กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในผู้ป่วยนอก


กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในผู้ป่วยนอก
                                         
        “ปัญหายาเสพติด” เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และ ส่งผลกระทบต่อทุก ๆ ระบบในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ระบบครอบครัว สังคม ชุมชน และประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหา และได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
            สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ตลอดจนพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้   ด้านการบำบัดรักษาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยว
            จากการประเมินสภาพปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูแบบ ผู้ป่วยนอก พบว่า ปัญหาการกลับไปติดซ้ำ เป็นปัญหาที่รุนแรง ต้องได้รับการแก้ไขเป็นลำดับแรก เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพบว่ามีปัญหา 3 ด้าน คือ ด้านตัวผู้ป่วยจากการที่มีความคิดอยาก ไปใช้ยา คบเพื่อนกลุ่มเดิมที่เสพยา  ไปเที่ยวในสถานเริงรมย์  การที่ยังไปพบผู้ขายอยู่ มีอารมณ์เบื่อ และขาดการบำบัดฟื้นฟู ที่ต่อเนื่องด้านสังคม สิ่งแวดล้อม มียาเสพติดแพร่ระบาดมาก  พร้อมกับ  ได้รับผลกระทบจากสังคมรอบข้างที่ก่อให้เกิดความเครียดและปัญหา ด้านครอบครัวเกิดจากการที่ ครอบครัวขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดความไว้วางใจ บางครอบครัวปล่อยปละละเลย ไม่ให้กำลังใจทำให้ ขาดแรงสนับสนุน
            ดังนั้นทีมงานจึงเลือกวิธีการ “กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน” ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ผู้ป่วยด้วยกันจะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันให้สามารถหยุดใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการ กลุ่มช่วยเป็นแรงสนับสนุน เสริมแรงจูงใจในการบำบัดรักษา ให้ผู้ติดยาเสพติดได้ช่วยเหลือกันเอง ซึ่งเริ่มจากผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ ผ่านการบำบัดรักษา หรือใกล้จบโปรแกรม และมีสภาพปัญหา  ที่คล้ายคลึงกันมาก่อน เป็นตัวต้นแบบโดยมีการประเมินผล ตัวชี้วัดที่ได้จากการทดลองดังนี้
            ผู้ป่วยสามารถหยุดใช้ยาได้อย่างต่อเนื่อง จากเดิมร้อยละ 60 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 มีแรง         จูงใจในการบำบัดฟื้นฟูเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ร้อยละ 31 เป็นร้อยละ 70 (วัดจากแบบประเมินแรงจูงใจ ก่อน – หลัง การนำกลุ่มมาใช้) การที่แรงจูงใจเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากกลุ่มผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟู            ให้การช่วยเหลือ เป็นแรงสนับสนุนทางสังคมที่ดี เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ตรง และคล้ายคลึงกับผู้ติดยาเสพติดด้วยกัน เป็นแรงเกื้อหนุนให้เกิดกำลังใจ การรับรู้ถึงความสามารถของตน  (Self – efficacy) ส่งผลต่อการนำทักษะที่ได้จากกระบวนการบำบัดฟื้นฟูไปใช้ในการควบคุมตนเอง  ให้สามารถหยุดยาได้อย่างต่อเนื่อง
           
           
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16999เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท