สิ่งที่เด็กได้รับจากนิทาน


นิทานมีดีกว่าที่คิด

               กิจกรรมการเล่านิทาน อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นประสาทสัมผัสและการเรียนรู้ในเด็กสูงมาก เสียงจากการอ่านหนังสือหรือการเล่นจะกระตุ้นประสาทการได้ยิน ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเกิดภาษาพูดจากคำพูดที่เด็กได้ยิน ได้ฟัง ภาพและตัวอักษรจะกระตุ้นการมองเห็น เกิดการจำภาพหรือตัวอักษรได้ทำให้เกิดภาษาอ่าน สอดคล้องกับการวิจัยทางด้านสมองดังนี้

                - พื้นฐานสมอง จากการวิจัยเรื่องสมองทำให้นักวิจัยเชื่อว่า การเล่านิทานช่วยให้เด็กพัฒนากระบวนการคิด การเชื่อมโยงเรื่องราวและการจัดระบบเรื่องราว ซึ่งเป็นการเพิ่มกระบวนการทำงานของสมอง ผู้เชี่ยวชาญทางสมองมนุษย์ยังยืนยันจากผลการค้นคว้าว่าดารเล่าเรื่องต่างๆนั้นมีความสำคัญ โดยมีรายงานทางประสาทวิทยาที่ค้นพบว่าเซลล์สมองจะเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างระบบฐานข้อมูล เพื่อทำการเก็บข้อมูลและดึงเอาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีนี้ถูกต้อง แสดงว่าเรื่องราวต่างๆที่ผู้ใหญ่สอนเด็กไปจะถูกเก็บเป็นฐานข้อมูล เด็กจะจำว่าได้รับการสอนอะไรบ้างและสามารถเปิดเอาข้อมูลจากลิ้นชักต่างๆมาใช้ได้ตามแต่สถานการณ์

                -  ความจำ เรื่องราวต่างๆช่วยในด้านความจำของเด็ก เนื่องจากการเล่าเรื่องนั้นจะทำให้ข้อมูลต่างๆดูน่าจดจำมากขึ้น นิทานสามารถสอดแทรกข้อมูลหรือเกร็ดความรู้เข้าไปในตัวละครและบทบาทสมมติต่างๆ เด็กจะมีอารมณ์คล้อยตามไปกับนิทาน ซึ่งเป็นการกระตุ้นความสนใจและทำให้เด็กจำได้ง่ายขึ้น

                -  การอ่านและเขียน การเล่านิทานให้เด็กฟังอย่างตั้งใจและคิดวิเคราะห์กับเรื่องราวที่กำลังเล่าให้เด็กฟัง เป็นการพัฒนาคำศัพท์ ความเข้าใจ เพิ่มสมาธิ และเปิดมุมมองและโลกทางจินตนาการของเด็กให้กว้างขึ้น การฟังเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางภาษา เด็กเรียนรู้ที่จะพูดจากการฟัง สำหรับการอ่านนั้นเริ่มได้โดยมีพื้นฐานคำศัพท์ และการเขียนก็จะต้องมีพื้นฐานมาจากการอ่าน ดังนั้น รากฐานของการอ่านและการเขียนจึงเกิดจากการฟัง ในขณะที่เล่านิทานให้เด็กฟัง ผู้ใหญ่ที่เล่าเองกำลังปูพื้นฐานที่สำคัญแก่เด็ก เมื่อเด็กเริ่มฟังนิทาน เด็กๆจะเริ่มแต่งเรื่องขึ้นมาเอง และต่อไปก็เริ่มที่จะเขียนหรือถ่ายทอดจินตนาการออกมาโดยอัตโนมัติ

                - การแก้ปัญหา การเล่านิทานสามารถเพิ่มพูนความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆต่างๆเพิ่มมากขึ้นจินตนาการและมุมมองอันกว้างไกลของเด็กเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะในแต่ละวันเด็กสามารถแก้ปัญหาได้ การเล่านิทานเป็นการปลูกฝังทักษะต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เหตุการณ์ที่ถูกต้องและที่ผิดผ่านจินตนาการของเขา

                - การสื่อสาร การเล่านิทานจะช่วยเพิ่มพูนทักษะทางการสื่อสาร เด็กๆจะเรียนรู้การแสดงอกทางสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงผ่านการเล่าเรื่อง การฝึกเด็กเล่าเรื่องจะช่วยพัฒนาทักษะการพูดและส่งเสริมความมั่นใจให้แก่เด็ก

 

หมายเลขบันทึก: 173878เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2008 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะการอ่านนิทานสามารถสร้างให้เด็กรักการอ่านอย่างยิ่งเป็นการปลูกฝังให้รักการอ่านตั้งแต่เด็ก เพราะเฉี่ลยแล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก

นิทานมีประโยชน์กับเด็กจริงๆๆ

พยายามเข้านะจ๊ะ

เป็นกำลังใจให้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

จะมาอ่านอีกค่ะ

มีใครรู้บ้างไหมว่า นิทานในเมืองไทย มีกี่ลักษณะ แล้วตอบโจทญืการพัฒนามนุษย์ได้มากน้อยแค่ไหน เอามาแลกเปลี่ยนกันก็ดีนะ

ที่รู้จักเล่มแรกในชีวิตก็คือ นิทานอีสป อันนี้ใช้ได้ไหม

อยากได้ทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่านิทาน พอจะมีข้อมูลบ้างหรือเปล่าคะ

ถึง คุณ all

ที่บอกว่าทฤษฎีนี่ คุณต้องการประมาณไหนคะ เพราะเท่าที่ค้นคว้ามายังไม่เคยเจอที่เป็นทฤษฎีการเล่านิทานเลยอ่ะค่ะ แต่ถ้าเป็นประมาณว่า รูปแบบการเล่า ประเภทนิทาน หรือประวัตินิทานอะไรแบบนี้ ก็พอจะมีข้อมูลอ่ะค่ะ ยังไงก็ติดต่อมาได้นะคะ จะได้แลกเปลี่ยนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท