เรียนรู้จากนักวิจัยชาวบ้าน


การยกระดับให้มีการนำกระบวนการวิจัยเข้ามาสู่ในงานประจำ

        สรุปบทเรียนหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการนำเสนอผลการวิจัย โดยนักวิจัยชุมชนของจังหวัดน่าน ในการเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน เมื่อวันที่ 27 กพ.-1 มีค 49 ที่ผ่านมา จากการนำเสนอของนักวิจัยชุมชนทั้ง 5 ชุมชนในวันที่ 2 ของการสัมมนาฯ  ทำให้ได้ข้อสรุปในเบื้อง ดังนี้

          ข้อสรุปการเรียนรู้

  • ชุมชนสามารถเรียนรู้และนำกระบวนการวิจัยมาสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยชุมชนเอง
  • แต่ละกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในชุมชน ล้วนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และกระบวนการเกิดจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง
  • เมื่อได้เรียนรู้กระบวนการและดำเนินการวิจัยได้เองแล้ว  ชุมชนสามารถนำกระบวนการวิจัย ไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาอื่นๆ ในชุมชนได้
  • มีความเชื่อมั่นว่ากระบวนการวิจัยชุมชน/การวิจัยเพื่อท้องถิ่น/PAR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานส่งเสริมการเกษตรได้
  • เป็นการพัฒนาที่ไม่แยกส่วน ไม่แยกงานวิจัยออกจากวิถีชีวิต และจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้
  • ฯลฯ

                                         ตำบลน้ำเกี๋ยน 

ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้       ตำบลเมืองจัง

                                                                                         ตำบลเรือง       ตำบลน้ำแก่น

 

          ทีมงานได้เรียนรู้ว่าหากจะนำกระบวนการวิจัยชุมชนไปปรับใช้ นักส่งเสริมฯ / นักพัฒนา เราจะดำเนินการอย่างไร......

  • หาทีมงานนักส่งเสริมฯ ที่สนใจและยินดีที่จะนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในงานประจำ
  • ต้องทำให้เกิดความคิดเห็นที่ถูกต้อง และสร้างศรัทธาให้แก่นักส่งเสริมฯ ว่ากระบวนการวิจัยชุมชน/วิจัยเพื่อท้องถิ่น/PAR สามารถนำมาปรับใช้และพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเกษตร/การพัฒนาได้จริง
  • พัฒนาและฝึกทักษะให้นักส่งเสริมการเกษตร มีความรู้ความสามารถในกระบวนการวิจัยฯ
  • หาภาคี/สร้างเครือข่าย กับองค์กร หน่วยงาน สถาบัน ฯลฯ เพื่อร่วมกันทำงาน เพราะต้องพัฒนาในหลายๆ ด้านไปพร้อมๆ กัน และบางปัญหามีความเชื่อมโยงถึงกัน
  • ต้องกระตุ้นให้ชุมชนรู้ เข้าใจและตระหนักในปัญหา เข้ามาเป็นแกนนำในการวิจัย
  • ไม่แยกงานวิจัยออกจากวิถีชีวิต ปรับบทบาทโดยเข้าไปร่วมทำงาน/เรียนรู้กับชุมชน
  • เริ่มต้นจากงานที่ต้องทำตามปกติอยู่แล้ว เช่น โครงการอาหารปลอดภัย  วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
  • ฯลฯ

          การสร้างนักส่งเสริมการเกษตร ให้เป็นวิทยากรกระบวนการ หรือคุณอำนวยนั้น เป็นเป้าหมายหลักในการทำงานพัฒนาของทีมงาน และขั้นต่อไปก็คือการยกระดับให้มีการนำกระบวนการวิจัยเข้ามาสู่ในงานประจำ  นี่ก็เป็นอีกบันทึกหนึ่งของทีมงาน ที่ได้เรียนรู้จากเครือข่าย/ชุมชนแนวปฏิบัติที่จังหวัดน่านครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

                                          

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 17422เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2006 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
นักวิจัยฃาวบ้าน กับฃาวบ้านนักวิจัย เราต้องวิจัยชาวบ้าน ทำไมฃาวบ้านถึงต้องวิจัย แล้วผลวิจัยของฃาวบ้าน มาใช้เป็นแนววิจัย แล้วก็ได้ผลวิจัยจากชาวบ้าน มาเป็นงานวิจัยของนักวิจัยชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผลงานวิจัยของฃาวบ้าน แต่เขาเขียนวิจัยไม่เป็น เลยไม่ได้เป็นนักวิจัย เราคงต้องคิดอยู่กับชาวบ้าน หาวิธีวิจัยร่วมกับชาวบ้าน จะได้เป็นนักวิจัยชาวบ้าน (นักวิจัย+ฃาวบ้าน)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท