แผนผังลำดับงานที่เราจะทำกัน


น้องชายคนหนึ่ง(ขวัญชาย)เค้ามาถามผมว่าเค้าทำ Flowchart อะไรกันเหรอแล้ว Flowchart มันคืออะไรแล้วบังเอ็ญไปเห็นเจ้าดงกำลังทำ Flowchart ให้กับฝ่ายโสตฯ พอดีซึ่งผมดูแล้วมันไม่ถูกต้องใครมาเห็นก็จะอายเค้าเปล่า ๆ

      สวัสดีครับ....วันนี้ผมมีเรืองที่พวกเราชาวสำนักหอสมุดมน.กำลังจะทำกันอะครับ ก็เรื่องการไปทำการวิเคราะห์งานในวันที่ 7 - 9 มีนาคม 2549 นั่นแหละ ทีนี้แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ ไอ้เจ้าแผนผังลำดับงานหรือที่พวกเราชอบพูดกันว่า Flowchart นะแหละ ในความคิดของผมผมคิดว่ามันเกี่ยวครับ เพราะอะไรเหรอครับ ก็มันช่วยให้เราเห็นกระบวนการทำงานของแต่ละงานทั้งหมดและขั้นตอนแต่ละขั้นของงานต่าง ๆ โดยใช้สัญลักษณ์แทนคำอธิบาย ซึ่งผลที่ตามมาจะทำให้คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เจ้าของงานนั้น ๆ สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น

     วันนี้ผมก็เลยจะมาพูดถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพราะมีน้องชายคนหนึ่ง(ขวัญชาย)เค้ามาถามผมว่าเค้าทำ Flowchart อะไรกันเหรอแล้ว Flowchart มันคืออะไรแล้วบังเอ็ญไปเห็นเจ้าดงกำลังทำ Flowchart ให้กับฝ่ายโสตฯ พอดีซึ่งผมดูแล้วมันไม่ถูกต้องใครมาเห็นก็จะอายเค้าเปล่า ๆ ก็เลยอธิบายไปว่าสัญลักษณ์ต่าง ๆ ใช้ยังไง ผมคงต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับ ความจริงผมก็ไม่ได้เขียนไอ้เจ้าผังลำดับงานมามากนักเพียงแต่เคยเขียนเมื่อตอนเรียนอยู่อะครับ อาจจะมีหลาย ๆท่านที่เขียนเป็นอยู่แล้วซึ่งถ้าผมอธิบายผิด ยังไงก็ข้ออภัยด้วยนะครับ

     

     เริ่มเลยดีกว่าตัวแรก Terminal ใช้บอกจุดเริมต้นและจุดสิ้นสุดของงานครับ

     ตัวที่สอง Process Box ใช้อธิบายงานต่าง ๆ เช่น การพิมพ์งาน, การค้นหาวัสดุโสต ฯ ,การซ่อมเครื่อง เป็นต้น

     ตัวที่สาม Dicision Box ใช้อธิบายการตัดสินใจของงานหรือขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนจะไปทำงานขั้นตอนต่อไป เช่น ตรวจสอบข้อมูลถูกต้องใช่หรือไม่ ถ้าใช่ให้ไปทำงานอะไรต่อ ไม่ไช่ไปทำงานอะไรต่อ

     ตัวที่สี่ Input/Output ใช้อธิบายการรับข้อมูลเข้าหรือส่งข้อมูลออกเช่น รับบัตรนักศึกษา , เขียนใบเสร็จรับเงินเป็นต้น

     ตัวที่ห้า Connecting disjoint ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อของสัญลักษณ์ต่าง ๆในผังลำดับงาน

     ตัวที่หก Direction of flow ใช้สำหรับแสดงทิศทางการทำงานของผังลำดับงาน

     เป็นไงบ้างครับแค่หกตัวเองคงจำกันไม่ยากหรอก แต่ผมยังเทคนิคส่วนตัวอย่างหนึ่งในการเขียนแผนผังลำดับงาน คือ ก่อนเราจะเขียนแผนผังลำดับงานให้เขียนลำดับงานของเราออกเป็นข้อ ๆ ก่อน เช่น 1 ตื่นนอน 2 ตรวจสอบว่าเป็นวันหยุดหรือไม่ 2.1 ใช่ นอนต่อ จบ 2.2 ไม่ใช่ไปอาบน้ำ แล้วไปทำข้อ 3  ข้อ3 ไปทำงาน  จบ เมื่อเราได้ลำดับขั้นตอนต่าง ๆแล้วจะทำให้เราเขียนแผนผังลำดับงานได้ง่ายขึ้น

    ท้ายนี้ผมก็มีรูปแผนผังลำดับงานตัวอย่างมาฝากเผื่อจะทำให้พวกเราชาวสำนักหอสมุด มน. เข้าใจการเขียนแผนผังลำดับงานได้ถูกต้องและเข้าใจได้ดีขึ้นครับ ด้วยรักและหวังดี จากพ่อไอ้กวา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17377เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2006 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ขวัญ (ชาย) อยากรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ และมันคืออะไร

ขอบคุณมากเลยครับหัวหน้า ที่ให้ความกระจ่าง แก่ผม แทนที่ผมจะทำงานไปด้วย ข้อมูลที่ผิดพลาด  และไม่มีแนวทางในการทำงาน หรือว่าทำไปแล้วก็มีถูกต้อง  ผมก็คิดว่าในหน่วยงานของเราก็คงจะมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้เหมือนกับผม เพราะ หลักสูตรที่ผมได้ศึกษามาก็ยังไม่มีการเรียนการสอน  อย่างนี้เลยหรือบางที่อาจจะเป็นผมไม่ได้เข้าเรียนในช่วงเวลาที่อาจารย์สอนก็ไม่แน่ใจ   ผมหวังว่า บทความนี้น่าจะมีประโชยน์กับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ที่อาจจะไม่กล้าถาม หรือว่า ไม่รู้ หรือ รู้แต่ไม่แน่ใจในความรู้ที่มีอยู่  ได้รู้ทั่วกัน  อีกทั้งยังมีแหล่งอ้างอิงในการ เขียนรายงานลำดับขั้นตอนในการทำงาน  ของตนเอง หรือฝ่ายของตนเอง  เป็นอย่างมาก  ผมขอบคุณจริงๆ ครับ 

น่าจะมีการฝึกอบรมหรือแนะนำการเขียน Workflow หรือ Work procedure ด้วยนะคะ เพราะบางคนอาจจะไม่เคยเรียนเรื่อง Flowchart ว่าสัญลักษณ์แต่ละอย่างเป็นอย่างไร บางคนยังไม่รู้จักเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนเช่น Microsoft Visio  สำหรับที่คุณพ่อไอ้กวาแนะนำถือเป็นตัวอย่างที่ดีนะคะ   ส่วนของงานวิเคราะห์ที่ทำไว้บาง process ก็ยังใช้สัญญลักษณ์ผิดเลยค่ะ 

ผมจะเก็บเอาความรู้ตรงนี้ไว้ไปสอนนิสิตครับ "เรื่องง่ายๆ ที่ผู้ชายไม่รู้" ดีครับ ผมว่าเป็นเรื่องพื้นๆ ที่เรามักมองข้ามไป
ขวัญ (ชาย) อยากรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ และมันคืออะไร

ขอบคุณมากเลยครับหัวหน้า ที่ให้ความกระจ่าง แก่ผม แทนที่ผมจะทำงานไปด้วย ข้อมูลที่ผิดพลาด  และไม่มีแนวทางในการทำงาน หรือว่าทำไปแล้วก็มีถูกต้อง  ผมก็คิดว่าในหน่วยงานของเราก็คงจะมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้เหมือนกับผม เพราะ หลักสูตรที่ผมได้ศึกษามาก็ยังไม่มีการเรียนการสอน  อย่างนี้เลยหรือบางที่อาจจะเป็นผมไม่ได้เข้าเรียนในช่วงเวลาที่อาจารย์สอนก็ไม่แน่ใจ   ผมหวังว่า บทความนี้น่าจะมีประโชยน์กับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ที่อาจจะไม่กล้าถาม หรือว่า ไม่รู้ หรือ รู้แต่ไม่แน่ใจในความรู้ที่มีอยู่  ได้รู้ทั่วกัน  อีกทั้งยังมีแหล่งอ้างอิงในการ เขียนรายงานลำดับขั้นตอนในการทำงาน  ของตนเอง หรือฝ่ายของตนเอง  เป็นอย่างมาก  ผมขอบคุณจริงๆ ครับ 

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • อาจารย์อธิบาย Flowchart ให้เข้าใจได้ง่าย
    และมีตัวอย่างประกอบ
  • เสนอให้นำเรื่องอื่นๆ มาอธิบายบ้าง
  • ขอขอบคุณอาจารย์ ท่านผู้เขียน และท่านผู้อ่านทุกท่านครับ...
ได้ประโยชน์ดีมากครับ ผมจะขอนำไปปรับปรุงการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขานุการครับ

ขอบคุณมากค่ะ ช่วยได้เยอะเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท