การวิเคราะห์ภาระงาน


การวิเคราะห์ภาระงาน การเปลี่ยนแปลง reengineering

         จากที่ รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธิ์ ได้มาเป็นวิทยากร การเขียนโครงการวิจัยของสำนักหอสมุด นอกจากพวกเราจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเขียนโครงการวิจัย และแนวทางในการวิจัยสถาบันแล้ว ดร.รัตนะ ยังให้แนวคิดในเชิงบริหารอย่างน่าสนใจหลายเรื่อง  อาทิเช่น การที่เราอยู่ในองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีอยู่สองอย่าง คือบริหารการเปลี่ยนแปลงแล้วองค์กรใหญ่ขึ้น กับการบริหารเปลี่ยนแปลงแล้วเล็กลง ดร.รัตนะให้แง่คิดว่า ผู้บริหารองค์กรที่เข้ามาบริหารแล้วทำให้องค์กรนั้นใหญ่ขึ้น มักจะได้รับคำชื่นชมถึงฝีมือการบริหารงาน ดร.รัตนะเล่าว่า โชคดีของอาจารย์ที่ได้มีโอกาสทำงานกับ ดร.รุ่ง แก้วแดง ซึ่ง ดร.รุ่ง ถือว่าเป็นนัก RE-engineering oganazation ไปอยู่ที่ไหน ดร.รุ่งก็จะปรับองค์กรนั้น ให้มีความเหมาะสมงานที่ซ้ำซ้อนกัน ก็ไปอยู่ด้วยกัน เพิ่มภาระงาน และตั้งงานนั้นเป็นสำนัก ซึ่งการที่หน่วยงานจะปรับเปลี่ยนเป็นสำนักได้นั้นต้องมีกรอบภาระงานที่ชัดเจน มีฟังชั่นงาน มีผู้รับผิดชอบ ซึ่งการที่ปรับองค์กรเป็นสำนักทำให้หัวหน้าสำนักนั้นจะได้ปรับเปลี่ยนเป็น ผู้อำนวยการสำนักด้วย ซี หรือขั้นก็ปรับสูงขึ้น ทำให้บุคลากรในงานนั้นมีความพึงพอใจ และเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงนั้ต้องมาด้วยข้อมูลเชิงวิจัยที่จะทำให้ผู้บริหารยอมรับในการเปลี่ยนแปลง

          แต่ถ้าผู้บริหารท่านใดต้องเข้าไปบริหารการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรนั้นเล็กลง คล่องตัวขึ้น  Re engineering โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนกำลังคน หน่วยงานหรือฝ่ายงานมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้าย การเปลี่ยนแปลงดงกล่าวก็จะถูกต่อต้าน ผู้บริหารท่านนั้นก็จะถูกมองในสายตาที่เป็นผู้ร้ายในองค์กร มีศัตรูมากกว่ามิตร

         การที่หน่วยงานหนึ่งจะทำการวิเคราะห์ภาระงาน หน่วยงานนั้นต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะกิดขึ้นก่อน ถ้าจะทำวิเคราะห์ภาระงานแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่าทำเสียเวลา แต่การที่หน่วยงาน ทำการวิเคราะห์งานจะเป็นการจัดคนให้เหมาะกับงาน

          วันที่ 9 มีนาคม 2549 นี้ ณ ธารทองรีสอท สำนักหอสมุด จะทำการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานของเรา ดูแล้วคงมีทั้งยุบ และยก หน่วยงาน ให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 17464เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หาวิธีที่ทำให้ภาระงานของบุคคลากรน้อยลง แต่คงประสิทธิภาพการทำงานไว้ หรือมีผลงานดีกว่าเดิม

หรือว่าต้องทำให้ดูเหมือนว่ามีภาระงานมากๆ เข้าไว้ จะได้รุ้สึกมีคุณค่าในตัวเอง  อาจารย์ว่าอย่างไหนจะเข้าท่ากว่าครับ

ตัวผมหวังว่าจากการวิเคราะห์งานครั้งนี้ของสำนักหอสมุด จะทำให้เราทราบว่าใครควรจะทำงานอะไรบ้าง งานซ้ำซ้อนกับใครหรือเปล่า จะได้รู้ว่าขั้นตอนงานของตัวเองต้องทำอะไรบ้างมีปัญหาแล้วจะทำยังไง ไปติดต่อกับใคร ส่วนจะยุบจะเพิ่มเดี๋ยวก็คงได้รู้กันครับ แต่ทุกคนคงต้องมีงานของตัวเองอยู่แล้ว หวังว่ากลับมาคงจะตั้งใจทำงานเพื่อให้ได้เนื่องานกันมากขั้นนะครับ อย่ามามั่วมามองว่าใครจะทำงานอะไร อยู่กับใคร อย่าเอาเวลามาจับกลุ่มคุยกันแล้วนึกภาพในอากาศหรือคาดหวังอะไรที่ตนเองอยากได้เลย เราอยู่กันส่วนรวมครับ หอสมุดอยู่เราก็อยู่ หอสมุดล่มเราก็แย่ครับ...
เริ่มต้นวันวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานที่มีความหมาย คือ มีทั้ง 9 หน้า และ 9 หลัง การบริการการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ ที่เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วทุกอย่างจะมีความชัดเจน และผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจารย์หนึ่งช่วยนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ 
คนทำงานต้องไม่กลัวยุบ ถ้ายุบหรือเปลี่ยนแปลง แต่ยังมีงานทำจะกลัวไปทำไม  ขอให้พิจารณาวิเคราะห์ด้วยใจเป็นกลางก็แล้วกันค่ะ  การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของโลก มีขึ้นมีลง ถึงที่สุด เราก็เอายศถา ตำแหน่งและทรัพย์สินเงินทองไปไม่ได้ ... กว้างแคบแค่โลงเหมือนกัน 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท