เครือข่ายการเรียนรู้วิจัยชุมชนน่าน (ตอนที่ 3)


10 ปี กับการพัฒนาคนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ของมูลนิธิฮักเมืองน่าน มีรูปแบบหรือกระบวนการทำงาน ที่น่าสนใจมากและสอดคล้องกับแนวคิดการนำ KM มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของเรา

          เรียนรู้จากมูลนิธิฮักเมืองน่าน   วันที่  27  กุมภาพันธ์ 2549  ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม  ณ ห้องประชุม อบต.น้ำเกี๋ยน  ประเด็นที่ได้เรียนรู้จากมูลนิธิฮักเมืองน่าน  จากพิธีเปิดการสัมมนา โดยท่านพระครูพิทักษ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญวาส  และการมาเล่าประสบการณ์ในประเด็น “10 ปี กับการพัฒนาคนเพื่อการพึ่งพาตนเอง”  จากคุณอำนวย  ผัดผล  ประธานมูลนิธิฮักเมืองน่าน  ผมขอสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้จากมูลนิธิฮักมองน่านในวันนี้ก็คือ

  • การมองแนวทางการพัฒนาที่เป็นองค์รวม  
    คือ ในการมองภาพของการพัฒนาที่ต้องการให้เกิด ในลักษณะที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและเป็นองค์รวม  เชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่าง 
    ซึ่ง...คนกับป่า    ปลากับแม่น้ำ  และ  พันธุ์พืชกับเกษตรกร  ซึ่งเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือ
    โดย...คนต้องอยู่กับป่า     ปลาต้องอยู่ในแม่น้ำ  และ พันธุ์พืชต้องอยู่ในมือของเกษตรกร
    จะเห็นว่าทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันหมด
  • ใช้กระบวนการทำงาน โดยมุ่งเน้นการใช้ศักยภาพนำ    เป็นคำตอบที่ทีมงานได้รับในวันนี้ เพราะสิ่งที่มูลนิธิฮักเมืองน่านสรุปกระบวนการทำงาน โดนใจทีมงานมากเลยครับ เราคิดว่าเราก็จะใช้วิธีเช่นนี้เหมือนกัน  คือเน้นการใช้การจัดการความรู้มาสนับสนุนการทำงาน     แต่ประสบการณ์การเรียนรู้ยังไม่มากพอที่จะสรุปเป็นรูปแบบของตนเองได้   ลองดูกระบวนการที่เราได้เรียนรู้ในวันนี้

                                           ประธานมูลนิธิฮักเมืองน่าน

          กระบวนการทำงานที่ใช้ศักยภาพนำ  (Potencial  Base)  มี 5 ขั้นตอน ต่อไปนี้ครับ

     1.   “ค้นหาความดี”  คือการค้นหาสิ่งดี  คนดี  พื้นที่ดี  ของดี  บุคลากรที่มีคุณภาพของพื้นที่
     2.    จินตนาการว่าเราจะขยายสิ่งดีๆ เหล่านี้ได้อย่างไร
     3.    วางแผนการปฏิบัติ และหาพันธมิตร
     4.    ปฏิบัติ
     5.    ประเมิน

          เป็นส่วนหนึ่งที่ทีมงานได้มา ลปรร. จากจังหวัดน่าน ทีมงานได้เรียนรู้และหาทางลัดสู่การพัฒนาพบอีกช่องทางหนึ่งแล้วครับ คือรูปแบบหรือกระบวนการทำงานของมูลนิธิฮักเมืองน่าน น่าสนใจมากและสอดคล้องกับแนวคิดการนำ KM มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของเรามาก 

          ยังมีอีกมากมายหลายประเด็น  ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะการนำการจัดการความรู้มาใช้ในการทำงาน กระบวนการที่ใช้ศักยภาพนำ นับว่าป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจนะครับ


วีรยุทธ  สมป่าสัก     27 / 02 / 49

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 17186เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณยุทธคะ

ดิฉันได้ส่งอีเมลไปให้เกี่ยวกับ วิธีการนำเอาป้ายประกาศ Best blog of the month ใส่ลงในบล็อกของผู้ที่ได้รับรางวัลสุดคะนึง

ไม่ทราบคุณยุทธได้รับอีเมลนั้นหรือยังคะ ดิฉันส่งไปที่ yutkpp (@) hotmail.com คะ

หากยังไม่ได้รับอีเมลนั้น ช่วยแจ้งอีเมลที่ถูกต้องมาให้ดิฉันด้วยนะคะที่ support (@) gotoknow.org คะ

ขอบคุณคะ

ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
ตั้งใจดี ทำดี ทำต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท