เด็กชายซ้ายหก


การได้รับโอกาสและการเหลียวแลจากสังคมเป็นสิ่งที่เด็กด้อยโอกาสต้องการมากที่สุด

      

          เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้รับจดหมายฉบับหนึ่งจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสพร้อมกันนั้นได้ส่งเรื่องราวของเด็กชายชาวสังขละบุรีที่มีชื่อว่าเด็กชายซ้ายหก ที่มีชื่ออย่างนี้เพราะเนื่องมาจากเขามีนิ้วมือข้างซ้ายหกนิ้ว และเป็นคนพิเศษไม่ได้มาจากความพิเศษของร่างกายแต่เพราะความกตัญญูที่มีต่อพ่อแม่และความรักที่มีต่อพี่น้อง
          เรื่องราวของซ้ายหกมีอยู่ว่าพ่อของซ้ายหกละทิ้งครอบครัวไป แม้พี่สาวและน้องชายคนเล็กจะมีศูนย์สงเคราะห์เด็กใกล้ๆ บ้าน รับไปดูแล แต่แม่ก็ต้องดิ้นรนทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูลูกที่ไม่สมประกอบทั้ง 2 คนแม่จากบ้านไปเป็นกรรมกรก่อสร้างตามจังหวัดต่างๆ และพาเด็กทั้งสองไปด้วยเป็นเวลาปีกว่าแล้วและยังไม่เคนกลับมาเยี่ยมซ้ายหกเลย เคยส่งเงินมาให้ครั้งหนึ่งจำนวน 100 บาท ซ้ายหกจึงนำเงินไปซื้อไก่มาเลี้ยงเพื่อรอให้ไก่ออกไข่เพื่อนำมากินหรือนำไปขาย ทุกวันนี้ซ้ายหกอยู่ในกระต๊อบที่ทรุดโทรม หลังคามุมด้วยหญ้าแฝกปะด้วยแผ่นพลาสติกเก่าๆ ซึ่งไม่สามารถกันแดดกันฝนได้อีกแล้ว ตกลางคืนซ้ายหกกลัวและเหงาถ้าต้องนอนคนเดียว จึงไปอาศัยอยู่กับตา แต่ไม่ลืมปัดกวาดเช็ดถูดูแลทุกวันเพื่อรอให้พ่อ แม่ พี่และน้องกลับมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าอีกครั้ง ทุกวันนี้ซ้ายหกมีข้าวกินเฉพาะเวลาเช้าและเย็นที่อาและอาสะใภ้แบ่งให้ และตอบแทนครอบครัวอาด้วยการช่วยทำงานบ้านทุกอย่างให้ เมื่อไปโรงเรียนซ้ายหกไม่มีอาหารกลางวันและค่าขนม นอกจากข้าวห่อกับผักจิ้มน้ำพริกที่น้าห่อให้ในบางครั้ง ซ้ายหกจะเก็บขวดไปขายและช่วยครูที่โรงเรียนเลี้ยงแพะ เพื่อนำเงินที่ได้เก็บไว้ให้แม่ เผื่อจะช่วยรักษาน้องได้ “ผมไม่อยากได้อะไร แค่ช่วยน้องผมก็พอแล้ว น้องผมพิการ
          แหละนี้คือตัวอย่างของเด็กคนหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความยากจน ไม่เพียงนำความแร้นแค้นมาสู่ชีวิตความเป็นอยู่ แต่ทำให้ครอบครัวยากไร้ถูกบีบบังคับให้ต้องรับสภาพการแยกจากกัน การดิ้นรนและความเหนื่อยยากที่ไม่มีวันจบสิ้น ในสังคมไทยยังมีเด็กที่ด้อยโอกาสเช่นนี้อยู่อีกมาก และต้องการโอกาสจากคนใจบุญหยิบยื่นให้ แต่เรื่องราวนี้ทำให้เรารู้สึกสะท้อนใจหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ ความเป็นอยู่ของเด็กยากจน ขาดการพัฒนาฝึกฝนทักษะอาชีพ ความรับผิดชอบของครอบครัวที่มีต่อเด็ก ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอาทิเช่น การไม่มีปัญญาเลี้ยงดู ไม่มีรายได้จุนเจือครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาหย่าร้าง และที่สำคัญเด็กจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากเรื่องดังกล่าว เหตุการณ์เหล่านี้เราสามารถพบเห็นได้ในสังคมปัจจุบัน และเป็นปัญหาที่สังคมจะต้องให้ความเอาใจใส่อย่างมาก เพราะเด็กในวันนี้คืออนาคตของชาติในวันข้างหน้า

ภาพจาก www. pantip.com

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16968เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น่าสงสารเด็กที่ไม่รู้เรื่องอะไร.....เเต่น้องเขาก้อเป็นเด็กดีมากๆๆสู้ต่อไปนะน้องความหวังยังมี

นื้อเรื่องน่าสนใจดี แต่เป็นเรื่องปกติของสังคมไทยที่แม้จะไม่มีการแบ่งแยกทางสังคม แต่ฐานะก็เป็นสิ่งที่แบ่งแยกคนในสังคมได้อย่างชัดเจน จ๊ะจ๋านำเสนอมุมมองของเด็กที่ถูกสังคมทอดทิ้ง และต้องการโอกาสแต่เรากลับมองว่าแม้จะถูกทอดทิ้งแต่น้องเขาก็ไม่เคยย่อท้อกับชีวิตกลับต่อสู้ด้วยตัวเอง เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนที่บางคนมีทุกอย่างสมบูรณ์แบบแต่กลับทิ้งโอกาสที่ดีนั้นไป

ขอบคุณจ๊ะจ๋าที่นำเรื่องดี ๆ มาเล่าสู่กันฟังนะจ๊ะ

ปัญหาสังคม จริงๆ แล้วก็เกิดมาจากปัญหาเล็กๆ ของแต่ละครอบครัว และในสังคมไทยก็ยังมีเด็กที่ยากจนและขาดโอกาส อยู่จำนวนมาก..ซึ่งสังคมไทยก็ไม่ได้ทอดทิ้ง และยังให้การช่วยเหลือตลอดมา หากแต่ผู้นำครอบครัวควรที่จะมีความรับผิดชอบและคิดหาทางแก้ปัญหาครอบครัว เพื่อไม่ให้เป็นภาระของสังคมจนเกินไป ซึ่งดิฉันเชื่อว่า หากสถาบันครอบครัวมีความรักเอาใจใส่กันในครอบครัว และช่วยเหลือกัน เชื่อว่าทุกๆ ครอบครัวจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข และยิ่งเป็นสิ่งที่ดีถ้าแต่ละครอบครัวร่วมใจกันช่วยเหลือ สอดส่อง ดูแลซึ่งกันและกัน ..ปัญหาสังคมก็จะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นได้น้อยอย่างแน่นอน

I do agree that this problem exists in Thailand and it should be considered a serious problem. These children are growing up and become adults anyway. If we want our country to develop, we should (I mean the government or anyone who has the authority to manage this problem) greatly concern this problem. Otherwise, no matter how good the national plans are being implemented, it is not going to recieve much response from those people. I believe that we have a large amount of these people in our country. Remember, if we want to make change and move our country forward, we have to move from the foundation.
เด็กดี กตัญญูอย่างนี้ ต้องได้สิ่งดีๆ ตอบแทนซักวัน สู้ต่อไปนะ 

ชีวิตนี้สั้นนัก ดีใจที่น้องไม่มานั่งทุกข์  ยินดีด้วย

เกษม ตันธนะศิริวงศ์

     This topic is touching me ... JA+

I totally agree with Ms Supaporn about the origin of social problem come from the ignorance of people in family. I have no statistics of the number of abandoned children like Sai-Hok and his brother. If it's growing up over time that would mean there is some kind of factors coming into effect. Maybe there are a growing number of single families than blended families. Parents move into a city for work, thus they leave their families (this case is quite impossible to happen, isn't it?), or they don't love children(.. oh no !).

I think the government and local agency need to strengthen the communities by increasing Jobs for those people live there, building a library for parents to get knowledge, endorse the buddish's teching to community, providing enough entertaining services, and so forth.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท