ดิน


ไม่อยากจะบ่น แต่ขอบ่นหน่อยเถอะครับ

ผมเห็นข่าวการปรับปรุง "แผนที่ดิน" ของเมืองไทย คิดว่าเป็นเรื่องดีเพราะเมื่อรู้จักดิน ก็กำหนดพืชที่จะปลูกอย่างเหมาะสมได้ หาวิธีเก็บกักน้ำที่เหมาะกับพื้นที่ได้

พอว่างก็ลงมือค้นเลย แ ต่ ไ ม่ เ จ อ ครับ ซึ่งผมก็ไม่ได้ประหลาดใจอะไรมากมาย

เว็บที่ดูเหมือนจะดีที่สุดคือเว็บของกรมพัฒนาที่ดิน ถ้ามีเรื่องแผนที่มากกว่านี้ก็จะยิ่งดีครับ เว็บมีข้อมูลเยอะ แต่ไม่มีข้อมูลที่ผมอยากหาเลย ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่กรมอยากจะบอกผู้เยี่ยมชมเสียมากกว่า ซึ่งในส่วนนี้ เจอข้อมูลที่คิดว่าน่าสนใจอยู่สองเรื่องครับ

คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ)

Q: ปัญหาว่าน้ำในบ่อซึมออกไม่สามารถ เก็บน้ำได้เต็ม จึงอยากหาวิธีการป้องกันการซึมของน้ำในบ่อดิน หมายเหตุการซึมของน้ำเป็นแบบลดระดับตามระดับของน้ำภายนอก แต่เนื่องจากที่ดินได้ถมสูงกว่าระดับพื้นดินภายนอกจึงทำให้น้ำในบ่อดินที่ ขุดไว้อยู่ต่ำกว่าที่ต้องการมาก เคยพยายามหาวิธีการแก้ไขเท่าที่ทราบต้องใช้แผ่น HDPE ซึ่งเป้นแผ่นพลาสติกปูแต่มีราคาแพงจึงอยากทราบว่าจะมีวิธีการอย่างอื่นอีก หรือไม่

A: บ่อเลี้ยงปลามีปัญหาน้ำในบ่อซึม ออก ทางแก้ 1. แบบชาวบ้าน โดยการสาดไล่ปุ๋ยหมักหรือดินลงในน้ำ เพื่อให้ปุ๋ยหมักและดินจะไปตกตะกอน ปิดช่องว่างในอนุภาคดิน ป้องดันน้ำไหลซึมออกวิธีการนี้อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านลงทุนต่ำ ทำได้เลย นอกจากนี้บริเวณด้านผนังด้านข้างของบ่ออาจโรยพวกปูนขาววัตถุประสงค์เพื่อ ให้ปูนขาวไปปิดรูของอนุภาคดิน ประมาณปูนขาวที่ใช้ให้คำนึงถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลา 2. อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งยุ่งยากมากขึ้น คือถ้าสามารถถ่ายน้ำออกได้ก็ให้นำเอาดินเหนียวมาบดอัดผนังโดยรอบข้างของบ่อ และก้นบ่อ ส่วนน้ำจะซึมออกทางด้านข้างงเป็นส่วนใหญ่และน้ำจะปรับระดับตัวมันเอง ในบ่อและด้านนอกให้อยู่ในระดับตัวมันเอง ในบ่อและด้านนอกให้อยู่ในระดับเดียวกันอยู่แล้ว หรอืการใช้แผ่นพลาสติกปูนั้น เป็นวิธีการที่ไม่แน่นะเพราะมีค่าใช้จ่ายสูงรวมทั้งต้องดูแลต่อเนื่องอีก ไม่ให้พลาสติกขาดนอกจากนี้โดยปรกติน้ำจะระเหยออกจากบ่อ โดยเฉลี่ยวันละ 5-10 เซนติเมตรอยู่แล้ว คุณxxx xxxxxxxxxx (สำนักงานเลขานุการกรม)

คลังข้อมูลการพัฒนาที่ดินออนไลน์

เทคนิคการทำนาไร้สารพิษ 100 ถังต่อไร่ (หลักคล้ายของท่านอาจารย์แสวงเลยนะครับ)

...คุณณรงค์ สิทธิพันธุ์ แนะนำว่าข้อสำคัญเราจะต้องไม่เผาฟางเพราะมันจะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดี เป็นการช่วยให้การทำนาง่ายขึ้น ควรจะทำการหมักฟางตลอดทุกปี เพื่อให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น โดยปกตินาเคมีต้องทำการไถดินถึง 4 รอบ แต่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ไถเพียง 2 รอบ ดินมีความร่วนง่ายต่อการไถ เป็นการช่วยให้การทำนามีความเหนื่อยน้อยลง ประหยัดต้นทุนเพราะปุ๋ยก็ทำใช้เอง เครื่องจักรทางการเกษตรระยะเวลาในการใช้ก็น้อยลง
การทำนาอินทรีย์ด้วยวิธีการหมักฟาง
(ประสบการณ์ชมรมเพื่อนฯ)
การเตรียมเมล็ดข้าวปลูก
เมล็ดข้าวปลูกจะซื้อที่มีการคัดเมล็ดไว้เรียบร้อยแล้วมาทำการแช่น้ำ 2 วัน 2 คืนในน้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ใช้ซีเมนต์บล็อคก่อขึ้นเพื่อแช่กระสอบข้าวปลูก
การหมักฟางในนาข้าว
เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ทำการกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลงนา ใช้ปุ๋ยหมักตักไปหว่านในนา โดยหว่านลงบนฟางเลย เมื่อหว่านเสร็จก็ทำการใช้รถลากวนไปมา จากนั้นให้ทำการสูบน้ำใส่โดยผสมน้ำจุลินทรีย์ลงไปพร้อมกับน้ำที่ปล่อยเข้าแปลงนา ปล่อยน้ำลงไปจนท่วมนาโดยพื้นที่ 1 ไร่ใช้น้ำจุลินทรีย์ 5 ลิตรผสมกับน้ำ 200 ลิตร และกากน้ำตาล 5 กก. ทำการหมักฟางในนาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อครบ 15 วันฟางข้าวจะมีการย่อยสลาย ให้นำรถมาตีดิน ย่ำทำเทือก แล้วทำการหว่านข้าวปลูกได้เลย ในกรณีที่ไม่รีบทิ้งไว้อีก 10-15 วัน จะมีหญ้าและเมล็ดข้าวที่ตกค้างในนางอกขึ้นมา ทำการกำจัดออก ต่อจากนั้นให้ทำเทือกและหว่านกล้า วิธีการนี้เป็นการช่วยลดจำนวนหญ้าอีกทางหนึ่ง ระยะเวลาการให้ปุ๋ยหลังจากหว่านกล้า 20-30 วันหลังจากหว่านกล้า ช่วงนี้ให้เริ่มปล่อยน้ำเข้าโดยผสมน้ำจุลินทรีย์เหมือนเดิม 30 วันหลังจากหว่านกล้า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดหว่านไร่ละประมาณ 25 กิโลกรัม

เมื่อไม่มีแผนที่ที่ผมอยากหา จึงไปดูที่อื่น ก็เจอข้อมูลที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่ง คือแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม จากกรมทรัพยากรธรณีครับ -- ชาวบ้านไม่อยากทิ้งถิ่นฐานหรอกครับ แต่ถ้าตั้งบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ก็ต้องระวังตัว และเข้าใจความเสี่ยงนั้นอย่างจริงจัง

หลายปีก่อน เคยมีเหตุที่บ้านน้ำก้อ เป็นพื้นที่เสี่ยงในแผนที่ (ซึ่งเปิดดูชื่อหมู่บ้านแยกตามจังหวัดได้) หมู่บ้านตั้งขวางร่องน้ำอยู่จะได้สะดวกในการใช้น้ำ พอฝนตกหนัก ชาวบ้านก็หนีน้ำป่าขึ้นเขาตามสัญชาตญาณ เผอิญดินแถวนั้น พอฝนตกหนักอุ้มน้ำไว้ ก็รับน้ำหนักตัวเองไม่ไหว และถล่มลงมา พาชาวบ้านลงมาพร้อมกันเป็นร้อยคน

เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความเสี่ยงจากดินถล่มนั้น ถูกระบุไว้ก่อนในแผนที่ข้างบนหลายปีแล้ว แต่ชาวบ้านไม่รู้ และต้องจ่ายในราคาแพงครับ -- กรมทรัพยากรธรณีก็ไม่ได้มีหน้าที่เรื่องนี้โดยตรง เป็นไปตามสูตรของเมืองไทย "ผู้รู้ไม่ได้ทำ ผู้ทำไม่รู้ ทั้งสองผู้ไม่รู้จักคุยกัน"

หมายเลขบันทึก: 173552เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2008 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เรื่องบ่อน้ำเก็บน้ำไม่อยู่นั้น  เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกรในภาคอีสาน  โดยเฉพาะในโครงการที่ผมรับผิดชอบอยู่ครับ
  • โครงการที่ผมรับผิดชอบ มีนโยบายมอบสระน้ำประจำไร่นาให้แก่เกษตรกรที่สนใจ ฟรี โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกความเหมาะสมในทุกด้าน พิจารณาแล้วรับได้ครับ
  • แต่พอถึงขั้นตอนขุดนี่ซิ เพราะเขาไปจ้างเอกชนมาขุด ซึ่งบางทีก็ "ฟัน" ราคามาสิ่งที่ตกหนักคือ เกษตรกร เพราะสระเก็บน้ำไม่อยู่  แต่ก็มีเหตุผลมากมายที่เก็บน้ำไม่อยู่ ทั้งเพราะขั้นตอนการคัดเลือกคน พื้นที่บกพร่อง  แต่ไม่มากเท่า ขั้นตอนการขุด เพราะ.......
  • สระจำนวนไม่น้อยเป็นสระลม เพราะดันไปขุดบนที่สูง ? เพราะดันไปขุดในจุดที่ไม่ใช่ที่กำหนดไว้ตามหลักการคัดเลือกพื้นที่...? เพราะ ฯลฯ...
  • การแก้ปัญหามีมากมายหลายวิธี ตั้งแต่วิธีที่ใช้เทคนิคสมัยใหม่ ที่ใช้ต้นทุนสูง...และวิธีแบบพื้นบ้านมากมาย เกษตรกรหลายคนนำความรู้ไปแก้ปัญหาได้ดี บางคนไม่ยอมแก้ ทิ้งไปเลย บางคนแก้ไม่สำเร็จ
  • ปัจจุบันในโครงการผมที่รับผิดชอบมีการประเมินผลเรื่องนี้ด้วย เพื่อนำผลไปพิจารณาปรับแก้นโยบายของหน่วยงานรัฐ  ขออนุญาตไม่แสดงผลการประเมินครับ  ใครสนใจติดต่อส่วนตัวได้ ครับ

 

ผมยังติดค้างท่านครูบาเรื่องวิธีเอาน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ครับ เลยคิดเรื่อยเปื่อยไปว่าหากเอาน้ำขึ้นมาได้จากระดับ 10 เมตร จะเก็บกักอย่างไร ถ้าใช้พลังงานธรรมชาติ ก็จะควบคุมความสม่ำเสมอไม่ค่อยได้ (หรือแพงขึ้น)

ถ้าจะเอาขึ้นถังเก็บ แม้จะลดความสูญเสียจากการระเหยได้ แต่ก็เก็บไว้ไม่ได้มาก และอาจจะต้องสูบอยู่บ่อยๆ จึงจะเปลืองค่าไฟ/น้ำมันซึ่งทั้งคู่จะแพงขึ้นเรื่อยๆครับ

ที่เคยทำ ใช้แผ่นพลาสติกหนาปูค่ะ ทำทั้งหมด 4 บ่อใหญ่มาก  เก็บไว้ใช้ ตอนน้ำหลากเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน  เพราะจริงๆแล้ว อยู่ติดแม่น้าแควใหญ่ แต่เวลาหน้าน้ำหลาก ใช้น้ำไม่ได้ เพราะน้ำขุ่น ก็แก้ปัญหาได้ เฉพาะฤดูกาล

พอดีมีเกาะเล็กๆอยู่ตรงข้ามโรงงาน เลยข้ามไปขุดบ่อบาดาล ที่นั่นอีกทางหนึ่ง  แล้ว เอาน้ำลอดใต้น้ำมาใช้อีกทางหนึ่ง คุณภาพน้ำใช้ได้ค่ะ แต่เปลืองไฟ ดีที่สุดคือ surface water ผ่านโรง water treatment (จริงๆก็ขุดบาดาลที่ในที่ของเรา แต่ ขุดซะเจอดินดาล หินดาล ขุดต่ออีกไม่ได้ ได้แต่น้ำที่มีอยู่แค่นั้น เลยต้องใช้วิธีหาทางเก็บน้ำจากที่อื่นเพิ่ม)

แต่คงเอามาใช้กรณีที่คุณConductorหมายถึงไม่ได้.... แค่เล่าให้ฟัง วิธีเก็บน้ำ ที่ได้ผลอย่างหนึ่งค่ะ

เรื่องน้ำ มีรายละเอียดมาก ตอนแรก ไม่มีความรู้อะไรเลย ได้ความรู้การเอาตัวรอด จากการทำงานนี่แหล่ะค่ะ

ปัญหาดินและน้ำ ต้อง

  • ไปถามคนทำ
  • อย่าไปถามนักเล่านิทานอ่

บ่อรั่ว เพราะไม่มีอะไรอุด

แล้วใช้อะไรอุด

  • ใช้น้ำอุด ขุดที่ต่ำ
  • ใช้ดินอุด ขุดที่สูง

ถ้าบ่อรั่วเพราะสูง ทำไมถังประปาลอยฟ้าไม่รั่วหรือระเหยหมดล่ะครับ

นี่คือคำถาม และตอบ แบบยิงหมัดตรงกระโดงคาง

  • เพราะมีซีเมนต์ เหล็ก พลาสติก ไฟเบอร์อุด
  • ตอบง่ายๆ เพราะไม่มีอะไรซับซ้อน
  • จะคิดให้ซับซ้อนให้เมื่อยทำไม
  • เอาสมองไปทำอย่างอื่นดีกว่าครับ

ดินรั่วก็ต้องใช้ดินอุด ไม่มีก็ต้องหา ไม่หาก็เลิกทำซะ

 as simple as that!!!

จะใช้อะไรอุดก็ตามอัตภาพ

การระเหยน้ำมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร ครับ

ถ้าเป็นเซนติเมตร ต้องมี "จุด" หน้าตัวเลขครับ

 

ทีนี้กลับมาเรื่องนาอินทรีย์

๑๐๐ ถัง ทำไม่ยาก แต่ต้องใช้ "สมอง" มากหน่อย

"คนที่กลัวหญ้า กลัวปู กลัวหอย คือ คนที่มีสมองน้อยกว่าสิ่งเหล่านั้น"

 

เลยต้องไปยืมสมอง "นักทำลายโลก" มาใช้

  • เผา
  • ไถ
  • สารพิษ สารเคมี

ที่เขาคิดค่ายืมแพง "เท่าชีวิต" ของคนยืม ก็ยังกล้ายืมมาทำลายตัวเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม

การ "ไม่ไถ" ต้องใช้สมองมากกว่าการ "ไถ"

ใครที่สมองไม่พอใช้ เลิกคิดซะ ทำไม่ได้ครับ

นี่คือคำตอบสุดท้าย

สำหรับงานข้อมูลส่วนใหญ่ ทำเพื่อ

  • ทำให้พื้นที่หนังสือ เอกสาร และ webpage ไม่ว่าง (ดูเต็มๆ) ไว้ก่อน สาระไว้ว่ากันทีหลัง (ใครสนใจสาระ รอไว้ชาติหน้าตอนบ่ายๆ มีแน่นอน ไม่นานเกินรอ)
  • นำสิ่งที่ตัวเองมีมาโชว์ "อวดฉลาด" ที่สามารถวัดด้วย micrometer มีหน่วยเป็น micron แต่คนที่นำเสนอมักคิดว่าสมองตัวเองวัดด้วยหลักกิโลเมตร

ผมจึงใช้เวลาน้อยกับข้อมูลดังกล่าว

ขอบคุณที่พาดพิงครับ

 

อาจารย์ตอบเสียยาวเลย ขอบคุณครับ

พี่ศศินันท์: โจทย์อยู่ตรงนี้ครับ

ผมอยู่ในป่า อยู่มาตั้งแต่ไม่มีถนน ขี่ม้าคดเคี้ยวมาตามคันนา ต่อมาใช้จักรยาน ใช้มอร์เตอร์ไซด์ รถยนต์  นอกจากไม่มีถนนแล้ว ไฟฟ้าก็ไม่มี แหล่งน้ำก็ไม่มี พื้นดินเป็นทรายขุดสระเก็บน้ำไม่ได้ บ่อน้ำตื่นระดับน้ำอยู่ลึก 10 เมตร ต้องใช้ควายเทียมล้อไปบรรทุกน้ำจากหมู่บ้านที่ห่างออกไป 5 กม.มาบริโภคและอุปโภค ต้องอาศัยน้ำฝนทำการเกษตรอย่างเดียว

สภาพอย่างนี้ คงจะมีอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะปรากฏเป็นข่าวหรือไม่นะครับ ทีนี้ถ้าค่าพลังงานแพงขึ้น ก็จะมีผลต่อการดำรงชีวิตโดยตรงครับพี่ น้ำผิวดินบางที่มีมาก แต่ที่ที่อยากให้มีก็ไม่มีครับ

สวัสดีครับ

  • อ่านแล้วได้ความรู้มากครับ
  • หาทางกันต่อไป
  • ต้องให้สมองและปัญญาแบบอาจารย์แสวงว่า
  • ไม่ตั้งใจ ไม่จริงใจ..ไปซะ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ...

เนื่องจากว่าผมทำงานเกี่ยวกับการปูแผ่น HDPE ที่ใช้ในงานบ่อเก็บน้ำอยู่ และที่ผ่านมาการใช้แผ่น HDPE ปูลงไปในบ่อเพื่อกักเก็บน้ำ สามารถใช้ได้ผลดีมาก สำหรับโครงการที่คุณกำลังหาทางแก้ไข และอยากสนับสนุนโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ตามพื้นที่ต่างๆ

ซึ่งถ้าทางคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผ่น HDPE หรือ อยากทราบว่าข้อมูลเกี่ยวกับบ่อน้ำที่ใช้แผ่น HDPE ทางผมยินดีที่จะช่วย

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และสนับสนุน

ขอแสดงความนับถือ

คงศักดิ์ เหล่าโภคทรัพย์

080-2549720

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท