การใช้ผลการวิจัย (Research Utilization) : แนวทางการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 1


สรุปจากการสอนในห้องเรียนที่สอนโดย อ.อรพรรณ โตสิงห์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อ
1.ความสำคัญของการใช้ผลการวิจัย
2.ประวัติและความเป็นมาของการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
3.ขั้นตอนของการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
การใช้ผลการวิจัยมีความสำคัญอย่างไร ????
1.เป็นข้อกำหนดตามมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
2.เป็นข้อกำหนดตามนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เน้นคุณภาพและความคุ้มค่า)
3.เป็นความคาดหวังของสังคม (เกิดผลสัมฤทธิ์และมีความปลอดภัย) ดังนั้น  พยาบาลต้องมี

คำตอบสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว  โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนผลลัพธ์ของการใช้ผลการวิจัย

Burns & Grove (2001) ระบุว่า การปฏิบัติโดยใช้ความรู้จากงานวิจัยเป็นฐาน (research based practice)  จะทำให้เกิด Best practice
Best Practice : การปฏิบัติที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นเลิศ  หรือผลลัพธ์ดีที่สุดที่ทำให้องค์กรนั้นๆประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ลักษณะของ
best practice
1. เกิดการพยาบาลที่มีคุณภาพ
2. เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี
3. เกิดความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว
4. เกิดความคุ้มทุนคุ้มค่า
5. เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  (คนในองค์กรเจริญเติบโต)

ประวัติความเป็นมาของการใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล

เริ่มต้นจากการพัฒนาคุณภาพการบริการในสหรัฐอเมริกา

- 1952 การจัดตั้ง The Joint Commission on  Accreditation of Hospital (JCAHO) จึงทำให้เกิดการแสวงหาวิธีการที่ทำให้เกิดงานคุณภาพ- ในช่วงปี ค.ศ.1970-1980  มีความตื่นตัวมากในเรื่องการนำผลการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล  (Research Utilization)
เพราะเป้าหมายสุดท้ายของการวิจัยทางการพยาบาล  คือ
1.การนำผลการวิจัยไปใช้
2.ไม่ว่าจะเป็นการใช้เดี่ยวๆ  หรือใช้เป็นกลุ่มของงานวิจัย
3.เพื่อ improve nursing serviceเชื่อว่าเป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาคุณภาพการพยาบาลได้
และในช่วงเวลานั้น(ค.ศ.1970-1980)ยังพบว่า  มีการทำวิจัยทางการพยาบาลมากแต่การนำผลการวิจัยไปใช้ ในการปฏิบัติ ยังค่อนข้างน้อย เกิดช่องว่างระหว่างการทำวิจัย  กับการนำผลการวิจัยไปใช้

ตัวอย่างของช่องว่างระหว่างการทำวิจัยกับการใช้ผลการวิจัย
ตัวอย่างนอกวิชาชีพการพยาบาล (ศิริอร  สินธุ , 2544)
- การคัดเลือกสายพันธ์ข้าวโพดใช้เวลา 25 ปี  จึงมีการนำมาใช้ปฏิบัติ
- การค้นคว้า pacemaker ใช้เวลา 32 ปีก่อนนำมาใช้จริง
- การค้นพบยาคุมกำเนิด เมื่อ 1951  นำมาใช้เมื่อ 1960

ตัวอย่างของช่องว่างระหว่างการทำวิจัยกับการใช้ผลการวิจัย

ตัวอย่างของวิชาชีพการพยาบาล (Polit & Hungler, 1997)
- การค้นพบเวลาที่เหมาะสมสำหรับการวัดอุณหภูมิด้วยปรอทแก้วทางปากจากงานวิจัย  เมื่อก่อนปี 1970  แต่เมื่อสำรวจในปี 1975  พบว่ามีพยาบาลเพียง 1 คน จาก 87 คนที่ใช้วิธีการนี้ 
พัฒนาสู่โครงการใช้ผลการวิจัยต่างๆ
The Western Interstate Commission
for Higher Education (WICHE) Project 
จึงได้จัดตั้งขึ้นโดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา  เพื่อเป็นโครงการ
ในการดำเนินงานเพื่อให้มีการนำผลการวิจัยทางการพยาบาลมาใช้
ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา
The CURN project
ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน The Conduct and Utilization
Of Research in Nursing (CURN) project นำโดย Dr.Joanne Horsley & Dr.Joyce Crane ได้ถูกจัดตั้งขึ้น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างมากใน USA เพื่อนำ ผลการวิจัยมาใช้สร้างเป็น protocol ต่างๆในการปฏิบัติ การพยาบาล  protocol อันเป็นที่แพร่หลายได้แก่ (1981-1982)
-การป้องกัน urinary tract infection ด้วย closed drainage system
-Preoperative teaching protocol
ค.ศ. 1978 Horsley,Crane & Bingle เขียนบทวิเคราะห์ โดยการสนับสนุนจาก CURN และสรุปว่า
การนำงานวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลนั้น จะสำเร็จได้ด้วยการสนับสนุนจากองค์กร 
หากขาดการสนับสนุนจากองค์กร  ก็จะไม่เกิด การนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ

ข้อตกลงเบื้องต้นของ
CURN Projectก่อนดำเนินโครงการนำผลการวิจัย
ไปใช้ในการปฏิบัติ
1.  องค์กรต้องเห็นด้วยและให้การสนับสนุนตลอด กระบวนการของการดำเนินงานในทุกรูปแบบ
2.  มีกลไกการดำเนินการที่ชัดเจน
3.  มีทรัพยากรที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และเพียงพอ
4.  มีการวางแผนล่วงหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติในองค์กร
5.  ต้องมีการใช้งานวิจัยตั้งแต่ 2 เรื่องขึ้นไปเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการ ปฏิบัติการพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 16857เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2006 02:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณนะ ที่นำความรู้เกี่ยวกับ การวิจัยทางการพยาบาล มานำเสนอให้ทราบ

ขอบคุณท่ีนำความรู้มาวางไว่้ให้อ่านอยากรบกวนขอรายละเอียดRUของการพยาบาลว่ามีโมเดลอย่างไรบ้างใช้อย่างไรขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท