“บันทึกโดนใจ” แห่งเดือน มกราคม 2549


ความรู้ที่ได้นำไปประกอบอาชีพจริง ๆ กลับได้จากแหล่งที่ไม่ใช่ในระบบการศึกษา ทั้ง ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเพื่อให้ได้รับการศึกษาในระบบ สุดท้าย (ผมว่า) ใบปริญญาบัตรก็มีความสำคัญในสังคมนี้ มากกว่าความรู้ความสามารถที่แท้จริง จนถึงทุกวันนี้

     มุมมองการศึกษา (ส่วนตัว) : การจัดการศึกษาอาจจะเปลี่ยนไป โดยคุณ beeman หรือ อ.สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ แห่ง ม.นเรศวร เป็นบันทึกที่โดนใจที่สุดของผมในเดือนมากราคม 2549 เมื่อผมได้ขอให้ Dr.Ka-poom ได้อ่าน ก็ Conferm ครับ ท่านสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้

     ประเด็นที่โดนใจคือ อ.สมลักษณ์ ได้พยายามเล่าสิ่งที่ได้ประสบพบเจอ และมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาจากอดีต มาถึงในปัจจุบัน เหมือนพยายามสื่อว่ายิ่งเรียนยิ่งทำอะไรไม่เป็น ทำนองนั้น ในขณะเดียวกันความรู้ที่ได้นำไปประกอบอาชีพจริง ๆ  กลับได้จากแหล่งที่ไม่ใช่ในระบบการศึกษา ทั้ง ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเพื่อให้ได้รับการศึกษาในระบบ สุดท้าย (ผมว่า) ใบปริญญาบัตรก็มีความสำคัญในสังคมนี้ มากกว่าความรู้ความสามารถที่แท้จริง จนถึงทุกวันนี้

     อีกประเด็นหนึ่งที่โดนใจ คือ เครื่องปรุงประกอบในการศึกษาที่มีมากเสียเหลือเกิน จนคนชายขอบไม่อาจเข้าถึงได้ หรือเข้าไปได้ก็สุดจะทนทานต่อกระแส สิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะใช่แก่นของการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีค่าใช่จ่ายสูงมาก ที่เห็นเด่นชัดคือค่าใช้จ่ายของนักศึกษาในช่วงการรับปริญญาบัตร ตามที่ อ.สมลักษณ์ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้

     ขอบคุณ อ.สมลักษณ์ ที่ได้นำสิ่งดี ๆ มาเล่าให้อ่านกันอยู่เสมอ และบันทึกนี้ตรงใจกับสิ่งเกิดขึ้นกับผมจนรู้สึกอึดอัดมาแล้ว ผมเฝ้าสังเกตมาตลอดเช่นกัน โดยเป็นการสังเกตที่ผมต้องเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างขัดกระแสสังคมไม่ได้ และยอมขัดใจตนเองมาตลอดครับ

     อ่านที่มาที่ไปของ “บันทึกโดนใจ” ได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 16838เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความสอดรับ...ที่ลงตัว

Learning by Doing ตามมุมมองที่ อ.สมลักษณ์ บันทึกถึง
การศึกษา..ที่มีการเปลี่ยนไป..การเรียนรู้ที่ผ่านการฝึกปฏิบัติ...
ย่อมก่อให้เกิด..."การสร้างความรู้"...Knowledge Construction มากกว่าที่จะแยกส่วน..ระหว่าง "ทฤษฎี"..และ "การปฏิบัติ" เพราะปัญหาที่พบและเกิดขึ้นนั่นคือ...ขาดการเชื่อมโยง..ในสิ่งที่เรียน  ในสิ่งที่รู้...และสิ่งที่ควรนำไปใช้...ดังนั้น...จึงอาจพบได้บ่อยในสังคมการศึกษาปัจจุบัน...หากเมื่อพิจารณาตามความเห็น...จะพบว่า..อ.สมลักษณ์
มีมุมเกี่ยวกับโลกทางการศึกษาที่เน้น..การสรรค์สร้างความรู้...หรือเปล่า? หรือที่เราๆ..ในแวดวงการศึกษา..มักใช้คำว่า (Constructivism)...
ดังนั้น..ในมุมมองที่สอดรับ..หลังจากได้ร่วมกันวิพากษ์กับคุณชายขอบ..และทีม พร้องกันว่า...โดนใจ..อย่างยิ่ง ณ บริบท...ที่เราร่วมตระหนักกันอยู่

     อดไม่ได้ที่จะเข้ามาเติมต่อเพื่อรอ อ.สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ ครับ ตามที่ Dr.Ka-poom ได้ให้ คห.ไว้นั้น ทำให้เกิดความสมบูรณ์เสียยิ่งกว่าที่ผมเขียนในบันทึกเสียอีก "ชอบจัง คห.นี้"

รับทราบแล้วครับ และได้เขียนข้อคิดเห็นไว้ใน มุมมองการศึกษาฯ แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท