SIMPLE - Thai Patient Safety Goals


SIMPLE คืออักษรย่อของหมวดหมู่ใหญ่ๆ สำหรับ Patient Safety Goals เพื่อความง่ายในการจดจำ และรองรับเป้าหมายหรือความท้าทายใหม่ๆ ที่จะมีมาในอนาคต

          Patient Safety เป็นปัญหา ปรากฏในรายงานวิชาการและข่าวสารทางสื่อมวลชน

          Patient Safety เป็นความท้าทาย ที่ WHO ประกาศท้าทายความสามารถของสมาชิกทั่วโลก (Global Patient Safety Challenge)

          Patient Safety เป็นความคาดหวังและความต้องการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

          Patient Safety เป็นปรัชญาที่จะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมใหม่ของการเปิดใจ ไม่กล่าวโทษ มุ่งประโยชน์อนาคต  โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบด้วยความเข้าใจในข้อจำกัดที่เป็นธรรมชาติของคน

          Patient Safety มีคำตอบที่ผ่านการทดสอบมาแล้วจำนวนหนึ่ง ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที (Patient Safety Solution - PSS)

          Patient Safety Solution 5 หัวข้อ จะถูกนำไปปฏิบัติและพัฒนาต่อเนื่องในประเทศพัฒนาแล้ว 7 ประเทศ ในเวลา 5 ปีข้างหน้าภายใต้โครงการ High 5s

          Patient Safety Goals – PSG เป็นเป้าหมายความปลอดภัยที่เชิญชวนให้พิจารณานำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ควบคู่กับการติดตามผล

          SIMPLE คืออักษรย่อของหมวดหมู่ใหญ่ๆ สำหรับ Patient Safety Goals เพื่อความง่ายในการจดจำ และรองรับเป้าหมายหรือความท้าทายใหม่ๆ ที่จะมีมาในอนาคต

          S = Safe Surgery (2nd Global Patient Safety Challenge)

          I = Infection Control (Clean Care ใน 1st Patient Safety Challenge)

          M = Medication & Blood Safety

          P = Patient Care Process

          L = Line, Tube, Catheter

          E = Emergency Response

 

Patient Safety Goals & Solutions

S: Safe Surgery

S 1

SSI Prevention

S 2

Safe anesthesia

S 3

Safe surgical team

S 3.1

Correct procedure at correct body site (High 5s / WHO PSS#4)

S 3.2

Surgical Safety Checklist

 

 

I: Infection Control (Clean Care is Safer Care)

I 1

Hand Hygiene / Clean Hand  (High 5s / WHO PSS#9)

I 2

Prevention of Healthcare Associated Infection

I 2.1

CAUTI Prevention

I 2.2

VAP Prevention (HA)

I 2.3

Central line infection Prevention (WHO PSS)

 

 

M: Medication & Blood Safety

M 1

Safe from ADE

M 1.1

Control of concentrated electrolyte Solutions (WHO PSS#5)

Managing Concentrated Injectable Medicines (High 5s)

M 1.2

Improve the safety of High-Alert Drug

M 2

Safe from medication error

M 2.1

Look-Alike Sound-Alike medication names (LASA) (WHO PSS#1)

M 3

Medication Reconciliation / Assuring medication accuracy at transition in Care (High 5s / WHO PSS#6)

M 4

Blood Safety

 

 

P : Patient Care Processes

P 1

Patients Identification (WHO PSS#2)

P 2

Communication

P 2.1

Effective Communication –SBAR

P 2.2

Communication during patient care handovers (High 5s / WHO PSS#3)

P 2.3

Communicating Critical Test Results (WHO PSS)

P 3

Proper Diagnosis (HA)

P 4

Preventing common complications

P 4.1

Preventing Pressure Ulcers (WHO PSS)

P 4.2

Preventing Patient Falls (WHO PSS)

 

 

L : Line, Tube & Catheter

L 1

Avoiding catheter and tubing mis-connections (WHO PSS#7)

 

 

E: Emergency Response

E 1

Response to the Deteriorating Patient / RRT

E 2

Sepsis (HA)

E 3

Acute Coronary Syndrome (HA)

E 4

Maternal & Neonatal Morbidity (HA)

ที่มาของ SIMPLE มาจากนักเรียน external surveyor กลุ่มล่าสุดครับ ระหว่างที่เราเชิญมาทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อม ทีมงานก็บอกว่าอยากจะทำกิจกรรมเกี่ยวกับ patient safety goal ให้ในงานประชุม National Forum ผมก็เอา Patient Safety Goal ที่ลองจัดหมวดหมู่ไว้มาให้ดู ตอนนั้นยังไม่ได้เป็น SIMPLE ยังเป็นหมวดหมู่แบบชื่อเดิมที่เรียกกันอยู่ เช่น Clean Care is Safer Care Safe Surgery Save Lives Medication Safet ฯลฯ ระหว่างพักรับประทานอาหารว่าง สมาชิกซึ่งนำโดยคุณรุ่งอรุณ ก็คุยกันแล้วได้ออกมาเป็น SIMPLE ให้จดจำได้ง่ายๆ จากนั้นก็แบ่งหน้าที่กันไปคิด ไปทำ ไปหาผู้สนับสนุน จนได้ออกมาเป็นสิ่งที่เห็นใน Forum นี่แหละครับ

ถ้าท่านผู้ใดเห็นว่าแนวทางที่นำเสนอไว้ยังไม่ชัดเจน ยังไม่ถูกต้อง ยังไม่เหมาะสม ยังไม่เพียงพอ เชิญเข้ามาช่วยกันเสนอแนะเพื่อให้ได้แนวทางที่เป็นประโยชน์เต็มที่สำหรับ รพ.ต่างๆ ครับ

SIMPLE เป็นของพวกเราทุกคน ของทุก รพ.ครับ

คำสำคัญ (Tags): #patient safety goals#simple
หมายเลขบันทึก: 172254เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (43)

S = Safe Surgery (2nd Global Patient Safety Challenge)

ไม่เข้าใจว่าทำไม มีเฉพาะส่วนของ Safe Surgery

หรือเราเน้นเรื่องนี้เรื่องเดียวคะ

เพราะเรามีประเด็นอื่นๆที่จะต้อง Safe

ขอบคุณค่ะ

PSG เป็นการรณรงค์ให้พวกเราสนใจปัญหาที่อาจจะถูกละเลยไป

ที่มีการหยิบยกเรื่อง safe surgery ขึ้นมาก็เนื่องจากสถิติ adverse event ที่เกี่ยวเนื่องกับการผ่าตัดมีสูงที่สุด และมักมีความสูญเสียค่อนข้างมาก จนองค์การอนามัยโลกหยิบเอาเรื่องนี้มาเป็น secound global patient safety challenge

ซึ่งเรื่อง safe surgery จะครอบคลุม safe anesthesia ด้วย

(บางท่านบอกว่า safe anesthesia ไม่มี มีแต่ safe anesthesia practice อันนี้ก็ถือว่ามีเป้าหมายเดียวกัน)

ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็สามารถเพิ่มเติมใน PSG ได้ถ้ามีข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนครับ สามารถใช้ช่องทางนี้เสนอแนะมาได้เลยครับ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ขอนำไปใช้เลยดีกว่า เพราะรู้สึก ปิ๊ง แว๊บเลยค่ะ
  • เคยโหลด 2008 ของ the Joint Commission มาดูยัง งง งง อ่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ด้วยความยินดีครับ ป้าแดง

ได้ผลอย่างไรเล่าสู่กันฟังบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวิสัญญี ซึ่งทาง WHO ยังไม่มีแนวทางอะไรที่ชัดเจนออกมา คงต้องอาศัยประสบการณ์และผู้รู้ในประเทศเราเป็นหลักครับ

การใช้ข้อมูลจากหลายๆ แหล่งก็ดีครับ ทำให้เราเห็นทิศทางของโลกได้ชัดเจนขึ้น ที่จริง WHO Patient Safety Solution ก็มีที่มาจาก JC เพราะ WHO ตั้ง JC เป็น WHO Colaborating Center for Patient Safety Solution ของเรานำเอาข้อเสนอจากหลายๆ แหล่งมาประมวลให้เป็นระบบเพื่อจะได้ไม่สับสนงุนงงเวลามีอะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา

ไปประชุม AAOS ที่ซานฟรานมา ปีนี้เขาให้ความสนใจในเรื่อง Safe surgeryมาก

มี Boot แจกแผ่นCD เรือ่ง Patient Safety Programe พร้อม ปากกาสำหรับ

mark site ตำแหน่งผ่าตัด ให้ทุกคนที่สนใจ (และไม่สนใจ)ประกาศเชิญชวนเสียงดังเชียว ถ้าใครสนใจ Programe จะส่งไปให้ครับ

เรียนท่าน ผอ.อนุวัฒน์

 เยี่ยมเลยครับ ความคืบหน้า HACC_Srinagarind ดังนี้ครับ

  1. จัดอบรม IS 9-11 ก.ค 2511 และ กราบรบกวนเชิญทีมงาน พรพ ไปทำความเข้าใจ และ ให้ความรู้ ครั้งแรกครับ โดยเฉพาะท่าน ผอ.ครับ ขอตัวเป็นๆ ไปร่วมครับ จะได้เปิดศูนย์ HACC ครับ
  2. Regional Forum 14-15 สิงหาคม เรื่อง Living Organization ฉบับอีสานบ้านเฮา ครับ

คุณหมอสมคิดครับ ช่วยส่งข้อมูลมาให้ผมด้วยครับ จะได้ใช้ช่องทางนี้เป็นช่องทางแผยแพร่ต่อไปครับ

สำหรับท่าน JJ ยินดีรับนัดทุกประการครับ

สนใจ Patient Safety Programe ของ อจ.สมคิด พอจะส่งให้ได้หรือไม่คะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

นพ.ปิ่นอภัย(ท่าม่วง กาญจนบุรี)

อาจารย์ สมคิด ผมก็สนใจ โปรแกรมด้วยครับ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพ ร.พ.สุราษฎร์สนใจ Patient Safety Programe ของ อ.นพ.สมคิด ค่ะ อ.จะส่งให้ได้ไหมค่ะ ทาง E-mail [email protected]

เรียนอาจารย์ สมคิด รบกวนของโปรแกรม ด้วยค่ะ กรุณารบกวนส่งทางอีเมล์ค่ะ

เรียนท่านอาจารย์หมออนุวัฒน์ ขอบพระคุณครับ

  • จะได้เรียนท่าน ผอ.HACC_Srinagarind คุณหมออภิชาติ และ ท่านทวนทอง ต่อไปครับ

กำลังจะส่งfile patient safety programให้อ.อนุวัฒน์กระจายต่อครับ สำหรับผู้ที่ใจร้อนสามารถเปิดเข้าไปดูได้ที่ www.patientsafety.aaos.org ซึ่งมีเหมือนกัน ทั้งแบบฟอร์มcheck list,tips ต่างๆ แต่จะเน้นเรื่องsurgical safety (wrong site)เป็นหลักโดยเฉพาะทางออร์โธนะครับ

  • Blog มีชีวิต แล้วจะมาติดตามต่อนะคะ

 

อาจารย์สมคิดได้ส่ง file มาให้แล้วครับ เป็น Patient Safety Program ของ American Association of Orthopedic Surgery เชิญทุกท่านที่สนใจ download ไปศึกษาได้ครับ ขอบคุณอาจารย์สมคิดที่เอื้อเฟื้อ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม

ขออภัยครับ

AAOS ย่อมาจาก American Academy of Orthopaedic Surgeons

เรียนท่านอาจารย์อนุวัฒน์

ผมได้อ่านในส่วนของ S2: safe anesthesia ที่ได้รับจากอาจารย์แล้ว ผมมีความเห็นว่า

- ในภาพรวมทั้ง 6 ข้อ นั้นเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุม และไม่น่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ

- แต่ที่ไม่เห็นอาจารย์เขียนไว้คือ ความปลอดภัยในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทั้งไป และ กลับ จาก OR ซึ่งมีบ้างที่มีเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยเกืดขึ้น จึงอยากให้อาจารย์เพิ่มเติมในส่วนนี้ไว้ด้วย

- สิ่งที่เป็นห่วงคือจำนวนบุคลากร โดยเฉพาะวิสัญญีแพทย์ ถึงแม้ว่าจะระบุไว้ในข้อแรกว่าควรสนับสนุนให้มีในโรงพยาบาลทั่วไปก็ตาม แต่คาดว่าใน 5 ปีข้างหน้ายังคงมีจำนวนน้อยมากในแต่ละโรงพยาบาล

- สุดท้ายขอแก้คำผิด 2 ที่คือ บรรทัดแรก ราชวิทยาลัยวิสัญญี เป็น ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ และ ข้อ 6 ย่อยในหัวข้อ 3.2 การะบุ เป็น การระบุ

ด้วยความเคารพ

เรียน อาจารย์สมบูรณ์ ครับ

ขอบคุณมากครับที่ทำการบ้านให้อย่างรวดเร็ว จะรับข้อแนะนำไปปรับปรุงในฉบับที่กำลังจะจัดพิมพ์ใหม่ต่อไปครับ

เรียนอ.อนุวัฒน์

อยากได้แนวทางการปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย sepsis เพราะในปัจจุบันแม้จะมื guideline แต่ก็เน้นเรื่องการรักษา การให้ antibiotics การพยาบาลที่ให้ ก็คล้ายกับการดูแลผู้ปวย shock ทั่วไป ช่วยหาสาเหตุของการเกิด และป้องกันcomplication ยังไม่สามารถทำให้เห็นการดูแลที่แตกต่าง

  • เอาดอกไม้ในสวนมาฝากพร้อมกับความสุข สงบเย็นและ เบิกบาน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และก็

                          img371/7540/songkran510031pf3.jpg

  • แหววขอข้อมูลไปใช้ในเวทีทบทวนระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง และการสรุปวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันของ รพ. ในวันที่  23-24 เมษายนนี้ด้วยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

เรื่องsepsis นี่สรุปว่า WHOฟันธงให้ใช้steroidได้เลยใช่ไหมครับ ถ้าไม่ตอบสนองต่อiv fluidและvasopressor ไม่ต้องตรวจcortisol level ใช่ไหมครับ

..ถามเพื่อความแน่ใจครับ เพราะผมไม่ค่อยได้ไปประชุมวิชาการ แต่ที่ติดตามอ่านหนังสือ ก็เห็นว่ายังสรุปกันไม่ได้

เรียน อาจารย์ อนุวัฒน์คะ

ไม่ทราบว่าอาจารย์เคยมีงานวิจัย ที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์หรือไม่ เนื่องจากสนใจจะทำวิจัย แล้วAdvisor ก็แนะนำชื่ออาจารย์มาคะ ขอบคุณอย่างสูงคะ

เรียน อ.ปริญญาครับ

ขอบคุณที่ตั้งประเด็นที่น่าสนใจ

guideline ที่ พรพ.นำมาสรุปไว้นี้ไม่ใช่ของ WHO ครับ เป็นของ The Surviving Sepsis Campaign (SSC)ซึ่งเป็นความร่วมมือของ the European Society of Intensive Care Medicine, the International Sepsis Forum, และ the Society of Critical Care Medicine โดยได้รับคำแนะนำจาก IHI เกี่ยวกับแนวคิดการรณรงค์

Guideline นี้เพิ่งจะออกมาในปีนี้เอง น่าจะเป็นแนวคิดล่าสุดที่สรุปกันได้

สามารถเข้าไป download Pocketguide ซึ่งสรุปไว้ง่ายๆ สั้นๆ ได้ที่ http://www.survivingsepsis.org/system/files/images/2008_20Pocket_20Guides_1_.pdf

ในประเด็นที่ถามมาเขาก็สรุปไว้อย่างนี้ครับ

Consider intravenous hydrocortisone for adult septic shock when hypotension responds poorly to adequate fluid resuscitation and vasopressors. (2C)

ACTH stimulation test is not recommended to identify the subset of adults with septic shock who should receive hydrocortisone. (2B)

Hydrocortisone is preferred to dexamethasone.(2B)

Fludrocortisone (50 μg orally once a day) may be included if an alternative to hydrocortisone is being used which lacks significant mineralocorticoid

activity. Fludrocortisone is optional if hydrocortisone is used. (2C)

Steroid therapy may be weaned once vasopressors are no longer required. (2D)

Hydrocortisone dose should be ≤300mg/day. (1A)

Do not use corticosteroids to treat sepsis in the absence of shock unless the patient’s endocrine or corticosteroid history warrants it. (1D)

มีเพียง 2 ข้อหลังที่เขา recommend ส่วนที่เหลือเขา suggest ครับ

อ.มลิวัลย์ครับ

guideline เกี่ยวกับ sepsis ที่พูดเฉพาะทางด้านการพยาบาลก็ย้งไม่เห็นเหมือนกันครับ ถ้าใครเห็นช่วยบอกที

อ.รังษิยาครับ

การวิจัยเรื่องความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ น่าจะลองถามทางสถาบันการศึกษาที่สอนนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ดูนะครับ สำหรับผมถ้าจะให้ช่วยแนะนำอยู่ข้างๆ เวที คงจะได้อยู่ครับ

อ่านsimple แล้วสนใจจะทำวิจัยเกี่ยวกับsafety ใน or ค่ะ อาจารย์มีอะไรจะแนะนำหรือเสนอแนะบ้างคะ .......... ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียน อาจารย์ อนุวัฒน์ที่เคารพ

ชอบ SIMPLE ของอาจารย์ ในประเด็น ของ patient identification

correct procedure at correct body site โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการTime out, mark site ขอคำแนะนำอาจารย์ว่า จะมีกลยุทธ์อย่างไรที่จะทำให้กระบวนการเหล่านี้ได้รับการยอมรับและปฏิบัติกันอย่างยั่งยืน

ขอบพระคุณ

เรียนอ.อนุวัฒน์อยากเรียนถามอาจารย์ว่าใน๓พของโรงพยาบาลทั่วไปในแต่ละภาค มีผ่านHAแล้วกี่โรงค่ะ คิดเป็น%แล้วได้กี่%ค่ะมีความสนใจข้อมูลคุณภาพในห้องผ่าตัดเพื่อนำมาทำวิจัยคุณภาพ สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบริการพยาบาลสำหรับห้องผ่าตัด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดกับผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดค่ะ

                    ขอบคุณค่ะ

                 suchata

อ. สมคิดคะ ที่โรงพยาบาลกำลังจะเตรียม รับการประเมิน

และทำ GAP อยู่ simple ตัว L : Line, Tube & Catheter

ไม่เข้าใจเลยคะ รวบกวนอาจารย์ อนุเคราะห์ ตัวอย่างได้ไหมคะ

เรียนอาจารย์อนุวัฒน์

ที่ทำงานกำลังจะรับการประเมิน พูดคุยเรื่องsimple กัน ในงานการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก รบกวนอาจารย์อธิบายหรือให้ตัวอย่างได้ไหม๊คะ

ขอบคุณค่ะ

สรพ.เริ่มประเมินตั้งแต่คนที่ไปรับที่สถานที่ใดๆ เลยจริงหรือ

ขอตัวอย่าง Gridline Response to the deteriorating patient/RRT เพื่อจะได้นำมาทำ Patient Safety Goals : SIMPLE ของโรงพยาบาล ตามข้อกำหนดของ สพร.ต่อไปค่ะ

รบกวนถามอาจารย์ว่าระดับร.พ ชุมชนมีจำเป็นต้อง mark site ตำแหน่งผ่าตัดไหมค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ ผมเป็นแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรมนะครับ ครั้งนี้ได้รับมอบหมาย เรื่อง Patient safty เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน และอาจารย์ เป็น collective review เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องที่แพทย์ทุกคนต้องได่ปฏิบัติ เพราะทุกโรงพยาบาลนั้นมี HA อยู่เป็นส่วนมากแล้ว

ทั้งนี้ ได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาได้แนะนำ ว่าเรื่องกว้างมาก อาจต้องเลือกนำเสนอ

ผมได้คิดว่า น่าจะเป็นเรื่อง ประวัติความเป็นมา ความหมายของคำศัพท์ ต่างๆ และคิดว่าจะนำเสนอ เรื่องที่ใกล้ๆ ตัว ศัลยแพทย์ครับ

และ จะนำเสนอ เคสตัวอย่างที่เกิดขึ้นประกอบ

ทั้งนี้ได้เคยทำงานเรื่อง HA ก่อนที่จะเข้ามาเรียนต่อ พอมีความเข้าใจอยู่บ้าง เว็บนีี้เป็นประโยชน์มากครับ อาจารย์

ที่พิมพ์มายาว อยากเรียนอาจารย์ว่า ทุกวันนี้ ทาง รร แพทย์เองได้ให้ความสำคัญและ ปลูกฝัง อยู่ตลอด ครับเป็นกำลังใจให่อาจารย์และทีมงานครับ

หากอาจารย์มีคำแนะนำ เรื่องข้อมูล หรือข้อเสนอแนะจักเป็นพระคุณอย่างมากครับ ผมหา article ต่างประเทศก็ไม่ค่อยได้ คัรบ ไม่รุ็ว่าหาที่ไหน

ขอบคุณคัรบ

ดีใจด้วยครับที่มีแพทย์รุ่นน้องอย่างคุณหมอศรัณย์สนใจเรื่องนี้ และที่ รร.แพทย์ต่างๆ ให้ความสำคัญ

ผมจะลองแนะนำเอกสารที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้านำมาถ่ายทอดกัน ดังนี้ครับ แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์แต่ก็น่าจะช่วยได้

Organization with a memory เป็น white paper ของ NHS ที่สรุปหลักคิดสำคัญเรื่อง patient safety ไว้

http://www.dh.gov.uk/prod_consum_dh/groups/dh_digitalassets/@dh/@en/documents/digitalasset/dh_4065086.pdf

Patient Safety website ของ WHO

http://www.who.int/patientsafety/en/

Patient Safety website ของ JC

http://www.jointcommission.org/PatientSafety/

Patient Safety in Surgery Journal Achive

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/journals/566/

ได้ข้อมูลอะไรน่าสนใจลองมาแบ่งปันกันดูครับ

ต่อเนื่องจากความคิดเห็นที่ 32

หากเป็นญาติเป็นเราจำเป็นต้องดำเนินการหรือไม่ เพราะทราบอยู่แล้วเป็นใครและจะทำอะไร

โรงพยาบาลกำลังเตรียมการเพื่อการรับรอง HA แต่จากการที่เป็นผู้ปฏิบัติงานพบว่าข้อมูลมันหลอนนนนนนน ผู้เยี่ยมสำรวจจะถูกหลอนนนไหมคะ (Hallucination Acc)

ทางโรงพยาบาลเพิ่งเริ่มทำ HA แล้วดิฉันได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่อง SIMPLE กับ Tigger tool  แต่ไม่มีความรู้เลยค่ะ  ไม่ทราบว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหนดีจึงจะเข้าใจ

ทางโรงพยาบาลเตรียม Re-accreditation กำลังทบทวนการใช้ simple และ tigger tool ค่ะ โชคดีมากค่ะได้ print เอกสารของอาจารย์ไว้ศึกษาทั้งเล่ม ขอบคุณมากค่ะ

 

คุณอรอนงค์ครับ ใน CD ที่แจกให้กับผู้เข้าประชุม HA National Forum ครั้งที่ 13 มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ SIMPLE เช่น update เรื่องการดูแลผู้ป่วย sepsis, แนวทางในโครงการ high 5 เกี่ยวกับเรื่อง medication reconciliation และ correct site surgery ลองศึกษาเพิ่มเติมดูก็ดีครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ไปงาน HA หลายครั้ง ทุกครั้ง ใช้เวลาส่วนตัว งบประมาณ ส่วนตัว ปีนี้โชคดี หลวงเห็นความสำคัญ ให้มาราชการ ที่โชคดีกว่า ได้ถ่ายภาพกัยท่าน อาจารย์ .... เอาภาพมาคืนอาจารย์

ไฟดับตอนอยู่ห้องนี้กับแม่ต้อย   เลยจัดการเป็นอัศวพักตร์ให้แม่ต้อยเสียเลย

ขอบคุณท่านผู้เฒ่าครับ หวังว่าปีหน้าจะได้มาพบกันอีกนะครับ

ขอบคุณแทนแม่ต้อยและผู้เข้าร่วมประชุมในห้องด้วยครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ผมนำงานของอาจารย์ เรื่อง" การพัฒนาคุณภาพพื้นฐานระดับบุคคล" ออกเผยแพรในGotoKnow โดยไม่ได้ขออญาติ...

จึงต้องเรียนขออนุญาติจากอาจารย์ ย้อนหลังด้วย

หวังในความกรุณา

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/479570

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/479658

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/479812

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/479998

ด้วยจิตรคารวะครับท่านอาจารย์

ด้วยความยินดึครับ ขอบคุณที่ช่วยเผยแพร่ ยิ่งรับรู้กันมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ครับ ทุกบทความของผมสามารถเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ เอาไปปฏิบัติแล้วได้ผลอย่างไร นำกลับมาเล่าสู่กันฟังก็ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท