ประชุมคณะทำงาน "การจัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีฯ"ตอนที่ ๔


สถานการณ์ ความก้าวหน้าของ โครงการนำร่อง ๔๐๐ หมู่บ้าน
ระดับของครัวเรือนเราแบ่งเป็น ๔ ระดับด้วยกัน ระดับแรก คือ ครัวเรือนที่ลงทะเบียนความยากจนและตกเกณฑ์ของ จปฐ. ระดับที่สอง คือ มีฐานะที่พออยู่พอกิน พอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้เช่น มีตัวชี้วัดเรื่องรายได้และการแยกตามระดับนี้เราไม่ได้อยู่ที่เกณฑ์การแยกอย่างเดียวแต่เราดูที่ความพึงพอใจของครัวเรือนด้วย ยกเว้นระดับที่หนึ่ง คือ มีข้อมูลตายตัวอยู่แล้ว ระดับที่สาม คือ อยู่ดีกินดี คือ พอที่จะช่วยเหลือสังคมได้ ระดับที่สี่ คือ มั่งมีศรีสุข เพราะฉะนั้นครอบครัวที่ปรากฎอยู่ในแผนก็จะมี ๔ ระดับนี้ และแต่ละกลุ่มแต่ละระดับภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้จะกลับไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้พัฒนาหรือเลื่อนขั้นตัวเองไปสู่ระดับต่อไปให้ร่วมกันคิดวิธีแต่ก่อนอื่นต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน เช่น อาจจะปลูกผักเดพื่อเอาไว้กินเองภายในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายคิดช่วยเหลือตัวเองแล้วลองปฏิบัติแล้วหากเกินความสามารถก็ให้ชุมชนเข้ามาแก้เข้ามาช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป หากเกินความสามารถของชุมชนที่จะช่วยเหลือได้ลำดับต่อไปก็จะเป็นให้หน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเอและหนุนเสริมเติมเต็ม 

 

ลุงยงค์กล่าวเสริม ข้อมูลต่าง ๆ สามารถแยกระดับได้เมื่อแยกระดับแล้วต้องลงไปทำประชาคมแต่ละหมู่บ้าน มีพี่เลี้ยงในการช่วยวิเคราะห์แล้วก็บอกตรง ๆเลยว่าใครชื่ออะไรบ้านเลขที่เท่าไหร่ อยู่ระดับไหนจริงหรือเปล่าเห็นด้วยหรือเปล่าที่จัดให้อยู่ในระดับนี้ หากเขาให้ข้อมูลจริงมาก็จะได้ทำการวิเคราะห์ต่อหากไม่ใช่ข้อเท็จจริงก็ให้กลับไปทำใหม่

ส่วนคนที่คิดว่าข้อมูลอยู่ระดับสอง เขาก็อยากอยู่ระดับหนึ่งก็ได้หากสังคมยอมรับเขาก็ต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ การเริ่มต้นทุกอย่างในการแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อนในการที่จะแก้ปัญหาให้ได้นั้น ส่วนองค์กรในชุมชนเขาจะต้องไปสนับสนุนส่งเสริมกันอย่างไรหากเกินความสามารถของชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประมาณ ๔-๕ หน่วยงาน พช. กศน. สธ. ธกส. หรือใครต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปหนุนเสริมได้ แต่หากเขาหรือในกลุ่มของเขาไม่เริ่มต้นที่จะทำอะไรคนอื่นก็จะเข้ามาช่วยได้ยาก เพราะฉะนั้นในการเสริมสร้างตรงนี้ก็เพื่อที่จะให้ถาวรในระยะยาวหากเริ่มตรงนี้แล้วเขาจะต่อยอดจนถึงระดับ ๔ การทำตรงนี้จะมีการวิเคราะห์ทุกปีเพื่อที่จะทำให้หลุดพ้นจากความยากจน

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 17333เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2006 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท