DM Care Best Practice จาก รพ.เทพธารินทร์


เป็นการบันทุกขุมความรู้ที่ได้จากทีมงานของ รพ.เทพธารินทร์ โดยเฉพาะจากอาจารย์หมอเทพ หิมะทองคำ

               เมื่อ 23-24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลบ้านตากและโรงพยาบาลต่างๆในเขตจังหวัดตากได้รับการช่วยเหลือจากทีมงานดูแลเบาหวานที่ถือเป็นBest practiceของประเทศและของภูมิภาคมาช่วยจัดประชุมวิชาการให้ ผมดูแล้วก็น่าจะเป็นPeer Assistได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในห้องประชุมเป็นหลัก ผมเองได้นั่งฟังเฉพาะส่วนของอาจารย์หมอเทพ บรรยายเท่านั้นเพราะมีประชุมและดูงานซ้อนอยู่อีกหลายคณะ

               จากที่ผมได้ฟัง ผมก็ได้พยายามฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อจะสกัดเอาความรู้ฝังลึกที่ได้จากผู้บรรยายออกมาให้ได้มากที่สุดและพยายามที่จะเขียนเล่าแต่ก็เขียนไม่ได้สักที ก็จะพยายามเขียนเติมไปทีละเล็กละน้อยเท่าที่จะเขียนได้ครับ

1.  เบาหวานไม่ใช่น้ำตาล แต่เป็นความเสี่ยงของกลุ่มโรคจากเมตะบอลิซึ่มส์ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการออกกำลังกาย

2.  เบาหวานเป็นโรคระบาด(DM Epidermic)เป็นดรคทางสาธารณสุขหรือPublic Health มีผู้ป่วยเบาหวานครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รู้ว่าตนเองเป็นเบาหวานและเข้ามาสู่กระบวนการรักษาพยาบาล เบาหวานจึงถูกขนานนามเป็นSilent killer

3.  คนไข้เบาหวาน ร้อยละ 80 ตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

4.  โรคอ้วนเป็นกรรมพันธุ์และสมทบจากสิ่งแวดล้อม โดยร้อยละ 70 ของเด็กอ้วนจะกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วน ส่วนเด็กแรกเกิดที่น้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม โตขึ้นมักจะเป็นเด็กอ้วนเพราะสรางภาวะดื้ออินสุลินตั้งแต่แรกเกิด

5.  สูบบุหรี่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระส่งผลให้เส้นเลบือดอักเสบและกลายเป็นเบาหวานได้

6. Metabolic syndromeเป็นภาวะดื้อต่ออินสุลิน เริ่มจากการอ้วน ก็ยิ่งทำให้ดื้อตอ่อินสุลินมากขึ้นเกิดความดันสูงเกิดภาวะไขมันผิดปกติมีไตรกลีเซอร์ไรด์สูงขึ้นแต่HDLลดลง เกิดภาวะArterosclerosisและเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

7. สาเหตุสำคัญของเบาหวานชนิดที่ 2 คือการตายของเบต้าเซลที่ทำหน้าที่ผลิตอินสุลินในตับอ่อนกับภาวะดื้อต่อินสุลิน

8. การดูว่าจะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานหรือไม่ดูได้ง่ายจากเปอร์เซนต์ไขมันหน้าท้อง หรือไขมันที่พุง ถ้ามากกว่า 36 นิ้วในผู้ชายหรือมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิงจะถือว่าอ้วนและมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

9.ไขมันที่พุงจะสลายเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ที่จะเปลี่ยนเป็นFree fatty acid ที่ทำให้เบต้าเซลตายได้เยอะ

10. รูปแบบของการเกิดโรคเบาหวานจะเกิดจากอ้วนแล้วมีการทดสอบน้ำตาลกลูดคสผิดปกติ(IGT)แล้วกลายเป็นเบาหวานจนมีภาวะน้ำตาลสูงแบบควบคุมไม่ได้ ความเสี่ยงต่างๆจะค่อยๆเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆไม่ใช่มาตัดฉับที่เป็นกับไม่เป็นเบาหวาน ดังนั้นน้ำตาลหลังอดอาหาร120(ปกติ) กับ 130 (เป็นเบาหวาน)จึงไม่ได้มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันนัก

11.การวินิจฉัยดดยการเจาะน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร(FBS) ที่สูงจึงเป็นการตรวจที่ช้า โดยที่FBSจะสะท้อนให้เห็นถึงการทำหน้าที่ของเบต้าเซล แต่น้ำตาลหลังอาหาร(Postpandrial sugar)จะสะท้อนให้เห็นถึงภาวะดื้อต่ออินสุลิน

12. ในการวินิจฉัยเบาหวาน จึงไม่จำเป้นต้องอดอาหารมาเท่านั้น ใช้Random sugarเลยก็ได้ และในการเจาะไขมันในเลือดก็ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร(ปัจจุบันคนยังไม่เชื่อ แต่ในอนาคตจะปรับเปลี่ยนมาเป้นแบบนี้)

13. เมื่อวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นเบาหวานแล้ว ก็ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการให้ยาเท่านั้น น้ำตาลอดอาหาร 160-180 ก็สามารถเริ่มด้วยเรื่องอาหารและการออกกำลังกายก่อนได้ การให้ยาเร็วเกินไปเพราะกลัวน้ำตาลสูงจึงเป็นความเชื่อที่ไม่ค่อยถูกต้อง)

14. รากเหง้าของโรคหัวใจและหลอดเลือดก็คือภาวะดื้อต่ออินสุลินหรือInsulin resistance

15. การจัดการกับผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ไม่ใช่มามัวรอจัดการกับตัวโรค "Doing nothing very costly"

16. FBSมากกว่า 126 วินิจฉัยเป็นเบาหวาน น้ำตาลแบบสุ่มมากกว่า 200 เป็นเบาหวานแน่นอน แต่ถ้ามากกว่า140ให้นัดอดอาหารมาเจาะน้ำตาลหรือถ้า 141-199.shme OGTT

17. FBSเป็นการแสดงแค่ค่าน้ำตาลเฉพาะวันนั้น ส่วนHbA1C เป้นการแสดงค่าน้ำตาลสะสม เราจะพบได้ว่าผู้ป่วยรุ้ว่าอีก 2-3 วันจะตรวจเบาหวานก็ควบคุมอาหารอย่างดี พอวันตรวจFBSจึงปกติได้

หมายเลขบันทึก: 17067เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนอาจารย์ Dr. Phichet Banyati

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณมากๆที่สะกัดความรู้และสรุปแบบง่ายๆไปให้ใช้ได้เลย แต่ไม่ค่อยเข้าใจกลไกที่ว่าเด็กแรกเกิดทน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม โตขึ้นมักจะเป็นเด็กอ้วนเพราะสร้างภาวะดื้ออินสุลินตั้งแต่แรกเกิด กรุณาอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ ไม่ทราบจริงๆ

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท