โครงการสื่อพื้นบ้านฯ ขอเชิญร่วมกิจกรรม "พัฒนาแกนนำเยาวชนรุ่น 4-5 ภาคอีสาน" จ.อุบลราชธานี


เวทีพัฒนาแกนนำเยาวชนโครงการรุ่นที่ 4 / 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่  11- 12  มีนาคม  2549 
ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุข อำเภอโขงเจียม (ศ.อ.ข.)  จ.อุบลราชธานี

ความเป็นมา

                ตามที่โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข (สพส.) ได้มีการทำงานร่วมกับภาคีโครงการสื่อพื้นบ้านทั่วประเทศ  พบว่า กลุ่มเป้าหมายสำคัญของแต่ละโครงการเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน  แต่เนื่องจากวิธีการที่ภาคีแต่ละโครงการได้จัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนนั้นเป็นการการสอน และพาเด็กทำ เหมือนกับ ปู่สอนหลาน  ปู่พาหลานทำ   ส่วนในโครงการของภาคีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการ รุ่นที่3 ก็ได้มีการจัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสื่อพื้นบ้าน แก่แกนนำเยาวชนในโครงการ เช่น บ้านทุ่งแต้ อ.เมือง  จ.ยโสธร
ซึ่งจากบทเรียนการจัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจที่ผ่านมา เช่น เวทีภาคเหนือ (งานพะเด๊ะ)  เวทีพัฒนาโครงการของภาคีภาคตะวันออก ที่จังหวัดชลบุรี  และ เวทีพัฒนาแกนนำเยาวชนภาคกลาง ที่จังหวัดเพชรบุรี   ที่ผ่านมา  ในกิจกรรมดังกล่าว  มีการนำเยาวชนในโครงการเข้ามาสร้าง ความเข้าใจเรื่อง  “สื่อ  สื่อพื้นบ้าน  สื่อสาร  สุข”    และกระบวนการทำกิจกรรม  ตามแนวคิดของ  สพส. พบว่ากระบวนการที่ให้เด็กและเยาวชน  เป็นผู้ถามปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ใหญ่ที่มีความรู้นั้น  เป็นสิ่งที่ทำให้เยาวชนเกิดความสนใจ  มีความกระตือรือร้นในการเข้าไปหาข้อมูล    ซึ่งทางโครงการสื่อพื้นบ้าน ได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสื่อพื้นบ้านให้กลุ่มเยาวชนในโครงการของภาคีสื่อพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ซึ่งยังไม่ได้ผ่านกระบวนการและผ่านกระบวนการมาบ้างแล้วในรุ่นที่ 4 และ 5
ในการจัดเวทีครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเยาวชนในโครงการภาคีสื่อพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางการทำงานให้กับภาคีโครงการ ในการทำงานร่วมกับเยาวชน ทั้งเป็นสร้างเครือข่ายการทำงานแกนนำเยาวชนในพื้นที่ รวมไปถึงเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความรักหวงแหน  เห็นคุณค่าของสื่อพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง  เกิดความอยากมีส่วนร่วมในการช่วยภาคีโครงการทำงานเรื่องสื่อพื้นบ้านในท้องถิ่นต่อไป
               

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาทักษะให้แกนนำเยาวชน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก
2.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ  และคุณค่าของสื่อพื้นบ้านให้แก่แกนนำเยาวชนภาคีโครงการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รุ่นที่4 และ5
3.เพื่อเป็นการเชื่อมระหว่างภาคีและเยาวชน ในการทำงานหนุนเสริมกันในพื้นที่แต่ละโครงการ
4. เพื่อสร้างความมั่นใจและความภูมิใจ ให้กับปราชญ์ชาวบ้านผู้เข้าร่วม
5. เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานเรื่องสื่อพื้นบ้านของแกนนำเยาวชนแต่ละโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

                โครงการรุ่นที่4
                1. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการตำนานดนตรีพื้นบ้านอีสาน โปงลาง ร่วมต่อต้านยาเสพติด  จ.อุบลราชธานี    จำนวน    8   คน
                2. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการค้ำโพธิ์  ค้ำไฮ  จ.อุบลราชธานี                                                                     จำนวน  8   คน
                3. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการ ครอบครัวสุขสันต์ ชวนกันทำบุญ เกื้อกูลสังคม               จ.อุบลราชธานี                        จำนวน    8    คน
                4. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการ อนุรักษ์ ลำผญา ดอนตาล   สร้างสรรค์สังคม  จ.มุกดาหาร                                จำนวน    8   คน  
                โครงการรุ่นที่5
                1. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการประเพณี เดือน 3 ขึ้น3 ค่ำ  วันดี ประเพณีไทแสก (สู่ขวัญบ้าน-ใส่ฝุ่นนา) จ.นครพนม        จำนวน   8   คน
                2. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการ แซงซะนามบ้านโพนจาน  จ.นครพนม                                                                    จำนวน   8   คน
                3. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการสืบสานประเพณีพิธีต่อชาตา  จ. หนองคาย                                                                              จำนวน   8  คน
                4. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการรื้อฟื้นจิตสำนึกชุมชนไทพวนโดยประเพณีท้องถิ่น(สู่ขวัญควาย) จ.หนองคาย              จำนวน  8  คน
                5. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการรำผีไท้ห่วงใยลูกหลาน  จ.อำนาจเจริญ                                                                     จำนวน  8   คน
                6. ผู้ประสานงาน  แกนนำเยาวชน และปราชญ์ชาวบ้าน โครงการเบ็นทม สั่งสมความดี  จ.บุรีรัมย์                                                                   จำนวน  8  คน
                                                                                รวม    80   คน

คณะทำงาน

                1. ทีมวิทยากร                                                                                       10   คน
                2. ทีมคณะกรรมการ/เจ้าหน้าที่                                                         10   คน
                                                                      รวม         20      คน

วัน เวลา  และสถานที่จัดกิจกรรม

            วันเสาร์ที่ 11 – วันอาทิตย์ที่ 12  มีนาคม   2549  ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุข อำเภอโขงเจียม (ศ.อ.ข.)  จ.อุบลราชธานี

ผู้รับผิดชอบโครงการ

- ทีมงาน  โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข  (สพส.)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1.แกนนำเยาวชนโครงการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รุ่นที่4 และ 5 ได้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของสื่อพื้นบ้าน
                2.แกนนำเยาวชนมีความมั่นใจ  กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกมากขึ้น
                3. มีการเชื่อมระหว่างภาคีและเยาวชน ในการทำงานหนุนเสริมกันในพื้นที่ของโครงการรุ่นที่4 และ 5
4. ปราชญ์ชาวบ้าน และแกนนำเยาวชนมีความมั่นใจและความภูมิใจ ในเรื่องสื่อพื้นบ้านของตนเอง
5. มีการสร้างเครือข่ายการทำงานเรื่องสื่อพื้นบ้านของแกนนำเยาวชนแต่ละโครงการ
                  

กำหนดการ

วันที่  11  มีนาคม  2549

                08.00 08.30 น.                - ลงทะเบียน
                08.30 09.00 น.                - สันทนาการ / ทำความรู้จัก/ ความคาดหวัง
                09.0009. 30 น.                 - ชี้แจงวัตถุประสงค์/แนะนำตัวทีมงาน
                                                                - แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม / ตั้งชื่อกลุ่ม ที่เกี่ยวกับสื่อพื้นบ้าน
                09.30 12.00 น.                - ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสื่อ+ SMCR /รู้จัก  รู้ใจ  รู้ใช้  รู้รักษา
                12.00 - 13.00  น.                 - รับประทานอาหารกลางวัน
                13.00 15.00 น.                -สันทนาการ /รวมกลุ่มเตรียมเรียนรู้เรื่องการตั้งคำถามการลงเก็บข้อมูล 
15.00-  15.15 น.              - เบรก
15.15 17.00 น.            - เก็บข้อมูลเรื่องสื่อพื้นบ้านโดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน
(แบ่ง  10 กลุ่ม  ตามโครงการ) 
17.00 -  18.30 น.            - พักผ่อน  ทำธุระส่วนตัว       
                18.30 21.00 น.                -รับประทานอาหารเย็น  ชมการแสดงของแกนนำเยาวชน

วันที่ 12 มีนาคม  2549

                08.30 09.00 น.                - สันทนาการ และทบทวนวันวาน
09.00 11.00                      -แต่ละกลุ่มสรุปข้อมูลและนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
11.00 12.00 น.                 -แบ่งกลุ่มตามโครงการ  เพื่อคิดกิจกรรมที่เยาวชนจะทำร่วมกับชุมชนหลังจากที่กลับไป
12.00 - 13.00  น.                 - รับประทานอาหารกลางวัน
13.00- 14.00 น.                   -รวมกลุ่มใหญ่สรุป/ประเมินผล
                                                                - เดินทางกลับ
               
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17095เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท