STROKE: โรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก)


โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสาม รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นโรคที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ

ตลอดระยะกว่า 3 สัปดาห์ในความพยายามที่จะเรียนรู้ทำความรู้จักเพื่อเอาชนะเจ้าโรคร้าย STROKE: โรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก) ที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว ผมอยากถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้เท่าที่มี เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างต่อท่านที่สนใจไม่มากก็น้อย โดยจะพยายามนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทั้งในส่วนที่วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำแนะนำที่ดี กำลังใจที่ดีที่ได้จากมหามิตรใน G2K โดยจะพยายามปรับปรุงองค์ความรู้ของบันทึกนี้ ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีหลายอย่างที่ผมยังไม่ได้เรียนรู้ และยังต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้รักษาคนใกล้ตัวต่อไป โดยในเบื้องต้นอาจจะไม่เป็นระบบมากนักและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นตามแต่โอกาสจะอำนวยต่อไปครับ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสาม รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นโรคที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ
  2. โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) เป็นสาเหตุหลักของอัมพาต
  3. จุดอ่อนของวัยหนุ่ม วัยสาว และวัยกลางคน คือ เชื่อมั่นในสุขภาพของตนเองมากเกินไป ทำให้ประมาทไม่สนใจที่จะเรียนรู้และดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างนัก พอธรรมชาติของเส้นทางชีวิตลิขิตให้มาพบกับโรคร้าย บางทีเพราะไม่มีประสบการณ์และขาดการเรียนรู้ อาจทำให้ไม่ทราบว่าเป็นอะไร รักษาไม่ทันท่วงทีได้
  4. ถ้าสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเกิน 4 ชั่วโมง สมองส่วนนั้นจะตายไป
  5. ถ้าเป็นโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน ถ้าวินิจฉัยและรักษาทันภายใน 3-6 ชั่วโมง จะเป็นการดีและเสียหายน้อยที่สุด
  6. การวินิจฉัยโรคสมองจะทราบผลแน่ชัดได้จะต้องทำการ CT Scan หรือ MRI ดู โดย CT Scan จะเหมาะสมกับการตรวจกรณีเส้นเลือดสมองแตก ส่วน MRI จะเหมาะกับกรณีเส้นเลือดสมองอุดตัน ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเข้าใจว่า MRI ปลอดภัยและให้ผลละเอียดกว่า และราคาแพงกว่าด้วย
  7. จากสถิติประเทศไทยเกี่ยวกับโรคเส้นเลือดสมอง พบว่า 70% เกิดจากเส้นเลือดสมองอุดตัน 30% เกิดจากเส้นเลือดสมองแตก และประมาณ 1 ใน 3 รักษาหาย อีก 1 ใน 3 พิการ และอีก 1 ใน 3 ตาย
  8. ในยุค ICT หรือ Knowledge is power การสืบค้นข้อมูลโดย Google และ bLog อย่างเช่น G2K จะช่วยให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้ดีมากเหลือเกิน แต่ด้วยข้อจำกัดบางอย่างอาจสร้างปัญหาได้ เช่น ที่โรงพยาบาลไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือ ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตายเราต้องทำอย่างอื่นจนไม่มีเวลามาใช้ Internet เป็นต้น
  9. ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย "สติ" เป็นสิ่งสำคัญมากทั้งคนป่วยเองและผู้ที่จะคอยช่วยเหลือ เพราะจะเป็นช่วงที่เหนื่อยกายเหนื่อยใจมาก ยกตัวอย่าง ตอนที่คนป่วยต้องอยู่ในห้องผู้ป่วยรวมเพื่อสังเกตุอาการนั้น ด้วยความเป็นห่วงเราต้องนอนเฝ้าไข้ในห้องรวม ซึ่งจะมีผู้ป่วยอาการหนักกำลังจะตายร้องอย่างโหยหวลตลอดคืน ถ้าเราไม่ได้ศึกษาธรรมะ หรือฝึกจิตมา คงจะแย่เอามาก ๆ
  10. ย้ำว่า "การตัดสินใจ" ของผู้ป่วยและญาติมีผลต่อการรักษามาก การตัดสินใจที่ดีต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา การปรึกษาคุณหมอ ญาติสนิท มิตรสหาย และผู้รู้บน Internet สำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงการหาโอกาสเข้าร้านหนังสือหาหนังสือที่เกี่ยวข้องมาอ่าน แต่ทั้งนี้ทุกอย่างอยู่บนเงื่อนไขของการทันเวลา แต่ส่วนใหญ่แล้ว Key word จะค่อย ๆ เผยตัวออกมา เช่น เริ่มแลกเราจะค้นคำว่า "ตั้งครรภ์" "ขาอ่อนแรง" "อัมพฤกษ์ อัมพาต" คือตามอาการที่เห็น ต่อมาด้วยความไม่รู้ เมื่อคุณหมอวินิจฉัย เราจะได้ศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา เช่น "STROKE" "โรคหลอดเลือดสมอง" "CT Scan" ต่อมาเราจะเริ่มรู้ว่า จะต้องทำการสแกนสมอง และด้วยฐานความรู้เดิม หรือคำอธิบายจากคุณหมอว่า CT Scan  อาจมีผลต่อ ลูกในครรภ์ ตอนนี้ความยากและความละเอียดอ่อนของการตัดสินใจจะเข้ามาเพราะสายสัมพันธ์และความคาดหวังต่าง ๆ นานา ว่า เราจะทำ CT Scan เลยหรือจะรอดูอาการก่อน เราต้องการข้อมูล Case ที่คล้าย ๆ กัน และระหว่างนั้นด้วยการ Search ข้อมูลบนเน็ต ถามผู้รู้ อ่านหนังสือ และดูจากอาการของผู้ป่วย เริ่มมั่นใจว่า น่าจะเป็นเส้นเลือดอุดตัน และได้ข้อมูลใหม่ว่า MRI ปลอดภัยกว่า CT Scan เพราะโดยหลักการทำงานแล้วไม่ใช้รังสีใด ๆ เราจึงตัดสินใจ MRI เป็นต้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 168743เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

 อัมพาตครึ่งซีก ( Hemiplagia ) / โรคหลอดเลือดสมอง
( Stroke / Cerebrovascular accident. CVA )

 สาเหตุ อาจแบ่งเป็น 3 ประการใหญ่ๆ คือ
         1. หลอดเลือดสมองตีบตัน ( Thrombotic stroke ) จากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
         2. ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดสมอง (Embolic stroke )
         3. หลอดเลือดสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (Hemorrhage stroke)

 

 
             ที่มา : Luckmann's Core Principle and Practice of Medical-Surgical
             Nursing.1996.p 312

          พยาธิสภาพ
        เมื่อมีการตีบ อุดตัน หรือมีการแตกของหลอดเลือดแดงทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด
        ไปยังสมอง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นถูกทำลาย เรียก Infarct  (ขาดเลือดไปเลี้ยง)
        Diagram คลิก !
           อาการ
                  มีอาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงลงทันที พบ อาการอัมพาต คลิก! ขณะตื่นนอน ชา
        ตามแขนขา ตามัว เห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้ พูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว กลืนไม่ได้

           การวินิจฉัย
        1. การซักประวัติ/ตรวจร่างกาย นอกจากพบอาการอัมพาต คลิก ของแขนขาซีกหนึ่งแล้ว
            อาจมี อาการปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึม ความดันโลหิตสูง รีเฟล็กซ์ของข้อ ( Tendon
            reflex ) ไวกว่าปกติ
        2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hb , Hct , Electrolyte , Cholesterol , Coagulation ,
            bleeding time , Urinalysis
        3. การตรวจพิเศษ CT-scan , MRI ,Angiography , ECG , Lumbar puncture

           การรักษา
        1.การรักษาด้วยยา คลิก !
        2. การรักษาด้วยการผ่าตัด

 

 


        ที่มา : Luckmann's Core Principle and Practice of Medical-Surgical
        Nursing.1996.p 329

 

หลอดเลือดสมองอุดตัน หรือเลือดออกในสมอง

หลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ เลือดออกในสมอง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (Thrombotie Stroke) หลอดเลือดในสมองแตก (Hemonhogic Stroke) ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิด Brain Attacks ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมี อาการอัมพาต เฉียบพลัน หมดสติ แขนขาอ่อนแรง สับสน พูดไม่ได้ อาการเหล่านี้อาจจะเป็นถาวรหรือชั่วคราวในบริเวณตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือดหรือมีเลือดออก

 รูปภาพ: เลือดออกในสมอง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน

อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือเลือดออกในสมอง (Stroke)

  • สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด มองไม่เห็นเฉียบพลัน อาจจะเป็นตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
  • ชาหรืออ่อนแรงที่หน้า แขน ขา หรือ ร่างกายชาครึ่งซีก
  • พูดไม่ชัด พูดช้า พูดผิด หรือ พูดไม่ได้เลย
  • มี อาการวิงเวียนศีรษะ มึนงง ทำให้เสียการทรงตัว
  • กลืนน้ำลาย หรือ กลืนอาหาร ลำบากเฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะกะทันหัน ปวดร้าวทั้งศีรษะ หรือมีอาการปวดศีรษะเปลี่ยนไปจากอาการที่เคยปวดเป็นประจำ

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • มี ไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • พันธุกรรม คือ มีบุคคลในครอบครัว หรือญาติ เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
  • ความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • มีความผิดปกติของหลอดเลือด โรคที่ทำให้ หลอดเลือดตีบ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (SLE) โรคหลอดเลือดอักเสบ (Moya Moya Disease) หลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis)
  • ส่วนประกอบในการแข็งตัวในเลือดผิดปกติ (Hyper Coagulobility State )
  • โรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial Fibrillation) หัวใจตีบหรือรั่ว กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด มีเนื้องอกในห้องหัวใจ (Atrial Myxoma)

การลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง

  • ถ้ามีอาการเตือน ดังกล่าวข้างต้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • มีอาการใจสั่น เพลีย หรือเกิดอาการวูบ ควรเข้ารับการตรวจเช็คหัวใจ
  • ควรมีการตรวจร่างกาย และควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรเข้ารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะ โรคเบาหวานหากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี จะมีโอกาสเป็น หลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ เลือดออกในสมอง มากกว่าคนปกติ ถึง 2 เท่า
  • หมั่นตรวจเช็คระดับไขมันในเลือด หากพบว่ามีค่าไขมันในเลือด สูงกว่าปกติ ควรรีบรักษา
  • ควรงดการสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรงดการดื่มสุรา แต่หากจำเป็น ควรดื่มในปริมาณที่เล็กน้อย
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี รสเค็ม และอาหารที่มีไขมันทุกชนิด

การรักษา

เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแตก ตีบ และตัน โดยเฉพาะ 3 ชม.แรกที่มีอาการ ดังนั้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทางสมองภายในระยะดังกล่าว แพทย์อาจจะใช้ยาฉีดเพื่อละลายลิ่มเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ แต่ยานี้จะใช้ได้ในบางรายเท่านั้น หลังจากนั้นแพทย์อาจจะรับตัวไว้รักษาในห้องรักษาผู้ป่วยหนัก เพื่อให้ยาและสังเกตอาการรวมทั้งการหลับ ตื่น การตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ การเคลื่อนไหว การกลืนอาหาร เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้ว 4 - 5 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปรักษาในหอผู้ป่วยหลอดเลือด

สำหรับการปฏิบัติกายภาพบำบัด อาจจะเริ่มภายใน 1 - 2 วันแรก แล้วทำกายภาพอย่างต่อเนื่องหลังจากอาการต่าง ๆ คงที่ ท่านควรจะได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางสมองและระบบประสาท

 

โรคเส้นเลือดสมองตีบ

 

เส้นเลือดสมองตีบหมายถึงอะไร

 

เส้นเลือดสมองตีบเป็นโรคหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบ ไปด้วย 3 โรคหลักๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ แตก และ อุดตัน โดยที่เส้นเลือดสมองตีบเป็นแบบที่พบได้มากที่สุด(80-85%)

มีอาการอย่างไรได้บ้าง

 

 

  • แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก)
  • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก
  • พูดไม่ได้ หรือฟังไม่รู้เรื่อง (มีปัญหาด้านความเข้าใจภาษา)
  • เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง

โดยลักษณะสำคัญของอาการที่เกิดคือ เป็นค่อนข้างเร็ว กระทันหัน ภายในเวลาเป็นนาที หรืออาจเป็นหลังตื่นนอน โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่

อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเราคุมได้ดีก็จะสามารถลดโอกาสการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากแม้จะไม่100% ก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • โรคหัวใจบางชนิด

วินิจฉัยอย่างไร

ใครมีโอกาสเป็นบ้าง

 

เนื่องจากสมองมีหลายส่วน แต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น อาการในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับบริเวณของสมองที่มีเส้นเลือดตีบ อาการที่พบได้แก่

เส้นเลือดที่ตีบเกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเลือด มาสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าเป็นมาก ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง และเกิดความเสียหายต่อเซลสมองบริเวณนั้นๆ

ภาพเคลื่อนไหวของ หลอดเลือดแดง และ ดำ

อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจทางทางระบบประสาท และการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ในบางรายหากสงสัยว่าอาจเป็นอย่างอื่น แพทย์ที่ตรวจอาจให้ตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) แทนการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์

การทำ CT scan ของสมอง จะช่วยให้แยกได้ระหว่างเส้นเลือดตีบหรือแตก ซึ่งการรักษาจะต่างกันไป

รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาอาการที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เอง โดยเน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟื้นตัวว่าจะดีขึ้นได้ถึงระดับใด โดยอาจพอบอกแนวโน้มได้คร่าวๆหลังเกิดอาการ2-4 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ทำนายได้ถูกต้องแน่นอนเสมอไป เป็นเพียงแนวโน้ม เช่น ถ้าผ่านไป2 สัปดาห์ อาการอ่อนแรงดีขึ้นมากพอสมควร ก็อาจบอกได้ว่ามีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้มาก บางรายทำกายภาพบำบัดไป3-6 เดือน ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าที่ควร ก็อาจมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลานานหรืออาจไม่ดีขึ้นกว่าเดิมมากนัก

   อัมพฤกษ์อัมพาต เป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะเกรงกลัวกันมาก ซึ่งอาการดังกล่าวหมายถึง การที่แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง และมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย

สาเหตุของอาการดังกล่าวมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ ประมาณ80-90% ก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เหลือก็เป็นสาเหตุอื่นๆเช่น เนื้องอกในสมอง ฝีในสมองเป็นต้น

ยาที่ใช้รักษามีอะไรบ้าง

 

ยาที่มีความสำคัญมากอีกกลุ่มหนึ่ง คือยาที่ใช้คุมปัจจัยเสี่ยงในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ยาเบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องโดยเฉพาะการควบคุมอาหารที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ถ้าคุมโรคเหล่านี้ได้ดี โอกาสเป็นเส้นเลือดสมองตีบก็จะน้อยลงไปมาก

ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และการเลิกขึ้นอยู่กับจิตใจเท่านั้น โดยแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ

การทำกายภาพบำบัด มีส่วนสำคัญที่สุดในการเพิ่มโอกาสที่ทำให้ส่วนที่อ่อนแรง กลับมามีแรงมากขึ้นได้ ส่วนยาที่ทาน จะเน้นไปที่การป้องกันการเกิดซ้ำของเส้นเลือดสมองตีบ ดังนั้น แม้ทานยาครบ แต่ไม่ค่อยทำกายภาพบำบัด ก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้เท่าที่ควร

มีคนพูดถึงยาบำรุงสมอง แปะก๊วย อาหารเสริม ฯลฯ ว่าจะช่วยให้อัมพาตหายได้หรือไม่ รวมทั้งการรักษาในแนวอื่นๆอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งยาฉีดบางชนิดที่ราคาแพง ซึ่งทุกอย่างดังกล่าว ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางการแพทย์ว่าได้ผล และการรักษาบางอย่างอาจเกิดผลเสียกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวได้ ถ้าไม่แน่ใจ จึงไม่ควรทานหรือฉีด

ยาหม้อ เป็นยาที่นิยมมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งนอกจากไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้หลายรูปแบบ แต่คนนิยมทาน เนื่องจากในยาหม้อ มีสารที่ทำให้ทานแล้วรู้สึกสบาย เหมือนจะดีขึ้น ซึ่งไม่ว่าเป็นโรคอะไรก็จะดีขึ้น แต่เป็นเพียงความรู้สึก และเป็นชั่วคราว ในระยะยาวไม่มีผล และสารนี้ทำให้เกิดอาการตามมาได้หลายอย่าง เช่น น้ำตาลในเลือดสูง โรคกระเพาะ ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่าย หน้าบวม ฯลฯ บางรายที่ทานนานๆ เมื่อหยุดทานก็จะเกิดอาการไม่สบายได้หลายรูปแบบ ยาหม้อจึงเป็นยาที่ไม่ควรทานโดยเด็ดขาด

อย่างที่กล่าวในตอนต้น คือโรคนี้เป็นโรคที่ในระยะแรกๆทำนายได้ยาก ว่าแต่ละคนจะดีขึ้นได้แค่ไหน หรือใช้เวลาเท่าใด บางรายอาจดีขึ้นเองโดยไม่ได้ทานยาอะไรเลยก็เป็นได้ บางรายทานยาทุกอย่าง ทำกายภาพบำบัดเต็มที่ ก็อาจไม่ค่อยดีขึ้นมากนักก็เป็นได้ ดังนั้นในรายที่ทานยาหม้อหรือรักษาแบบอื่นๆใดๆก็ตามแล้วดีขึ้น มักเกิดจากการที่คนนั้นจะดีขึ้นเองอยู่แล้ว แต่บังเอิญไปทานยาหม้อด้วย คนจึงเข้าใจว่าดีจากยาหม้อแล้วจึงนำไปบอกกันปากต่อปาก จึงกลายเป็นที่นิยมกันไป แต่ในรายที่ไม่ดีขึ้นหรือเกิดผลข้างเคียงจากยาหม้อ คนทั่วไปก็จะไม่ค่อยพูดถึง หรืออาจโทษว่า อาการที่แย่ลงเป็นจากตัวโรคเส้นเลือดสมองตีบเอง

แพทย์ไม่ได้ปิดกั้นหรือมีอคติใดๆ เนื่องจากแพทย์ทุกคนทราบว่าในเมื่อขณะนี้ แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ทุกราย ญาติผู้ป่วยก็อยากลองพึ่งการรักษาทางอื่นดูบ้าง เผื่อว่าอาจได้ผล แพทย์ส่วนมากก็ให้ลองได้ แต่ต้องเป็นการรักษาหรือเป็นยาที่ไม่เกิดอันตรายใดๆกับผู้ป่วย แต่การรักษาหลายอย่าง อาจเกิดอันตรายได้ เช่น ยาหม้อ การนวดโดยการเหยียบ การนอนในทรายดำ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์จำเป็นต้องชี้แจง

นอกจากนี้ ยังมีอีกประเภทที่ต้องชี้แจง แม้อาจไม่มีอันตรายนัก แต่เกิดจากการหวังผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม โดยฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนของผู้ป่วยและญาติ เช่น อาหารเสริม เตียงแม่เหล็ก วิตามินบางชนิด ยาฉีดแพงๆซึ่งอ้างว่ามาจากเมืองนอก เป็นต้น โดยการโฆษณาชวนเชื่อ เกินความจริง ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการเอาผิดทางกฏหมายกับคนกลุ่มนี้แล้ว

เนื่องจากเป็นโรคที่ถ้าเป็นแล้ว มักไม่หายสนิท เหลือความพิการอยู่บ้างไม่มากก็น้อย การป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรควบคุมโรคเหล่านั้นให้ดี ไม่ขาดยา ตั้งใจควบคุมอาหาร จะลดโอกาสการเป็นอัมพาตลงได้มาก รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงของมึนเมา

ควรตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงทุกปี โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 30-35?ีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะเราอาจมีโรคเหล่านั้นได้ เนื่องจากส่วนมากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

หลักสำคัญๆ ได้แก่

  1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา พบแพทย์ตามนัด
  2. ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยอาจทำเองที่บ้านได้หลังจากออกจากโรงพยาบาล
  3. ให้กำลังใจผู้ป่วย เนื่องจากโรคนี้พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสมากที่จะมีโรคซึมเศร้า หรือเครียดร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการที่เคยทำอะไรได้ แล้วมาทำไม่ได้
  4. ในรายที่เดินไม่ได้ นอนอยู่กับเตียง ต้องพลิกตัว จับนั่งบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นต้น ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะสอนการดูแลเหล่านี้ รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง(ถ้าต้องใส่) ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
โดย   นพ.เขษม์ชัย เสือวรรณศรี   อายุรแพทย์ประสาทวิทยา
Key : brain infarct ,CVA ,Stroke ,Neurology ,Medicine ,Cerebral

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้ว

สามารถป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้หรือไม่

ทำไมแพทย์มักมีอคติ หรือปิดกั้นการรักษาแบบอื่นๆที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน

ทำไมบางคนหาหมอพระ หรือทานยาหม้อแล้วหายดี กลับมาเดินได้

ยาบำรุงสมองช่วยได้หรือไม่

ยาที่ใช้ในโรคนี้ ใช้เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ เนื่องจากถ้าเป็นครั้งหนึ่งแล้ว จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้ ยาที่สำคัญคือยาป้องกันเส้นเลือดตีบ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป ไม่ควรซื้อทานเองเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้

 

 

เครื่อง MRI

mri.jpg

 

เป็นบันทึกที่ดีมาก ๆ ..อัดแน่นไปด้วยสาระความรู้ พักหลังผมก็เริ่มอ่อนล้ากับการงานที่โหมมามาก ..ตอนนี้วางมือจากงานบริหาร เลยได้มีเวลาพาลูก ๆ ไปเตะบอลนั่นเอง . ดีใจที่ได้เจอกันในบล็อก ... เยี่ยมมากครับ

สวัสดีครับ P 4. แผ่นดิน

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายใน bLog ครับ (จริง ๆ แล้วบ้านอยู่ติดกัน)
  • วันก่อนเห็นน้องดินกับน้องแดนเล่นบอลที่สนามหญ้าหน้าบ้าน คิดว่าโตขึ้นคงคู่ DUO ยอดนักเตะแห่งชาตินะครับ ขอให้โตวันโตคืนนะครับ
  • เรื่อง งาน (บริหาร) เหนื่อยนักก็พักบ้างนะครับ บางครั้งเราอาจจะต้องถอยออกมามองบ้าง (พักยก) เมื่อหายเหนื่อยแล้วค่อยเข้าไปลุยใหม่ก็ได้ครับ
  • อาจจะแว็บ ๆ ไปเรียนต่อ Dr. เพื่อพัฒนาตนเองดีไหมครับ ตอนนี้ มมส. ของเราเองก็เปิดปริญญาเอกเพิ่มขึ้นหลายสาขา (คุณภาพไม่ด้อยกว่าที่อื่น ๆ เลยครับ) ไม่ต้องจากบ้านและครอบครัวไปเรียนเมืองนอกเมืองนา โลกทุกวันนี้แคบลงเรื่อย ๆ ด้วย Internet ครับ ค่อยหาโอกาสเรียนภาษา และไปศึกษาดูงานต่างประเทศเอาก็ประหยัดเงินของชาติได้ไม่น้อยนะครับ

 

  • ว่าง ๆเลยแวะมาเยี่ยม
  • ขอให้กำลังใจคนใกล้ตัวอาจารย์และครอบครัวครับ
  • ขอมูลดีและมีประโยชน์มาก แต่ผมอ่านแล้วเป็นทุกข์แฮะ

สวัสดีครับ อ.เฉ

  • ตอนที่เกิดเหตุการณ์ใหม่ ๆ ธรรมะก็เอาไม่อยู่ครับ ตอนที่ต้องไปนอนเฝ้าไข้ในห้องดูอาการรวม 2 คืนครับ
  • คืนแรกก็พอสู้ไหว แต่คืนที่สอง ร่างกายและจิตใจของคนเฝ้าก็อ่อนแอลงเรื่อย ๆ พอวันหลัง ๆ ญาติทราบข่าวและมาเยี่ยมผมก็ถือโอกาสนอนเพิ่มพลังตามแต่โอกาสจะอำนวยครับ และก็ค่อย ๆ เข้มแข็ง ปรับตัวได้ดีขึ้นเป็นลำดับครับ
  • ช่วงเวลานั้นก็คิดว่าโรงพยาบาลคือบ้าน อะไรประมาณนั้นเลยครับ
  • ผมเองก็พื่งมาเข้าใจความสลับซับซ้อนของระบบร่างกายมนุษย์ ตอนเรียนรู้ที่จะเอาชนะเจ้าโรคร้ายนี่เองครับ 
  • สำคัญต้องออกกำลังการสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอครับ

สวัสดี กัลยาณมิตรใน G2K ทุกท่านครับ

  • เมื่อได้กลับมาอ่านบันทึกนี้อีกครั้ง ทำให้หวนคิดถึงบรรยากาศแห่งมิตรไมตรีและความเอื้ออาทรให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจที่ดีจากมหามิตรใน G2K เพื่อต่อสู้กับเจ้าโรคร้ายนี้ จนสามารถเอาชนะได้ (จริง ๆ แล้วมีอีกบันทึกหนึ่งที่เก็บบรรยากาศนั้นเอาไว้ด้วยใจ แต่ขอมาเขียนบันทึกนี้เพื่อเป็นวิทยาทานแทนครับ)
  • จึงขอถือโอกาสแจ้งข่าวดีต่อมิ่งมหามิตรที่ห่วงใยทั้งหลายว่า ตอนนี้ภรรยาของผมปลอดภัยหายเป็นปกติเกือบ 100% แล้ว สามารถไปทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างปกติแล้วครับ 
  • ส่วนลูกสาวในท้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิต เข้ารับการตรวจน้ำคร่ำ ฝากครรภ์แบบความเสี่ยงสูงที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ทำการตรวจร่ายกายเป็นระยะ ผลการตรวจจนถึงวันนี้พบว่า สมบูรณ์ดีทุกประการ กำหนดคลอดประมาณ 8 กันยายน 2551 นี้ครับ
  • เมื่อวานนี้ไปทำบุญวันเข้าพรรษาที่วัด พระท่านทักว่า เทวดาจะมาเกิดด้วยครับ สาธุ สาธุ
  • ขอกราบขอบพระคุณมิ่งมหามิตรทั้งหลายอีกครั้งด้วยครับ

แวะเข้ามาอ่านค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ เพราะกำลังต้องการความรู้ในเรื่องเหล่านี้

คุณหมอวินิจฉัยว่าคุณพ่ออาจจะเป็นเส้นเลือดสมองตีบค่ะ ตอนนี้อยู่ในช่วงทานยาแต่ถ้าไม่ดีขึ้น คุณหมอแนะนำให้ทำ MRI ค่ะ

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป

9. mulmul

 

  • แนะนำว่าให้รีบ MRI ดูครับ เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้วินิจฉัยได้ว่าเป็นอะไร ตรงไหนบ้างครับ
  • ถ้ามีอาการปวดศีรษะอย่างแรงต้องรีบพาพบแพทย์ด่วนเลยนะครับ ห้ามให้สมองขาดเลือดเกิน 3-6 ชั่วโมงนะครับ เพราะจะส่งผลอันตรายมากครับ
  • ผมจำไม่ได้ว่า ในกรณีเส้นสมองตีบใช้ MRI หรือ CT Scan ต้องสอบถามคุณหมอดูนะครับ
  • เทคโนโลยี MRI ทันสมัยกว่า และต้องจ่ายแพงกว่าด้วยครับ
  • ขอให้ปลอดภัย หายเร็ว ๆ นะครับ

ขอบคุณมากค่ะ คุณพ่อดีขึ้นแล้ว

อาการของคุณพ่อตอบสนองกับยาของคุณหมอค่ะ คุณหมอจึงบอกว่าไม่จำเป็นต้องทำ MRIแล้ว ^ ^

แต่อย่างไรจะเฝ้าระวังอาการของคุณพ่อค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านบทความในเน็ตเยอะ ข้อมูลคุณดีมากกก เลยค่ะ แน่นดี แต่ คนป้วยที่บ้านเป็นโรคนี้ดื้อมากค่ะ ไม่รู้จะทำอย่างไร ดี บอก ก็ไม่ฟัง พูดแต่ว่า ตายไป เคาะข้างโลงก็ไม่รู้เรื่องเล้ว

แก กิน ยา หม้อ ยาหมอดู ยาพระมาหมดแหละค่ะ เดี้ยงลงทุกวัน ไปตามหมอนัดมีแต่ โรคเพิ่มขึ้นค่ะ

ตอนนี้ คุณย่า เป็น รวม ๆๆ แล้ว ทั้งหมด ก็ 5 โรคคะ

เบาหวาน สมองตีบ หัวใจ ความดันสูง ไต ไทรอยด์ มีจุด ๆ เยอะ ตา โอ้ยน่ากัวค่ะ

ไม่รู้จะรอดไม้เนี่ย ช่วยวิเคราะห์ทีค่ะ กลุ้มใจ

ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป

11. mulmul

 

  • ยินดีด้วยครับ

 

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป

12. อัปสร เพลเลเทีย

 

  • ขอให้ไปปรึกษาคุณหมอตัวจริงนะครับ
  • หลวงปู่หล้า เขมปตโต สอนว่า .. การดูแลเลี้ยงบิดา มารดา กับการดูแลเลี้ยงพระอรหันต์ก็มีอานิสงส์เท่ากัน  (คุณย่าก็เปรียบเสมือนแม่)

 

 

 

อ่านบทความของอาจารย์แล้วเป็นประโยชน์มากครับ

ผมก็เริ่มค้นหาเรื่องของStrokeจริงๆจังก็เพียง2เดือนนี้เองครับ

เนื่องจากคุณพ่อป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกจากหลอดเลือดสมองตีบครับ

ผมต้องดูแลคนเดียวได้อ่านข้อที่ว่า

"หลวงปู่หล้า เขมปตโต สอนว่า .. การดูแลเลี้ยงบิดา มารดา กับการดูแลเลี้ยงพระอรหันต์ก็มีอานิสงส์เท่ากัน"

อ่านข้อความข้างต้นแล้วก็หายเหนื่อยบ้างครับ

ขอบคุณมากๆ สำหรับความรู้ดีๆ ช่วงนี้ต้องดูแลคุณพ่อที่ป่วย  เพราะล้ม พ่อไป รพ. หมอให้น้ำเกลืออย่างเดียว  หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์  ก็อ่อนเพลีย  ซีกขวาแรงอ่อนลง  หยิบจับอะไรไม่ได้เลย  จึงต้องเปลี่ยนมา รพ.ใหม่  หมอให้สแกนสมอง จึงรู้ว่ามีเลือดออก และต้องผ่าตัด  

         จึงอยากขอคำแนะนำการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น  (การเดิน / ความทรงจำ จะเป็นปกติ ต้องใช้เวลานานหรือไม่)

 

                                                           ขอขอบคุณ

สวัสดีครับ คุณ kittidech

  • ดีใจครับที่บันทึกนี้เป็นประโยชน์กับท่าน
  • ขอเป็นกำลังใจ และให้หายเร็ว ๆ นะครับ

 

 

 

ยินดีด้วยนะคะที่ภรรยาอาจารย์กลับมาได้ 100%

ผ่านประสบการณ์แบบนี้มาได้ เชื่อว่าทั้งสองท่านจะเห็นคุณค่าของชีวิต มองชีวิตเปลี่ยนไป และใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทต่อไป ดิฉันผ่านประสบการณ์แบบนี้มาแล้ว แต่โชคไม่ดีเหมือนอาจารย์ค่ะ แต่เราสองคนมีความสุขในชีวิตปัจจุบันมาก ไม่คิดถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต

ขอส่งความรักความปรารถนาดีมายังอาจารย์ และภรรยา ขอให้ลูกสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงนะคะ

สวัสดีครับ 16. ชมพูพันธ์ทิพย์

  • ขอให้หายเร็ว ๆ นะครับ
  • ต้องเรียนตามตรงว่า กระผมไม่ใช่หมอครับ อยากให้ปรึกษาคุณหมอตัวจริงนะครับ

 

 

สวัสดีครับ คุณ

P

18. nui

 

  • ถูกต้องที่สุดเลยครับ ประสบการณ์ครั้งนั้น ทำให้ผมมองชีวิตเปลี่ยนไปมาก เข้าใจชีวิตมากขึ้น ศึกษาธรรมมากขึ้นครับ
  • ขอบคุณครับ

 

 

เรียนอ.ภูฟ้า

ครูต้อยอ่านทุกตัวทุกคำ และอ่าน 2 รอบ เลยใช้เวลานานเพราะอ่านไปคิดไป โอ้หนอชีวตินะชีวิต

เกิดมาก็ลำบากทั้งคุณแม่ คุณพ่อ คุณหมอคุณพยาบาล คุณพี่เลี้ยง..แล้วยังต้องมาผจญอะไรๆ อีกมาหมายจนผสมกลายเป็นสิ่งที่เราเรียนว่าโรค.....ทำให้โอกาสบางโอกาสหลุดหายไป

ทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไปจากเป้าหมาย หรือไปถึงเป้าหมายช้ากว่ากำหนด และหรือหมดโอกาสเสียเลย

เห็นรูปที่อ.นำมาลงแล้ว ก็อยากจะเข้าไปรับบริการให้มันรูแล้ว รูรอดไป จะได้รูว่าร่างกายนี้มีอะไรอีกที่ยังไม่ได้รับการรักษาดูแล

mri.jpg

จึงอยากทราบว่ามันทำงานอย่างไร มีผลต่อผู้ใช้อย่างไร

จะเป็นการรบกวนก็ขอนะคะ อยากทราบจริงๆ จากบมความของอ.ก็อ่านไปใช้มือคลำบริเวณทั่วศีรษะไป มันตุบ ตุบ ๆๆ

ขอบคุณค่ะ ได้เวลาวิ่งแล้วค่ะต้องไปเตรียมตัวค่ะ

สวัสดีครับ

P

22. krutoi

 

  • ในภาพที่ krutoi  นำมาแสดงความคิดเห็นไว้ เป็นเครื่อง MRI ครับ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยวินิจฉัยว่า เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา ส่วนใหญ่จะช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของเส้นเลือดครับ เท่าที่ผมรู้เป็นเครื่องมือที่ทำงานด้วยคลื่นแม่เหล็กไม่มีรังสีซึ่งจะปลอดภัยกว่า เครื่อง CT Scan ครับ
  • ถ้าถามว่า เราควรไปตรวจดูให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยจะดีหรือไม่ ? ผมขอแนะนำว่า ต้องเข้าไปพบแพทย์ให้ท่านตรวจวินิจฉัยให้ครับ เป็นการดีและถูกต้องที่สุดครับ
  • ...ไม่ควรเป็นกังวลและคิดมากปรุงแต่งไปเอง กับสุขภาพร่างกายของเราจนเกินไปนะครับ จะทำให้เป็นทุกข์เกินไป ควรออกกำลังและพักผ่อนให้มาก ๆ ที่สำคัญ ธรรมโอสถ ก็มีดีไม่น้อยนะครับ
  • ขอให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงยิ่ง ๆ ขึ้นนะครับ

 

 

ข้อมูลดีมากเลยค่ะ บางเรื่องไม่รู้ก็จะได้รู้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

คุณแม่....ได้รับการวินิจฉัย Strok เมื่อ 22.30น 17/05/09

จาการทำ CT brain ที่ โรงพยาบาลภูมิพล

หลังจากคุณพ่อหอบหิ้วคุณแม่ ไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน ที่โรงพยาบาลชุมชน

ประจำอำเภอ ด้วยอาการ สับสน ซีกขวาอ่อนแรง

แพทย์ Dx. R/O Strok และ ส่งต่อเข้าโรงพยาบาลประจำจังหวัดอย่างรวดเร็ว

สรุปสุดท้าย....

แพทย์แจ้งว่า แค่น้ำตาลสูง ได้พยายามเสนอแนะว่าต้อง CT brain

หรือไม่...ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าไม่มี และคงไม่ใช่จากสมอง

สุดท้ายให้กลับบ้าน...

ระหว่างเดินทางกลับมีอาการสับสน ทนไม่ได้นำตัวเข้าถึงกรุงเทพฯทันทีใน

คืนนั้น และเข้าฉุกเฉินที่ ร.พ ภูมิพล ได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว แม้จะไม่ปลอดภัย 100% ก็รู้สึกพึงพอใจมาก เพราะรู้สาเหตุที่แท้จริง และการรักษาก็ถูกต้อง...

ถามว่า...

หากศักยภาพของแพทย์ + โรงพยาบาลประจำจังหวัด

ได้เท่านี้ คุณภาพชีวิตของคนไข้จะเป็นอย่างไร........

ขอบคุณ คุณภูฟ้าค่ะ...

สวัสดีครับ คุณ

ไม่มีรูป

26. KKK [IP: 124.120.64.174]

 

  • ขอให้คุณแม่หายเร็ว ๆ นะครับ
  • ความพร้อมของโรงพยาบาลชุมชน+โรงพยาบาลประจำจังหวัด จะสู้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ได้ หลายแห่งยังไม่มีเครื่อง  CT brain 
  • โชคดีที่คุณแม่ได้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลภูมิพลอย่างทันท่วงทีนะครับ ขอให้หายเร็ว ๆ นะครับ

 

 

อ่านแล้วทำให้ผมได้สติ เพราะประมาทกับชีวิต
เพื่อนๆรอบข้างวันๆพูดแต่เรื่องสุขภาพ ไม่มีใครไม่กินยา

ผมกับบอกเพื่อนๆอย่างภาคภูมิใจว่าไม่เป็นอะไรเลย
ผมไม่เคยไปคลินิคหมอมาสามสิบปีแล้ว
โรงพยาบาลไป 2 ครั้ง คือไปเย็บแผลจากอุบัติเหตุและไปถอดไหมอีกครั้ง

อย่างน้อยผมต้องไปตรวจเช็คร่างกายแล้วครับ
(ผมไม่เคยไปตรวจเช็คร่างกายเลยครับ)

ตอนนี้กำลังทำ cast study อยากรู้ เรื่องการดูแลแผลกดทับในผู้ป่วย stork ขอความกรุณาลงให้ด้วย หรือส่ง เมลให้ด้วยจะขอบคุณมาก

อยากทราบกลไกการเกิด middle cerebral atery infarction วันเสาร์นี้ จะต้องไป conferent กับอาจารย์ กรุลงให้ด้วยนะคะ หรือส่งเมลมาก็ได้นะคะ ขอบคุณค่ะ

คุณแม่ล้ม ตอนเช้าของวันที่ 15/05/09

เรียกรถพยาบาลในจังหวัดมารับประมาณ 7 โมง

มีอาการชาซีกขวา พูดได้ 2-3 ประโยค

ทำ CT Scan ไม่พบอาการผิดปกติ

แต่รพ.แจ้งว่าเวลานั้นไม่มีหมอทางด้าน Neuro

จึงทำเรื่องย้าย มาที่รพ.ศูนย์ ประมาณ 9 โมง

เนื่องจากเวลาน่าจะเกิน 3ชม. และกินยาประจำ โรคหัวใจ, เบาหวน

หมอจึงไม่ให้ยาละลายลิ่มเลือด และรอดูอาการ 24ชม.

เช้าวันรุ่งขึ้น ทำ CT Scan ซ้ำ

แล้วแจ้งว่าสมองบวมมากต้องผ่าตัดเปิดกระโหลกศีรษะ

ตอนนี้คุณแม่เสียแล้ว

แต่ความรู้สึกผิดยังมีอยู่เต็มสมอง

ว่าทำไมหมอต้องรอดูอาการถึง 24 ชม.

ทำไมไม่สั่งทำ MRI เพื่อตรวจเช็คภาวะเส้นเลือดในสมองอุดตัน

ขอความกรุณาอาจารย์ ให้ความกระจ่างด้วยนะคะ

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป

31. non [IP: 117.47.235.125]

 

  • ขอแสดงความเสียใจ ที่ต้องเสียคนอันเป็นที่รักและมีพระคุณยิ่งครับ ขอให้คุณแม่ไปสู่ภพภูมิที่ดีที่ชอบด้วยเทอญ
  • ---- จากเหตุการณ์ตามที่เล่ามานั้น ผมว่า คุณหมอได้ทำ CT Scan  แล้วไม่พบอาการผิดปกติ ท่านจึงให้รอดูอาการ 24 ชั่วโมง เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว  เมื่อทราบว่า สมองบวมในภายหลัง จึงรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้ว
  • อย่างไรก็ตาม เราต้องฝึกให้สามารถ "ปล่อยและวาง" ความทุกข์โศก ความโกรธให้ได้นะครับ ถึงแม้จะทำได้ยากมากก็ตาม แต่ก็ต้องค่อย ๆ ฝึกไปนะครับ
  • ผมเริ่มปล่อยวางได้บ้าง ก็ตอนได้ฟังนิทาน เรื่องหนึ่งครับ
  • เรื่องมีอยู่ว่า ที่ประเทศแห่งหนึ่ง มีคู่รักคู่หนึ่ง รักกันมา 3 ปี จึงตัดสินใจจะแต่งงานกัน ผู้หญิงจึงกลับบ้านไปเตรียมแห่ขันหมากจะมาแต่งงานในอีก 3 วันข้างหน้า เวลาผ่านไป 3 วัน 4 วัน 5 วัน ผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วยก็ไม่เห็นมา ในวันที่ 7 จึงเดินทางไปหา พบว่า หญิงอันเป็นที่รักนั้นได้แต่งงานไปกับชายคนอื่นแล้ว เขาเศร้าโศกเสียใจมาก จนทำให้ป่วยหนัก หนึ่งปีผ่านมา พระรูปหนึ่งได้เดินผ่านหน้าบ้านชายคนนั้น เห็นมีความเศร้าหมองผิดปกติ จึงขอผู้ดูแลบ้านเข้าไปดูข้างใน เห็นชายคนดังกล่าวป่วยหนักใกล้จะตาย ท่านจึงบอกให้ชายคนนั้นมองไปที่หน้าต่าง เมื่อมองไปที่หน้าต่าง เห็นนิมิตรเป็นศพผู้หญิงคนหนึ่งนอนเปลือยกายตายอยู่ริมแม่น้ำ มีชายคนหนึ่งเดินมาเห็น แล้วก็เดินผ่านไป และมีชายคนที่สองเดินมาอีก ชายคนนี้หาผ้ามาห่มให้แล้วก็เดินจากไป และต่อมาก็มีชายคนที่สามเดินมาเห็น เขาได้นำศพผู้หญิงคนนั้นไปฝัง... แล้วหลวงพ่อท่านก็กล่าวขึ้นว่า ผู้หญิงคนนั้นคือคนรักของเจ้า ส่วนเจ้าคือชายคนที่สองที่นำผ้าไปห่มให้จึงมีอานิสงให้ได้รักกัน 3 ปี ส่วนชายคนที่ 3 คือ คนที่ผู้หญิงคนนั้นแต่งงานด้วยในชาตินี้

ขอปรึกษาหน่อยค่ะ ดิฉันเป็นหมอรพ.ช.แห่งหนึ่ง ถ้าคนไข้เป็นischemic strokeเดิมมา2-3ปีก่อน on ASA grI แล้วเมื่อ 2 wk ก่อน เกิดมี Lt hemiparesis แต่เพิ่งมาพบหมอตอนนี้ 2 wkไปแล้วอะค่ะ อย่างงี้เราควรจะส่งไป CT Brainอีกไหมคะ เพื่อแยก ischemic/hemorrhagic stroke แต่คนไข้อาการSuggestiveไปทาง ischemicมากกว่า คือ Weak Grade4 ค่ะ หรือเราควรจะให้ ASA Gr 5 ไปเลยหรือป่าวคะ รบกวนขอความรู้หน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอเขษม์ชัย เสือวรรณศรี ขอรบกวนสอบถามคุณหมอหน่อยน่ะค่ะ คุณพ่อของดา ท่านเป็นโรคความดันสูง เส้นเลือดตีบจนเส้นเลือดฝอยแตก ในสมองหลายจุด จนทำให้ท่านมีอาการร่างกายซีกซ้าย อ่อนแรง และปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง ทำให้พูดและท่านอะไรไม่สะดวก แต่คุณหมอที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาก็ได้ให้ยาสลายลิ่มเลือดและยาลดไขมันในเลือดมา โดยนอนพักที่ รพ.2 คืน ขณะนี้คุณพ่อกลับมาพักที่บ้านได้ 2 วันแล้วและอาการอ่อนแรงซึกซ้ายก็ดีขึ้น เพียงแต่มีอาการปากเบี้ยวลิ้นแข็ง และปวดหัว วิงเวียน บ้าง (วันนี้ได้พาท่านไปพบหมอ หมอก็ให้ยาความดัน และยาแก้ปวดมาเพิ่ม เพราะความดันพ่อสูงขึ้น) อยากจะถามคุณหมอว่า "จะกายภาพบำบัดอาการปากเบี้ยวลิ้นแข็ง อย่างไรถึงจะเห็นผลเร็ว  และดีที่สุดค่ะ"  ตอนนี้คุณพ่ออายุ 66 ปี คะ

สวัสดีค่ะคุณหมอเขษม์ชัย เสือวรรณศรี ดิฉ้นก็เป็นโรคนี้ค่ะ แต่ตอนนี้เร่มดีขึ้น เพราะว่ามาทำงานทุกวันแล้ว ตอนเช้าออกกำลังกายเดินทุกวัน

บอกบุญต่อ สำหรับผู้ป่วยโรค เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ให้่ได้รู้จัก ทางเลือก ที่ดีในขณะนี้ เล่าจากประสบการณ์

ยาน้ำสมุนไพร ฮั้วลักเซียม สูตรฮ่องเต้

จดทะเบียนยาแล้วอย่างถูกต้อง ไม่มีสารสเตียรอยด์ มีสมุนไพร ชั้นเยี่ยม 67 ชนิด ภายในขวดเดียวกัน

ทานแล้วอาการดีขึ้นแน่นอน และมีโอกาสหายเป็นปกติได้ เมื่อทานครบตามประมาณการดื่ม นะคะ

โทร. 083-465-5234 จู

หรือ 087-813-2020 ดีเจตั้ม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.djtumradio.com

บอกบุญต่อ สำหรับผู้ป่วยโรค เส้นเลือดสมองตีบตัน ให้่ได้รู้จัก ทางเลือกอีกทาง คือ ยาน้ำสมุนไพร ฮั้วลักเซียม สูตรฮ่องเต้

ที่จดทะเบียนยาแล้วอย่างถูกต้อง ไม่มีสารสเตียรอยด์ มีสมุนไพร ชั้นเยี่ยม 67 ชนิด ภายในขวดเดียวกัน

ทานแล้วอาการดีขึ้นแน่นอน เห็นผล และมีโอกาสหายเป็นปกติได้ เมื่อทานครบตามประมาณการดื่ม นะคะ

ขอให้กำลังใจ และขออวยพรให้ทุกท่านโชคดี มีสุขภาพดี มีเงินเหลือใช้

โทร. 083-465-5234 จู

หรือ 087-813-2020 ดีเจตั้ม

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.djtumradio.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท