Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๘)


ห้องเรียน KM (11)

ประเด็นนำเสนอ        เสวนาบทบาทของ CKO  ต่อการจัดการความรู้ในโรงเรียน (๕)
                            เรื่องเล่าจากการปฏิบัติของ CKO  บทบาทของผู้ผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

ผู้เข้าร่วมประชุม :
          ในช่วงนี้ขอซักถาม สักสองคำถาม  ตัวดิฉันเป็น CKO ที่เป็นโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่ายของ ผอ. สุเมธ  ปานะถึก   ความสำเร็จของ KM มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำปฏิรูปการเรียนรู้ ไม่ทราบว่าจะสามารถที่จะวัดความสำเร็จได้หรือไม่ ถ้าวัดได้จะวัดจากไหน อะไรจะเป็นตัวชี้วัด  อันที่สอง ถามว่าเป็น CKO ของ KM แล้ว ได้อะไร

อาจารย์ชาญเลิศ  อำไพวรรณ  :
         คงต้องให้ท่านอื่นที่อยู่บนเวที ช่วยด้วย  วัดจากสิ่งที่ผมพูดในช่วงเช้า ว่าในธารปัญญา เรารู้ว่าจุดที่เราอยู่ เรารู้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ ถ้าแบ่งระดับความสำเร็จออกเป็น  5  จุด  ในเรื่องนี้เราอยู่ระดับไหน สมมติว่าเราอยู่ที่ระดับ  2  สิ้นปีหรือสิ้นภาคเรียน เราตั้งเป้าหมายไว้ที่ไหน ตั้งไว้  4  หรือตั้งไว้  5  เราไปถึงจุดที่ตั้งไว้หรือไม่  คนที่ประเมินก็คือตัวคน คนที่ทำงาน เพราะฉะนั้น คนที่ทำงานไม่ได้ประเมินคนเดียว มันเป็นระบบประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องเห็นด้วยทุกคน ถ้าท่านเข้าไปอยู่ในกระบวนการเกมส์แล้ว ท่านจะเห็นกระบวนการประชาธิปไตย เริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนไปสิ้นสุดจุดการประเมิน แล้วก็นำไปสู่การระยะใหม่ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็คือที่ว่าเราวัดจากจุดอะไร เพราะวัดจากผลสำเร็จ
         คำถามว่าที่เป็น CKO ได้อะไร ก็ความรู้ที่เราทำก็คือ การปฏิบัติ เราปฏิบัติโดยที่เราไม่ได้นึกว่ามันควรจะเป็น อย่าลืมว่า ในเรื่องของความรู้นั้น มันมีอยู่ 4 ส่วน  หนึ่งรู้ว่ารู้อะไร  สองรู้ว่าไม่รู้อะไร  สามไม่รู้ว่ารู้อะไร  และก็สี่ไม่รู้ว่าไม่รู้อะไร  เพราะฉะนั้นเป็น  CKO แล้วท่านก็คงจะต้องตอบได้ว่าใน 4 ข้อนั้นท่านรู้อะไรบ้าง ไม่รู้อะไรบ้างและมีอะไรที่เราไม่รู้บ้าง มันต้องลงในรายละเอียดว่า เรื่องอะไร เป็น  CKO แล้วรู้ว่าเรื่องอะไรที่จะต้องทำ จะได้รู้ขึ้นมา

ดร. ปฐมพงษ์  ศุภฤกษ์ :
         ผมอยากจะให้กำลังใจท่าน และอยากจะมองว่าในมุมมองขององค์กรวิชาชีพชั้นสูง เพื่อจะได้เห็นความหลากหลายของคำตอบ นอกจากจะได้ตามที่ท่าน ผอ. สุเมธ ท่านพูดแล้ว ในบทบาทของคุรุสภาซึ่งจะกำกับ ดูแลมาตรฐาน ก็จะส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น ศึกษานิเทศก์  เราจะมีเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน เพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพส่วนหนึ่ง และก็จะมีกระบวนการในการยกย่อง เชิดชูเกียรติ  ให้กำลังใจกับผู้ที่ประกอบคุณงามความดี จะมีครูบาอาจารย์หลายท่านที่ได้รับการยกย่อง มีการประกาศเกียรติคุณครูดีในดวงใจ ก็มีการประกาศเกียรติคุณครูภาษาไทยดีเด่น หรือครูผู้ประกอบหน้าที่การสอนดีเด่นต่างๆ ที่กล่าวมา เพราะฉะนั้นบทบาทของท่านในฐานะเป็นผู้บริหาร แม้ว่าตัวท่านเอง ท่านจะไม่ได้แสดงตัว หรือจะไม่ได้บอกว่าท่านได้ทำอะไรให้กับสังคม แต่สังคมจะเป็นคนบอกท่าน ขณะนี้เรามีองค์กร ที่เรียกว่า คกบศ. หรือคณะกรรมการอนุกรรมการข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษา ที่มีองค์ประกอบของกรรมการคุรุสภาในเขตพื้นที่ทั้ง 175 เขต ก็จะมีบทบาทในการช่วยส่งเสริม ให้กำลังใจ และก็ให้มีการประกาศยกย่องบุคคลเหล่านี้ ท่านก็อยู่ในส่วนที่พวกเราจับตามองอยู่ ในบทบาทในเรื่องของการเสริมสร้างกำลังใจ ก็น่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านได้ยืนหยัด ต่อสู้ มีกำลังใจในการทำงานต่อไป

อาจารย์ชาญเลิศ  อำไพวรรณ:
         ในส่วนของโรงเรียนวัดศรัทธาธรรมของเรานั้น  เราจะมี  3  ส่วน  ส่วนแรกก็คือ ตัวผู้เรียน ในลักษณะกิจกรรมที่เราดำเนินการมานั้น ก็คือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพราะโรงเรียนมีแนวทาง นำแนวทางวิถีพุทธมาใช้ และผลงานการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ที่โรงเรียนจะเป็นเชิงปฏิบัติ ถ้าเมื่อเช้าท่านดู VTR แล้วจะเห็นว่า โรงเรียนวัดศรัทธาธรรมยังไม่มีพื้นที่เลย เห็นรูปแล้วก็จะอยู่ใช้หน้าอาคารเรียน ในห้องเรียน บริเวณจะอยู่ตรงนั้น ที่เข้าแถวก็มีอยู่นิดเดียว เพราะโรงเรียนนั้นมีที่เฉพาะอาคารเรียนหนึ่งหลัง สองชั้น  20  ห้อง  เท่านั้นเอง  ไม่มีส่วนอื่นเลย ถ้าด้านบุคลากรด้านที่สอง  เราวัดจากความพึงพอใจ ในปีการศึกษานี้เรามีการวัดความพึงพอใจในบุคลากรนี้ ในเชิงในลักษณะงานวิจัย ทั้งบุคลากรในโรงเรียนและ ผู้ปกครองในชุมชน ในส่วนตรงนี้ว่าเรานำกิจกรรมมาใช้ ลักษณะกิจกรรมตรงนี้มันเป็นอย่างไรบ้าง  ในด้านที่สาม ผลงานจากการบริหารจัดการ ในเมื่อเรามีการแบ่งกลุ่มกันทำงาน มันก็ต้องมีโครงการ มีกิจกรรม เราวัดจากโครงการและกิจกรรม และโครงการนั้นกิจกรรมนั้น เราทำแล้วโครงการสำเร็จ มันก็จะมาชี้วัดได้ว่า ในลักษณะที่เราเป็น CKO เกี่ยวกับ KM นั้น ก็ประสบผลสำเร็จใช่ไหม เพราะว่าถ้างานออกมาดีอย่างที่เมื่อเช้าผมว่า นโยบายของ CKO ก็คือจะต้องผสมงาน ผสานสังคม และก็สร้างเสริมความสุข ถ้าเราทำสามอย่างนี้ได้ CKO ของคนนั้นก็ประสบผลสำเร็จ

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา  :
         บทบาทความรู้ของ CKO ที่มีต่อในโรงเรียนนั้น  จะขอนำเสนออยู่ 4 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งจะมองว่า ความสำคัญของ KM มีอะไรบ้าง ประเด็นที่สองจะดูว่า คุณลักษณะและบทบาทของ CKO จะเป็นอย่างไร และบทบาทที่สำคัญของ CKO ก็คือ กลยุทธ์ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และสุดท้าย ผลสัมฤทธิ์ของ KM ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน  สำหรับประเด็นแรกความสำคัญของ KM ในโรงเรียน เรามองว่า KM เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการสร้างกระบวนการการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อที่จะยกระดับความรู้ของครู นักเรียน และก็ขยายไปสู่ชุมชนด้วย นอกจากนั้นก็ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างเครือข่ายและก็ผนึกกำลังร่วมกันในการทำดำเนินกิจกรรมทั้งในระดับบุคคล องค์กร และก็บุคคลทีม และองค์กร ชุมชนและสังคม และที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือว่า มีเครื่องมือที่นำไปสู่ขุมทรัพย์หรือว่าคลังแห่งความรู้และภูมิปัญญา อันนี้ถือว่า KM เป็นเครื่องมือหนึ่งในโรงเรียน ส่วนคุณลักษณะของ CKO และก็บทบาทที่ CKO ที่เราได้จากเวทีนี้ และท่านที่นำเสนอให้กับเรา คุณลักษณะที่เป็นไทยๆ สำคัญมากเลยก็คือ มีความอบอุ่น มีความเมตตา มีความกรุณา และก็เอื้อให้เกิดวิถีการปฏิบัติในองค์กร ประการที่สองคุณลักษณะที่สำคัญก็คือ เป็นคุณเอื้อ คอยสนับสนุน กระตุ้น ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ที่หลากหลายและต่อเนื่อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในทุกๆ กระบวนการ โดยจะขอยกตัวอย่างให้เห็น การเอื้อ เอื้อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้  บรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ ฟัง วิธีคิดเชื่อมั่นใจศักยภาพของคน และเชื่อว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้   นอกจากนั้นเอื้อตรงนั้นยังไม่พอ เอื้อรวมไปถึงจิตใจ ร่างกาย ความรู้และก็เอื้อในเรื่องของการให้บริการ นอกจากนั้น CKO ในโรงเรียนจะต้องสนับสนุนในเรื่องของการกระจายอำนาจ โดยยกตัวอย่างให้เห็นว่ามีการกระจายอำนาจในทุกช่วงชั้นของสถานศึกษา และก็สร้างโอกาส ให้โอกาสทุกคนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นก็ยังให้เกิดการกระตุ้นการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวได้อย่างเต็มที่ อีกบทบาทหนึ่งก็คือ ส่งเสริมกระบวนการบูรณาการ โดยใช้วิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย ถ้ามันอยู่ใน internet ตรงนี้มันก็จะเป็น web link เข้าไป ด้วยบูรณาการที่หลากหลาย ก็จะมีเป็นสิบ ๆ วิธีให้เราเรียนรู้เลย นี่คือพลังของขุมทรัพย์ที่เราได้ นอกจากนั้นก็ยังสนับสนุนการขยายเครือข่ายซึ่งไปยังผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร และก็สังคม อันนี้จะเป็นคุณลักษณะจะต้องมีความรัก ศรัทธา เชื่อมั่นและมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ ก็มีความอดทนสูงต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น มีบุคลิกภาพที่มีสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับคนรอบข้างได้ในทุกระดับ สำหรับกระบวนการและกลยุทธ์ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ก็สร้างบุคลากรให้มีภาวะผู้นำ ส่งเสริมให้ครูจัดการการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ และก็ทำให้ครูทำงานร่วมกับผู้อื่นได้รอบด้าน และสร้างกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนช่วยเพื่อนที่ดูแลน้อง และเครือข่ายผู้ปกครองชุมชน กิจกรรมหนึ่งก็คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ นอกจากนั้นก็ยังมีการสื่อสารโดยการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ประชุมก็กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีการแลกเปลี่ยนเก็บเกี่ยวความรู้นำไปใช้งาน เก็บเป็นคลังความรู้ เพื่อให้ผู้อื่นได้ค้นคว้าต่อไปในอนาคต และก็มีการสร้างความร่วมมือในลักษณะของหุ้นส่วนเครือข่าย และในกลุ่มคนเหล่านั้นก็ต้องมีพันธะสัญญาที่จะสร้างและก็พัฒนาสิ่งดี ๆ ร่วมกัน สิ่งหนึ่งที่เจอก็คือ เขาพยายามสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันในธุรกิจเกิดขึ้น เมื่อไรก็ตามที่เรามีความเป็นเจ้าของในองค์กรนั้น เราก็ต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อความสุขของคนที่อยู่ในองค์กร และสร้างเกมส์ความสำเร็จและก็วิเคราะห์ความสำเร็จของตนเอง ของทีม และขององค์กร เพื่อให้เขาเห็นเส้นทางอาชีพของเขา มีเส้นทางการเติบโตอย่างไร    นั่นคือหน้าที่และบทบาทของ CKO    แล้วเวลาที่เอา KM เข้าไปใช้ ผลสัมฤทธิ์ของ KM ที่เกิดในโรงเรียนมีอะไรบ้าง มีก็คือเด็กรู้จักการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาได้ ครูมีความสุข กระตือรือร้นในการสอน และก็มีการพัฒนาตนเอง งาน องค์กร และก็เป้าหมายที่รัฐบาลหรือว่าที่เราอยากให้เป็นก็คือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร ผลสัมฤทธิ์อีกประการหนึ่งก็คือ พัฒนาคน พัฒนางาน รวมทั้งการแก้ปัญหาและก็ยกระดับความรู้ในองค์กร ที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือว่า เราจะได้ขุมทรัพย์ความรู้ที่ให้คนอื่นเข้ามาใช้เพิ่มเติมกันได้ นอกจากนั้นผลสัมฤทธิ์ก็ยังขยายผลไปยังครอบครัวของเด็ก ของชุมชน ของสังคม และเป้าหมายสูงสุดในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็คือ เครือข่ายก้าวสู่เส้นทางปฏิรูปการเรียนรู้ อันนี้เป็นบทสรุปจากคุณลิขิต     สุดท้ายในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ตั้งคำถามไว้ว่า ท่านเข้ามาอบรมสัมมนาการจัดการความรู้ เพราะฉะนั้น ท่านควรออกไปอย่างนักจัดการความรู้ ท่านจะทำอย่างไร ที่มองให้อย่างเร็วๆ หนึ่งคือ มอบเอกสารส่วนตัวให้กับองค์กร เพื่อให้คนอื่นได้ใช้ความรู้ต่อไป นั่นคือบันไดขั้นที่หนึ่ง อย่ากั๊ก อย่าหวง ไว้เป็นความรู้ของตัวเอง นำเข้าสู่ห้องสมุดส่วนกลาง หรืออะไรก็ตามที่คนอื่นไม่มีโอกาสได้มาเรียนรู้อย่างเรา บันไดขั้นที่สอง จัดเวทีเล่าสู่กันฟัง สิ่งที่ดี ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระตุ้นองค์กร  ประการที่สาม ก็คือสรุปสิ่งที่ดี ๆ สิ่งที่ประทับใจให้กับผู้บังคับบัญชา แล้วก็เสนอโครงการพัฒนางาน พัฒนาระบบ โดยที่ไม่ตั้งเป้าหมายว่าเราอยากได้อะไร เพื่อให้การพัฒนามีไปอย่างต่อเนื่อง นั่นคือเราเรียกว่าเราได้ใช้การจัดการความรู้เข้าไปสอดแทรก เพราะฉะนั้นใครที่ส่งท่านมาเข้าประชุมในวันนี้ก็คงเห็นถึงผลสัมฤทธิ์อย่างเร็ว ในการที่ท่านเข้ามาประชุมการจัดการความรู้ในวันนี้     ปีหน้าผู้บังคับบัญชาของท่าน เจ้านายของท่านอาจจะส่งคนมาเยอะ ๆ เพื่อเอาไปขยายและก็สร้างการจัดการความรู้และก็ยกระดับจากความรู้ในองค์กร สังคม และประเทศชาติต่อไป เพื่อเข้าสู่สังคมแห่งฐานความรู้อย่างเป็นรูปธรรม


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17234เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2006 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อาจารย์จอย  สุดยอดเจงๆ อิอิ อาจารย์ผมมมมมม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท