คู่มือการลอยกระทงสำหรับเด็กและเยาวชน


คู่มือนี้จะเป็นประโยชน์ ถ้าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับได้นำไปสอนเด็กและเยาวชนให้เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง

คู่มือการลอยกระทงสำหรับเด็กและเยาวชน

โดย นายทรงศักดิ์  เนียมเปีย

ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

อบต.ดงเดือย  อ.กงไกรลาศ  จ.สุโขทัย

 

บทความนี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย

1. ความหมายและความเป็นมาของวันลอยกระทง

2. คู่มือการลอยกระทงสำหรับเด็กและเยาวชน  โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  

วันลอยกระทง 

หมายถึง ชื่อพิธีอย่างหนึ่งทำตรงกับคืนวันเพ็ญเดือน ๑๒ จุดธูปเทียนปักบนสิ่งที่ไม่จมน้ำ ประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระทงเรือ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปปล่อยลงให้ลอยไปตามลำน้ำ(สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม : http://www.culture.go.th/k_day.php?F=krathong&FF=01)

 ความเป็นมา

           ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญ สืบทอดกันมาแต่โบราณ นิยมทำกันในกลางเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งได้แก่การลอยกระทง เพื่อ
           ๑. บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
           ๒. บูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา
           ๓. บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อตน
           ๔. ขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง แก่มนุษย์
           ๕. ขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ
           ๖. เป็นการลอยส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล
           ๗. เป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
           ๘. ลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์
          
๙. อธิษฐานของสิ่งที่ตนปรารถนา
(สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม : http://www.culture.go.th/k_day.php?F=krathong&FF=01)

                จากวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเผยแพร่  ทำให้ผู้เขียนเล็งเห็นความสำคัญของพิธีกรรม  และต้องการที่จะร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมตามประเพณีนิยมชนิดนี้ 

 

 

รูปที่๒ การประดิษฐ์กระทงแบบโบราณ (ที่มา:http://www.nmpp.go.th/web/news_img/lt01.jpg)

การนำเสนอคู่มือการลอยกระทงสำหรับเด็กและเยาวชนนี้ ผู้เขียนมีเจตนาให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงสาระของการจัดงานลอยกระทงจริงๆ   ไม่ใช่เพื่อความบันเทิง เล่นพลุ ดอกไม้ไฟ  ใช้       โฟมทำกระทง    ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเด็กและเยาวชนไม่รู้ถึงความสำคัญของประเพณี  อาจนำไปสู่การออกไปเที่ยวเล่นอย่างคึกคะนอง  ดื่มเหล้า มั่วสุ่ม  เกิดอุบัติเหตุอย่างที่ผ่านมาทุกๆ ปีได้

ดังนั้นคู่มือนี้จะเป็นประโยชน์ ถ้าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับได้นำไปสอนเด็กและเยาวชนให้เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง โดยปฏิบัติดังนี้

๑.  ใช้วัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมย่อยสลายง่าย  เช่น  ดินเหนียว ต้นกล้วย  ใบตอง  ดอกไม้สด  เพิ่งนึกเสียว่า  เมื่อเสร็จงานแล้ว สะดวกต่อการเก็บและทำความสะอาด

๒.  คำนึงถึงงบที่ใช้จ่ายในการประดิษฐ์กระทง  ไม่ต้องใช้วัสดุที่มีราคาแพงเกินกว่ากำลังทรัพย์ของตนจะทำได้  ใช้สิ่งของใกล้ตัวหาง่ายในชุมชน

๓.  รูปทรงของกระทงมีลักษณะสร้างสรรค์  สวยงาม พึงระลึกว่า เราจะไหว้ผู้มีพระคุณกับตัวเรา อย่าทำเพื่อให้เสร็จไปหนึ่งงาน

๔.  แต่งกายสุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งกางเกงขาสั้นจนเกินไป  เป็นการไม่เคารพ และไม่เหมาะเมื่อไปในที่ชุมชนเวลาค่ำคืน

๕.  จุดเทียน ธูป ไหว้สักการบูชาด้วยความเคารพ  อย่าเล่นคึกคะนอง

๖.  ระมัดระวังขณะลอยกระทง ดูสถานที่ที่มั่งคง  ปลอดภัย  เช่นไปลอยที่วัดที่มีบันไดลงไปอย่างแน่นหนา  อย่าไปลอยบริเวณแพ เมื่อคนเข้าไปเยอะอาจเกิดแพล่มได้  และดูสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มืดเกินไป  ป้องกันสัตว์ร้ายและการเกิดอาชญากรรม

๗.  เมื่อลอยกระทงเสร็จแล้วควรทำมงคลให้กับชีวิต ด้วยการทำบุญ บริจาคทาน เพื่อความสบายใจ  ไม่ควรไปเที่ยวดื่มเหล้า  เล่นการพนัน  ถ้าเป็นไปได้ กลับบ้าน พักผ่อนจะดีกว่า

                                                                                                    

                                                   a2

รูปที่๓ ประกวดจัดบอร์ดโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา             รูปที่๔ เยาวชนโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษาร่วมงาน

                                                                                                           ประกวดกระทง ในจังหวัดพิษณุโลก 

สุดท้าย  ในวันลอยกระทงปีนี้คงมีเด็กและเยาวชนร่วมงานกันมากมายเหมือนเช่นทุกปี และหวังว่าผู้ที่มาลอยกระทงจะทราบถึงวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมนี้กันทุกคน  ลดการเกิดอุบัติเหตุ และอาชญากรรม สร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีงาม ธำรงวัฒนธรรมของไทยไว้ ให้ยืนนานสืบไป

 

 

เอกสารอ้างอิง

โรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา ต.วังน้ำคู้  อ.เมือง  จ.พิษณุโลก (ภาพงานลอยกระทง ปี พ.ศ.๒๕๔๙)

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม http://www.culture.go.th/ k_day.php?F=krathong&FF=01

http://www.nmpp.go.th/web/news_img/lt01.jpg

http://www.nmpp.go.th/web/news_img/lt01.jpg

หมายเลขบันทึก: 174767เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2008 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เด็กๆสมัยนี้น่าจะได้อ่านนะคะ มีประโยชน์ดีจัง^^

ลอยกระทงทุกปีเลยคะ

ใช้กระทงขนมปังค่ะ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ลอยกระทงในเน็ต..ได้บุญป่ะเนี่ย..

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยให้ความคิดเห็น

หากมี บทความดีๆ มาแนะนำได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท