Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๖)_๑


ห้องเรียน KM (9)

ประเด็นนำเสนอ          เสวนาบทบาทของ CKO  ต่อการจัดการความรู้ในโรงเรียน (๓)
                             เรื่องเล่าจากการปฏิบัติของ CKO  บทบาทของผู้ผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

คุณธนะพงษ์ :  สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค 
         ผมคิดว่ากรอบการเรียนการสอน ทำอย่างไรที่จะ empower เด็ก  คือกระตุ้นในจุดอ่อน จุดแข็ง เท่าที่ฟังมีบางโรงเรียนเมื่อวานนี้ได้พูดถึง ซึ่งจะตรงกับทฤษฎีการเรียนรู้ จะยุบไปบางส่วน  เด็กๆ จะมีความถนัดไม่เหมือนกัน แต่กระบวนการคิดกลับทำย้อนกัน ไม่ว่าจะเป็นครู  ข้าราชการอื่นก็เหมือนกัน เรามีความเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเท่ากัน เมื่อเชื่อแบบนี้เราก็จะพยายามลงทุนไปกับการพัฒนาบุคลากรค่อนข้างสูง เอาเกณฑ์มาตรฐานแล้วว่า  ซี 6 ต้องใช้ excel ได้ ซึ่งบางครั้งก็ไม่จริง ผมมีหลายคนที่รู้จัก  เขาก็ทำบทบาทนี้ไม่ได้ แต่เขาทำบทบาทอื่นได้ดี เช่นเดียวกับครูที่มีการตั้งมาตรฐานที่มากไปจับ ก็จะมีครูบางส่วนที่สู่มาตรฐานของเขา  ส่วนหนึ่งจะถูกไป train ถ้าเราเอามาตรฐานทั้งที่เขาอาจจะเก่งทั้งหมด  เขาอาจจะเก่งเรื่องการพูดคุย  dialogue 
         ประเด็นที่สองคือ เราพยายามเอามาตรฐานบางอย่างไปจับกับเด็ก ทั้งที่เด็กจะโตไม่เหมือนกัน สิ่งที่ขาดหายไปคือ ครูไม่พยายาม ค้นหาจุดแข็งของเด็ก  ส่วนหนึ่งเข้าใจว่าห้องเรียนใหญ่  แต่ถ้าสังเกตว่า เขาทำแล้วมี เขาทำแล้วรู้สึกมั่นใจตนเอง  ที่เราเรียกว่า self esteem  เราไม่สามารถสังเกตได้ชัด ด้วยกรอบของครูหลายๆ ท่าน อันที่สองเราไม่มีบทเรียนต่อยอด  ต่อให้เราเจอว่าเขาเก่งอย่างนี้ ก็ไม่สามรถทำได้ เพราะระบบของเรายังไม่สามารถออกแบบให้เกิดการเรียนเพื่อเสริมจุดแข็งได้ แต่เมื่อวานนี้ฟังก็มีหลายแบบแต่น่าจะมาก กว่านี้  ส่วนตัวผมสงสัยว่าลูกผมชอบวาดรูป  ทำอย่างอื่นจะหลุกหลิกแต่วาดรูปได้ดี  สิ่งที่ผมทำได้คือผมก็พาลูกผมไปวาดรูป เขาจะมีความสุข  เพราะฉะนั้นผมอยากเห็นรูปแบบใหม่ที่โรงเรียน หลุดจากรอบของเขา  ทำอย่างผู้บริหารของโรงเรียนมองจุดแข็งของเขานิดหนึ่ง แล้วเปิดโอกาสให้เขามาทำในสิ่งที่เขาถนัด หรือแม้แต่วิชาแนะแนวก็ตาม ผมเจอมามากแล้ว ยิ่งทำให้พาเด็กไปกันใหญ่ นี่เป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริม ผมอยากเห็นการเปลี่ยนซึ่งต้องเป็นระดับนโยบาย ซึ่งต้องพยายามคิดทางบวก เคยคุยกับครูท่านหนึ่งถามเด็กว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร เด็กตอบว่าโตขึ้นแล้วอยากเป็นคน   อาจารย์ถามต่อว่าทำไมล่ะ เด็กตอบว่าก็ที่บ้านเรียกไอ้ควาย ที่โรงเรียนเรียกว่าไอ้โง่   โดยธรรมชาติสมองจะมีจิตสำนึกแล้วจะมีปฏิกิริยาต่อคำเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือหรือครู เราลองใช้คำเชิงลบว่าทำไมแย่อย่างนี้คิดได้แค่นี้หรือ ซึ่งมันไม่ถูก sharing ทำอย่างไรคำเชิงลบจะหายไป  ขอบพระคุณครับ  

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         ขอบพระคุณมากค่ะ ที่ร่วมกัน sharing  ในที่นี้  แต่วันนี้ดิฉันได้รู้ว่า  CKO  แบบไทยๆ งดงามที่สุด  เพราะเป็น CKO ที่มีจิตวิญญาณตั้งแต่วิธีคิด ดิฉันก็เรียนเรื่องทฤษฎีมาก  นี่เป็นสิ่งที่ไม่พบใน literature ทางตะวันตก เป็นสิ่งที่ตนเองปิติ ในการดำเนินรายการครั้งนี้ สำหรับท่าน อ.ชาญเลิศ  บทบาท CKO ของโรงเรียนที่ทำอยู่นี้ยิ่งใหญ่มาก ให้โอกาสน้ำเสียปกป้องน้ำดี ไม่มีทฤษฎีไหนที่เขียนบอก ให้โอกาสน้ำเสียโดยการขัดเกลา แต่ปกป้องน้ำดี โดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับน้ำดี ใช้กระบวนการกลุ่มเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บริหารแนวราบให้กับครูที่อยู่ในโรงเรียน ตั้งแต่ใจจนถึงการกระทำให้คุณครูที่อยู่ในโรงเรียนนั้น และมีจิตมุ่งมั่นในการทำงาน จนกระทั่งมาถึงความสามารถในการทำงานรอบด้านและทำงานกับทุกฝ่ายได้ ด้วยข้อจำกัดของ CKO นอกจากนั้นก็ยังเห็นปัญญาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ถ้าเราไม่ให้โอกาสสำหรับเด็กต่างชาติ  อาจารย์มองไกลมาก จึงเปิดโอกาสเปิดพื้นที่ให้กับเขา พัฒนาคุณภาพชีวิตของเขาเหล่านั้น  อาจารย์ไม่ต้องพูดถึงโรงเรียน ผมบูรณาการเลย เพราะมันบูรณาการตั้งแต่วิธีคิด จนกระทั่งผลลัพธ์ของลูกศิษย์ ที่อาจารย์เอา VTR มาให้ดู  ซึ่งจริงๆ แล้ว  มันหลอมเข้าจนกระทั่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่าบูรณาการ สุดท้ายวันนี้วันนี้ดิฉันคิดว่าเราได้เครือข่ายเพิ่มขึ้น เครือข่ายของนักจิตเวช  อย่างไร  ก็จะขอรายชื่อไว้  เพราะว่ามีการ approach  กล่อมเกลาเด็กได้มากกว่าครูที่จะดูแลเด็กในปัจจุบันนี้  ซึ่งจะทำให้กระบวนการพัฒนาเด็กเข้าสู่กระบวนการที่แท้จริงได้ และเข้าสู่การแตกต่างส่วนบุคคลได้ และมีคนบอกว่าอยากให้มีการต่อยอดตรงนี้  วันนี้  สคส.  มี knowledge  assets  มีคลังความรู้เยอะมาก  ใครมีอะไรดีๆ ในเวทีนี้ใส่เข้าไปใน blog เพื่อเราจะได้มี know how มาก ๆ   ช่วงนี้ขอเบรกก่อน และพบกันเวลา  11.00 น. ขอบคุณค่ะ

อ.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา:
         กลับมาพบกันในช่วงที่สองของเรื่องบทบาทของ CKO  ในการจัดการความรู้ในโรงเรียน  เผอิญไปห้องน้ำ ได้ยินพูดว่า ทำไม CKO  ไม่มา วันหนึ่งท่านอาจเป็น CKO ก็ได้หรือผู้ช่วย CKO ในสถานศึกษา และอาจมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาก็เป็นได้  ฉะนั้นก็อย่าไปน้อยใจ เราได้ประโยชน์อะไร สุดท้ายเราจะฝากว่า ท่านเข้ามาแล้วเราจะให้โจทย์ ว่ากลับ ไปท่านจะจัดการความรู้อย่างไร สุดท้ายท่าก็จะได้คำตอบว่า ท่านจะจัดการความรู้ให้เป็นวิถีแห่งการปฏิบัติอย่างไร วันนี้เราได้ความคิด ความรู้แล้ว วันนี้เรามีอยู่สองโรงเรียนโดยที่เป็นโรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดทั้งสองโรงเรียน โรงเรียนหนึ่งจะอยู่ในเขตปริมณฑลใกล้กับกรุงเทพ อีกโรงเรียนหนึ่งจะมาไกล  ขอเรียนเชิญอาจารย์จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ ซึ่งท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน   จิระศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา อีกท่านคืออาจารย์สุเมธ  ปานะถึก  ซึ่งท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกุดสะเทียนวิทยาคาร  จังหวัดหนองบัวลำภู
         ช่วงแรก กราบเรียนเชิญอาจารย์ จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ ถ้าดูตาม  profile  ที่เราทำการบ้านไปอ่านนานาสาระจะเห็นได้ว่า ท่านเป็น KM ทั้งโครงสร้างและฝังแนบแน่นอยู่ในเนื้องาน  นั่นคือ ท่านมองอยู่ 3 มิติ  มิติที่หนึ่งคือคน มิติที่สองคืองาน  มิติที่สามคือองค์กร   เพราะฉะนั้นที่ท่านบอกว่าท่านเป็น KM ที่เป็นองค์กรทั้งโครงสร้าง เราจะได้เห็นว่าท่านมีบทบาทในการทำตรงนี้อย่างไร   และสิ่งหนึ่งที่ confirm ท่านบอกว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โรงเรียนได้พัฒนา คือ คนเป็นปัจจัยหนึ่งของการพัฒนา โดยส่วนตัวแล้วอาจารย์จบปริญญาโทบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัย อลาบามา สหรัฐอเมริกา  ส่วนตำแหน่งหน้าที่เยอะมาก ส่วนใหญ่ท่านจะขึ้นต้นด้วยประธาน เช่น ประธานสภาส่งเสริมโรงเรียนเอกชน ประธานสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ  ประธานสภาจังหวัด  ประธานผู้พิพากษาสมทบจังหวัด  แผนกคดีเด็กและเยาวชน   ผลงานดีเด่นได้การคัดเลือกเป็นผู้บริหารดีเด่นของคุรุสภา  ผู้บริหารต้นแบบของโรงเรียนจิระศาสตร์ ทั้งอนุบาลและประถมศึกษา

อาจารย์จิระพันธุ์  พิมพ์พันธุ์ : 
         กราบเรียนผู้เข้าประชุมทุกท่าน  ดิฉันต้องขออภัยที่แต่งตัวมืดไป เพราะเพิ่งเสียบุตรสาวคนโตที่ประเทศออสเตรเลีย ดังนั้น ถ้าพูดไปเบลอไป ก็อภัยให้ด้วย เพราะบุตรสาวเป็นโรคภูมิแพ้ ประมาทไป ไปหาหมอไม่ทันก็เลยไปซะก่อน และขึ้นเครื่องบินไปไม่ทัน บุตรสาวเสียชีวิตไปก่อน    วันนี้อาจจะคุยไม่สนุกนักแต่จะพยายาม พอทราบว่าเสียบุตรสาวไป ตั้งแต่ไปอยู่ออสเตรเลีย 10 วันต้องยอมรับว่าร้องไห้ทุกวัน จนตาบวมและต้องไปหาหมอ แต่พอลงเครื่องบินถึงประเทศไทยต้องหยุดร้องไห้ ที่เกริ่นให้ทุกท่านทราบว่า ความเป็นผู้นำไม่ว่าจะเป็นคุณเอื้อ หรือคุณอะไร  เราต้องใช้ความอดทนกับตัวเองอย่างสาหัส 
         ดิฉันอยู่ที่โรงเรียนจิระศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงเรียนต่างจังหวัดโดยเฉพาะโรงเรียนเอกชน ใครก็คิดว่ารวยสตางค์ ถ้าจะเปรียบกับอาจารย์ชาญเลิศที่ได้เงินจากรัฐบาล  แต่ดิฉันได้เงินแค่ 40%  สำหรับอนุบาล 2 ถึงมัธยม 3  ชั้นอนุบาล 1  ไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องเก็บจากผู้ปกครองบ้าง  เก็บมากไหน เหมือนโรงเรียนอาจารย์หวานเพราะเป็นเพื่อนลูกสาว  แต่ที่  จิระศาสตร์ เก็บได้หรือไม่  ไม่ได้เพราะเป็นผู้ปกครองอยู่ต่างจังหวัด ตั้งแต่คนงาน ภารโรง คนโรงงาน จนกระทั่งคุณพ่อ คุณแม่ที่เป็นผู้จัดการบริษัท อัยการ รองผู้ว่า  ดังนั้น จะมีเด็กตั้งแต่ยากจนจนถึงร่ำรวย   สิ่งแวดล้อมของเด็กจะแตกต่างกันมาก  อันนี้แหละที่พูดว่าทำไมเราต้องทำ KM ตั้งแต่แรกโดยไม่รู้ตัว  เพราะเด็กหลากหลายอาชีพของผู้ปกครอง  หลายอาชีพของสิ่งแวดล้อม  เราต้องดิ้นรนสารพัดว่าทำอย่างไรเด็กของเราจึงจะออกมาดีได้ จากเด็ก 108 คน ครู 8 คน   เมื่อ 40 ปีมาแล้ว จากโรงเรียนที่หลังคามุงจาก  จนบัดนี้มีเด็กที่ได้รับอนุญาต 4,635 คน  เด็กวิ่งตามที่ยังไม่ได้ชื่ออีกเกือบ 100 คน  ครูและบุคลากรอื่นอีก  315  คน  อะไรที่ทำให้เรามากมายขนาดนี้ ถ้าท่านฟังแล้วจะบอกว่าน่าคิด  ถ้าโรงเรียนของท่าน  สถานที่ทำงานของท่านรวยมากๆ ท่านไม่ต้องฟังไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าคิดว่าโรงเรียนของท่านต้องพัฒนา ถ้าคิดว่าอยากฟังของดีราคาถูกให้ฟังต่อไป  เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วสิ่งที่เราต้องทำ  สิ่งแรกที่ต้องทำโดยเฉพาะสถานศึกษา  เหมือนโรงแรม โรงพยาบาล เหมือนกันหมด สิ่งแรกที่ทำคือคน จะทำให้เขารู้จักคือแผนผังโรงแรม เพื่อจัดอะไรได้ คนของเขาสวัสดีครับ สวัสดีค่ะโดยที่เขาไม่รู้จักกับเรา  เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทำตัวเองให้อยู่ในที่แวดล้อมได้ ในลักษณะที่ดิฉันทำในฐานะผู้บริหารต้องพยายามทำเป็นคุณเอื้อซึ่งถ้าอ่านในหนังสือท่านก็จะรู้ แต่ดิฉันจะไม่พูดซ้ำ  เราหาทิศทางนานพอสมควร   หาจากพรรคพวกที่รู้จักกัน  ที่โรงเรียนมีที่ปรึกษาหรือไม่  ต้องการมี แต่ไม่มีเงินให้เขา ที่ปรึกษาอย่างน้อยเป็นหมื่น ดิฉันเอาเงินไปจ้างครูดีกว่า  ครูที่โรงเรียนมีตั้ง 300 กว่าคนก็มี 300  กว่าสมอง ถ้าท่านไม่เชื่อท่านเอากระดาษมา  เขียนว่าการประชุมอะไรจะเป็นอย่างไร  รับรองว่าท่านอาจารย์วิจารณ์จะได้ความคิดร้อยกว่าความคิดในห้องนี้   ดังนั้น ผู้บริหารต้องทำ คือ
         หนึ่งเอื้อทางจิตใจ อย่างไร  ต้องสร้างความเข้าใจอีกอันหนึ่งต้องเต็มใจ   เขาอาจไปแอบหยิกเด็ก หรือไปตวาดเด็ก  ถ้าเอา VDO ไปจับเขา ยิ่งไปแอบจับเขาใหญ่เลย  หนึ่งทางจิตใจ  สองความเต็มใจ สามความรักและความสามัคคี  ทำอย่างไรในกลุ่มของเรา  จึงจะเกิดความรักความสามัคคี ต้องทำร้อยแปดอย่าง  มีโครงการโครงการหนึ่งคือโครงการเอื้ออาทรสัมพันธ์  เขาช่วยกันคิด  ทั้งครู คนงาน คนขับรถ เรามีคนขับรถถึง 34 คน เรามีคนงานหญิงทำกับข้าวให้กินอีก 36 คน ทำกับข้าวให้กินทั้งโรงเรียน  อีกอันคือต้องสร้างความเป็นเจ้าของโรงเรียนให้กับเขานี่คือจิตใจ ทำอย่างไรจึงจะ belonging คนได้ จะมีวิธีไหน อันต่อไปคือต้องให้ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา  คือเราเป็นคุณเอื้อทางจิตใจให้แก่เขา   เมื่อใจท่านพร้อมที่จะอยู่กับเรา จะอยู่กับเรา ต่อไปอะไรก็ดีไปหมด  ทำไมล่ะลูกหลานเราที่นอนห้องแอร์ ตั้งแต่ปี 16  จึงไปนอนป่านอนเขาได้
อันที่สองคือเอื้อทางร่างกาย ให้เป็นทำอย่างไร เมื่อร่างกายสุขภาพ  เอื้อให้เขาตรวจโรคหรือไม่ เอื้อให้เขาออกกำลังกายได้หรือไม่ มีเวลาให้เขาออกกกำลังกายบริหารแอโรบิก มีเวลาให้เขาอ่านหนังสือบุคลิกภาพ เอื้อต่อบุคลิกภาพของเขา อาจารย์สังเกตที่บูทของโรงเรียนจิระศาสตร์ ว่าเวลาเขายิ้มจะยิ้มเหมือนกันหมด  เดินเหมือนกัน ไหว้เหมือนกัน เขาจะได้มีความเชื่อมั่น
         อันที่สามคือเอื้อต่อความรู้เขา คือเสริมให้เกิดการเรียนรู้ให้มากขึ้น การไปเรียนต่อ ขอให้อ่านหนังสือ   ที่จิระศาสตร์ขอให้อ่านหนังสือ วันละหนึ่งหรือครึ่งชั่วโมง   ในวันประชุมกลุ่มจะจับฉลากแล้วให้เล่าให้ฟัง ใครโดนฉลากก็ต้องออกไปเล่า ให้บอกว่าอ่านหนังสือจากไหน วันที่เท่าไร อย่างไร นอกจากอ่านหนังสือแล้ว เราก็ยังให้เขารักษาสุขภาพวันละ 15 นาทีจะทำอย่างไรก็ได้  หลังจากนั้นให้นอนยาวลงไปไม่ต้องคิดอะไร  lay down  วันละ 10 นาทีไม่ต้องคิดอะไร แล้วขออีก 5 นาทีสุดท้ายว่าพรุ่งนี้จะทำอะไร  วันนี้ทำอะไร  แล้วให้เขาอ่าน ส่งทุกอาทิตย์  เพราะฉะนั้นตรงนี้เราเสริมให้เขาเกิดความรู้  แล้วเราก็ให้เขาแบ่งบันกัน เป็น teacher show  
ข้อที่สี่ เอื้อในการบริการ 4 M ท่านก็รู้ว่า คืออะไร ดิฉันเอา M แรกก่อนคือ money   โดยมากผู้บริหารจะไม่ไว้วางใจในเรื่องเงิน ตอนนี้ดิฉันแบ่งให้เลย แบ่งเงินให้เท่านี้ เอาไปทำตามโครงการ เหมือนผู้ว่า CEO ที่ได้เงินไปทำงานและเอื้อเรื่องคนให้แก่เขาบ้าง เขาจะได้ไม่ว้าเหว่มีผู้ช่วยเหลือ   บางครั้งเขามีประสบการณ์น้อยกว่าเรา เราต้องช่วยเหลือเขา
         ดิฉันถือหลัก 4 ประการคือ เอื้อทางร่างกาย จิตใจ ความรู้และการให้บริการที่เพียงพอ แล้วท่านจะเป็นผู้บริหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด   เรามองไปว่าการดำเนินการจัดการของจิระศาสตร์ ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร เป็นผู้นำ เราทดลอง เราเสี่ยงสารพัด จนกระทั่งเราประสบความสำเร็จเท่าที่ได้  จะเห็นว่า เราจะมีคณะกรรมการ โรงเรียนเอกชนมักจะมีจุดบอดอย่างหนึ่งมักจะคิดว่าโรงเรียนทั้งหมดเป็นของเรา ใช่โรงเรียนเป็นของท่าน ทั้งที่ดินและตึก ตัวเด็กต้องมีครู คนงานคนรถบริการ ครูคนงานเขาไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเราหรือ  เขาไม่ได้ทำงานที่โรงงานกระป๋องเพื่อที่จะจับเด็กยัดแล้วขายต่อไป   อันนี้เราจะต้องคิดและให้เขามีส่วนร่วมด้วย เรามีหลายอย่าง เช่น เราเลือกตั้งสภาครู มีการประชุมสภาครูเหมือนเลือกตั้งผู้แทน เพื่อที่จะให้เขาทำงานร่วมกับเรา สภาครูนี้ใหญ่มาก เครื่องแบบที่เห็นสภาครูเขาคิดขึ้นมา เมื่อก่อนเสื้อเราเป็นคอกลมแขนสั้น  เสื้อเชิ้ต  สมัยนั้นเลดี้ไดอานาอภิเษกสมรสกับเจ้าชายชาลส์   เสื้อจะเป็นพวง  สภาครูก็เลือกเสื้อนั้น  นั่นคือสภาครูเขาจะบอกว่าผู้หญิงต้องใส่เสื้อผ้าอย่างไร  กระโปรงต้องยาวจากเข่า 7 นิ้ว  เขาจะมีบทบาทเยอะเขาจะประชุมกันทุกวันจันทร์  เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวเขาเลย เว้นว่าเราอยากจะไปฟังเขาเฉยๆ   สภาครูเขาจะมีบทบาทในการบริหารงานร่วมกับเรา  เราจะมีคณะ กรรมการสายชั้นแต่ละชั้นจะมีห้องถึง12-13 ห้อง เราจะมีคณะกรรมการสายชั้น แล้วจะมีหัวหน้าสายชั้นเหมือนเป็นโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่   เราจะมอบหมายหน้าที่ให้เขาเลยทั้งนักเรียน โรงเรียน บุคลากร  ของ ป. 1 รับผิดชอบไปเลย ทำเหมือนลูกเสือ จากกลุ่มใหญ่ไปกลุ่มเล็ก  มีการเลือกตั้งตามสายชั้นเกิดขึ้นเขาจะประชุมทุกวันศุกร์   แล้วอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจคือ  โรงเรียนเรามีห้องเรียนในแต่ละชั้นถึง 12-13 ห้อง  เราก็มีครูเยอะ ประมาณ 18-20 คน ต่อสายชั้นกว่าจะคุยกันรู้เรื่องก็นาน ซึ่งมันเยอะมาก  เลยมาคิดกันอีกว่าจะทำอย่างไร ก็เลยแบ่งเป็นชั้นละ 3-4 ห้อง แล้วแบ่งเป็นทีมเข้ามาช่วยแล้ว มีการหมุนเวียนเป็นหัวหน้าเป็นประธานทุกเดือน  แล้วมาช่วยกันคิดเรื่องวิชาการ  เรื่องเรียน  ช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรที่เด็กจะอยู่อย่างมีความสุข ทำอย่างไรจึงอยู่อย่างมาโรงเรียน กลุ่มนี้กลุ่มสตาร์ได้ผลมากเพราะว่าทุกคนมีโอกาสเป็นประธาน  ครูที่มาสมัครใหม่เขาก็เป็นประธาน ประวัติใน port folio ของเขาก็จะเขียนไว้ว่า เป็นประธานสตาร์เมื่อเดือนมกราคมปี 2548 เพราะฉะนั้นจากคนที่พูดไม่เป็น กลายเป็นคนที่พูดเป็น   เพิ่มอีกอันมีการประชุมสตาร์เล็กๆ อีกอันเป็นการประชุมครอบครัว มีทั้งคนงาน คนรถ กลายเป็นครอบครัวเอื้ออาทร แล้วจัดกลุ่มให้เกิดความสามัคคีกัน  ดังที่เรียนให้ท่านทราบว่าเราเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร เราจะต้องพัฒนาความรู้บุคลิกภาพ ความรู้สุขภาพ กาย สุขภาพจิต นอกจากนั้นยังส่งเสริมด้านบุคลิกภาพต่างๆ  ทั้งนี้เพื่อให้เขาได้รับความรู้ มีการอบรม การนิเทศ มีการกระตุ้นความคิดการทำหลากหลายวิธีแม้กระทั่งจะต้องให้เขาไปดูงาน  ไปอบรมก็ต้องทำ  ที่เห็นในเวทีตามรูปนั้นเราเตรียมตัวไปงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตอนเช้าเราไปตอนเย็นก็ไปจุดเทียนชัย   เราก็มาฝึกการไหว้ การถอนสายบัว การเดิน  การเดินก็ฝึกเอาสมุดไว้ที่หัว ถ้าเดินไปมาแล้วไม่ตกแสดงว่าใช้ได้  ทำไมเราต้องทำเช่นนั้น  เราต้องการให้ครูเป็นเหมือนตัวอย่าง  ครูเหมือนว่าวจุฬาไม่ได้  เด็กจะทำตามได้  เขาจะได้มีความคิดว่าครูต้องมีบุคลิกที่ดี อะไรที่ไปสู่เด็กแล้วได้ดี เรายอมทั้งหมด ชุดที่เขาแต่งโรงเรียนก็ซื้อให้ สังเกตว่าครูตัวเท่าๆ กัน ดิฉันเองก็ต้องตัวเท่าๆ เขาด้วย   ที่นี้การพัฒนาสุภาพจิตเราก็ต้องไปวัดไปทำสมาธิ เข้าค่ายคุณธรรมต่างๆ นอกจากนั้นจะมีการประชุมทุกสัปดาห์ของเขาซึ่งเขาจะจัดกันเอง ทุกคนที่อยู่ที่จิระศาสตร์ถ้าอยู่ 3 ปี ไปเป็นครูใหญ่ได้เลย  ขอยืนยันเพราะจะหมุนเวียนทำงาน เทอมนี้อยู่อาคารสถานที่ เทอมนี้อยู่บุคลากร เทอมโน้นอยู่เรื่องวิชาการ   ถ้าเราเป็นคุณเอื้อจริงเราต้องเอื้อให้เขาเป็นผู้นำ ยอมเป็นผู้ตามในบางโอกาส  ถ้าท่านเอื้อเพียงอุปกรณ์ ให้กุญแจไปเปิดเอาของนั้นเป็นเพียงแต่คนอำนวยความสะดวกมากกว่า  เอื้อต้องเอื้อทั้งใจทั้งกายด้วย  พระท่านว่ายิ่งให้ยิ่งได้มาก เราให้เขาเป็นผู้นำเราสบาย ดิฉันไปออสเตรเลีย 10 วันกลับมาดีกว่าที่ดิฉันอยู่อีก ตอนเราอยู่ทุกคนเกร็ง เดินไปทางโน้นทางนี้ ปกติมีคนงานอยู่เวร ตอนที่ไม่อยู่ดีไปหมด ครูผู้ชายจัดเวรมาอยู่กันวันละ 5 คน  ถึงกลางคืน ดิฉันบอกว่ารู้อย่างนี้ไปอยู่ออสเตรเลียสัก 2 ปี แสดงว่าใจเขามากับเรา อาจารย์ไม่เชื่อ อาจารย์ไปจิระศาสตร์กับเราพรุ่งนี้ไปถามครูทุกคนได้  เราพยายามพัฒนาด้านนวัตกรรมต่างๆ ให้กับเขา ในวันที่ 4 ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์ จะเป็นวิทยากรให้กับเราอบรมครู เผอิญน้องสะใภ้ท่านเป็นครูที่โรงเรียน ท่านก็จะไปช่วย มีค่าพาหนะบ้าง ค่าซองนิดหน่อย  แม้แต่ชาวบ้านเราก็เชิญ ป้าที่ทำโรตีเราก็เชิญมา ทำอย่างไรจึงจะให้เขามีองค์ความรู้ที่หลากหลาย บางคนคิดผิด child center เด็กต้องไปหาเอง แต่เมื่อศิษย์ปึ้กขึ้นมาต้องตอบคำถามเด็กได้ ครูต้องเป็นองค์ความรู้ที่แท้จริงและต้องมีองค์ความรู้ที่มากที่สุด   โรงเรียนของเราจะพาเด็กออกไปแหล่งเรียนรู้มากที่สุด เมื่อวานนี้เอาเด็กออกไป รถออกไป 6 คัน เด็กไปเกือบ 10 ห้อง เมื่อก่อนเราพาเด็กอนุบาลออกไปที่ตลาด ดูผลไม้ มังคุด ละมุด ลำไยที่ตลาด พ่อค้าแม่ค้า บ่นกันใหญ่ว่าลูกเขาไม่ได้เรียนหนังสือเลย  เด็กข้างบ้านอยู่สองวันได้การบ้านไปแล้ว อนุบาลนะคะ พ่อแม่บางคนเป็นอาจารย์ที่ราชภัฏว่าอาจารย์ให้การบ้านไปหน่อยอายคนข้างบ้าน   เราบอกว่าไม่ให้การบ้าน เราพาเด็กไปดู ครูถามเด็กว่านี่อะไรเด็กบอกว่าอะไร เด็กว่าส้มค่ะ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร orange แม่ค้าตาโต    โรงเรียนนี้เด็กตัวนิดเดียวพูดภาษา อังกฤษได้   ที่จริงแล้วเราสอนที่โรงเรียนมีรูปเรียบร้อย เห็นหรือไม่นอกจากจะทำเด็กเห็นของจริงแล้ว ยังทำให้ได้ประชาสัมพันธ์โรงเรียนโดยไม่ต้องเสียเงินแผ่นป้าย โปสเตอร์ วันหนึ่งก็พาเด็ก ป.2 ป.1 ไปข้ามทางม้าลาย วันหนึ่งผู้ปกครองโทรศัพท์มาว่า อาจารย์สอนดีแต่ทำให้ผมยุ่งจัง  วันหนึ่งผมพาเขาข้ามถนน เขาบอกว่าตาไม่ได้ต้องไปที่ม้าลายก่อน   ผมก็มองที่ม้าลายไม่เห็นมี   เด็กบอกว่าตรงนั้นไง   อย่างนี้ท่านคิดว่าเรานะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ปฏิรูปการศึกษาแล้วหรือยัง เด็กคิดเองได้โดยที่เราไม่ต้องบอกว่าข้ามตรงนั้นตรงนี้ แต่อยู่ในกระดาษ อยู่ในห้องเรียน   เผอิญที่โรงเรียนของดิฉันมีรถ  โรงเรียนของท่านไม่มีรถไม่เป็นไร  พาไปข้ามหน้าโรงเรียน  ไปตลาดใกล้ เผลอๆ ขากลับแม่ค้าให้ขนมเพียบเลย   วันหนึ่งเด็กทำขายหน้านิดหนึ่งพอไปถึงดูขายปลาขายหมู  เด็กตะโกนขึ้นมาว่า คุณครูขาช่วยหน่อยปลากำลังจะจมน้ำ แม่ค้าหัวเราะตรึม   ครูบอกว่าหนูลืมสอน อันนี้ก็เป็น เรื่องน่ารักดีสำหรับเด็ก ๆ  ได้ทำอะไรหลายอย่าง   เราจึงมีบริบทของอยุธยา มรดกโลก เราพาไปดูปีหนึ่งไปไม่หมด ไปดูเจดีย์ทรงเหมือนพม่า เดือนโน้นดูทรงเหมือนเขมร เด็กชอบเหลือเกิน  ทำไมก้อนนี้ใหญ่ก้อนนั้นเล็ก  ทำไมเจดีย์อันนั้นเป็นอย่างนั้น ทำไมเจดีย์พระศรีสรรญ์เพ็ชรมองไปตรงเห็นเพียงองค์เดียว แท้จริงมี 3 เจดีย์   ครูตอบไม่ได้  หลายอย่างและยังมีแหล่งเรียนรู้ดีมากเช่นศูนย์ประวัติศาสตร์   แล้วสิ่งที่สำคัญตอนนี้เด็กทำโรตีเป็นแล้ว  ต่อไปอาจมีแม่ค้าโรตีก็เป็นได้ ดิฉันคงไม่ต่อ เกรงใจอาจารย์สุเมธ  ขอจบไว้ตรงนี้ก่อน  ถ้าต้องการซักถามก็ยินดี

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16957เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2006 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท