โจทย์วิจัยสังคมไทย


         ในการประชุมแถลงข่าว   สถานการณ์แนวโน้มประเทศไทย  เมื่อวันที่ 1 มี.ค.49 ที่ สกว.   อ. อนุช  อาภาภิรม  ได้สรุปว่าบัดนี้กระแสโลกาภิวัฒน์ได้หยั่งรากในโลกอย่างมั่นคงแล้ว   ต่างกับเมื่อปี 2543 ที่เรามีกระแส "โบกมือลาโลกาภิวัฒน์" และมีกระแสต้านโลกาภิวัฒน์เป็นระยะ ๆ   แต่ตอนนี้แรงต้านอ่อนหรือเกือบจะเงียบไปแล้วโดยที่แรงหนุนโลกาภิวัฒน์มาจากประเทศเศรษฐกิจใหม่   ได้แก่ จีน  อินเดีย  โซเวียต  ยุโรปตะวันออก  และละตินอเมริกา   ต่างก็พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนกระแสโลกาภิวัฒน์ทั้งนั้น

         อ. อนุชได้เสนอโจทย์วิจัยว่า   ควรทำวิจัยว่า  คนในชนบทไทยมีค่านิยมในการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด   จากค่านิยมชีวิตที่มีความอยู่เย็นเป็นสุข  ความพอเพียง   หันไปนิยมชีวิตที่เน้นความสำเร็จ  การแข่งขัน  ตามแบบโลกาภิวัฒน์

         ผมเองมองโจทย์ไกลไปกว่านั้น   ว่าควรทำวิจัยเพื่อเปรียบเทียบชีวิตของคน 2 กลุ่มนี้ในแง่มุมต่าง ๆ   ว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรและโจทย์ข้อที่ 3  จะใช้จุดแข็งที่สังคมไทยมีคือ   ความเป็นชุมชน  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   เพื่อความเข้มแข็งของสังคมไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร

วิจารณ์  พานิช
 2 มี.ค.49

หมายเลขบันทึก: 17482เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท