แรงบันดาลใจ2


สอนลูก สอนลูกศิษย์

แรงบันดาลใจ

        ลูก  คำนี้เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของผู้เป็นแม่    นอกเหนือจากการที่เราต้องทำหน้าที่ในหลายๆเรื่องของความเป็นพลเมืองในโลกนี้แล้ว  การดูแลสั่งสอนลูกให้เจริญเติบโตแข็งแรง   ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ   และสติปัญญา  เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้น     ถือเป็นหน้าที่อีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำให้ดีที่สุด

     :   คุณมีอาชีพเป็นครู ทำไม  ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า  ลูก?

     ข้าพเจ้าเป็นครูสอนเด็กพิการทางการได้ยิน   เมื่อปีการศึกษา  2547            โรงเรียนของเราเป็น  1  ใน  5   ในประเทศไทย   ที่เข้าร่วมโครงการทดลอง    การสอนแบบสองภาษาสำหรับเด็กหูหนวก   กับวิทยาลัยราชสุดา  มหาวิทยาลัยมหิดล  โครงการนี้  เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา  2547  -  ปีการศึกษา  2551   ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานโครงการฯ ในส่วนของครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  การได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานโครงการฯ  เป็นโอกาสที่ดีของตนเองโดยไม่ตั้งใจ   เพราะไม่ว่าครูผู้สอน  หรือคณะทำงานในโครงการฯ  จะต้องได้รับการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างเสริมความรู้  และสร้างเสริมประสบการณ์ทั้งมวล    เพื่อนำมาใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กหูหนวก    ครั้งแรกจำได้ว่ารับการอบรมที่โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว  กรุงเทพมหานคร  ความรู้และมวลประสบการณ์ในครั้งนั้นเป็นเรื่องของเด็กที่อายุตั้งแต่  0  -  7  ขวบ (ในขณะนั้นลูกมีอายุได้  2  ขวบ)  ลูกเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ข้าพเจ้าใคร่รู้กับเรื่องต่างๆตามแนวของมนุษยปรัชญา  (Antroposophy)  ซึ่งเป็นรากฐานการจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟ

     : แล้วครั้งนี้คุณเข้าใจทฤษฎีตามแนวของมนุษยปรัชญา  แค่ไหน?

   ตอบได้โดยเลยว่า ไม่เข้าใจ    รู้แต่เพียงว่า….

-  พัฒนาการของเด็กนั้นมีตั้งแต่  0- 7  ขวบ   7-14  ปี   และ  14  ปีขึ้นไป

-  การพัฒนาเด็ก  0 – 7 ปีนั้น   ให้เป็นไปตามธรรมชาติ

-  ใช้สื่อในการสอนเด็กจากวัสดุธรรมชาติ   เช่น วิทยากรให้ทดลองจับสื่อที่ทำจากพลาสติก   (รู้สึกอย่างไร)    จับก้อนหิน  (รู้สึกอย่างไร) 

ใช้ตาดูรูปร่าง  (เห็นอะไร)

                                                                                ดูสีของผิวส้มโอ  (เป็นอย่างไร)

                                                                                ใช้มีดปอกเปลือก  (เห็นอะไรบ้าง)

จับส้มโอ(ของจริง) (รู้สึกอย่างไร)                   ผ่าส้มโอออกเป็นสองซีก  …..

                                                                ถ้ามีเด็ก…..คน  จะผ่าส้มโอ…….ชิ้น….

                                                                นำเปลือกมาใช้เป็นของเล่น…..

                                                                นำเปลือกมาเล่านิทาน….

                                                                                ฯลฯ

ข้าพเจ้าร้อง  ไชโย!(ในใจ)  นี่ไงสิ่งที่ฉันจะนำไปพัฒนาให้กับลูกของฉัน    ถ้ามีการอบรมแนวนี้ฉันขอเข้าร่วมอบรมด้วย………….

จากครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา  2547    จนถึงปัจจุบันนี้   ข้าพเจ้าได้รับการอบรมเพื่อรับความรู้ในเรื่องของการจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟเป็นจำนวน  6  ครั้งแล้ว  โดยครั้งล่าสุดนั้นเป็นการอบรมการจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟภายใต้    ชื่อว่า  ATT  (Asian  Teacher   Training)        

   จากมวลประสบการณ์ +  ความรู้   ในการจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟที่ข้าพเจ้าได้ตระหนักรู้นั้น   สรุปได้ว่า   ไม่ว่าจะทำหน้าที่แม่   หรือ ทำหน้าที่ครู   ไม่ว่าจะสอนลูกหรือสอนลูกศิษย์   สิ่งที่พึงต้องกระทำ  คือ

1.  สอนด้วยความรัก

2 . สอนให้เขาเป็นคนดี

จากการสอนด้วยความรักและสอนให้เขาเป็นดีนั้นจะต้อง

ประการแรก ต้องพัฒนาจิตสำนึกและคุณค่าแห่งการเกิดมาเป็นมนุษย์ของตน-เอง

ประการที่สอง ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี(คือการแนะนำเรื่องที่สวยสดงดงามและความดีต่างๆในโลก)  โดยผ่านการเล่น  การเล่านิทาน  ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กอนุบาล

ประการที่สาม การเป็นตัวอย่างที่ดี   เป็นผู้นำที่ดี  คือการให้ความรัก  ให้ความเคารพ  และมีอำนาจ  (โดยไม่ใช่การบังคับ)   เหมาะสำหรับเด็กวัยประถมศึกษา  (ความเป็นผู้นำ  +  ความเชื่อมั่น)

ประการที่สี่   ต้องรู้จักเด็กและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก

ประการที่ห้า   หลักการสัมผัสที่ควรรู้   มี  12  อย่าง   คือ  การรับรู้ถึงการสัมผัส   พลังแห่งชีวิต  การเคลื่อนไหว  ความสมดุล   การรับกลิ่น  การรับรส   การเห็น  ความอบอุ่น  การได้ยิน การใช้ภาษา  ความคิดรวบยอด  การรับรู้ตัวตนของผู้อื่น

และประการสุดท้ายที่จำได้ดีที่สุดสำหรับการจัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟคือ  การสังเกตฟันของเด็ก  ถ้าฟันของเด็ก(ฟันน้ำนม)หลุดร่วงนั้น   เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นประถมศึกษาแล้ว

จากที่กล่าวมาข้างต้นข้าพเจ้าได้เติมพลังอันทรงคุณค่ายิ่งที่ต้องพัฒนาตนเองเพื่อเรียนรู้ที่จะสอนลูกและลูกศิษย์ให้พวกได้ถึงพร้อมทางจิตใจ  และจิตวิญญาณ(ตามแนวการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ)   ท่ามกลางการจัดการศึกษาของไทยเราในยุคปัจจุบันนี้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   ทำให้ข้าพเจ้าได้จิตสำนึกที่ว่าเราต้องไม่ฝืนในกฎธรรมชาติ   ไม่เร่งการเรียนของเด็กก่อนวัยอันสมควร   เราต้องไม่สร้างกรอบให้เด็ก   เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดี      ต้องรู้จักลักษณะเด็กตามธาตุดิน  ธาตุน้ำ   ธาตุลม   และธาตุไฟ  เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เด็กจะมีลักษณะเดียวตลอดจึงมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาตัวเขาให้สมบูรณ์ได้    นี้แหละคือแรงบันดาลใจของข้าพเจ้า

 

                                                                               

 

คำสำคัญ (Tags): #วอลดอร์ฟ
หมายเลขบันทึก: 170524เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมบังเอิญพบบันทึกนี้ รู้สึกประทับใจมากในแรงบันดาลใจของ อ. มนตรี ขอเชียร์ให้เขียนเล่าเรื่องราวของเด็ก การเรียนรู้ของเด็กหูหนวก และตีความตามแนววอลดอร์ฟ จะน่าสนใจมากครับ

โดยในบันทึกให้ใส่คำหลัก "วอลดอร์ฟ" และ "โสตศึกษา" ผมจะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

วิจารณ์ พานิช

พี่เอียด น้องป๋องนะ

ดีใจจังเปิดมาเจอสิ่งที่พี่เขียน เป็นทั้งความรู้และข้อคิดที่ดีมากๆคะ

มีอะไรดีๆ ก็นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีนะคะ

...กระป๋อง...

พี่ขอบใจที่น้องได้เข้ามาอ่านของพี่ ตัวน้องเองพี่ก็รู้ว่ามีความตั้งใจ คล่องแคล่วอยู่แล้ว หวังว่าโครงการฯที่น้องกำลังดำเนินการอยู่นั้นประสบความสำเร็จด้วยดีนะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท