Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๗)_๒


ผู้ร่วมประชุม  :
         ได้ฟังอาจารย์พูด ผมมาจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ต้นแบบซึ่งเป็น pilot project  ซึ่งเราทดลองเอาเด็กที่เก่งที่สุดในประเทศไทย และจะดูว่าถ้าเรามีโรงเรียนอย่างนี้สักโรง อะไรจะเกิดขึ้น และผมก็ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่หาดใหญ่ก็เคยมาดูงานที่โรงเรียนของเรา  เคยคิดกันว่าเมื่อปีที่แล้วท่านนายกก็มาเยี่ยมโรงเรียนเรา ท่านบอกว่าน่าจะมีโรงเรียนวิทยาศาสตร์เช่นนี้สัก 5-6 โรงในประเทศไทย  จะได้รับเด็กเก่งๆ ในภูมิภาคเข้ามาเรียน ที่จริงแล้วทางโรงเรียนสงขลานครินทร์ ท่านพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ได้เลยภายในปีนี้แต่บังเอิญรัฐบาลไม่พร้อม ซึ่งผมเสียดายมาก  เราพยายาม fight  กันในหมู่ของผู้บริหารเพราะบ้านเมืองเราที่ยังขาดโรงเรียนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย  เราพยายามกระเสือกกระสนทำกันมา แม้แต่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เราทำมาได้ 4 ปี ผลสำเร็จที่ประจักษ์กับสาธารณชนเรามีเด็กที่จบไปแล้ว 3 รุ่น  รุ่นแรกเรามีนักเรียน 203 คน  เพราะว่าเราอาจขาดศรัทธาจากผู้ปกครองก็เป็นได้ รุ่นแรกมีเด็กที่ได้คะแนนต่ำกว่า 3 สามคนเท่านั้นเอง  นี่คือเราเอาเด็กที่เก่งที่สุดมาทดลอง  เขาก็สามารถจะเรียนได้  รุ่นแรกมีนักเรียนไปเรียนต่างไปต่างประเทศได้ทุนของรัฐบาล 13 คน  รุ่นที่สองผ่านมาปีที่แล้วมีนักเรียนได้ทุนไปต่างประเทศ ได้ 24 คน  ขณะนี้เราทดลองทำเพื่อเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับ world class  ให้เห็นว่าประเทศไทยก็มีโรงเรียนที่เทียบเท่ากับมาตรฐานโลก  เราซึ่งจัดงาน  international  sciences  fair  เสร็จวันอังคารที่ผ่านมานี้เอง เชิญต่างชาติมา 19 ประเทศเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศให้กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมทั้งนานาชาติ ยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา  สิ่งที่เรากำลังทำถือว่าเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องสร้างเกียรติภูมิของประเทศไทย ในเวทีโลก  เราจะมีโรงเรียนมัธยมเฉพาะในประเทศไทยไม่ได้แล้ว  ขณะนี้เราต้องก้าวไปกับระดับโลก เราต้องมีโรงเรียนที่สามารถเทียบกับมาตรฐานได้ เราต้องสามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้ในเวทีโลก   มิฉะนั้นประเทศชาติเราจะลำบากได้  สิ่งที่มหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโครงการทดลองทำเท่านั้น  แล้วเรามีลักษณะเป็นองค์การมหาชนคือทำแล้วเลิกได้   ถ้าประเทศไทยเราเห็นว่าไม่มีความจำเป็นเราก็เลิกได้  ที่นี่ไม่ต้องเพราะจ้างครูเป็นเทอม  มีการประเมินผลงานทุกเทอมตามผลงานที่เขาทำ  นี่เป็นลักษณะโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ซึ่งขณะนี้มีนักเรียนจบแล้วสองรุ่น  รุ่นที่สามเรากำลังรับเด็ก  เพิ่งสอบวันเสาร์ที่ 19 มีเด็กสอบ 18,000 คนและจัดคัดไว้แค่ 280 คน  ขออนุญาตแลกเปลี่ยนแค่นี้นะครับ

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         อยากเรียนอาจารย์ ดร.ปฐมพงศ์ ท่านคงมี click อะไรอยู่ในใจ สองโรงเรียนที่ได้มา  share  ให้เราฟัง ว่าถ้าการจัดการความรู้ที่เราจะ top up  อาจารย์คิดอย่างไรบ้าง

ดร. ปฐมพงษ์     ศุภฤกษ์ :
         ขอขอบคุณที่กรุณาให้เกียรติมาพูดคุยในวันนี้  ผมจะพูดในมุมมองของผู้ประสานงาน และก็มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา นักจัดการความรู้ในโรงเรียนด้วย บวกของกรรมการคุรุสภาด้วย ที่ดูแลครูบาอาจารย์ 7 – 8 แสนคนทั่วประเทศในเรื่องของมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยที่เราจะให้ตัวครูเป็นผู้ขับเคลื่อนปฏิรูปการเรียนรู้ ในมุมมองของการสร้างเครือข่าย มองจากกระทรวงศึกษาธิการ ลงไปสู่โรงเรียน นับว่าเป็นโอกาสดีที่ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ โดยท่านรัฐมนตรีก็มีบัญชาให้กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำ road  map ในเรื่องของการที่จะพัฒนาการศึกษา เมื่อวานนี้ก็ได้มีการแถลงข่าวร่วมกับทางสภาการศึกษา ในการที่จะให้การอุดหนุนส่งเสริมโรงเรียนเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น และมีกระบวนการในการที่จะมีการอุดหนุนแนวใหม่ การอุดหนุนแนวใหม่จะส่งผลไปสู่การที่เราจะมีเครือข่าย เราเรียกว่าเป็น SMS special modeling school คือโรงเรียนเฉพาะทาง ยกตัวอย่างเช่น ผอ. มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็อาจจะเป็นโรงเรียนตัวอย่าง และก็จะให้ดีก็จะมีเงิน support  จากรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับนักเรียน หรืออาจจะเป็นโรงเรียนที่เป็นแม่แบบให้กับโรงเรียนทั่วๆ ไป ที่สนใจจะไปเรียนรู้ ถ้าครูไม่ปูพรมจากโรงเรียนท่าน รัฐบาลเองก็จะจัดเงิน support ไปให้ครูบาอาจารย์อบรมที่นั่นเป็น site based learning  เรียนรู้จากสถานประกอบการหรือหน่วยงาน เรามีโรงเรียนที่เป็นลักษณะเฉพาะหลายโรงเรียน ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนที่มีความชำนาญด้าน ICT โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ  โรงเรียนที่มีความเป็นเลิศในเรื่องของวิถีพุทธวิถีไทย โรงเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านศิลปะ ดนตรี หรือกีฬา ก็จะมีความหลากหลาย ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่คิดว่าจะเป็นเครือข่าย และเป็นเครือข่ายที่มีความสามารถ มีความชำนาญเฉพาะทาง  เรามองจุดของการพัฒนาประเทศ การที่จะขยับไปสู่การแข่งขันได้ เราคิดว่าเด็กไทยก็จะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งกล้าสามารถ จากมหิดลวิทยานุสรณ์ ต้องมีนักดนตรีที่มีความสามารถในการที่จะไปเล่นในวง orchestra ในระดับโลกได้ ซึ่งขณะนี้เรามีเด็กไทยอยู่ ต้องมีนักคอมพิวเตอร์ นัก ICT  ซึ่งขณะนี้เราก็มีโรงเรียนอยู่ในหลายๆ แห่ง ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัดที่มีเด็กประเภทนี้อยู่ ทีนี้เป็นกรณีตัวอย่าง ในส่วนของการสร้างเครือข่าย อยากจะขอเชิญชวนท่านได้ลองเอาประสบการณ์ที่ท่านมีเขียนผ่าน  website เพื่อที่จะได้รู้ว่าขณะนี้ท่านทำอะไรไปถึงไหน มีความก้าวหน้าอย่างไร แล้วเราก็จะมีชุมชนของเรานี่แหละ เข้าไปอ่าน เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วก็เอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ลองไปพัฒนา ฉะนั้นเราอาจจะมีเวทีที่จะกลับมาเล่าสู่กันฟังอีก เรายังพูดกันเล่น ๆ ว่า ปีหน้า จะจัดที่ อิมแพ็คเมืองทองธานี เราเห็นตัวอย่างดีๆ ที่เป็น best practice จากเครือข่ายของเราที่จะมาแลกเปลี่ยนกัน อันนี้ก็จะเป็นการต่อยอดความรู้ที่ยั่งยืน


อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
        ทางคุรุสภามีงบอุดหนุน วิธีการกระบวนการพอที่จะเล่าให้ฟังสักนิดได้ไหม หากโรงเรียนใดสนใจ ก็จะได้มีโครงการอย่างไร มีข้อตกลงอย่างไร

ดร. ปฐมพงษ์     ศุภฤกษ์ :
         โดยหลักการ ขณะนี้คุรุสภากำลังดำเนินการร่างแนวทางในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตราที่ 52 แล้วครูในที่นี้จะรวมครูภาครัฐ ภาคเอกชน ครูทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา รวมไปถึงคณาจารย์ overlap ที่สอนในระดับมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง เราจะมีกระบวนการในการคัดสรร หน่วยงานสถานศึกษาที่เป็นเครือข่าย หรือที่เป็นหน่วยฝึกอบรม เพราะครูส่วนหนึ่งที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ คุรุสภาก็จะให้ไปอบรมในสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองหรือขึ้นทะเบียนกับคุรุสภา สมมติว่าโรงเรียนของท่านอาจารย์ทั้งหลายหรือหน่วยงานของท่าน มีครูไปอบรมไปพัฒนา เราก็จะจัดเงินค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับครูท่านนั้น  ครูไปลงทะเบียนอบรม 5 คน สมมติคนละ 100 บาท  ท่านก็เอาเงินไป 500 บาทไปบริหารจัดการในส่วนการอบรมของท่าน เป็นต้น ฉะนั้น กระบวนการในการฝึกอบรม คุรุสภาจะไม่ดำเนินการเอง แต่จะมอบหมายให้หน่วยงานในสถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการภายใต้กรอบ กติกา หรือเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ อันนี้ก็จะเป็นแนวทางที่จะดำเนินการในปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         เราก็ได้ฟังโรงเรียนที่มีความพิเศษที่หลากหลายมีน้องๆ จากโรงเรียนที่ไม่ต้องเป็น CKO อยากเห็น CKO  ทำอะไรให้กับโรงเรียนเราบ้าง  เพื่อเป็นแนวทางให้กับจัดอบรมให้กับผู้บริหารที่เข้าสู่ CKO  อาชีพ  ขอเรียนบางส่วนที่มาจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรืออาชีวศึกษา ก็ได้  ถ้ายังไม่มีอยากโยนคำถามไปที่ท่านอาจารย์ชาญเลิศ   อยากให้อาจารย์เติมบทบาทของอาจารย์จากเมื่อเช้านี้ว่าจากบทบาทของอาจารย์ที่มองในเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม คือกล่อมเกลาน้ำเสีย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับน้ำดี  อาจารย์มีเทคนิคหรือเป็นตัวเอื้อที่ทำให้เกิดความสำเร็จได้อย่างไร  เพราะเป็นสถานศึกษาที่มีลักษณะของผู้เรียนที่มีความหลากหลาย

อาจารย์ชาญเลิศ  อำไพวรรณ:
          กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน คือเราให้บุคลากรในโรงเรียนเรา สามารถดำเนินการ ไม่ว่าจะจัดกิจกรรมเรื่องการบูรณาการในด้านต่างๆ ประสบผลสำเร็จนั้น เราก็มีขั้นตอน เริ่มแรกก็คงจะต้องเป็นเรื่องของการวางแผน คือถ้าถามว่าครูที่โรงเรียนวัดศรัทธาธรรม ไปถามบางท่าน บางท่านไม่ทราบหรอกว่า โรงเรียนนั้นใช้ KM ในโรงเรียน ผมไม่เคยบอก จะมีครูอยู่ 3 ท่าน แต่ผมเคยนำซีดีของท่านดอกเตอร์ประพนธ์ ไปเปิดให้ดู แต่วิธีการทำเราไม่บอก เราก็มีการจัดการความรู้ โดยที่เมื่อเช้าก็บอกมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจต่างๆ ของโรงเรียน ศึกษาความรู้จากตัวบุคลากรในโรงเรียน และเราก็มาแบ่งกลุ่ม ที่ผมบอกเมื่อเช้าแล้วว่า แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 คน แต่ไม่ได้ยึดกันทั้งหมด 3 คนนั้น สมมติว่าวันอังคารเราเรียนเรื่อง ลุ่มน้ำแม่กลอง สายน้ำแห่งชีวิต ก็จะมีกลุ่ม 3 คน นาย ก. นาย ข. นาย ค. พอมาวันพฤหัสบดี เป็นเรื่องของวิถีศรัทธาธรรม เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะอาจจะเป็นนาย ก. นาย ข. นาย ง. ที่จะสับตัวบุคลากรกัน เพราะฉะนั้นความเชื่อมโยงในบุคลากรทั้ง 18 คน เขาจะทำงานร่วมกัน แล้วเวลาผมแบ่งงานในโรงเรียน จะบริหารแนวราบ เมื่อบริหารแนวราบทุกคนจะอยู่อย่างมีความสุข ผมไม่อยู่โรงเรียนเดือนหนึ่ง โรงเรียนผมก็อยู่แบบปกติ เพราะอะไร เพราะว่าผมแบ่งงานว่า สมมติว่าการบริการงานกับการบริหารงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ยังมี 4 ด้าน ด้านแรกคือด้านวิชาการ ด้านงบประมาณและการเงิน ด้านบริหารบุคลากร และด้านบริหารทั่วไป ผมก็จะมีคณะทำงานเป็นชุด ๆ ซึ่งในวันนี้ผมมาอยู่ที่นี่ ถ้าเกิดสมมติว่าทางโรงเรียนมีเรื่องเกี่ยวกับงานวิชาการเข้ามา จะเริ่มส่งครูไปอบรม ก็จะมีคนเป็นผู้ดำเนินการแทนผม เพื่อวางว่าคนนี้ทำหน้าที่นี้ ทำหน้าที่นี้ไป ก็จะจัดการให้เสร็จ หรือมีเรื่องการบริหารทั่วไป และก็จะมีคนดำเนินการให้เสร็จ ก็เราจะแบ่งวิธีการอย่างนี้ แล้วสิ่งหนึ่งที่ผมใช้อยู่ประจำก็คือ คนเรานั้นจะต้องมีขวัญและกำลังใจ ขวัญและกำลังใจ ผมมีของขวัญ ผมจะต้องถือไปตลอดเลย สำหรับทั้งครูและนักเรียน อย่างนักเรียนเดินผ่านผม แสดงความเคารพผม ผมก็มีของขวัญให้แค่นี้เอง ผมยกหัวนิ้วโป้งให้เขา เขาภูมิใจแล้ว ครูก็เหมือนกัน เวลาผมเดินไป ไปนิเทศ ผมก็ต้องบอกว่า คุณทำดี ทำดีมากเลย ทำถูกต้องแล้ว ทำดีเรื่อย ๆ ไป ผมไม่ต้องพูด ในขณะที่ผมเดินผ่านเขากำลังทำกิจกรรมอยู่ ผมก้มหัวให้เขานิดหนึ่ง แล้วผมก็ยกหัวนิ้วโป้ง แค่นี้เป็นความภูมิใจของคนแล้ว คือทุกท่าน ถ้าเจอคนเขาก้มหัวให้ท่านนิดหนึ่ง แล้วยกหัวนิ้วโป้งให้เรา ภูมิใจไหม เพราะฉะนั้น เขาก็เหมือนกับเรานั่นแหละ ครูคือบุคลากรในโรงเรียน นักเรียนก็เหมือนกัน ถ้าเราแสดงอากัปกิริยาอย่างนี้ เขามีความสุขแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็เลยอยู่อย่างวัฒนธรรมที่มีความสุข ไม่ใช่แยกส่วน ไม่ใช่เวลาผู้บริหารไม่อยู่โรงเรียนก็เริงร่า เหมือนปกติทุกอย่าง นี่คือแนวทางของที่โรงเรียน

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         น่ารักมาก วจนวาจา รู้วันนี้นี่เองว่ามีพลังมหาศาล ในการที่ทำให้คนอื่นเกิดความสุข ความผูกพัน และก็ความรักในการทำงาน  วจนวาจาแค่ยกนิ้วหัวแม่โป้ง ก้มหัวให้ สุดยอดเลยอาจารย์คะ เดี๋ยวอาจจะขอเล่าเป็นแบบบ้างนะคะ ไปใช้กับลูกศิษย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตบ้างนะคะ พอดีมีคำถามหนึ่ง มาจากที่ตอนทานข้าวแต่ยังไม่ได้ตอบ อาจารย์ก็ยังไม่ได้ตอบ บอกว่าอยาก share อยากแบ่งปันบนเวทีใหญ่  อยากจะถามอาจารย์สุเมธว่า  บทบาทของ CKO กับการเป็นผู้นำทางวิชาการมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันอย่างไร เรียนเชิญอาจารย์สุเมธค่ะ

อ. สุเมธ   ปานะถึก:
          ในคำถามนี้ที่จริงแล้ว ผมว่านัยของผู้ที่ถาม จะเน้นในคำถามมากกว่าคำตอบ เพราะว่าอยากจะให้เน้นว่า ผู้บริหารที่จริงแล้วควรจะต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ ความจริงแล้วคำตอบมันก็มีอยู่ในตัวอยู่แล้วว่า ในโรงเรียนนั้นเป็นสถานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาทั้งตัวคุณครู ตัวนักเรียน ผู้ปกครอง แล้วก็ตัวผู้บริหารเอง เพราะฉะนั้นความเป็นผู้นำทางวิชาการจึงมีความสำคัญหรือว่าจำเป็นเป็นอย่างยิ่งในสถาบันที่เป็นหน่วยของการเรียนรู้ ก็คือ โรงเรียน โดยปกติทั่วไปแล้ว โรงเรียนก็จะแบ่งเป็นฝ่าย เป็นแผนกต่าง ๆ เหมือนกันทั้งประเทศ ส่วนใหญ่ชั้นมัธยมก็จะแบ่งเป็น 5 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายทางวิชาการ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารทั่วไป ที่จริงความเป็นนักวิชาการของพวกเรานั้นจำเป็นจะต้องมีอยู่ในทุกฝ่าย ฝ่ายแผนงาน ผู้ทำก็จะต้องรู้เรื่องแผนงาน เรื่องประมวลผล  ฝ่ายกิจการนักเรียน ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการในเรื่องของระบบรายชื่อนักเรียน ในเรื่องของการดูแลนักเรียนให้มีความสุข ทำอย่างไรบ้าง ฝ่ายอาคารสถานที่ การจัดบรรยากาศในโรงเรียน ผู้อ่านก็ต้องมีความรู้เหมือนกัน ทำอย่างไรให้โรงเรียนมองเข้าไปแล้วบรรยากาศมีความร่มรื่น น่าอยู่ มีความสะอาดสะอ้าน อยากอยู่ ไม่ใช่มองเข้าไปแล้วเต็มไปด้วยมลภาวะต่าง ๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ความเป็นนักวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนนั้น มีอยู่ในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะอยู่ในฝ่ายไหนก็ตาม ทีนี้ถ้าจะดูแล้วว่าเป้าหมายของโรงเรียนนั้นอยู่ที่นักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พรบ. นั้น ก็เขียนไว้ชัดเจนว่า โรงเรียนนั้นจะต้องให้นักเรียนนั้นเป็นนักเรียนที่มีลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ คือ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง มีความสุขในการเรียน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าในลักษณะทั้ง  3  ประการนั้น คนเก่ง คนดี มีความสุขแล้ว ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันไปหมด ทำอย่างไรนักเรียนที่มาโรงเรียนแต่ละวัน เขาจะเก่งขึ้น เก่งกว่าเมื่อวานนี้ แล้วก็เก่งให้มาก ๆ ในขณะเดียวกัน ตัวตนของเขานั้น ทำอย่างไรจึงจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหายที่โรงเรียนกำหนดไว้ และในเรื่องของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้น ทำอย่างไรที่เขาจะพัฒนาตัวเองให้มีความรอบรู้ ทั้งในเรื่องของทักษะ โอกาสคิด วิเคราะห์ อ่าน เขียน ต่างๆ นั้น ได้ดีมากขึ้น เพราะฉะนั้น ความเป็น  CKO ก็ตาม หรือความเป็นนักวิชาการก็ตามนั้น มันจะสอดแทรกอยู่ ไม่สามารถที่จะแจกได้ว่า คุณเป็นผู้บริหารโรงเรียน ณ บทบาทนี้  คุณเป็นนักวิชาการบทบาทนี้  คุณเป็นผู้ดูแลอาคารสถานที่บทบาทนี้  คุณเป็นฝ่ายปกครอง มันผสมกันไปหมด เพราะฉะนั้นมันก็คือภารกิจ ซึ่งถือว่าที่จริงแล้วมันก็เยอะพอสมควร เข้าไปโรงเรียนแต่ละวัน งานเยอะมากเลย ถ้าจะทำให้ดีที่สุดแล้ว มันต้องใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวัน  แต่ก็ต้องบริหารเวลาให้ได้ ขอบคุณมากครับ

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         จะมีท่านใดบ้างที่อยากจะแลกเปลี่ยน  ในมุมมองที่เราจะได้แบบที่ไม่เหมือนวิธีคิดแบบเดิม  เพื่อให้เวลาของเราได้เป็นอย่างที่เรากำหนดไว้  เพราะเวลา 14.30 น. เราจะเจอที่ห้องใหญ่เพื่อไปฟัง Wikipedia เหลือเวลาอีก 15 นาที จะเป็นการสรุป  knowledge  assets ที่ได้จากเมื่อเช้า
มีต่อ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17068เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท