แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์


แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์
รายวิชา  ว40282  วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต  2   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง  ยามสุนไพรตามธรรมชาติ

 

สาระสำคัญ

สมุนไพรเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติทั้งพืช  สัตว์  และแร่ธาตุ  ในสมัยอดีตคนเรานำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคบางชนิด  โดยใช้สมุนไพรที่ยังไม่ผ่านการผสม  ปรุงแต่ง หรือแปรสภาพ  ปัจจุบันมีการนำเอาสมุนไพรมาปรับปรุงออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย  ยาสมุนไพรได้จากการนำส่วนต่าง ๆ ของพืช  สัตว์  มาปรับใช้ในการรักษาโรคมากขึ้น

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล  อภิปราย  อธิบายและนำเสนอเกี่ยวกับยาสมุนไพร

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้  ผู้เรียนสามารถ

1. ออกแบบและดำเนินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ตามใบงานเรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ  ยาสมุนไพรได้ถูกต้อง
2. เขียนรายงานผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้อง
3. อธิบายความหมายของยาสมุนไพรได้
4. ยกตัวอย่างยาสมุนไพรที่ได้จากแร่ธาตุได้
5. บอกสรรพคุณและวิธีการใช้ยาสมุนไพรได้
6. บอกข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร

ด้านทักษะกระบวนการ  ผู้เรียนสามารถ

 1. ปฏิบัติการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ตามใบงาน  เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ ยาสมุนไพรได้ถูกต้อง
2. นำเสนอผลการทำกิจกรรมตามใบงาน เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยาสมุนไพรได้ถูกต้อง

ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ผู้เรียนมีพฤติกรรม
   
1. ความรับผิดชอบ
    2. ความซื่อสัตย์
    3. การตรงเวลา
    4. ใฝ่เรียนรู้

ด้านเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์
  ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

สาระการเรียนรู้
ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
(รายละเอียดตามใบความรู้  เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นนำ
  
1. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังประจำแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง  ยาสมุนไพร
   2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ยาสมุนไพร  จำนวน  5  ข้อ
   3. ครูสนทนา ซักถามผู้เรียน เกี่ยวกับยาสมุนไพร  

ขั้นทบทวนความรู้เดิม     

1. ครูทบทวนความรู้เดิมและอภิปรายประเด็น  ยาสมุนไพรโดยถามผู้เรียนด้วยคำถามต่อไปนี้
    1.1 ยาสมุนไพรหมายถึงอะไร
    1.2 ยาสมุนไพรได้จากอะไรบ้าง
    1.3 นักเรียนเคยใช้ยาสมุนไพรชนิดใดบ้าง
    1.4 นักเรียนเคยใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคหรือไม่
    1.5 ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณอย่างไร
    1.6 ข่ามีสรรพคุณอย่างไร
2. ผู้เรียนระดมความคิดและอภิปรายร่วมกัน

ขั้นปรับเปลี่ยนแนวคิด
   1. ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ   6  คน  คละความสามารถ  เลือกประธาน  เลขานุการกลุ่ม และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
   2. ครูเตรียมสื่อการเรียนรู้  ตามใบงานที่  7  โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมุนไพร
   3. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกทำโครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยาสมุนไพรกลุ่มละ  1  เรื่อง  
   4. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มวางแผนศึกษาค้นคว้าในการทำโครงงานตามเรื่องที่สนใจ ดังนี้
      4.1 กำหนดชื่อเรื่อง  ศึกษาใบความรู้ เรื่อง ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ เขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์   ตามแบบฟอร์มการเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์
     4.2 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเค้าโครงงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้วไปปรึกษาครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
     4.3 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มลงมือปฏิบัติ กิจกรรมตามเค้าโครงที่ได้ออกแบบไว้ใน
          ข้อ 4.1   และบันทึกผล  
     4.4 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ผลการทดลอง  และสรุปผลในรูปแบบการเขียนรายงาน ตามแบบฟอร์มการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
     4.5 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเตรียมนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์  โดยนำเสนอในรูปของแผง
โครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นสร้างความรู้
  
1. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า  นักเรียนกลุ่มอื่นๆ  ซักถามครูคอยชี้แนะคำตอบที่ถูกต้อง
   2. ผู้เรียนบันทึกเนื้อหาสาระที่สำคัญลงในสมุดบันทึก
   3. ผู้เรียนทำชุดฝึกเรื่อง ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
   4. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  5   ข้อ
   5. ผู้เรียนทำแบบประเมินเจตคติ  เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  5  ข้อ

ขั้นนำความรู้ไปใช้
   
ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำแผงโครงงานที่จัดทำขึ้นมาจัดแสดงนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ 
เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
    ในขณะที่ผู้เรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอนต่างๆ  ครูเน้นย้ำเรื่อง  ความรับผิดชอบ  ความสามัคคี 
การช่วยเหลือเพื่อนทำงาน  การตรงเวลา 

สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

     สื่อการเรียนรู้
    
1. แบบทดสอบก่อนเรียน  เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  1 ชุดต่อ  1  คน
     2. ใบงาน  เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยาสมุนไพร จำนวน    1 ชุดต่อ 1 กลุ่ม
     3. วัสดุ-อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ตามใบงาน  เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยาสมุนไพร จำนวน    1 ชุดต่อ 1 กลุ่ม
     4. ใบความรู้ เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  1  ชุดต่อ  1  คน
     5. แบบฟอร์มการเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์  จำนวน  1  ชุดต่อ  1 กลุ่ม                
     6. แบบฟอร์มการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  จำนวน  1  ชุดต่อ  1 กลุ่ม
     7. แผงโครงงาน  จำนวน   1  แผงต่อ  1  กลุ่ม
     8. ชุดฝึก เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  1 ชุดต่อ  1 คน
     9. แบบทดสอบหลังเรียน  เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  1 ชุดต่อ  1 คน
     10. แบบประเมินเจตคติ  เรื่อง ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  จำนวน  1 ชุดต่อ  1 คน

แหล่งการเรียนรู้
     1. ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
     2. ห้องสมุดโรงเรียน
     3. อินเทอร์เน็ต
     4. วารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์       

การวัดผลและประเมินผล

       ด้านความรู้

       วิธีการวัดและประเมินผล
      
1. ประเมินผลการปฏิบัติใบงาน  เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
       2. ประเมินผลจากการตรวจรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
       3. ประเมินผลการนำเสนอผลงานด้วยแผงโครงงานวิทยาศาสตร์
       4. ประเมินผลการทำชุดฝึก เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
       5. ประเมินผลการทดสอบหลังเรียน เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ

เครื่องมือวัดและประเมินผล
    
1. ใบงาน เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
     2. แบบประเมินการตรวจรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
     3. แบบประเมินการนำเสนอผลงานด้วยแผงโครงงานวิทยาศาสตร์
     4. ชุดฝึกที่  เรื่อง   ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ
     5. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ

เกณฑ์การวัดและประเมินผล
  
1. ผู้เรียนทำกิจกรรมตามใบงาน เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ ได้ถูกต้องร้อยละ   80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
   2. ผู้เรียนเขียนรายงานผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
   3. ผู้เรียนนำเสนอผลงานด้วยแผงโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
   4. ผู้เรียนทำชุดฝึก เรื่อง ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ ได้ถูกต้องร้อยละ  80  ถือว่าผ่านเกณฑ์
   5. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ ได้ถูกต้องร้อยละ  80  ถือว่าผ่านเกณฑ์

  ด้านทักษะกระบวนการ

   วิธีการวัดและประเมินผล
  
1. การปฏิบัติกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ 
   2. การนำเสนอผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

 เครื่องมือวัดและประเมินผล
  
1. แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์
   2. แบบประเมินการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
  
1. ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้ถูกต้องร้อยละ  80 ถือว่าผ่านเกณฑ์
   2. ผู้เรียนสามารถนำเสนอผลการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องร้อยละ  80ถือว่าผ่านเกณฑ์

ด้านคุณธรรม  จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  วิธีการวัดและประเมินผล
  
1. การสังเกตพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ
   2. การสังเกตพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์
   3. การสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
   4. การสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

 เครื่องมือวัดและประเมินผล
  
1. แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ
   2. แบบสังเกตพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์
   3. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
   4. แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

เกณฑ์การวัดและประเมินผล
  
1. ผู้เรียนมีความรับผิดชอบอยู่ในเกณฑ์ดี
   2. ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์อยู่ในเกณฑ์ดี
   3. ผู้เรียนมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ดี
   4.  ผู้เรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคลอยู่ในเกณฑ์ดี

การวัดผลประเมินผลด้านเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์
  วิธีการวัดและประเมินผล
      ประเมินเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์
  เครื่องมือวัดและประเมินผล
     
 แบบประเมินเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์

เกณฑ์การวัดและประเมินผล
   
ผู้เรียนมีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี

 กิจกรรมเสนอแนะ
   
1. ผู้เรียนที่มีความสนใจเกี่ยวกับ   ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทเรียนโปรแกรมเรื่อง  ยาสมุนไพรตามธรรมชาติ  ที่จัดทำขึ้นโดยนางพิศมัย  พานโฮม  ครูชำนาญการพิเศษ
    2. แนะนำให้ผู้เรียนไปศึกษาเพิ่มจากอินเตอร์เน็ต
   3. มอบหมายให้ผู้เรียนนำโครงงานวิทยาศาสตร์นอกเวลาเรียน

 

หมายเลขบันทึก: 168490เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เผยแพร่ให้บุคคลอื่นได้ชมผลงาน เยี่ยมค่ะ

นายเขื่อนเพชร สุรำไพ

จากเนื้อหาข้างต้น

พบเจอในการเรียนในห้องมากเลยครับ

เป็นจุดประสงค์ที่น่าใจเลยทีเดียว

นายเขื่อนเพชร สุรำไพ เลขที่ 3 ห้อง 6/11

นางสาวกมลชนก มาลาทอง

อ่านแล้วนะคะ

นางสาวกมลชนก มาลาทอง เลขที่ 15 ห้อง6/11

อ่านแล้วนะคะ

นางสาวธารินี อนุเวช เลขที่ 20 ห้อง6/11

นางสาวจิราภรณ์ สุวรรณจันลา

อ่านแล้วนะคะ

นางสาวจิราภรณ์ สุวรรณจันลา เลขที่ 17 ห้อง6/11

น.ส. วัชรมน ชัยพงศ์ เลขที่ 28 ม. 6/11

ได้ความรู้มากเลยค่ะ

แม่น้องกานต์สอนวิทยาศษสตร์เหมือนกัน

กำลังให้นักเรียนปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน ของคนใต้นะคะ

อาจมีความรู้มาแลกเปลี่ยน แต่โครงงานเป็นที่น่าสนใจ

ขอศึกษาเพื่อเอาไปเล่าให้แม่ฟังค่ะ ขออนุญาตนะคะ /ขอบคุณค่ะ

ขอคุณอาจารย์ที่ช่วยแบ่งปันสิ่งดีๆ เป็นกำลังใจให้ครับ

ขอบคุณมากนะคะสำหรับแนวการจัดการเรียนการสอนที่ดี เพื่อนักเรียน เป็นประโยชน์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท