิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการการปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา

มีการสำรวจวิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการการปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ผู้บริหารที่มองการณ์ไกลย่อมเข้าใจว่าการตรวจสอบเป็นงานด้านหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านอื่น ตัวอย่างเช่น กิจการธนาคารย่อมให้ความสำคัญแก่การหาเงินฝาก การปล่อยสินเชื่อ หรือการประชาสัมพันธ์แต่สำหรับงานตรวจสอบภายในแล้ว ธนาคารยิ่งจำเป็นต้องมีขึ้น เพื่อความมั่นคงของธนาคาร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนมีความไว้วางใจในระบบการควบคุมของธนาคารมากยิ่งขึ้น ประเด็นเหล่านี้ นายธนาคารทุกคนคงตระหนักดีว่ามีความสำคัญต่อฐานะความเจริญก้าวหน้าของธนาคารอย่างไร

ความสัมพันธ์ของการตรวจสอบภายในที่มีต่อกิจกรรมอื่น ๆ ขององค์การ

(Relationship of Internal Auditing To Other Company Activities)

ความสัมพันธ์ของการตรวจสอบภายในที่มีต่อกิจกรรมอื่น ๆ ขององค์การอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประการคือ

1. งานตรวจสอบภายในควรจะต้องแยกจากการปฏิบัติงานประจำวันตามปกติขององค์การ กล่าวคือถ้างานการตรวจสอบภายในส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดหยุดลงชั่วคราว การปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามปกติขององค์การก็ควรจะดำเนินไปได้ตามปกติ

2. ผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ให้คำปรึกษา จึงไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลอื่น ๆ ได้โดยตรง การปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ จึงเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารซึ่งไม่สามารถโอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในได้

3. การประสานวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ขององค์การ ซึ่งโดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์การมีความตั้งใจจะปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อช่วยให้องค์การโดยส่วนรวมมีความเป็นอยู่ดีและมีกำไรสูง   

Audit 1
               

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17500เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ได้ยินชื่อของหน่วยตรวจสอบภายใน ทีแรกก็ตกใจเหมือนกัน จะเหมือนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือเปล่า หรือว่ามีบทบาทหน้าที่ที่คอยจับผิดอย่างเดียวหรือไม่ แต่พอได้อ่านบทความชิ้นนี้แล้ว เข้าใจมากขึ้นครับ หลังจากที่หวาดกลัวมานาน ยิ่งอยู่ มมส.ด้วยสิ กลัวจะถูกตรวจสอบเหมือนกันครับ อิอิ

เรียนรู้จากเพลง สาวกระโปรงเหี่ยน
  ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเลยคะ หากมีปัญหาเกี่ยวการเบิกจ่าย ระเบียบ หรือปัญหาในการทำงาน จะได้ขอข้อแนะนำจากหน่วยตรวจสอบภายในต่อไปค่ะ
ตรวจสอบภายใน ไม่น่ากลัวนะคะ ตรงกันข้าม ที่มข. พี่ๆเค๊าน่ารักกันทุกคน ให้คำแนะนำได้ดีค่ะ
    หน่วยงานที่ไม่ชอบหรืออาจจะกลัวการตรวจสอบภายในอาจเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ (1) ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของหน่วยตรวจสอบภาย ได้ยินได้ฟังการเล่าต่อๆ กันมาแบบผิดๆ และ  (2) มีการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใสเกิดขึ้นในหน่วยงานนั้นๆ

การตรวจสอบภายในไม่ใช่การจับผิด

ถ้าจะจับผิด คงไปนั่งดูการทำงานของผู้รับการตรวจแทบตาไม่กระพริบ ซึ่งเสียเวลาเปล่า

บทบาทของผู้ตรวจสอบภายใน ของยุคปัจจุบันจะเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยรับตรวจในองค์กร ไม่ใช่การเข้าไปจับผิด (แต่ก็ยังมีบุคคลากรในองค์กร อีกไม่น้อยที่ไม่เข้าใจบทบาทของผู้ตรวจสอบภายใน )หัวหน้าส่วนบางท่านไม่พยายามปรับความคิดของตัวเอง

ที่เป็นความคิดแบบเดิมเสียใหม่ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ ภาระหนักจึงมาตกที่ตัวของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้งานตรวจสอบของตัวเองสามารถเพิ่มมูลค่าและเกิดประโยชน์ต่อองค์กรให้มากที่สุด

เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 6 ไม่ได้เรียนมาโดยตรง แต่ถูกย้ายมาอยู่

ตรวจสอบภายใน ต้องเรียนรู้ ค้นคว้า และทำงานลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ คิดว่าเริ่มเข้าที่ ก็มีการเปลี่ยนแปลง วนไปวนมา จนไม่รู้ว่าจะไปทางไหน สุดท้ายสงสารองค์กรจัง

ตรวจสอบเกี่ยบกับการกินเงินกิจกรรมของเด็กโดยผู้ปกครองฯแต่ผู้บริหารให้สิทธิคือทำเฉยได้ไหมคะ

ปัญหาคือ ความเชี่ยวชาญและชำนาญการในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ตรวจสอบว่าแม่นยำและไม่อคตินะครับ

แวะมาดู มุมมองแบบทฤษฎี ของน้องๆ

ขอให้ยืนอยู่บนความจริง ด้วยนะครับ

ตัวอย่าง เช่น คำว่าอิสระ นั้น อิสระในทางตัวหนังสือ ที่ระบุในกฏบัตร

(Charter) กับการกระทำ บางครั้ง ใช่ และบางครั้ง ก็มิใ่ช่

จากผู้ตรวจสอบภายใน ยุคเก่า(20ปี up)

ถูกใจ ตรงทาง มึความสุขกับบทความที่อาจารย์นำมาลงในวันนี้ที่ได้อ่าน เกิดความรักในงานมากขึ้น เพราะได้พยายามาความหมายของงานตรวจสอบที่โดนใจมา เป็นเวลาที่เรียกว่านานพอประมาณอาจารย์ค่ะ จะทำวิจัยเรื่องบทบาทของผู้ตรวจสอบในการส่งเสริมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชุมนุม ระดับชั้นม .1-3

สพป.มค.2 ให้ จนท.ตรวจสอบภายใน มาทำงานที่กลุ่มการเงินฯ ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ ใครจะมาตรวจสอบการทำงานล่ะ เปรียบเสมือนให้ ตร. ไปควบคุมบ่อนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท