Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๙)_๒


อ.กรกฎ  เชาวะวณิช:
         ขอบคุณคุณ Wather Van Kalken มากนะครับ ที่บรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของ Wikipedia เป็นภาษาอังกฤษ ผมขอแปลเป็น power point เป็นการกึ่งๆ แปลที่คุณ Wather Van Kalken ได้อธิบายไป  แนะนำว่า Wikipedia แนะนำว่า ซอฟแวร์  Wikipedia คืออะไร มันเป็น website อย่างหนึ่งที่เปิดกว้างให้ใครเข้าไปแก้ไขได้ง่ายๆ แทบจะทุกหน้าเราเข้าไปใน web แล้ว click แก้ไขได้เลยตรงไหนที่เขียนไม่ถูกหรือขาดตกไป วิธีเขียนก็เขียนที่ตกแต่ง จะทำ link  ตัวเอียง ตัวหนาได้ง่ายๆ ทุกๆครั้งที่เข้ามาแก้ เราสามารถเก็บของเก่าไว้ได้  ถ้าใครเข้ามาแก้แล้วเสีย สามารถดึงเอาของเก่ากลับคืนได้  สิ่งนี้ทำให้การเขียนเนื้อหาที่ดีๆ ง่ายกว่าการเขียนเนื้อหาที่ก่อกวน เขียนก่อกวนไปก็กลับไปเนื้อหาเก่าได้อยู่ดี
         ตัวอย่างของการแก้ไข มีเนื้อหาปุ่มอยู่ปุ่มหนึ่งเขียนว่าแก้ไข พอเรา click ตรงคำว่าแก้ไข มันก็จะพามาที่หน้าแก้ไข มันก็จะมาขึ้นที่หน้าเมื่อสักครู่นี้ พอเราแก้ไขเสร็จเรา submit แก้ไขให้ถูกได้ทันที จะมีคนสงสัยว่าให้การดูแลเป็นไปได้ด้วยดี เนื้อหาปัจจุบันก็เป็นเครื่องยืนยันว่า Wikipedia ประสบความสำเร็จอย่างสูง ดำเนินงานโดยมูลนิธิ Wikipedia เป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร มีเป้าหมายเพื่อรวบรวมความรู้ในรูปแบบของสารานุกรม มีโครงการมากมาย โครงการ Wikipedia เอง โครงการพจนานุกรม โครงการหนังสือ โครงการข่าว โครงการแหล่งต้นฉบับ มีคำคม   ที่เก็บภาพเก็บสื่อต่างๆ พูดถึงให้ฟังอย่างย่อๆ โดย Wikipedia เองเป็นโครงการที่สร้างโดยอาสาสมัคร ไม่มีการจ้างและบทความจำนวนมากที่เขียนโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น  ได้เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2544 และภายใน 8 เดือนแรก เกิดบทความถึง 8,000 กว่าบทความ มีลักษณะเป็นนานาชาติมากมีหลายภาษามาก มีทั้งภาษาไทย จีน เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น มีการใช้ลิขสิทธิ์เป็นแบบเสรีทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน  มีนโยบายมุมมองที่เป็นกลาง เช่นห้ามบอกว่าเมืองไทยสวยที่สุดในโลก มันไม่เป็นกลางอาจจะบอกว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่น่ายกย่อง  มีกลไกตรวจสอบต่างๆ เพื่อช่วยให้เนื้อหามีคุณภาพ ปัจจุบันมีบทความกว่า 2 ล้านบทความกว่า 200 ภาษา ในหลายๆ ที่มีเกินหนึ่งแสนบทความ มีภาษาเยอรมัน  ฝรั่งเศส   อิตาลี ญี่ปุ่น โปแลนด์และสวีเดน ส่วนภาษาอังกฤษมีถึง  850,000  บทความและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน นับเป็นสารานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก  มีกว่าสองหมื่นคนที่เขียนประจำ ห้าหมื่นบทความใหม่ทุกๆ วัน  การแก้ไขทั้งหมด แสนครั้งทุกๆ วัน จัดอยู่ใน อันดับ 30 ของ website ยอดนิยมมีการเติบโตเป็นขาขึ้น มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นขาขึ้น  ในภาษาไทย ปัจจุบันอยู่ที่บทความอยู่ที่  5,562  เรื่อง บทความแรก ชื่อว่าดาราศาสตร์ บทความที่ 1,000  วันที่10 มีนาคมชื่อว่า บทความเกี่ยวกับ Harry Potter จะเห็นว่ามีบทความหลากหลายมาก บทความคัดสรรประจำเดือน บทความเรื่องคลื่น Tsunami  จะมีคำอธิบายสั้นๆว่าคลื่น Tsunami คืออะไร การอ่านออกเสียงเป็นยังไง สาเหตุของการเกิด Tsunami อธิบายด้วยภาพมีภาพประกอบ มี Mega Tsunami   สัญญาณและระบบเตือนภัย  Tsunami ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เมื่อ 6,100 ปีในจักรวาล  และครั้งล่าสุดในเมืองไทย พ.ศ.2547 Tsunami ในมหาสมุทรอินเดีย ก็เล่าเกี่ยวกับว่าเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง แผ่นดินไหว ในมหาสมุทรอินเดีย พศ. 2547 click ไปเฉพาะบทความที่เกิดในเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่  เป็นจุดเด่นที่ Wikipedia ทุกคนสามารถเข้ามาแก้ไขได้ และมีเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเป็นแหล่งอ้างอิงได้เพิ่มเติม  เรียนเชิญคุณมาร์ค ดร.อิสริยะ ให้ความรู้ด้วยครับ

ดร.อิสริยะ   ไพรีพ่ายฤทธิ์:
         เพิ่มเติมจากที่อาจารย์กรกฎอธิบายไว้  Wikipedia เป็นสารานุกรมเสรีที่ทุกคนสามารถแก้ได้ ที่อาจารย์กรกฎแสดงให้ดูเมื่อครู่นี้ ดังนั้นความสดใหม่ และจำนวนบทความสามารถส่งจดหมายบอกว่าตรงนี้ผิดนะ ว่าตัวเลขตรงนี้มันผิดอย่างประเทศไทยมีพจนานุกรมปี 42 หรือ 43 แล้วยังไม่ได้ออกมาใหม่เลย นี่จะปี 49 แล้ว   ผมไม่ได้ทำอะไรเลย  แค่ click edit  อันถัดมาเกิดมีคนแกล้งหรือก่อกวนขึ้นมาคือ ขายของ  ใช้บริการหาคู่หางานจะทำยังไง ใช้หลักการจัดการความรู้สมัยใหม่ คือใช้คนหมู่มากสู้กับคนหมู่น้อย แนวคิดพื้นฐานอยู่ที่ว่าคนส่วนมากเป็นคนดีปกติมีคนก่อกวนเป็นส่วนน้อย ถ้าจำนวนคนมีมากพอปัญหาพวกนี้สามารถแก้ไขได้เสมอ มีคนเขียน 10 คน คนดี 9 คนคนก่อกวน 1 คน เมื่ออัตราต่างกันไป เข้าไปแก้คืนได้ลองคิดดูว่า ถ้ามีคนเขียนหนึ่งหมื่นคนก็จะเข้ามาดูว่ามีคุณภาพแค่ไหน  สำหรับ Wikipedia ภาษาไทย บทความแรกที่เขียนเรื่องดาราศาสตร์ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครเขียนคนแรก  กลุ่มของนักเรียนไทยที่อยู่ในต่างประเทศเหมือนกับว่ารู้จัก Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้มีทุกภาษามาก   ภาคภาษาไทยอัตราการเติบโตยังน้อยอยู่ เพิ่งมาเริ่มโตเดือนมีนาคม หรือเมษายนนี้ เข้าใจว่าเพราะเด็กมหาวิทยาลัยปิดเทอม  Wikipedia ภาษาไทยข้อมูลยังมีไม่เยอะมาก ยังมีละเอียดอยู่ในบางส่วน  คนไทยที่ใช้ internetส่วนมาก เรื่องที่กลุ่มคนพวกนี้สนใจ เรื่องอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเรื่องที่กลุ่มคนเหล่านี้สนใจ จะอยู่ใน Wikipedia ค่อนข้างเยอะ เป็นเรื่องอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องเหมือนสารานุกรมที่เราคิดกัน ใครสนใจก็เข้าไปเขียนกันได้  เช่น ตัวละครตัวนี้เกิดวันนี้หาได้ใน Wikipedia หมด เข้าไปได้ใน URL ในเอกสาร  ชอบเรื่องอะไรก็เขียนได้เลย เช่นดูละคร แดจังกึมก็เข้าไปเขียนเรื่องย่อคร่าวๆ ของ Wikipedia มีแค่นี้   ขอส่งคืนให้อาจารย์กรกฎ

อ.กรกฎ  เชาวะวณิช :
         คุณมาร์คเป็นคนแรกๆ ที่คอยเข้าไปแก้ตรงนั้นตรงนี้ อีกท่านคืออาจารย์ตู๋  ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์  เรียนเชิญอาจารย์นำเสนอเกี่ยวกับการนำไปใช้ในการศึกษาว่าอาจารย์ใช้อย่างไร

ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ :
         ก่อนอื่นขอแนะนำก่อนว่าทำไมเข้ามารู้จัก Wikipedia ได้ การที่ดิฉันต้องเข้าไปหาข้อมูลใน website ต่างๆ โดยใช้ website google.co.th  ในช่วงหลังเวลาเข้าไปค้นหา อันดับต้นๆ ที่ google ตอบก็คือ Wikipedia ตอนนั้นก็ไม่ได้สนใจอะไร   เริ่มได้ยินชื่อ Wikipedia  ต่อมาได้มาสมัครใน website Wikipedia ภาษาไทย โดยลูกศิษย์ที่มาทำงานกับคุณมาร์คนั่นเองเป็นคนมาบอกว่าเข้าไปดูหน่อยละกัน  ลองเข้าไปดูและสมัครได้เริ่มเขียนเมื่อประมาณสิงหาคม  เริ่มเขียนในเรื่องที่ตนเองสนใจจะเป็นเรื่องบุคคลสำคัญต่างๆ  หลังจากได้เริ่มเล่นมาสักเดือนกว่าๆ ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีมากเลย ใครสามารถเข้าไปเขียนได้แก้ได้ เลยมีแนวความคิดว่าน่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ ซึ่งในหลักสูตรที่ดิฉันสอนอยู่คือ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาคอมพิวเตอร์ เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานสถาปัตย์ เสริมความรู้ด้านไอที ด้านคอมพิวเตอร์ให้กับเขา ซึ่งการเรียนตรงนี้มีศัพท์ทางด้านคอมพิวเตอร์มากเลย  การเรียนตรงนี้ต้องมีพื้นมาแบบหนึ่งและต้องมาข้าม field ในการเรียนไอที นี่ก็เป็นบรรยากาศหนึ่งในห้องเรียนคอมพิวเตอร์
         มีวิชาหนึ่งที่ดิฉันสอน  ชื่อว่าคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้นที่ให้นักศึกษาเข้าใจศัพท์พื้นฐานในวงการออกแบบ การเขียนแบบด้วยวิชาคอมพิวเตอร์ โดยในคลาสนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท 12 คน   เริ่มจากแนะนำให้เขารู้จักระบบ CMS (content management system ) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการเนื้อหา  สามารถตั้งเป็น server  ได้หลายรูปแบบด้วยกัน คือ weblog   e-commerce    e-learning จนกระทั่งมาถึง Wikipedia ซึ่งตรงนี้ได้นำมาใช้ในการออกแบบ  ในการจัดการเนื้อหา หลังจากที่แนะนำ Wikipedia ให้เขารู้จักแล้ว ให้การบ้านไปเขียนใน Wikipedia โดยเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ 6 หัวข้อ ส่วนหัวข้อที่ 7 เป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องทางด้านคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรม  ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเทคนิคอันหนึ่ง คือให้เขาเขียนสิ่งที่เขาสนใจและเขารู้  ขอแค่หัวข้อเดียวเกี่ยวกับศัพท์ที่จะเรียน เนื่องจากนักศึกษาจำนวนหลายคน  คนหนึ่งเข้าไปเขียนคนอื่นก็อ่านได้  เป็นตัวอย่างที่นักศึกษาสนใจ คือการ์ตูนที่วัยรุ่นสนใจ เช่น ปอมปอม  มีคนเข้ามาช่วยกันแก้ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ก่อนที่จะให้กลับไปเขียนที่บ้านก็มีการ train ในชั้นเรียนก่อน  หน้า web เว็บของ Wikipedia มีส่วนที่เรียกว่ากระบะทราย  จะทำอะไรก็ได้  แล้วจึงปล่อยเขาลงสนามจริง ๆ คิดว่าคงไม่ก่อกวน Wikipedia เท่าไหร่ หลังจากที่เขากลับไปเขียน  ตอนแรกๆ นักศึกษาจะทำ link ตัวหนา ตัวเอียงไม่เป็นก็มีอาสาสมัครใจดีช่วยกันเข้ามาเขียน  เมื่อผ่านการตรวจสอบ  ตอนหลังก็จะได้ออกมาเป็นบทความที่สวยงามได้ ศัพท์ตรงนี้เป็นศัพท์ที่เราจะสอบปลายภาคอยู่แล้ว  มีคนเข้ามาเขียนหลายหัวข้อด้วยกัน  สรุปว่าประสบความสำเร็จดี  ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอะไรที่ไม่คาดคิดก่อนเลย มีนักศึกษาท่านหนึ่งเขียนเป็นร้อยๆหน้า เขานึกว่ามันเป็นหนึ่งเรื่อง โดยเขาเข้าใจว่า เวทมนต์ บ้านต่างๆ ตามเนื้อเรื่องมันเกี่ยวกับเรื่องของระบบไฮเปอร์มิเดียสามารถทำได้หลายรูปแบบ  คิดว่าที่เห็นใน Wikipedia เริ่มมีสถาบันอื่นเริ่มนำไปใช้ในการเรียนการสอนบ้างแล้วแจ้งมายังผู้ดูแลให้มาช่วยดูว่ามีนักศึกษาเข้ามาเรียน  มาเขียนการบ้านใน Wikipedia เพื่อไม่เป็นการก่อกวนจนเกินไป ตอนนี้ดิฉันคิดว่าจะเขียนเข้าไปเรื่อยๆ  เขียนเกี่ยวกับหัวข้อสถาปนิก อาจารย์แต่ละสถาบันสามารถนำไปใช้ในเรื่องการเรียนการสอนได้เลย ให้นักศึกษาน้องหม่อมแนะนำตัว

นายศิวรักษ์ สุวรรณสาร:
         สวัสดีครับ ผมนายศิวรักษ์ สุวรรณสาร หลังจากที่ได้รับโจทย์จากอาจารย์แล้ว ความรู้สึกเหมือนโดนบังคับขู่เข็ญเพราะมันเป็นวิชาเรียน มีรูปเกี่ยวกับหัวข้อที่เราเขียน  มีคนอื่นเข้ามาทำให้เนื้อหางานเราสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้รู้จักคนและเป็นสังคม  เขียนเรื่องจิตรกร ซึ่งไม่ค่อยมีคนเขียนในเรื่องนี้ มีหลายคนที่ปิกัสโซ เป็นส่วนหนึ่งที่ผมได้เขียนในชั่วโมงเรียนและเขียนเพิ่มๆ ขึ้นไปอีกนอกเหนือจากที่อาจารย์สั่งมา

อ.กรกฎ  เชาวะวณิช:
         จะเห็นว่า Wikipedia มีการใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เหมาะกับห้องเรียน KM ที่จะสามารถนำมาใช้ได้ ขอให้มาถึงช่วงคำถาม ใครมีคำถามอะไรถามได้เลยเพราะมีเวลา ประมาณ 10 นาที  จริงๆ ผมเก็บสไลด์เพื่อการตรวจสอบ ซึ่งเราใช้ชุมชนตรวจสอบ ให้เขาเขียนไปก่อนแล้วค่อยกลับมาแก้ทีหลัง แต่เนื้อหาเราจะไม่รู้ว่าถูกหรือไม่ถูก เนื้อหาเขามีการวิเคราะห์ว่าการเติบโตของเนื้อหาที่เป็นเนื้อหาขยะถูกแก้ภายในเวลา 2-3 นาทีถ้าคนทั่วไปไม่สามารถเห็นได้เลย แก้ได้เร็วมาก ปรับปรุงตรงไหน จะแสดงผลต่างกันได้   มีรายการเฝ้าดูเเลเวลามีใครเข้ามาแก้ไขก็จะตรวจสอบได้ และยังมีกลไกอย่างอื่นอีกหลายกลไก  ซึ่งตรงนี้คงไม่มีเวลาอธิบายมาก เช่น ฝั่งซ้าย ฝั่งขวามีอะไรต่างกันบ้าง เราสามารถติดตามว่าเนื้อหาที่เพิ่มขึ้น  น่าสนใจหรือเปล่าเป็นประโยชน์หรือเปล่า คนที่มาก่อกวนจะทำอะไรแทบไม่ได้จะช้ามาก จะสามารถ click กลับไปได้เป็นกลไกที่เราพูดถึง

ผู้ร่วมประชุม :
         ดิฉันมาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะคะ  เคยเข้าไปใน Wikipedia ในฐานะผู้ใช้ แล้วก็ชื่นชมว่าทำได้ยังไง  ชื่นชมที่อาจารย์ให้นักเรียนได้ใช้ตรงนี้  ตามที่ดิฉันเคยให้เด็กเขียนรายงานแต่ไม่ได้ใช้ Wikipedia รู้ว่า บางครั้งเด็กไทยเวลาที่เขาไปเอาข้อมูลจากที่อื่นๆ มาจะต้องเครดิตเจ้าของข้อมูลนั้นๆ  ทาง Wikipedia มีอ้างถึงสิ่งที่เราไปนำมาได้หรือเปล่า และคำถามที่ 2   Wikipedia สามารถทำให้เราเชื่อมโยงไปยังคำอื่นที่อยู่ในฐานอื่นได้ไหม

อ.กรกฎ  เชาวะวณิช:
         ขอตอบคำถามที่ 2 ก่อนนะครับ เป็นจุดขายอันหนึ่งของ Wikipedia จะเห็นว่า link ของweb สีน้ำเงินเหมือนกันนะครับ เป็นเรื่องของการแก้ไข Wikipedia ถ้าเราอยากรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกัน click ไปเรื่อยๆ แต่ของ Wikipedia คำไหนที่เกี่ยวข้องสามารถ click ไปคำที่เกี่ยวข้องได้เลย  ระบบจะตรวจสอบกับคำถามข้อมูลอัตโนมัติ  link ไปที่คำนั้นได้เลย  มีคำว่าสารานุกรม ถ้ามีหน้าที่เกี่ยวกับสารานุกรม  ถ้าไม่มีมันจะขึ้น link เป็นสีแดง

ผู้ร่วมประชุม :
         ไม่ใช่การเชื่อมโยงภายใน Wikipedia เอง แต่เป็นการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลข้างนอก

อ.กรกฎ  เชาวะวณิช:
         มีความเคร่งครัดมากเลย  อะไรที่จะมาอยู่กับ Wikipedia จะมีรูปแบบของ license ที่เรียกเป็นทางการ  ถ้าเป็นฐานข้อมูลข้างนอกต้องใส่ link ตามปกติไม่มีวิธีอื่น ต้องมาใส่ link มือ หรือเป็น website อื่นๆ ถ้าเป็นข้อมูลของวงการ Wikipedia ถ้าเกิดหัวข้อนี้ มีภาพของเรื่องนี้ ส่วนคำถามข้อแรก เรื่องเครดิต ถ้าตรวจสอบพบว่าฐานข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลภายนอกจะขึ้นคำเตือน ให้คนที่เขียนเข้ามาแก้ไขถ้าไม่แก้ไขก็จะถูกลบออกไป อย่างที่บอกไปให้ความสำคัญกับเรื่องลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก

ดร.วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ :
         ขอเพิ่มเติมเรื่องการอ้างอิง Wikipedia ถ้าเราได้แหล่งข้อมูลนั้นเป็นลักษณะแบบไม่มีลิขสิทธิ์ คุณสามารถนำมาได้ ตราบใดที่อ้างอิงเรื่องแหล่งข้อมูลอาจจะบอกว่าอ่านมาจากหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ ที่คิดว่า อาจจะมีปัญหาก็มีภาพ เราสามารถไปโยงกับกองกลางของ Wikipedia ได้เลย  ถ้าจะ upload จะต้องแน่ใจว่าเป็นภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์ค่ะ

อ.กรกฎ  เชาวะวณิช:
         ถ้าไม่มีคำถามอีกขอจบการนำเสนอเพียงแค่นี้ ขอชักชวนให้เขียนกันที่ Wikipedia นะครับที่  http://th.Wikipedia.org/   ขอขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้กับเรา ช่วงนี้ขอเบรก ถ้ายังสนใจเทคโนโลยีอยู่ก็ไปดูเรื่อง blog  ได้ ผมก็จะไปช่วยดูที่ชั้น 3

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17330เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2006 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท