ปัญหา ...มีไว้แก้


ด้วยความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมพัฒนา

ตั้งแต่วันที่ได้ระดมสมองร่วมกันในงานประชุมสัมนาที่หาดแก้ว ดูเหมือนปัญหาที่เกิดจากการโทรตามผล Lab. จากสาเหตุว่าได้ผล lab. ไม่ครบ ตามที่สั่งไว้ ดูเหมือนจะยังไม่มี ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ทาง OPD หรือ Ward ติด Barcode มา 2 แผ่น แล้วทางเรายิง Barcode ไม่หมด หรือไม่ครบ  และกว่าทาง ward หรือคลินิกจะตามผล บางครั้งเลิกงานแล้ว หรือนานเกินไปจนไม่สามารถทำการทดสอบได้อีก บางครั้งก็ทิ้งเลือดไปซะแล้ว (ถ้ามีน้อย) ผู้ป่วยก็ต้องเจ็บตัวอีกครั้ง  ซึ่งในเวลาที่รีบเร่ง ปริมาณงานที่มีมาก ผู้ที่ยิง  barcode เห็น barcode อันไหนก็ยิงอันนั้น ไม่ได้มาหมุนซ้ายแลขวาซะทุกอัน   ดังนั้น

                                                     

 กลุ่มตาทิพย์ นำทีมโดย คุณผอบ หัวหน้าโครงการลดอัตราความผิดพลาดจากการยิง barcode ไม่ครบ (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) ก็ได้คุยกับทาง OPD (คุณนุชจิเรจ) ทาง Center (คุณเพ็ญแข) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตา เราจึงได้ชื่อว่ากลุ่มตาทิพย์ (อันที่จริงจะชื่อตาสัปปะรด ก็คงเข้าท่าดีเหมือนกัน เพราะมีมากกว่า 2 ตา) เราจึงได้แนวทางปฏิบัติ หรือ Best practice ร่วมกัน ในขณะนี้โดยจะร่วมกันทำเอกสารตัวอย่างการติดเรียง barcode ที่มีมากกว่า 1 อัน ดังรูป แจกจ่าย ไปยัง Ward ต่าง ๆ  สำหรับ OPD ก็ให้มีเอกสารตัวอย่าง รวมทั้งคุณนุชจิเรข จะคอยกำชับ แนวทางการปฏิบัติสำหรับ การติด barcode มากกว่า 1 อัน แต่หากมีการติด barcode มาคนละด้านกันอีก ทาง OPD และ Center ก็จะมีแถบกระดาษกาว ติดแปะไว้ด้านบนหลอดเลือด ว่ามี 2  barcode หรือ 3 barcode ก็แล้วแต่ ซึ่งหลังจากนั้นทางกลุ่มก็จะได้ติดตามปัญหา และบันทึกเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป

ถ้าเป็นไปได้เราก็คงอยากจะให้ทาง ward หรือพยาบาลเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างก็คงจะดี ดังสุภาษิตที่ว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง  ก็เปลี่ยนเป็น แปะ barcode หลายอัน เราก็ยิงครบทุกอัน ก็คงจะดี....... (เกี่ยวกันมั๊ย ? เนี่ย)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนางาน
หมายเลขบันทึก: 17041เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เรื่อง barcode ก็เป็นปัญหาของห้อง sero  แต่อีกลักษณะหนึ่ง    คือ คนไข้ 1 ราย มี tube เลือด clotted blood  2 tube , (เค้าเจาะเผื่อ  เนื่องจากตรวจหลายอย่าง) barcode รหัสเดียวกัน   รายการสั่งตรวจเหมือนกันทั้ง 2 tube   ปัญหาคือเราไม่รู้ว่านั่นคือรายเดียวกัน   เพราะ ward ไม่ได้มัด tube เลือดรวมกันมา   หรืออาจจะมัด  แต่สุดท้ายมันก็ถูกแก้มัด  อยู่กันคนละที่    สรุปก็คือคนไข้รายนี้ถูกตรวจแล็บ  2 ครั้ง  รายการเหมือนกันเปี๊ยบ   กว่าจะรู้อีกทีก็ผ่านไปหลายวันแล้ว   เรื่องนี้ยังแก้ไม่ได้ค่ะ  โทรไปบอก ward  เค้าก็งงๆ    เพราะมันผ่านมาหลายวัน   จำกันไม่ได้แล้ว
คุณศิริ   มีทางออกให้มั๊ยคะ
ลองรวบรวมเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ barcode ดูว่าแต่ละหน่วยมีปัญหาอะไรบ้าง ถ้าเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ในภาควิชาฯ ก็ขอความร่วมมือ ถ้าปัญหามาจากภายนอกภาควิชาฯ หลังจากรวบรวมแล้ว ค่อยส่งตัวแทนไปประชุมร่วมกันกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะได้แก้ไขได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ที่หน่วยเราก็เจอปัญหาอย่างคุณ nidnoi เช่นเดียวกัน แต่เรามีวิธีการตรงจุดรับสิ่งส่งตรวจ โดยสิ่งส่งตรวจที่สั่งคู่กัน หรือ patch barcode ด้วยกัน เวลาแกะมัดยางออกจะต้องวางชิดกันใน rack ดังรูป จะได้ทราบว่าเป็นของผู้ป่วยรายเดียวกัน แล้วเราก็ผ่านเครื่องอ่าน barcode ไปทีละคู่  โดยเราจะเลือกยิงแค่ tube เดียว ใน 1 คู่ เมื่อยิงเสร็จก็จะอยู่ติดกันเป็นคู่ ๆ ดังภาพ พอหมดแถว เราก็เว้นระยะห่างตรงกลางของ rack (ขอย้ำว่าถึง tube จะมาเป็นคู่ก็จริง แต่เราต้องเลือกยิงอันใดอันหนึ่งเท่านั้น) เพราะฉะนั้นเราก็มีใบ print แค่ 1 ใบ และถ้าแพทย์สั่งตรวจเหมือนกัน ใน ใบ print ก็จะมี รหัส ของทั้ง 2 barcode อยู่ด้านบน แสดงว่าแพทย์สั่งตรวจเหมือนกัน แต่ผู้เจาะอาจจะเจาะสำรองให้ เราก็เลือก แค่ tube ใด tube หนึ่งก็พอ แต่ถ้าจับคู่กัน แต่พอยิง barcode แล้ว ใบ print มีรหัส barcode อยู่อันเดียว แสดงว่า ต้อง Check อีก tube ที่เหลือ (พิมพ์ไปแล้วชักงง เอาเป็นว่าถ้านึกภาพไม่ออกก็ให้มาดูที่ห้อง Chem ได้ค่ะ )

วันนี้ คุยกับคุณกิตติภูมิแล้ว ภาคฯจะเชิญเขามาพูดคุยเรื่องปัญหาการใช้ barcode ในเร็ววันนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท