Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๖)_๒


อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
          เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ก็จะขอให้ share ในช่วงหลัง ดิฉันจะพยายามรักษาเวลาเพื่อ ให้ท่านได้มีเวลารับประทานอาหารและ shopping หนังสือ   จะขอเรียนเชิญอาจารย์สุเมธเลย  อาจารย์สุเมธ ท่านเป็นนักการศึกษาตัวยง โดยพื้นฐานก็เรียนทางด้านการศึกษามาตลอด และกำลังวางแผนที่จะเรียนระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่น  และคิดว่าจะทำ thesis ด้านการจัดการความรู้ด้วย  ส่วนเกียรติบัตรมีเยอะมากเลยคือ   เป็นวิทยากรแกนนำของ พสวท. อีกมิติหนึ่งเป็นผู้บริหารดีเด่นของคุรุสภา เป็นผู้บริหารต้นแบบ  ที่สำคัญที่ดิฉันชอบมากรางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม  อันนี้แหละผลจาก KM  ดิฉันยังไม่แน่ใจว่าผลจากการจัดการความรู้นำมาซึ่ง  new knowledge  และ  new knowledge  นำมาซึ่ง นวัตกรรม  นี่คือเป็นสิ่งที่ได้มาและก่อให้เกิดความรู้ใหม่   อย่างที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทยเขาเป็น innovation  organization  ดิฉันถามคุณศุภกิจว่า innovation คืออะไร   คุณศุภกิจตอบว่า อะไรก็ได้ใหม่ๆ คิดได้ทุกวัน  เพราะฉะนั้นเขาจะมีการคิด innovation การบริหารจัดการใหม่ๆ ทุกวัน    ที่โรงเรียนอาจารย์สุเมธ ท่านได้รับรางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม  จากเลขาธิการคุรุสภา  ส่วนตัวบทบาทของท่านที่เรียกว่า CKO  ท่านให้ความสำคัญกับชุมชนนักปฏิบัติเพื่อเป้าหมายการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน  ขอกราบเรียนเชิญท่านอาจารย์สุเมธค่ะ


อาจารย์สุเมธ  ปานะถึก:  โรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร  จังหวัดหนองบัวลำภู
         ขอบคุณอาจารย์จิรัชฌา และกราบเรียนท่านที่เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน และขอแสดงความ เสียใจกับพี่จิระพันธ์ เพราะเคยประชุมร่วมกับพี่หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่านเป็นผู้บริหารต้นแบบที่ผมเองได้มีโอกาสเรียนรู้รูปแบบ จิระศาสตร์ โมเดล  ของท่าน ที่ผมได้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของผม  
 ผมชอบคำว่าห้องเรียน KM มากเลยมาโรงเรียนก็อยู่ที่โรงเรียน มาโรงแรมก็อยู่ที่โรงแรมโดยเฉพาะที่โรงแรมมิราเคิลนี้ ถือว่าไม่ได้มาโรงแรมเลย เพราะว่าช่วงเย็นไปเรียนรู้ที่ตลาดนัดความรู้นอกโรงแรมก็มากไปหมด  ถือว่าทาง  สคส. ได้ให้โอกาสกับผู้บริหารชนบทมาเรียนรู้ในเรื่องของ KM และกระบวนการทำงาน สิ่งที่ได้ตั้งแต่เมื่อวานนี้จนถึงเมื่อเช้านี้ มองลงไปได้มาก โดยเฉพาะที่คุณลิขิต ได้สรุปแก่นความรู้ หรือ knowledge  assets นั้นทำได้ยอดเยี่ยมมาก  ผมยังแปลกใจเลยว่าเขาทำได้อย่างไร  เมื่อไรเราจะทำเช่นนี้ได้  นอกจากจะได้เรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้แล้ว  ยังได้เรียนรู้เรื่องกระบวนการด้วย  
         โรงเรียนของผมมีชื่อว่าโรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคารอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู คำขวัญของจังหวัดคือ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  อุทยานแห่งชาติภูเก้า ภูพานคำ หลวงปู่ขาว เด่นสกาวข้ามเอราวัณ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยโดดเด่นเหมือนทางอยุธยา แต่เราก็มีพระนเรศวรมหาราช  หนองบัวลำภูถ้าเคยไปจะเป็นที่สร้างคน   ขอเรียนเชิญท่านได้แวะไปเยี่ยม  อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 500 กิโลเมตร ห่างจากหนองคายประมาณ 100 กิโลเมตร   จะข้ามไปเที่ยวประเทศลาวก็ได้
         ในภารกิจบทบาทของ CKO นั้น ที่จริงแล้วเป็นคำที่เรียกกันตั้งแต่ 1950 เดิมเรียกกันว่า CIO คือ  chief information officer  ในภาวะปัจจุบันจะเน้นที่ CKO เพราะถ้าจะจัดการเฉพาะ CIO  แล้วก็ยังลงไม่ลึก ที่จริงแล้ว ตัว K เป็นตัวแฝง  มองลงไปลึกๆ ก็คือ action  มีบางท่านแปลไว้ว่า knowledge is action  เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่เราปฏิบัติไม่ว่า จะเป็นเจตคติ หรืออะไรก็ตามก็เป็นการนำความรู้ออกมาศักยภาพการปฏิบัติ   สิ่งที่เน้นที่สุดการจัดการความรู้คือ sharing  หรือที่เรียกว่าการแบ่งบันความรู้คือความยิ่งใหญ่ ที่ผ่านมาพี่จิระพันธ์ก็พูดว่า  ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการให้ ซึ่งผมเห็นด้วย ทางผมเองได้จดบันทึกไว้ เราตกผลึกความรู้นำไปใช้ให้ตกผลึกแห่งการเรียนรู้ก็เป็นได้  สิ่งหนึ่งคือมหัศจรรย์เรื่องเล่า คุณหมอวิจารณ์บอกว่าคนเราถ้าจะให้เขียนจะเขียนได้ไม่มาก  แต่ถ้าให้เล่า จะพรั่งพรูออกมามาก    แล้วเราสามารถจะจัดประเด็นได้ จะเห็นได้ว่า ทาง สคส. จึงเริ่มต้นการประชุมจากเรื่องเล่า  ดังนั้นท่านที่เป็น CKO ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง หรือไม่ใช่ก็ตามแต่  ท่านลองเริ่มต้นเรื่องเล่าที่มีอยู่ในตัวท่านอย่างอิสระ  ถ้าเราสามารถจับประเด็นจากเรื่องเล่านั่นคือขุมความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่อยู่ในองค์กรของท่าน ไม่มีองค์กรใดที่จะเล่าเรื่องให้กับเราฟัง เพราะฉะนั้นคนหรือ knowledge worker   นั้นถือว่าเป็น knowledge assets ที่ยิ่งใหญ่ ถ้าเราเปิดโอกาส และให้อิสรภาพ  ศักยภาพของเขาให้มากที่สุด ในกระบวนการ KM นั้นเน้นมากที่สุดอยู่ที่ความร่วมมือและหุ้นส่วน นั่นคือ collaboration และ partnership  หมายถึงว่าทุกคนร่วมมือกัน จับมือกันที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโลกทั้งโลกก็จะสามารถทำให้ดีขึ้นถ้าทุกคนร่วมมือกัน ในเรื่องความร่วมมือนั้นก็หมายความว่าต่อไปนี้เรามีพันธะสัญญาต่อกัน  เราพยายามทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น  ตัว commitment ก็หมายถึงว่าเราจะทำงาน  ถ้าจะให้ดีขึ้นคือการประสานมือในลักษณะเช่นนี้เพื่อทำให้ดีขึ้น เพื่อยกระดับองค์กร
         ผมขอเกริ่นสักนิดหนึ่งต้องมีฐานหลักอยู่ 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในองค์กร แหล่งความรู้ภายนอกทั้ง tacit knowledge, explicit knowledge และสภาพแวดล้อมในองค์กรนั้น อันที่สองคือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  โรงเรียนที่มีการจัดการความรู้ได้ดีก็จะทำให้โอกาสที่จะจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ระบบ blog ของ สคส. การ  search จะทำให้เราคว้าความรู้ได้ง่ายขึ้น ในเรื่องของทักษะเป็นสิ่งที่จำเป็น ทุกคนในโรงเรียนของผมมีทักษะร่วมกันในการที่จะดึงความรู้ ประโยชน์ มาเกี่ยวข้องในการจัดการความรู้ในโรงเรียน สองตัวหลังคือวัฒนธรรม คนเป็นอย่างไรวัฒนธรรมก็เป็นอย่างนั้น วัฒนธรรมของท่าน ผอ. โรงเรียนวัดศรัทธาธรรมนั้น ท่านบริหารแบบแนวราบ  ตัวนั้นเป็นวัฒนธรรมของท่าน โดยไม่มีการสั่งการ ไม่มีการใช้ power ไม่มีการชี้บอก ในลักษณะที่เอื้อของคนจะนำไปสู่วัฒนธรรมขององค์กร   ทำไมต้องทำ KM ที่จริงแล้วคำถามนี้ผมไม่น่าถาม เพราะคำตอบมันมีอยู่ในตัวท่านแล้ว แต่ผมยกเอาสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ว่า เราต้องทำแล้ว   เพราะเดี๋ยวนี้มีการบริหารที่เน้นวัตถุประสงค์ การบริหาร ทฤษฎี X Y  ซึ่งสามารถที่จะ quote  เข้าไปได้ เพราะ พรบ. เขาบอกว่า ต้องทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พัฒนาความรู้ของคนที่องค์กร และที่สำคัญคือการเรียนรู้ร่วมกัน  เรียนเพื่อให้เกิด action จะทำให้องค์กรนั้นพัฒนาขึ้นมา  ที่นี้องค์กรแห่งการเรียนรู้ นั้นมีนักปราชญ์หลายท่าน แต่ที่ค่อนข้างที่จะ well known  ของ  Peter  Senge  ที่ว่าไว้ว่า วินัย 5 ประการของการเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ ผมคงไม่พูดว่าห้าประการมีอะไรบ้าง อะไรที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่ สุด คือ team learning   ผมเองเคยคิดว่าตัวเลขนั้นบอกหรือไม่  หรือตัวเลขบอกแค่ปริมาณ  อย่างก็ตามเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน  ที่อนามัย หรือที่องค์กรของท่าน   ผมขอใช้เวลาบอกท่านในเรื่องของ CKO เล็กน้อยและขอไปเร็วๆ CKO  อันดับแรก ต้องมีความรอบรู้ลุ่มลึกในสาขาที่ทำงานและการ บูรณาการ จะเห็นได้ว่า แม้กระทั่งตัว KM เองบูรณาการแนวคิดอยู่ในตัว ถ้าหาก CKO ไม่เป็นคนที่บูรณาการ ผมคิดว่าไม่ประสบความสำเร็จ  หลักของ KM นั้น  ต้องบูรณาการอย่างน้อยสอง คือ information   และ people จึงมาสู่การทำงานโดยอาศัย tacit & explicit knowledge   แม้กระทั่ง ท่าน ผอ. จีระพันธุ์ ท่านยังเรียนรู้จากที่โรงแรมได้ ผมชื่นชมท่านมาก  อยากจะไปเรียนรู้กับท่านที่จิระศาสตร์     ต่อไปมีความรอบรู้ และฉลาดปราดเปรื่อง และ ไหวพริบตัวนี้ เพราะต้องทำงานกับคน  มันมีขุมความรู้ที่สำคัญที่สำคัญ   ถ้า CKO ไม่มีไหวพริบในเรื่องนี้เป็นไปได้ยาก มีความหนักแน่นและอดทน สุดท้ายคือมีความรักในสิ่งที่ทำ CKO จะสำเร็จได้เพราะภาวะผู้นำ สามารถที่จะนำหรือมีพฤติกรรมของความเป็นผู้นำได้  นอกจากนี้ยังต้องมีความศรัทธาและไว้วางใจ และเห็นว่า KM จะทำให้มีการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง   สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีได้ถึงท่านไม่ถนัด ท่านต้องมีคนที่จะทำให้ท่านได้ ตัวสุดท้ายนั้นสำคัญ คือ การสื่อสารแบบ bottom up  มีหนังสือที่ น่าอ่านคือ การสื่อสารแนวความคิดจะได้รู้สิ่งที่เขาพูด
         ขอนำกลับไปสู่ที่โรงเรียนกุดสะเทียน ที่จริงก็มี website อยู่ท่านสามารถเข้าที่ google ได้ การเป็น CKO คงไม่ยั่งยืน เพราะว่าเมื่อไรก็ตามที่เราคิดว่าเราเป็น CKO ตลอด มันจะไม่ประสบผลสำเร็จ   ยกตัวอย่างด้านหลักสูตร ผมจะมี CKO อยู่ 2 คน  เป็น CKO ช่วงชั้นที่ 2, 3  ที่จะทำหน้าที่ในด้านหลักสูตร ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน  หลังจากนั้นผมจะกลายเป็นคุณอำนวย  ขอยกตัวอย่าง CKO ในช่วงที่สามที่เป็นช่วงชั้นที่ 3 ทั้งนี้เป็น  KM  ซึ่งจะมีการประชุมทุกวันอังคาร  จะมีการประชุมช่วงชั้นที่ 4  ในการประชุมนี้บางครั้งไม่ได้เข้าประชุมด้วย บางครั้งจะไปนั่งฟัง เราจะมีการประชุมประจำเดือนละ 1 ครั้งหลังเลิกเรียน  ตามระเบียบแล้วต้องมีพระสงฆ์ 1 รูปเข้าร่วมประชุม โรงเรียนเรามีพระสงฆ์ 2 รูป ซึ่งผมคิดว่าดี เพราะทำให้เรามีสัจจะ เราพูดอะไร เราก็ต้องทำตามคำพูด นอกจากนี้ได้รับภารกิจจากสภาการศึกษาในการสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ที่เป็นผู้บริหารต้นแบบ มีพี่จิระพันธ์ด้วยประมาณ เกือบ 20 ท่าน ไปรับทราบหลักการและกระบวนการคือคุณหญิง  ท่านให้หลักการว่า KM เป็นอะไรบ้าง จากคุณหมอวิจารณ์  อ.ประพนธ์  พี่พรธิดา ไปทำที่ศรีบุญเรือง มีโรงเรียนที่เข้าร่วมเครือข่าย 5  โรงเรียน  เมื่อเริ่มต้นทำแล้วจะได้เรื่องเล่ามากขึ้น   โดยที่วิสัยทัศน์นี้  คือทำอย่างไรที่โรงเรียนจะสอนโดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลางคือการปฏิรูปการเรียนรู้   ได้ออกมาทั้งหมด 10 ข้อ  ยกตัวอย่างเช่น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  วัดประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นที่ศรีบุญเรืองวิทยาคาร  ยางหอมวิทยาคาร  ปู่แก้ววิทยาคาร  นาเกาะวิทยาคาร และโรงเรียนของผม    ผู้เข้าร่วมประชุม คุณครู 8 คน 8 สาระการเรียนรู้   ผู้บริหาร 1 คน   กรรมการโรงเรียน 1    ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 กำหนดเป็นทศบัญญัติที่โนนสูงเปลือย   อยากจะรู้ว่าโรงเรียนอยู่ในระดับใด ได้สร้างเกณฑ์ออกมาว่าตนเองอยู่ระดับใด โรงเรียนกุดสะเทียนจะอยู่ในเส้นสีม่วง  ที่โรงเรียนยังไม่ดีคือ การเรียนรู้แบบบูรณาการ และการประเมินผลตามสภาพการเรียนรู้  ซึ่งจะทำให้รู้ตัวว่าอยู่ในสภาพใด  อะไรที่เราจะเป็น best  practice ได้  อะไรที่เราจะต้องไปเรียนรู้กับคนอื่น  หลังจากนั้นทุกโรงเรียนก็ไปสร้างแผนแห่งความพึงพอใจของแต่ละโรงเรียน กำหนดเป็นโครงการ ทำแผน หลังจากที่เรารู้ตัวเองเราก็ประชุมครู วิเคราะห์ประเด็นสู่ความสำเร็จ และเราจะทำอย่างจึงจะเข้าสู่ระดับสูงกว่านี้ได้  ส่วนที่ยางหอมวิทยาคารก็สร้างเป็นแผนแห่งความพึงพอใจใหม่  จากทศบัญญัติ 10 ข้อ หลอมรวมเป็น 8 โครงการ เช่น โครงการกระจกเงา เป็นโครงการที่ครูแต่ละคนมาเปิดหลักสูตรกัน เปิดเป้าหมายการเรียนรู้แล้วมา share กัน  รวมพลังสมองของศิษย์กิจกรรม COS  show child style  share ไปดูที่ยางหอมวิทยาคาร    กิจกรรม RS  research student เป็นการส่งเสริมให้ครูและนักเรียนวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้   นอกจากนี้ที่โรงเรียนยังมีตลาดนัดความรู้ที่เราเรียกว่า amazing กุดสะเทียน จัดทุกภาคเรียน เป็นการให้ความรู้ มีผู้ปกครอง มีกรรมการมาเยี่ยมชม มาขอของที่ลูกหลานทำ นอกจากนี้ยังมีการจัดตลาดนัดความรู้เชิญทาง สคส. เป็นวิทยากร 
         CKO มีหน้าที่มากมายเป็นนักสื่อสาร นักการเรียนรู้ เป็นนักระบวนการ   K คือกระบวนการจัดการความรู้ให้สู่องค์การปฏิบัติให้ได้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    O คือทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการเรียนรู้ขององค์กร  โดยความมีส่วนร่วมเอื้ออาทร มอบอำนาจ   ความไว้วางใจ เป้าประสงค์รวม  บทเรียนที่ได้ ใช้ KM ที่ผ่านมา   ถ้าเราสอนเราใช้ KM เป็นสำคัญ แต่ KM เป็นการทำงานที่เน้นครูเป็นสำคัญ KM ต้องไม่อยู่คนเดียว  สองต้องเป็นองค์รวม   สามเน้นการบริหารแนวราบ   เพื่อให้เกิดความสบายใจ  สี่ความรู้เมื่อปฏิบัติแล้วจะกลายเป็นภูมิปัญญาที่เราสามารถที่จะเก็บไว้ เมื่อใดที่เราไม่อยู่คนในองค์กรสามารถหยิบมาใช้ได้  นอกจากนี้ คือ คนในองค์กรต้องอยากจะทำ KM คือการผนึกกำลังของคนในองค์กร  สุดท้ายถ้าจะเป็น CKO ที่ดีต้องสร้างกลยุทธ์เชิงบวกเชิงรุกอะไรต่างๆ โดย KM  โดยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้    ต้องขอบพระคุณ สคส.ที่ให้โอกาสกุดสะเทียนวิทยาคาร หนองบัวลำภูขึ้นเวที ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ครับ

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         คงเห็นแล้วนะคะว่าตัวร่วมหลายโรงเรียน เราจะเห็นความคิดของ CKO ในการกระจายอำนาจและ empowerment ให้แก่ครูและเน้นกิจกรรมที่หลากหลาย โดยผ่านกระบวนการที่หลากหลาย    จุดเด่นของโรงเรียนจิระศาสตร์  ดิฉันมองเห็นวิถีประชาธิปไตยอยู่หลายระดับ  อย่างที่ท่านบอกว่าอยากจะปลูกฝังเรื่องนี้  ไม่ว่าจะเป็นสภาครูสตาร์ หรือครอบครัวเอื้ออาทร  ในขณะที่ กุดสะเทียน เน้นที่ commitment  สัจจะวาจา  โดยการให้สัญญากับพระสงฆ์  ซึ่งคนไทยจะถือมาก เป็นกลยุทธ์ที่แนบเนียนว่า เมื่อไรที่เราจะบิดพลิ้ว ก็จะทำยาก  นี่เป็นกลยุทธ์ที่แนบเนียนของผู้บริหาร   อีกส่วนหนึ่งก็คือการขยายเครือข่ายไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยมีโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่าย หลายโรงเรียนที่พร้อมจะเรียนรู้ ในเวลาที่เหลืออีกนิดหน่อย  อาจารย์จิระพันธุ์ จะต้องรีบกลับเนื่องจากติดภารกิจ  หากมีคนที่ต้องการถามก็ขอให้จด ไว้ในช่วงบ่าย  สุดท้ายท่าน ผอ. จะเติมเต็มให้อีกครั้งหนึ่ง
มีต่อ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16961เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท