สวัสดีอาจารย์......และ.......เพื่อนๆ


การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

 ประมวลความรู้จากเรื่องการศึกษา และเรื่องการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ได้ดังนี้
 ประมวลความคิดในการจัดการศึกษา
การจัดศึกษาที่ควรจะเป็น เราต้องเน้นการพัฒนาคนหรือผู้หรือพัฒนาผู้เรียน ให้ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต รู้จักเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งต้องพัฒนาควบคู่กับการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ค่านิยม เทคโนโลยี และเราต้องกำหนดแนวทางเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตของเราให้สอดคล้องกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมสอดคล้องกับความเชื่อ ความถนัดและศักยภาพของเรา เปิดให้ปัจเจกชน เอกชน ชุมชน และรัฐ จัดการศึกษาหลายรูปแบบ  ให้สื่อทุกรูปแบบและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ความเชื่อความคิดและความรู้ มีส่วนในการจัดการศึกษา   และสิ่งที่สำคัญคือ เราต้องกำหนดเป้าหมายของการศึกษาให้มีความชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใดหรือควรจะเป็นเช่นใด ซึ่งจะต้องช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายปลายทางที่กำหนด มีการพัฒนาการพัฒนากาย ศีล  จิต ปัญญา และเป็นปัจเจกบุคคลที่ดี เนื่องจากการศึกษาเป็นตัวกำหนดมนุษย์เป็นอยู่อย่างไร

 ประมวลความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น มีเป้าหมายในการพัฒนาคนเป็นหลัก และเน้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พฤติกรรมและค่านิยม และการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ การติดต่อกับโลกภายนอก การฝึกอบรม การสื่อสารสมัยใหม่ การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม จินตภาพสมัยใหม่ การเคลื่อนที่  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัจเจกบุคคล  ระบบสังคม นวัตกรรม และระยะเวลา ซึ่งต้องตั้งอยู่บนฐานของความเป็นมนุษย์นั้น และมีกระบวนการสร้างความพัฒนาสังคม ต้องมีกิจกรรม 3 อย่างควบคู่ไปด้วย กัน คือ ความสมดุล  ความสามารถ  และการสร้างวงจรของมิตรภาพระหว่างชุมชนด้วย ซึ่งต้องทำให้เกิด "ปัญญา" เพื่อความอยู่รอดอย่างถาวร

 กระบวนการลงสู่ชุมชนและท้องถิ่น : ในการจัดการศึกษา
 การบริหารการพัฒนา

 การบริหารราชการแผ่นดินหรือการบริหารภาครัฐ (public administration) การบริหาร (administration) การพัฒนา (development) การพัฒนาชุมชน (community development) การพัฒนาชนบท (rural development) จากนั้น จึงมาใช้คำว่า การบริหารการพัฒนา (development administration) และยังใช้คำอื่น เป็นต้นว่า การพัฒนาแบบยั่งยืน (sustainable development) การพัฒนาแบบพอเพียง (sufficient development) การพัฒนาแนวพุทธ (Buddhistic development) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (good governance) การจัดการ (management) การบริหารและการจัดการ (administration and management) ล่าสุด รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณชินวัตร ได้นำคำว่า การบริหารจัดการ (management administration) 
การบริหารการพัฒนา เป็นการบริหารที่มีเป้าหมายแน่นอน ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร โดยจะต้องมีการปรับปรุงกลไกในการบริหารงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อให้เป็นระบบที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมต่อไป  ลักษณะของการบริหารการพัฒนา เป็นการวางแผนเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตไปในทิศทางที่กำหนด โดยการเบลี่ยนแปลงในระบบสังคมเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตไปในทิศทางที่กำหนด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแยกออกเป็น 3 ประการ คือ การเจริญเติบโตอย่างมีทิศทาง (Directional Growth) การเปลี่ยนแปลงระบบ (System Change) การวางแผนหรือจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลง (Planning or Intended Change) (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2540)
ความสำคัญของการบริหารการพัฒนา (1) เป็นวิธีการหรือแนวทางหนึ่งของการบริหารภาครัฐซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนเท่านั้น แต่การบริหารการพัฒนายังมีความสำคัญในลักษณะที่มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินให้ (2) เป็นระบบ (3) เป็นวิชาการ (4) มีทิศทางที่ชัดเจน (5) มีความครอบคลุมครบถ้วนทั้งการบริหารเพื่อการพัฒนาและการพัฒนาการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ตลอดทั้ง (6) ช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการอีกด้วย ความสำคัญดังกล่าวนี้ (เหตุ) จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ผล) และในที่สุด จะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน (ผลกระทบ) หรือ อาจกล่าวได้ว่า การบริหารการพัฒนา เป็น มรรควิธี ที่นำไปสู่ จุดหมายปลายทาง (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ :  http://www.wiruch.com/)
จุดเน้นของการบริหารการพัฒนาในฐานะที่เป็นการบริหารของการพัฒนาได้ 3 ประการ ดังนี้ (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2540)
1. การให้ความสำคัญต่อโครงการ
แนวการศึกษาโดยให้ความสำคัญของแต่ละโครงการนั้นเป็นผลมาจากแนวคิดที่ว่า การบริหารการพัฒนานั้นไม่ได้อาศัยหลักแห่งเหตุผลเสมอไป การบริหารการพัฒนาจะเกี่ยวข้องกับค่านิยม และเป้าหมายของการพัฒนาในแต่ละสังคมด้วย กล่าวคือ ในแต่ละสังคมอาจจะมีค่านิยม ขอบข่ายและแนวทางในการพัฒนาที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ความรู้ทางการบริหารของตะวันตกที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผลจึงประยุกต์ใช้กับประเทศกำลังพัฒนาที่อาศัยประเพณีดั้งเดิมมากกว่าหลักการวิทยาศาสตร์ได้น้อย ดังนั้นในระยะแรกจึงเป็นการนำความรู้จากประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาใช้โดยตรง แต่ต่อมาในยุคปัจจุบันมีการมุ่งเน้นการให้ความสำคัญของแต่ละโครงการ (Project-by-Project Approach) ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของหน่วยย่อยเล็กๆที่เรียกว่า "โครงการ" ซึ่งมีอิสระในการตัดสินใจ และมีระยะเวลาของการปฏิบัติ โดยสนใจว่ามีปัญหาอะไรในโครงการ และทำให้โครงการบรรลุผลได้อย่างไร
2. การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเฉพาะด้าน
การบริหารการพัฒนาเฉพาะด้านเป็นอีกแนวคิดหนึ่งของการบริหารการพัฒนาโดย George Gantt ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การบริหารการพัฒนาแท้จริงก็คือ การพัฒนาเฉพาะด้าน (Sectoral Development) ซึ่งได้แก่ ด้านการเกษตร การแรงงาน การศึกษา การสาธารณสุข การพัฒนาเมือง และการพัฒนาชนบท เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาในแต่ละด้านดังกล่าวมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งสามารถเห็นได้เด่นชัดที่สุดคือ การพัฒนาชนบท ที่มีการศึกษาในสถาบันของประเทศต่างๆ
3. การให้ความสำคัญต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
แนวการศึกษาการบริหารการพัฒนาในปัจจุบันได้มุ่งสู่กรอบแนวคิด และให้ความสำคัญของการศึกษาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยความคิดของนักวิชาการที่ว่า ถ้าการบริหารการพัฒนาเป็นเรื่องของการบริหารนโยบาย โครงการ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาแล้ว การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติก็เป็นเรื่องของการผลักดันให้การทำงานของกลไกที่สำคัญสามารถบรรลุผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้ โดยพยายามที่จะศึกษาตัวแปร หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งแนวทางในการศึกษาดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักวิชาการในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะผลของการศึกษาสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหารได้ โดยที่ไม่ห่างไกลจากโลกแห่งความเป็นจริงมากนัก

การบริหารเชิงยุทธศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1  เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และค่านิยม (Value) ของชุมชน/องค์กรโดยรวมว่าต้องการจะเห็นชุมชน/องค์กรเป็นอะไร ?     อะไรคือพันธกิจหลัก ?    และอะไรที่ถือว่าเป็นคุณค่าหรือค่านิยมของชุมชน/องค์กรที่ต้องการ โดยที่ทั้งสามส่วนนี้จะต้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบที่ 2 เป็นการระบุเป้าหมายซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของวัตถุประสงค์   ทั้งนี้เพื่อที่จะตอบคำถามที่ว่าเราทำสิ่งที่ทำอยู่นี้ไปทำไม  (Why)    และอะไร (What) คือผลลัพธ์ที่เราต้องการ
องค์ประกอบที่ 3 จัดว่าเป็นหัวใจของกระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์  เพราะเป็นการกำหนดกล-ยุทธ์ (Strategy) กลวิธี (Tactic)  เป็นการวางแนวทาง เสนอวิธีการหรือเครื่องมือที่จะทำให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  เทคนิคในการกำหนดกลยุทธ์มีหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายก็ได้แก่ เทคนิคการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง  โอกาส และปัญหาที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า  SWOT Analysis     การวิเคราะห์  SWOT  จะทำให้เราสามารถตอบคำถามที่ว่า เราจะเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างไร  (How)  ภายใต้สถานภาพขององค์กรตามที่เป็นอยู่ โดยดูจากสถานการณ์รอบด้านประกอบ
องค์ประกอบที่ 4 เป็นการพิจารณาเพื่อระบุว่ามีอะไรบ้างที่ถือเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่จะผลักดันให้เราทำงานได้สำเร็จ โดยที่ปัจจัยเหล่านี้มักจะหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแผนงานและทรัพยากรที่จำเป็น  เช่น  คน  เครื่องมือ  หรืองบประมาณ เป็นต้น
องค์ประกอบที่ 5 เป็นการกำหนดเครื่องมือที่จะใช้สำหรับติดตามและประเมินงานต่อไป  ซึ่งก็ได้แก่การกำหนดตัวชี้วัดหลัก ๆ ที่มักเรียกกันทั่วไปว่า KPI (Key Performance Indicator)     KPI ที่ดีจะต้องมีจำนวนไม่มากจนเกินไป คือต้องเลือกเฉพาะตัวหลัก ๆ เท่าที่จำเป็น โดยที่ตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นมานี้จะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น     KPI ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทรงพลังเป็นอย่างยิ่ง  เพราะนอกจากจะใช้ Monitor (ติดตาม) การทำงานแล้ว   ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ Motivate (กระตุ้น) ผู้ปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย  แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มักใช้เครื่องมือนี้ในทางตรงกันข้าม  คือมักจะเอาไปใช้ “บั่นทอน” ความมั่นใจและทำให้คน “หมดไฟ”  มากกว่าที่จะใช้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน
 องค์ประกอบทั้งห้าดังที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน  เมื่อตัวหนึ่งเปลี่ยน  ตัวอื่นก็จะถูกกระทบและจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย  ตัวอย่างเช่น  เมื่อวิสัยทัศน์เปลี่ยน  วัตถุประสงค์ก็จะถูกกระทบและอาจต้องเปลี่ยนตามไป  หรือในกรณีที่สภาพขององค์กรเปลี่ยนไปหรือสถานการณ์รอบข้างเปลี่ยน  กลยุทธ์ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน   ซึ่งก็จะมีผลทำให้ปัจจัยความสำเร็จและ  KPI ต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน (ประพนธ์  ผาสุขยืด : http://www.kmi.or.th/)

 การบริหารจัดการคุณภาพ
 “การบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ” ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติเป็นภาษาไทยไว้ ซึ่งมาจากคำว่า “ TQM” ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก Total Quality Management
 ดร.วรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล ได้ศึกษาแนวคิดแบบ TQM ซึ่งสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ    (วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล, เอกสารประกอบการสอน )
 กลุ่มที่ 1 เกี่ยวกับวัตถุประสงค์
1.  สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ทุก ๆ คนมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ตนเอง แต่มิได้สนใจว่าลูกค้าจะได้รับความพึงพอใจหรือไม่ การที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้จะต้อง
ประกันความพึงพอใจของลูกค้า  ปลูกฝังทัศนคติและจิตสำนึกให้แก่พนักงาน เพื่อที่จะไม่ได้ยินเสียงบ่นจากลูกค้า  และทำให้คุณภาพของสิ้นค้าและการบริการเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า
2.  มีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม  “ไม่เอารัดเอาเปรียบ” 8 ประการ คือ ลูกค้า ลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ ราชการ สังคมและสิ่งแวดล้อม และไม่เอารัดเอาเปรียบคู่แข่ง. 3.  ให้การศึกษาและพัฒนาบุคลากรตลอดเวลา
กลุ่มที่ 2 เกี่ยวกับวิธีคิด
4.  ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ
5.  ให้ความสำคัญแก่กระบวนการทำงาน
6.  กระบวนการถัดไปคือลูกค้าของเรา คือการเรียกร้องตนเองผ่อนปรนผู้อื่น ต่างฝ่ายต่างแก้ไขปัญหาปรับปรุงคุณภาพงานในความรับผิดชอบของตนเองให้ดีเสียก่อน
กลุ่มที่ 3 เกี่ยวกับวิธีทำงาน
7.  บริหารด้วยข้อมูลจริง ในสถานที่จริง
8.  แก้ปัญหาที่สาเหตุ เน้นการป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
9.  ใช้กรรมวิธีทางสถิติ ใช้สำหรับการวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพ
10.  จัดลำดับความสำคัญ
11.  ดำเนินการบริหารแบบ PDCA เป็นวัฏจักรแห่งการบริหาร คือ การวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุง  ซึ่งมีอยู่ 8 ขั้นตอน คือ
11.1   กำหนดหัวข้อเป้าหมายและค่าเป้าหมาย (plan)
  กำหนดวิธีการและขั้นตอนเพื่อการบรรลุเป้าหมาย (plan)
11.2   ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Do)
11.3   ดำเนินการ  (Do)
11.4 ติดตามและประเมินผล (Check) ถ้ามีปัญหาย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 4
11.5 แก้ไขอาการของปัญหาเป็นการเร่งด่วนเฉพาะหน้า (Act)
11.6   ค้นหาสาเหตุของปัญหาแล้วแก้ไขที่สาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดปัญหา ซ้ำ (Act)
11.7 ตรวจสอบว่าแก้ปัญหาได้ผลหรือไม่ (Act)
12 สร้างระบบมาตรฐานที่มีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ

การบริหารจัดการความรู้
ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช  บรรยายในการประชุมประจำปี สวรส. “พลังปัญญาสู่หลักประกันสุขภาพ”  19 กุมภาพันธ์ 2547   การจัดการความรู้ กับการศึกษา http://www.kmi.or.th/ document/KM_Kcreation_HSRI.doc  ว่า การจัดการความรู้ที่แท้จริงเป็นการจัดการความรู้โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เป็นการดำเนินกิจกรรมกันในกลุ่มผู้ทำงานเพื่อช่วยกันดึง “ความรู้ในคน” และ “คว้า” (capture) ความรู้ภายนอกองค์กรมาใช้ในการทำงาน  และคอย “คว้า” ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานเอามายกระดับความรู้ และนำกลับไปใช้ในการทำงานเป็นวงจรต่อเนื่องไม่จบสิ้น
วิธีการจัดการความรู้อย่างง่าย 3 วิธีการคือ
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน “ชุมชนนักปฏิบัติ” (Community of Practice,CoP)
3.   วงจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยกกำลังสาม บวก คว้า

 ในวงล้อหลัก  ใช้พลังของการเรียนรู้ร่วมกัน (ของทีมงาน)  ทั้งเรียนรู้ร่วมกันก่อนเริ่มงาน (learning before), เรียนรู้ร่วมกันระหว่างทำงาน (learning during), และเรียนรู้ร่วมกันหลังงานชิ้นนั้นสำเร็จ (learning after)
 การเรียนรู้ร่วมกันก่อนเริ่มงาน ใช้เทคนิคที่เรียกว่า “เพื่อนช่วยเพื่อน” (Peer  Assist)  คือ ทีมที่จะทำงานชิ้นนั้นเสาะหากลุ่มหรือทีมงานที่มีความสามารถในการทำงานนั้นในระดับ best practice  ซึ่งอาจเป็นกลุ่มภายในองค์กรเดียวกัน หรืออยู่ภายนอกองค์กรก็ได้    เชิญมาทำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีทำงานนั้น  
ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด แสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า

“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ลำพังเพียงแค่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่นๆมาอุดหนุนเกื้อกูลจึงจะประสบผลสำเร็จ ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3 องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ (1) เวลา (2) เวที และ (3) ไมตรี
องค์ประกอบแรก “เวลา” พูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนรู้ก็ไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก
องค์ประกอบที่ 2 ต้องจัดให้มี พื้นที่ หรือเวที ไว้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เวทีการเรียนรู้นี้ ถ้าจะให้ดีควรมีรูปแบบที่หลากหลาย คือ มีทั้งเวทีที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
องค์ประกอบที่ 3  ไมตรี คือต้อง มีใจ ให้แก่กันและกันด้วย ท่านลองหลับตานึกดูก็แล้วกันว่า ถ้ามีเวลาให้ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้พบปะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันแล้ว หากแต่ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมีใจที่ปิดกั้น คับแคบ เต็มไปด้วยอัตตา (ego) มีอคติ (bias) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น (ประพนธ์  ผาสุขยืด : http://www.kmi.or.th/KMI_doc2.html)
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการ สคส. กล่าวว่า สคส.พบว่าในสังคมไทยนั้นมีการทำการจัดการความรู้อยู่แล้วในหลากหลายรูปแบบทั้งเป็นการที่ทำโดยอัตโนมัติแบบไม่รู้ตัว หรือแบบที่นำมาประยุกต์กับสิ่งที่ทำอยู่เดิมแล้วได้ผลที่ดีกว่าหรือการนำมาใช้ทั้งรูปแบบหรือบางส่วน หรือสร้างขึ้นมาใช้เองในแบบเฉพาะของตนเหล่านี้จึงเป็นบริบทที่ทำให้ สคส.ได้พัฒนา รูปแบบ (โมเดล) เครื่องมือวิธีการ และกระบวนการของการจัดการความรู้ที่ง่ายและสามารถเลือกนำไปใช้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงานนั้น ๆซึ่งกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดศักยภาพของการใช้ความรู้อย่างสูงสุดคือการทำให้คนเปิดใจพร้อมจะนำความรู้ในตัวออกมา แลกเปลี่ยนกับคนอื่นและร่วมกันประยุกต์ต่อยอดความรู้ที่เป็นความสำเร็จของตน ของกลุ่ม ขององค์กรเป็นต้น ทำให้เกิดการไหลเวียนของความรู้ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่การใช้ความรู้ชุดเดียวแบบซ้ำซากซึ่งไม่ได้ส่งผลที่ดีกว่าเดิม“การจัดการความรู้” จึงมีความสำคัญที่สังคมไทยต้องการเรียนรู้ซึ่งความหลากหลายของรูปแบบการจัดการความรู้ที่ผู้ใช้ผู้ต้องการพัฒนาเป็นผู้สร้างขึ้นเองนั้นจึงเป็นรูปแบบการจัดการความรู้ของสังคมไทยที่เรียกได้ว่าเป็นลักษณะ“ฟรีสไตล์” แต่ไม่ไร้รูปแบบ และเดินไปอย่างมีทิศทางใครอยากได้ก็ต้องทำต้องสร้างเองจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดชุดความรู้ใหม่ ๆที่มาจากการปฎิบัติและใช้ได้จริงส่งต่อสู่การแก้ไขและพัฒนาประเทศที่ดีกว่าได้เป็นชุดความรู้ที่มาจากจุดเริ่มเล็ก ๆ ที่สำเร็จขยายตัวทวีคูณจนกลายเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ (วิจารณ์ พานิช. 2548 : http://www.bangkokbiznews.com/ 2005/12/04/w009l1_57563.php? news_id=57563)
ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การจัดการความรู้ :กระบวนการปลดปล่อย มนุษย์ สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข” ว่ากระบวนการจัดการความรู้ที่ได้เห็นอยู่ในขณะนี้ เป็นการปฎิวัติเงียบความรุนแรง การใช้ความรุนแรงบ่อยๆครั้งหรือเกือบทั้งหมดไม่ใช่การปฎิวัติความรุนแรงแต่การปฏิวัตินั้นต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เปลี่ยนคุณค่าใหม่ ซึ่งสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นของการจัดการความรู้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าได้มีการนำไปสู่ความคิดใหม่ การเปลี่ยนคุณค่าใหม่ๆ ที่สำคัญนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างลึกซึ้ง(tranformation) ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรและสังคม  เราได้เห็นแล้วว่ากระบวนการใช้กฎหมายต่างไม่นำไปสู่ transformationเพราะขาดการเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดลึกซึ่งเป็นเพียงกลไกลที่นำไปสู่กลโกงไปสู่อะไรต่างๆต่างปัจจุบันตามที่ท่านเห็นการจัดการความรู้เข้าไปสู่การผลักจิตสำนึกนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่าลึกซึ้งนำไปสู่การปลดปล่อย นำไปสู่การมีเมล็ดพันธุ์แห่งความดีสังคมปัจจุบันเชื่อมโยงกันจนหมดทุกมิติ ข้อมูลข่าวสารตัวประชากรจะมีมากขึ้น มีระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน ระบบการเมืองที่เชื่อมโยงกัน  สามารถเคลื่อนไหวไปรอบโลกได้ด้วยความเร็วของแสงต่างๆเหล่านี้เกิดเป็นระบบที่ซับซ้อนที่จัดยากไม่รู้เลยว่าใครเป็นมิตรเป็นศัตรู เป็นทุกข์ทางสังคมที่เราป่วยกันหมดทั้งโครงสร้าง เป็นโครงสร้างทางดิ่งเน้นการใช้กฎหมายกฏระเบียบ และการบริหารสั่งการ จากเบื้องบนลงล่าง อย่างสภาพเมืองไทยขณะนี้หรือในต่างประเทศ คนๆเดียวอยากจะสั่งคนทั้งหมด โครงสร้างแบบนี้คนจะขัดแย้งกัน คนจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีการเกลียดกันมีการแกล้งกัน มีการเก็บข้อมูลไว้ทำร้ายกัน มีการวิ่งเต้นเส้นสาย พยายามที่จะหาอำนาจ ที่เหนือกว่า ขณะที่อำนาจทุนมหึมาที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่รอบโลกจำนวนมาก มีการกำหนดบทบาทหรือแม้กระทั่งการควบคุมสื่อ วิทยุโทรทัศน์ สำหรับทุนกับการเมืองก็พยายามเข้ามาในกลุ่มสื่อมวลชนปิดหูปิดตาสื่อทำให้เกิดความเครียดต่างๆขึ้นในสังคมซึ่งคนไทยจะติดอยู่ในโครงสร้างทุนมหึมาโดยไม่รู้ตัวและครอบงำผู้คนอยู่ทั้งโลกในเวลานี้
ทางออกที่ดีคือ เราคงต้องกลับไปสู่ศีลธรรมพื้นฐานของสังคมคือการเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นคนของคนทุกคน อย่างเท่าเทียมกันถ้าสังคมไม่มีศีลธรรมพื้นฐานแล้วการพัฒนาด้านต่างๆจะบิดเบี้ยวสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี สิทธิเด็กความเป็นธรรมทางสังคม จะไม่มีหากขาดศีลธรรมพื้นฐานคือการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นคน เพราะความรู้ที่อยู่ในตัวคนได้จากประสบการณ์ได้จากการทำงาน หากเราจะเอาความรู้ที่อยู่ในตัวคนเป็นฐานความรู้ในตำรามาประกอบ มาปรับแต่งมาต่อยอดก็จะเป็นการจัดความสัมพันธ์ของความรู้ที่ส่งเสริมทุกคนเราไม่ควรปฏิเสธความรู้ทั้งสองด้านแต่เราควรจัดความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดผลในแง่บวกต่อสังคมได้ เพราะฉะนั้นการจัดการความรู้คือรูปธรรมของการเคารพความรู้ที่มีในตัวคนฉะนั้นการจัดการความรู้ก็คือศีลธรรม เป็นศีลธรรมพื้นฐานที่เราควรจะส่งเสริมให้คนทุกคนมีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีความภูมิใจและมั่นใจในตัวเองแต่หากเราเอาความรู้ในตำราเป็นฐาน คนจะขาดความมั่นใจ ซึ่งจุดนี้เองจะเป็นพลังทางศีลธรรม ที่จะเข้ามาปลดปล่อย มนุษย์สู่ ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข การจัดการความรู้ช่วยไปเสริมกระบวนการธรรมชาติให้มีการเรียนรู้มีการแลกเปลี่ยน มีการงอกงามไปตามธรรมชาติ มีการหยั่งลึกมีการฟังอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะทำให้เรารู้ความหมายภายในของคนคนนั้น  แต่ถ้าเป็นการฟังแบบตื้นๆ จะเป็นการรู้แบบ “ รู้เปรี้ยง ทำเปรี้ยง”อย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันในสังคม เป็นอารมณ์ เป็นเหยื่อของกิเลสการได้รับรู้อะไรมาอย่าเพิ่งตัดสิน ให้แขวนความรู้นั้นไว้ก่อนและนำมาพินิจพิจารณา สงบและมีสติ แล้วก็จะเกิดปัญญาเมื่อเราเกิดปัญญาแล้วจะสามารถเชื่อมโยง อดีต ปัจจุบัน อนาคตทำให้เห็นอนาคตและกลับไปพิจารณาอดีตปัจจุบันด้วยกระบวนการทางปัญญา ซึ่งเป็นวิธีการทางบวกที่เรามองความสำเร็จ ทำให้เกิดพลังเพิ่มขึ้นและไม่เริ่มต้นจากความทุกข์ ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติถือเป็นหัวใจของการจัดการความรู้ ,ถักทอไปสู่โครงสร้างใหม่ขององค์กรและสังคมมีทั้งแบบใช้อำนาจและแบบตัวใครตัวมันแต่การจัดการความรู้ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่มคนกลุ่มคนกับกลุ่มคน ซึ่งจะทำให้เกิดโครงสร้างใหม่ขึ้น ในองค์กรและสังคม กระบวนการจัดการความรู้เราควรจะมองทั้งหมดให้เชื่อมโยงกัน  ศ.นพ.ประเวศ กล่าวทิ้งท้ายว่า การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการปลดปล่อยมนุษย์ไปสู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข และไปสู่การยกระดับ ไปสู่จิตสำนึกใหม่ไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (tranformation) ที่นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ร่วมกันได้   (ประเวศ วะสี, 2549  : 74-77)

การจัดการความรู้เชิงยุทธศาสตร์
 ในปัจจุบันประเด็นเรื่องการจัดการความรู้ ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันค่อนข้างบ่อยและในความหมายที่ค่อนข้างจะหลากหลายจนอาจทำให้ผู้ที่สนใจเกิดความสับสนกันพอสมควร     บทความนี้เป็นการนำเสนอการจัดการความรู้ในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับการบริหารเชิงยุทธศาสตร์คือมองว่าถ้าอนาคตที่พึงประสงค์เปรียบได้กับบันไดขั้นที่ 5     บันไดขั้นที่ 4 ก็คือการกำหนดยุทธศาสตร์ปัจจัยความสำเร็จ     และบันไดขั้นที่ 3 ก็คือ การกำหนด KPI  หรือดัชนีชี้วัด  Performance ที่ต้องการ     ส่วนบันไดขั้นที่ 2 ก็คือ Required Competency หรือความสามารถหลักที่ต้องมี  ถ้าจะให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้ตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ องค์กรจำเป็นต้องมีความสามารถด้านใดบ้าง  จึงจะทำให้เกิด Performance (บันไดขั้นที่ 3) ที่ต้องการ     ส่วนบันไดขั้นที่ 1 ก็คือการประเมินศักยภาพและความสามารถในปัจจุบันขององค์กรว่า ขณะนี้องค์กรมีความสามารถด้านใด เพียงใด มีปัญหาอยู่ตรงไหนบ้าง กระบวนการต่าง ๆ มีความชัดเจนดีหรือมีประสิทธิภาพเพียงใด อาจจำเป็นต้องทำการประเมินการดำเนินงาน (Operational Audit)      หรือถ้าองค์กรเดินอยู่ภายใต้ระบบการบริหารคุณภาพ  ก็จะต้องนำผลจากการตรวจประเมินคุณภาพภายในมาพิจารณา หรือถ้าเป็นการมองจากมุมเรื่องความรู้  ก็อาจจะต้องจัดให้มีการประเมินความรู้  (Knowledge Audit)  ขึ้นมาก็ได้     เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งส่วนที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปของแผนที่ความรู้ หรือ Knowledge Map ก็ได้


 

รูปแบบการจัดการความรู้ที่กล่าวในที่นี้ เป็นการจัดการความรู้ที่มีวัตถุประสงค์เด่นชัดว่าเพื่อให้ได้มาซึ่ง  Performance  ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่กำหนด  อันจะมีผลทำให้สิ่งที่ปรารถนานั้นเป็นจริงขึ้นมา      ซึ่งถือได้ว่าเป็นการมอง KM เชิงยุทธศาสตร์ ที่จะสามารถเชื่อมโยงปัจจุบันกับอนาคตได้เป็นอย่างดี   เป็นรูปแบบของ KM  ที่มิได้หยิบยกขึ้นมาอย่างลอย ๆ เพียงเพื่อให้รู้สึกว่าได้ทำตามกระแสหรือเพื่อให้ทันแฟชั่นเท่านั้น  หากแต่มอง KM ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้แก้ปัญหา  ใช้พัฒนางานและสานฝันที่มุ่งมาดปรารถนาให้เป็นจริงขึ้นมา
การจัดการความรู้ภายใต้แนวทางนี้ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) เป็นการเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของการทำงาน เช่น ก่อนเริ่มงานจะต้องมีการศึกษาทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังจะทำ จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองหรืออาศัยความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน (Peer Assist)   มีการศึกษาวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ได้ผลพร้อมทั้งค้นหาเหตุผลด้วยว่าเป็นเพราะอะไร  และจะสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาใช้กับงานที่กำลังจะทำนี้ได้อย่างไร     ในระหว่างที่ทำงานอยู่ก็เช่นกัน จะต้องมีการทบทวน  (Review) การทำงานอยู่ตลอดเวลาเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ได้จากการทบทวนกิจกรรมย่อยในทุก ๆ ขั้นตอน หรือใช้เครื่องมือที่เรียกว่า After Action Review (AAR) คือหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าจุดมุ่งหมายของงานที่ทำอยู่นี้คืออะไร กำลังเดินไปถูกทางหรือไม่เพราะเหตุใด มีปัญหาอะไรหรือไม่  จะต้องทำอะไรให้แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร      และนอกจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานหรือเมื่อจบโครงการ (ไม่ควรเกิน 2-3 สัปดาห์)  ก็จะต้องมีการทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำมาแล้ว  โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Retrospect  ว่ามีอะไรบ้างที่ทำได้ดี  มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือรับไว้เป็นบทเรียน (Lesson Learned) ซึ่งการเรียนรู้ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นวงจรอยู่ตรงส่วนกลางของโมเดลการจัดการความรู้นั่นเอง

 

 โทมัส เอช. ดาเวนพอร์ท และลอเรนซ์ พรูแซค แปลโดยนิทัศน์ วิเทศ ได้กล่าวถึงการจัดการความรู้ภาคปฏิบัติ ว่า ก่อนที่จะจัดการความรู้ เราต้องเกิดปัญญาเห็นแจ้ง ใน 5 ประการ คือ (1) เริ่มจากจุดที่มีความรู้ที่มีคุณค่า (2) เริ่มต้นด้วยโครงการนำร่องก่อน (3) ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างควบคู่กันไป เช่น เทคโนโลยี องค์กรวัฒนธรรม (4) อย่างด่วนเลิกทำสิ่งที่ก่อความยุ่งยากให้มากที่สุด จนกว่ามันจะสายเกินไป (5) ขอความช่วยเหลือจากทุกคนในองค์กรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
 การจัดการความรู้ที่ดีควรเริ่มจากปัญหา ทำแผนที่ความรู้โดยใช้สถานการณ์ประกอบ  เพิ่มศักยภาพให้กับวิธีการทำงาน  ลงมือปฏิบัติ (โทมัส เอช. ดาเวนพอร์ท และลอเรนซ์ พรูแซค แปลโดยนิทัศน์ วิเทศ, 2542 : 243-263)

ความเชื่อมโยงการพัฒนากับการศึกษา
สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Iearning Society) แหล่งความรู้มีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมด ลองนึกวาดภาพการเรียนรู้ในสมัยอดีต ที่ศิษย์ต้องดั้นด้นเดินทางมาหาพระอาจารย์ สมัยตักศิลาต้องเรียนรู้โดยมีพระอาจารย์ถ่ายทอดวิชาการให้ เรียนรู้กันใต้ต้นไม้ ในถ้ำ ในป่ามนุษย์มีลักษณะพิเศษคือสามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา การเรียนรู้และสั่งสมความรู้ พัฒนาวิชาการต่าง ๆ ให้ก้าวหน้า ทำให้มีการคิดค้นสิ่งต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ หาคำตอบจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทำให้ทราบความจริงต่าง ๆ มากมาย และที่สำคัญคือ วิชาการที่เป็นความรู

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16995เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท