วงมโหรี


เครื่องดนตรีวงมโหรี

วงมโหรี   

           วงมโหรี      เป็นวงดนตรีอีกประเภทหนึ่ง     ที่ประสมกันระหว่างเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์กับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสาย  แต่เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์สร้างขนาดให้เล็กลงกว่าเดิม  เพื่อให้เสียงเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ ดังกลมกลืนกับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสาย  เพราะเสียงเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายดังเบากว่าเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์  ส่วนขนาดของวงยึดถือขยาดของวงปี่พาทย์เป็นหลัก  แต่เนื่องจากขนาดของวงปี่พาทย์มี ๓ ขนาด และขนาดของวงเครื่องสายมี ๒ ขนาด  จึงต้องจัดประสมดังนี้
              --   วงมโหรีเครื่องห้า       ประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์เครื่องห้ากับเครื่องสายวงเล็ก
              --  วงมโหรีเครื่องคู่         ประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์เครื่องคู่กับวงเครื่องสายวงใหญ่
              --  วงมโหรีเครื่องใหญ่    ประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่กับวงเครื่องสายวงใหญ่

           วงมโหรี  คงเป็นวงดนตรีที่มีมาแต่โบราณ  อย่างน้อยตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งมีกล่าวไว้ในกฏมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า     “   ในการพิธีจองเปรียงชุดลอยโคมนั้น ( พระเจ้าอยู่หัว ) เสด็จลงเรือพระที่นั่ง มีเรือจะเข้แนมสองข้าง  แล้วระบุว่า ( เรือด้าน ) ซ้ายดนตรี  ( เรือด้าน ) ขวามโหรี  “ มิได้บอกลักษณะของวงมโหรี ว่ามีคนร้องและคนเล่นอย่างไร  แต่พอจะทราบได้ว่า ( วง ) มโหรี กับ ( วง ) ดนตรีที่กล่าวถึงในที่นั้นคงแตกต่างกัน  จึงจัดไว้ในเรือคนละลำ และเรียกชื่อวงต่างกัน   สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า     “ มโหรีในชั้นเดิมคงเล่นกันเพียง ๔ คน คือ
              --  คนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้จังหวะเอง ๑
              --  สีซอสามสายประสานเสียง ๑
              --  ดีดกระจับปี่ให้ลำนำ ๑
              --  ตีทับประสานกับลำนำ ๑
              แล้วทรงอธิบายต่อไปอีกว่า “  มโหรีทั้งสี่สิ่งที่พรรณามานี้  พึงสังเกตุเห็นว่า มิใชอื่น คือเอาเครื่องบรรเลงพิณกับเครื่องขับไม้มารวมกันนั่นเอง        เป็นแต่ใช้กระจับปี่ดีดแทนพิณ    ตีทับแทนไกวบัณเฑาะว์    และเติมกรับพวงสำหรับให้จังหวะเข้าอีกอย่างหนึ่ง “ เช่น ที่กล่าวถึงในพระราชนิพนธ์บทละคอนอิเหนา ( เล่ม ๒ หน้า ๓๑๑ ) ว่า “ ทรงสดับขับไม้มโหรี  ซอสีส่ง  เสียงจำเรียงราย “ 
              สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายต่อไปว่า “ ตั้งแต่มีมโหรีวงผู้หญิงเกิดขึ้น    ก็เห็นจะชอบเล่นกันอย่างแพร่หลาย       จึงเกิดเป็นเหตุให้คนคิดเพิ่มเติมเครื่องมโหรีขึ้นตามลำดับ  เครื่องดนตรีที่เพิ่มเติมขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา   ( สังเกตุตามปรากฏในภาพเขียนสมัยนั้น ) คือ รัมนา ตีประกอบกับทับอย่างหนึ่ง  และ ขลุ่ย    สำหรับเป่าให้ลำนำอย่างหนึ่ง  วงมโหรีวงหนึ่งจึงกลายเป็น ๖ คน
              ภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ ๑   ที่ฝาผนังด้านตะวันตก       ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร       เขียนรูปวงมโหรีหญิงมีคนเล่น ๖  คน  ภาพเขียนดังกล่าวนี้      อาจเขียนตามลักษณะวงมโหรีครั้งกรุงศรีอยุธยา หรือเขียนตามที่ยังมีบางวงนิยมเล่นอยู่ในสมัยนั้น
             จากหลักฐานต่อมาพบว่า  วงมโหรีได้เพิ่มเครื่องดนตรีเป็นลำดับ  จากวงหนึ่งมี ๖ คน เพิ่มเป็น ๙ คน จนถึง ๑๔ คนในสมันรัตนโกสินทร์     โดยมีการนำเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์เข้ามาประสมวงด้วย เช่น ฆ้อง  ระนาดไม้  ระนาดแก้ว  ระนาดทุ้ม โดยย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้เล็กลง  เพื่อให้เสียงดังกลมกลืนกับวงเครื่องสาย     ใช้บรรเลงและขับร้องมาจนถึงปัจจุบัน    นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล         หรืองานรื่นเริงเพื่อขับกล่อมที่ไม้ต้องการเสียงดังมาก

คำสำคัญ (Tags): #มโหรี
หมายเลขบันทึก: 170439เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • อาจารย์นอนดึกนะครับ สงสัยเพิ่งกลับจากงานวัด
  • แวะมาทักทายครับ

สวัสดีครับ

ท่าน P กวิน

  • นอนดึกครับ
  • เหนื่อยมาก ๆ ครับ
  • แต่ สู้ตายครับผม
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
  • แล้วจะไปเยี่ยมนะครับ

 

สวัสดีค่ะ หนูมี่เรื่องอยากจาปรึกษาค่ะพอดีว่า อาจารให้ทำงานเกี่ยวกับวงมโหรีสมัยก่อนสุโขทัย สุโขทัยอะค่ะ หนูรองหาดูเเล้วเเต่ไม่พบเลยคุณครูช่วยหน่อยนะค่ะ

ผมชอบมากครับผมอยากได้รูป

สู้ตายนะครับผมผมอยากได้รูปมากๆๆๆครับรูปวงมโหรีครับ

ดีงับ สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆ

ดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดีดี

ดีดีดี

ด่รห่ากนห้

 

กพ้ะวัย

โลกร้อนเราซ้อมได้เคยอ่านกันไม่ครับคนสวย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท