รายงานประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ในโรงเรียนบ้านเศลาใต้ สพท.นศ.เขต 2


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ผลงานทางวิชาการ เลื่อนวิทยฐานะคศ.3 18 มีนาคม 2551

ชื่อผลงาน     การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียนบ้านเศลาใต้

                  สำนักงานเขตพื้นท่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

ผู้ประเมิน      นายคเนพร  จันทวงศ์  ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเสลาใต้ สพท.นศ. เขต 2

ปีพุทธศักราช 2550

                                                         บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

            การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ในโรงเรียนบ้านเศลาใต้ สำนักงานเขตพื้นท่การศึกานครศรีธรรมราชเขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเมินปัจจัยของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการและประเมินผลผลิตของโครงการ การประเมินใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์(CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 159 คน แบ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 30 คน ผู้ปกครองจำนวน 72 คน และนักเรียนในระดับช่วงชั้นท่ 2 จำนวน 38 คน เครื่องมือท่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสัมภาณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ รวม 10 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ สัมภาษณ์และสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้

ผลการประเมิน                                                                                             

           ผลการประเมินพบว่า  ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการ ดังนี้

           1.สภาพแวดล้อมของโครงการ อยู่ในระดับมากท่สุด และตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด มีดังนี้

              1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับ มาก                                             

              1.2 ความเหมาะสมของโครงการ  อยู่ในระดับ มาก

              1.3 ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับ มากทีสุด

              1.4 ความชัดเจนของเป้าหมาย อยู่ในระดับ มากที่สุด

              1.5 ความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับ มากที่สุด

           2.ปัจจัยของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด มีดังนี้

              2.1 ความชัดเจนของงบประมาณ อยู่ในระดับ มาก

              2.2 ความเหมาะสมของผู้รับผิดชอบโครงการ อยู่ในระดับ มาก

              2.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ อยู่ในระดับ มาก

              2.4 แนวการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับ มากทีสุด

              2.5 ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ อยู่ในระดับ มากทื่สุด

            3.กระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดทั้ง 6 ตัวชี้วัด มีดังนี้

              3.1 การจัดทำแผนพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยของนักเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด

              3.2 การจัดระบบบริการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน อยู่ในระดับ มาก

              3.3 การดูแลความปลอดภัยของนักเรียนจากสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน อยู่ในระดับ 

                   มากที่สุด 

              3.4 การดูแลความปลอดภัยของนักเรียนจากสภาพแวดล้อมทางสังคม อยู่ในระดับ มาก

              3.5 การดูแลความปลอดภัยของนักเรียนจากอุบัติภัย อยู่ในระดับ มากที่สุด

              3.6 ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน อยู่ในระดับ น้อย

            4. ผลผลิตของโครงการ. อยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้

              4.1 ประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานดูแลความปลอดภัยของนักเรียน อยู่ในระดับ

                    มากที่สุด

              4.2 ประสิทธิผลของการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน อยู่ในระดับ มาก

              4.3 ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับ มาก

              4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ปกครอง

                   ทีมีต่อโครงการ อยู่ในระดับ มากที่สุด

            5. ผลการประเมินโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด

  ข้อเสนอแนะ

            1. ควรดำเนินโครงการต่อไปนี้และจัดกิจกรรมในรูปแบบเดิม สำรวจข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน

ที่มีอยู่แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ส่วนข้อดี หรือจุดเด่นก็ดำเนินการให้อยู่ในระดับเดิมหรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม

            2. เป็นโครงการที่มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพแลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ตลอดสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง สถานศึกษาทุกแห่งจึงควรเน้นให้มีการดำเนินโครงการให้เป็นรูปธรรม  ชัดเจนยิ่งขึ้น

            3. ควรดำเนินการจัดกิจกรรมการสอนสวัสดิศึกษาในโรงเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง

            4. ผุ้บริหารและครู ต้องมีความรุ้ความเข้าใจในเรื่องกำหมายและความรับผิดชอบทางแพ่งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา  เพื่อสร้างความตระหนักในการดุแลความปลอดภัยของเด็กนักเรียน

            5.ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการดำเนินโครงการ

            6.ควรเพิ่มจำนวนผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ให้มากกว่านี้

            7.การประสานงานภายในระหว่างผู้รับผิดชอบโรงการ กับคณะกรรมการอำนวยการ ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงานอยู่เสมอ

            8.ควรจัดนิทรรศการ ป้ายนิเทศ ให้ความรู้ด้านความปลอดภัยแก่นักเรียนอยู่เสมอ

            9.ควรประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ทุกกิจกรรมของโครงการกับผู้ปกครองนักเรียน อย่างสมำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

          10.ควรสร้างระบบเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยกับหน่วยงานของทางราชการ และภาคเอกชน โดยเฉพาะร้านค้า ร้านอินเทอร์เน็ตและเกมส์ แบบกัลยาณมิตร

          11.ควรมีการประชาสัมพันธ์ การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและผ่านสื่อหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือ

          12.ควารจัดระบบ การบริการด้านสารวัตรนักเรียนด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

          13.ควรจัดระบบการบริการด้านการประกันอุบัติเหตุให้นักเรียนทุกคน และเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปีการศึกษา ในรูปแบบครั้งเดียวตลอดปี

          14.ควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่จากต้นไม้ เตาเผาขยะและท่ทิ้งขยะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          15.โรงเรียนต้องร่วมกับผู้ปกครอง ในการสอดส่องดูแลความเสี่ยงของเด็กนักเรียนจากสื่อลามกอนาจาร อนเทอร์เน็ตและเกม การมั่วสุมอบายมุข การล่วงละเมิดทางร่างกายและจิตใจ  ทั้งในโรงเรียนและสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด และติดตามความเคลื่อนไหวตลอดเวลา

          16.ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม การเสนิแนวทางในการแก้ปัญหา ปรับปรุงประสิทธิภาพงานแต่ละกิจกรรมให้มากขึ้น

          17.ควรดูแลความปลอดภัยของนักเรียนจากสภาพแวดล้อมทางสังคมของนักเรียนในระดับปฐมวัย ในชุมชนให้มากเป็นพิเศษ เพราะเด็กในวัยนี้อยู่ในวัยของการเรียนรู้ทีบริสุทธิ์มาก เด็กไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ท้งครูและผู้ปกครองตองมีความเข้าใจตรงกันและหมั่นดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในชุมชนของสังคมในปัจจุบัน

          18.ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรม ให้นักเรียนรุ้จักประโยชน์และโทษของการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเป็นอย่างดี ทุกคน

          19.ครูผู้สอนต้องฝึกทักษะ เน้นยำให้นักเรียนรุ้จักปฏิเสธ และชักชวนไม่ให้เพื่อนเสพยาเสพติดได้ เป็นอย่างดีทุกคน

          20.โรงเรียนควรมีอุปกรณ์และระบบบริการเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและมีอย่างเพียงพอด้วย

 

                เสนอ.... โดย..นายคเนพร จันทวงศ์   เป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะ

                                   ชำนาญการพิเศษ (อันดับ ค.ศ.3)  วันอังคาร  ท่ 18 มีนาคม  2551

 

หมายเลขบันทึก: 171439เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท