โครงร่าง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัย ฉบับบแก้ไข


ฉบับแก้ไข
                                                  โครงร่างงานวิจัย
หัวข้อเรื่องการวิจัย
                          ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัย
                                         ในเขตพื้นที่เกาะช้าง  จังหวัดตราด
คำสำคัญ       
                    ความผาสุก ครอบครัวสามวัย


ความสำคัญของปัญหา

            สังคมปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางสาธารณสุขและการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น ประกอบกับช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรค่อนข้างสูง กลุ่มคนเหล่านี้จึงมีค่อนข้างมากจนทุกวันนี้ กล่าวคือจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์แนวโน้มว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 7.2 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563 ( กระทรวงสาธารณสุข ; 2548 )

            โดยธรรมชาติผู้ที่เข้าสู่วัยสูงอายุมักจะมีความเสื่อมทางอารมณ์และทางจิตใจ ควบคู่ไปกับความเสื่อมโทรมทางกาย ซึ่งความเสื่อมโทรมทางกายมักส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเป็นบุคคลไร้ค่า ต้องพึ่งพาผู้อื่น สูญเสียบทบาททางสังคม สูญเสียอำนาจในการปกครอง ผู้สูงอายุจึงมีอารมณ์กังวล ใจน้อยง่าย ซึ่งอารมณ์นี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ ได้แก่อารมณ์เหงาและเศร้าโศก ( ศรีเรือน แก้วกังวาน , 2540 : 529 ) การศึกษาของสุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล ( 2540  : 6-7 )  ระบุถึงผู้สูงอายุสัดส่วนถึงร้อยละ3.6-4.3  ที่ต้องอาศัยอยู่ตามลำพัง ในจำนวนนั้น ผู้สูงอายุร้อยละ 20.9  ระบุถึงปัญหาของตนว่าเกี่ยวกับความเหงา  ในขณะที่มัณฑนีย์  บูรณสมภพ ( 2528 อ้างในศรีเรือน แก้วกังวาน , 2533 : 87 )  วิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ จะเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี ซึ่งน่าจะมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีระดับความพึงพอใจในชีวิตสูง มีชีวิตอยู่อย่างมีความผาสุกได้  ลักษณะดังกล่าวน่าจะสามารถกล่าวได้ว่า หากผู้สูงอายุได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี โดยเฉพาะการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนในวัยเดียวกัน คนต่างวัย คนในครอบครัว หรือเพื่อนน่าจะนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดีและการอยู่อย่างมีความสุขของผู้สูงอายุได้

            อย่างไรก็ตามสถานภาพทางสังคมในปัจจุบันซึ่งผู้สูงอายุและบุคคลต่างวัย มักมีความแตกต่างกันมากทั้งในด้านความคิด ความเชื่อและการดำเนินชีวิต ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางครอบครัวจากครอบครัวใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบางแง่มุม ทั้งทางด้านอารมณ์ จิตใจและสังคมเช่นการไปวัดทำบุญกับลูกหลาน รวมทั้งการพูดคุยกับบุคลต่างวัยลดน้อยลงส่งผลทำให้จิตใจ เหงาซึม ไม่มีความสดชื่น

            ความผาสุกโดยทั่วไปของผู้สูงอายุ หรือความรู้สึกเป็นสุกนั้น เกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจที่ผู้สูงอายุ มีความรู้สึก มีชีวิตชีวา มีความสามารถในการควบคุมตนเอง มีความรู้สึกเป็นสุขมากกว่าความวิตกกังวล ความรู้สึกซึมเศร้า และความห่วงใยเกี่ยวกับภาวะสุขภาพโดยทั่วไป ( Dupuy, 1977 cited in McDowell & Newell, 1987 ) มีความพึงพอใจในชีวิต รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย ( Kaplan etal., 1984 )

            ด้วยเหตุดังกล่าวมาผู้วิจัยจึงมีความสนใจจะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัยในสภาพแวดล้อมและสังคมต่างๆในพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งจะทำให้เราได้รับรู้ถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น อันจะนำไปสู่การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมที่จะทำให้ผู้สูงอายุได้มีชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขทั้งทางกายและทางจิตใจ อันน่าจะส่งผลให้เกิดความผาสุกขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

             1. ศึกษาความผาสุก ของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัย
            2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัย

คำถามการวิจัยหรือสมมติฐาน
            1.ความผาสุก เขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราดเป็นอย่างไร
            2. ปัจจัยส่วนบุคคล  การรับรู้ภาวะสุขภาพและสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุหรือไม่อย่างไร

ตัวแปรการวิจัย
            ตัวแปรต้น ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ  ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เศรษฐานะ การรับรู้ภาวะสุขภาพ และสัมพันธภาพของผู้สูงอายุ
            ตัวแปรตาม ความผาสุก

นิยามศัพท์การวิจัย

            ครอบครัวสามวัย หมายถึง ครอบครัวขยายที่ประกอบด้วยสมาชิกบุคคล 3 วัยได้แก่เด็ก วัยผู้ใหญ่หนุ่มสาวที่เป็นบิดา มารดา ผู้สูงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิงในเขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด
            ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่ทีอายุตั้งแต่ 55  ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีความเกี่ยวพันเป็น ปู่ ยา ตา ยาย กับเด็ก มิใช่เป็นผู้รับจ้างดูแลเด็กหรือมีส่วนในการเลี้ยงดูเด็กและอยู่ในครอบครัวสามวัย
            วัยเด็ก หมายถึง วัยเด็กแรกเกิด 0-5 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดตราดและอยู่ในครอบครัวสามวัย
            วัยผู้ใหญ่หนุ่มสาว หมายถึง บิดา มารดา ของเด็ก ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เกาะช้างจังหวัดตราดและอยู่ในครอบครัวสามวัย
           
           ความผาสุก หมายถึง ความรู้สึกมีความสุข มีความพอใจในชีวิต วัดได้จากความสุขในการดำรงชีวิตประจำวัน ความรู้สึกกระฉับกระเฉง ความสดชื่นแจ่มใสมีชีวิตชีวา มีพละกำลังมีอารมณ์มั่นคง มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้สึกมีความมั่นใจในตนเอง และมีความรู้สึกผ่อนคลายมากกว่ามีความรู้สึกเครียด หรือกังวลใจ หรือว่าวุ่นใจ หรือท้อใจ หมดกำลังใจ หรือหมดหวัง หรือซึมเศร้า หรือเป็นทุกข์ (อ้างในสกุลรัตน์  เตียววานิช , 2545 : 11 )
           
             การรับรู้ภาวะสุขภาพ หมายถึง การที่ผู้สูงอายุบอกถึงความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะสุขภาพโดยทั่วไปของตนเอง ประกอบด้วย ความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนในปัจจุบัน ความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเมื่อเปรียบเทียบกับบุคลวัยเดียวกัน

            สัมพันธภาพ หมายถึง ความสัมพันธ์ของผู้สูงอายุกับครอบครัวและสังคม

การทบทวนวรรณกรรม
            1.ความผาสุกของผู้สูงอายุ
            2. แนวคิดเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคม
            3.ทฤษฏีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Harry Stack Sullivan
            4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกในผู้สูงอายุ
            5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขตการวิจัย

            การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัยในเขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1.      ได้ทราบถึงความผาสุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัยที่ดูแลเด็ก
2.      ผลการวิจัยจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดโครงการสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัย
3.      เป็นแนวทางศึกษาวิจัยในการส่งเสริมความผาสุกของผู้สูงอายุในประเด็นอื่นในอนาคต

แบบวิจัยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  ( Descriptive Research)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์( Correlation Study)ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สัมพันธภาพ  การรับรู้ภาวะสุขภาพกับความผาสุกของผู้สูงอายุ
                ประชากร               ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่ทีอายุตั้งแต่ 55  ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีความเกี่ยวพันเป็น ปู่ ยา ตา ยาย หรือเป็นญาติกับเด็ก มิใช่เป็นผู้รับจ้างดูแลเด็กหรือทำหน้าที่หรือมีส่วนในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวสามวัยในเขตพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด  โดย
1.      สามารถสนทนาหรือตอบแบบสอบถามได้
2.      เป็นผู้ยินยอมให้ความร่วมมือ
ในการศึกษาครั้งนี้ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2550 
                กลุ่มตัวอย่าง        กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวสามวัยกระจายอยู่ในเขตเกาะช้าง จังหวัดตราด ได้มาโดยการใช้หลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) ซึ่งใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple  random sampling)
                                การคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ( Sample size) ผู้วิจัยคำนวณโดยใช้สูตรของ  Yamane (1973)  ดังนี้
                                                n          =    N
                                                                             1+ Ne
                                                n          = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
                                                N         = ขนาดของประชากร
                                                e          = ค่าความคลาดเคลื่อนของการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
                                โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่างไว้ที่ 0.05

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการตรวจสอบหาคุณภาพเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบสอบถามที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย นางสาวสกุลรัตน์  เตียววานิช  และปรับปรุงจากแบบวัดของผู้วิจัยท่านอื่น โดยแบบสอบถามออกเป็น 4  ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1. ปัจจัยส่วนบุคล  เช่น เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เศรษฐานะ
ส่วนที่ 2. แบบสอบถามความผาสุก
ส่วนที่ 3 . แบบสอบถามสัมพันธภาพ
ส่วนที่ 4 แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ
ส่วนที่ 1. ปัจจัยส่วนบุคลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง  เป็นลักษณะให้เลือกตอบ ประกอบด้วย เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เศรษฐานะ มีรายละเอียดดังนี้
                เพศ แบ่งเป็น เพศชาย และเพศหญิง
                ระดับการศึกษาแบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับต่ำกว่าประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
                สถานภาพสมรส แบ่งเป็น ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่รวมกัน(สถานภาพคู่) กับผู้ที่ไม่ใช้ชีวิตอยู่รวมกัน( สถานภาพสมรสโสด หม้าย หย่า แยก)
                เศรษฐานะ แบ่งเป็น เพียงพอ กับ ไม่เพียงพอ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความผาสุก ประกอบด้วยข้อคำถาม 18 ข้อ แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 มีข้อคำถาม 14 ข้อ แบ่งเป็นข้อคำถามที่มีความหมายด้านบวก 7 ข้อ และทางด้านลบ 7 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ ( 0-5 คะแนน ) คะแนนรวมในส่วนที่ 1 จะอยู่ในช่วง 0-70 คะแนน
ส่วนที่ 2 มีข้อคำถาม 4 ข้อ แบ่งเป็น ข้อความที่มีความหมายด้านบวก 2 ข้อและทางลบ 2 ข้อ ลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่าเชิงเส้นตรง จาก 0-10 คะแนน คะแนนรวมในส่วนที่ 2 นี้อยู่ในช่วง 0- 40 คะแนน
การตอบแบบสอบถามพิจารณาตามเกณฑ์ดังนี้
มากที่สุด           หมายถึง            ผู้ตอบมีความรู้สึกตรงกับข้อความในคำถามมากที่สุด
มาก                  หมายถึง            ผู้ตอบมีความรู้สึกตรงกับข้อความในคำถามมาก
ค่อนข้างมาก      หมายถึง            ผู้ตอบมีความรู้สึกตรงกับข้อความในคำถามค่อนข้างมาก
ค่อนข้างน้อย      หมายถึง            ผู้ตอบมีความรู้สึกตรงกับข้อความในคำถามค่อนข้างน้อย
น้อย                  หมายถึง            ผู้ตอบมีความรู้สึกตรงกับข้อความในคำถามน้อย
น้อยที่สุด           หมายถึง            ผู้ตอบมีความรู้สึกตรงกับข้อความในคำถามน้อยที่สุด
            การพิจารณาตามเกณฑ์ดังนี้
ข้อความที่มีความหมายทางบวก                            ข้อความที่มีความหมายทางลบ
ถ้าเลือกมากที่สุด            ให้คะแนน 5 คะแนน                   ให้ 0 คะแนน
ถ้าเลือกมาก                   ให้คะแนน 4 คะแนน                   ให้ 1 คะแนน
ถ้าเลือกค่อนข้างมาก       ให้คะแนน 3 คะแนน                   ให้ 2 คะแนน
ถ้าเลือกค่อนข้างน้อย       ให้คะแนน 2 คะแนน                   ให้ 3 คะแนน
ถ้าเลือกน้อย                   ให้คะแนน 1 คะแนน                   ให้ 4 คะแนน
ถ้าเลือกน้อยที่สุด            ให้คะแนน 0 คะแนน                   ให้ 5 คะแนน
นำคะแนนจากตอนที่ 1 และตอนที่ 2 รวมกัน คะแนนรวมทั้งหมดของแบบวัดจะอยู่ในช่วง0-110 คะแนน
การแปรคะแนนตามระดับความผาสุก
0-60  คะแนน    หมายถึง มีความผาสุกในชีวิตระดับต่ำ
61-72 คะแนน   หมายถึง มีความผาสุกในชีวิตระดับปานกลาง
73-110 คะแนน หมายถึง มีความผาสุกในชีวิตระดับสูง
ส่วนที่ 3. แบบสอบถามสัมพันธภาพ มีจำนวน 15 ข้อ โดยคำถามแต่ละข้อมีคะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ คือ ใช่ ไม่แน่ใจ ไม่ใช่   โดยกำหนดเกณฑ์ประมาณค่าไว้ดังนี้
ไม่ใช่                      หมายถึง                 รู้สึกว่าสุขภาพโดยทั่วไปไม่ดี
ไม่แน่ใจ                หมายถึง                 รู้สึกว่าสุขภาพทั่วไปอยู่ระดับปานกลาง
ใช่                           หมายถึง                 รู้สึกว่าสุขภาพทั่วไปดี
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช่                           ให้คะแนน            3              คะแนน
ไม่แน่ใจ                ให้คะแนน            2              คะแนน
ไม่ใช่                      ให้คะแนน            1              คะแนน
การแปรผลพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยดังนี้
แบ่งออกเป็น 3 ดับ โดยคำนวณความกว้างของแต่ละระดับตามสูตรดังนี้ ( Daniel , 1991:7)
                พิสัยของช่วงคะแนน =       ค่าคะแนนสูงสุด - ค่าคะแนนต่ำสุด
                                                                                  ระดับที่ต้องการ
การแปลผลคะแนนระดับสัมพันธภาพได้ดังนี้
 ค่าคะแนนเฉลี่ย       2.34- 3.00      สัมพันธภาพอยู่ในระดับดี
 ค่าคะแนนเฉลี่ย        1.67- 2.33     สัมพันธภาพอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าคะแนนเฉลี่ย        1.00 – 1.66      สัมพันธภาพอยู่ในระดับไม่ดี
ส่วนที่ 4. แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีจำนวน 3 ข้อ โดยคำถามแต่ละข้อมีคะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ คือ ไม่ดี ปานกลาง และดี  โดยกำหนดเกณฑ์ประมาณค่าไว้ดังนี้
ไม่ดี                        หมายถึง                 รู้สึกว่าสุขภาพโดยทั่วไปไม่ดี
ปานกลาง              หมายถึง                 รู้สึกว่าสุขภาพทั่วไปอยู่ระดับปานกลาง
ดี                             หมายถึง                 รู้สึกว่าสุขภาพทั่วไปดี
เกณฑ์การให้คะแนน
ดี                             ให้คะแนน            3              คะแนน
ปานกลาง              ให้คะแนน            2              คะแนน
ไม่ดี                        ให้คะแนน            1              คะแนน
การแปรผลพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยดังนี้
แบ่งออกเป็น 3 ดับ โดยคำนวณความกว้างของแต่ละระดับตามสูตรดังนี้ ( Daniel , 1991:7)
                พิสัยของช่วงคะแนน =       ค่าคะแนนสูงสุด - ค่าคะแนนต่ำสุด
                                                                                  ระดับที่ต้องการ
การแปลผลคะแนนระดับของการรับรู้ภาวะสุขภาพได้ดังนี้
 ค่าคะแนนเฉลี่ย       2.34- 3.00      ภาวะสุขภาพตามการรับรู้อยู่ในรับดี
 ค่าคะแนนเฉลี่ย        1.67- 2.33       ภาวะสุขภาพตามการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง
ค่าคะแนนเฉลี่ย        1.00 – 1.66      ภาวะสุขภาพตามการรับรู้อยู่ในระดับไม่ดี

การหาคุณภาพเครื่องมือ

การหาความตรงตามเนื้อหา  (Content Validity  )  เป็นการหาความเที่ยงตรงของแบบสอบถามในด้านสำนวนภาษา  และการใช้ข้อความซึ่งเกี่ยวกับวิธีการคำศัพท์เฉพาะของผู้สูงอายุ  โดยผู้วิจัยนำแบบสอบที่ขอยืมมาจากผู้วิจัยท่านอื่นที่ได้ตรวจสอบแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน  8  ท่าน  ความเห็นตรงกันร้อยละ  80 แล้ว
การหาความเที่ยง(Reliability )  ของแบบสอบถามโดยนำไปใช้ทดลองใช้  กับผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัยที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แล้วนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดและหาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธ์แอลฟา ( alpha – coefficient ) ของ Cronbach

การเก็บรวบรวมข้อมูล
          1.  เขียนโครงร่างวิจัยพร้อมเครื่องมือการวิจัยส่งคณะพยาบาลศาสตร์
            2.  ผู้วิจัยขอหนังสือแนะนำตัวจากคณะพยาบาลศาสตร์ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะช้าง พร้อมทั้งส่งโครงร่างวิจัยพร้อมเครื่องมือในการวิจัย เพื่อขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูล
            3.  ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงสำรวจตามพื้นที่เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
            4. สัมภาษณ์ผู้สูงอายุในครอบครัวสามวัยในพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด

การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  โปรแกรม SPSS / PC+  ในการประมวลผล  และวิเคราะห์ข้อมูล  โดยมีขั้นตอนดังนี้
-          วิเคราะห์ข้อมูล เพศ สถานภาพสมรส เศรษฐานะ ระดับการศึกษา ด้วยสถิติพื้นฐานความถี่และร้อยละ
-          วิเคราะห์ การรับรู้ภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพ ความผาสุกด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำแนกตามรายข้อ รายด้านโดยรวม
-          วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ เศรษฐานะ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษากับความผาสุกด้วย สถิติทดสอบไคสแควร์ และทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05
-          วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง  การรับรู้ภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพ กับความผาสุก ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยสถิติทดสอบที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


 

หมายเลขบันทึก: 17291เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2006 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

รบกวนสอบถามสูตร Yamane อีกทีคะ ว่า n=(N/(1+Ne) หรือ n = (N/(1+Ne^2) โดยแทนค่า e = 0.05 เคยเจอในบางตำราน่ะคะ ขอบคุณมากคะ 

ใช้สูตรทาโร  ยามาเน (Taro Yamane, 1973 : 125)

          สูตร           n = (N/(1+Ne^2)           

 เมื่อ    n  แทน  ขนาดของกลุ่มตัวอย่ง               N  แทน  ขนาดของประชากร

                   e  แทน  ความคลาดเคลื่อนของการสุ่ม

ใช้สูตรนนี้ครับ..ขอบคุณเอิร์ธ หลายๆ

ผมสนใจในวิจัยเรื่องนี้ ขอเบอร์โทรติดต่อได้ไหมครับ

กำลังศึกษาความผาสุกของบุคลากรสาธารณสุขอยู่ เรียนปรึกษาอาจารย์ ขอเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อ ค่ะขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ คุณจันทิมา
  • ยินดีให้คำปรึกษา สามารถช่วยได้ก็จะช่วยครับ
  • แต่ช่วงนี้ผมยังไม่ค่อยว่างเลย
  • กำลังสรุปทำรูปเล่มรายงานอยู่ครับ
  • งานวิจัยก็เป็นแค่โครงร่างเฉยๆยังไม่ได้ลงมือเก็บข้อมูลเลยครับ

 

อาจารย์ค่ะ ต้องการยืมเครื่องมือมาใช้ในการวิจัยเรื่องศึกษาความผาสุกของบุคลากรสาธารณสุขจะทำหนังสือไปที่หน่วยงานอาจารย์ปฎิบัติงานอยู่ได้ไหมคะ

 ขอบพระคุณค่ะ

เข้ามาแวะ เจอข้อมูลดีดี ขอบพระคุณมากนะคะ

แวะเข้ามาหาข้อมูล ขอบคุณคะ

อาจารย์ค่ะ พอจะมีบรรณานุกรมที่อาจารย์ศึกษาหรือป่าวค่ะของสูตรทาโร่ ยามาเน่ค่ะถ้ามี

รบกวนอาจารย์ส่งเข้าในเมล์ได้ไหมค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ (สำคัญมากค่ะ)

ดิฉันสนใจงานวิจัยชิ้นนี้ ถ้าต้องการสอบถามเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลจะสามารถติดต่อใครค่ะ ขอรบกวนอาจารย์ช่วยส่งเข้างเมลให้ได้ไหมค่ะ ขอบพระคุณอย่างมากค่ะ

กรุณาบอกชื่อหน่อย

ช่วยให้ข้อมูลหนูได้ไหม

หนูทำวิจัยเรื่องเดียวกัน

กับอาจารย์เลยค่ะ

เรื่องนี้หนูสนใจมากๆๆเลยค่ะ

ช่วยหนูหน่อยค่ะ

กำลังศึกษาเรื่องความผาสุกแต่เป็นในผู้ป่วยมะเร็ง  อ.มีคำแนะนำหรือแหล่งที่มีแบบประเมินให้บ้างไหมคะ  ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท