ตอนที่ 2 "ตำราว่าน" ยุคปัจจุบัน


เรื่องราวความเป็นมาของตำราว่าน นับจากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

 

                     ตำราว่าน ที่ได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นมาภายหลัง พ.ศ.2520 นั้น ถือว่าเป็นตำราว่านในยุคหลัง หรือยุคปัจจุบันทั้งสิ้น มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ ตำราทุกฉบับจะมีภาพสีประกอบคำบรรยายลักษณะว่าน ซึ่งส่วนใหญ่ได้คัดลอกมาจาก "ตำราคุณลักษณะว่าน และ วิธีปลูกว่าน" ของสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย โดยนายเลื่อน กัณหะกาญจนะ (ฉบับตีพิมพ์เป็นอันดับที่สิบของตำราว่านในยุคเก่า) ภาพต้นว่านที่นำมาลงก็จะตรงกับคำบรรยายลักษณะตามที่ได้คัดลอกมาบ้าง ใกล้เคียงกันบ้าง หรือคำบรรยายกับภาพไปคนละทิศละทางกันเลยก็มี และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ บางฉบับถือโอกาสแก้คำบรรยายลักษณะว่านให้ตรงกับภาพต้นว่านของตัวเองเสียเลยก็มี
                     
                     สาเหตุที่คำบรรยายลักษณะว่านกับภาพต้นว่านที่นำมาลงมันไม่ตรงกันนี้ ส่วนมากจะให้เหตุผลว่า ก็ครูว่านท่านสอนกันมาอย่างนี้ ที่บอกเล่าต่อๆ กันมาก็แบบนี้ หรือที่เขาเล่นกันมาแต่ไหนแต่ไรก็ต้นนี้ บางคนหนักไปกว่านั้นก็พูดหน้าตาเฉยว่า ตำราเก่ามันคงพิมพ์ผิดมั้ง ยังไม่เคยเห็นมีใครยอมพูดความจริงสักทีว่า.. ก็มันหาต้นที่ตรงกับคำบรรยายในตำราไม่ได้นี่นา

                      ถึงอย่างไรนักเล่นว่านในยุคปัจจุบัน ก็ยังนิยมซื้อหาตำราว่านในยุคหลังๆ นี่มาใช้เป็นคู่มือกันอยู่ดี อาจจะเป็นด้วยเหตุ 2 ประการนี้กระมัง
                     
                      1) ตำราว่านยุคเก่านั้นหาซื้อยาก ต้องไปหาซื้อตามร้านขายหนังสือเก่า ซึ่งก็ยังไม่แน่อีกว่าจะหาได้หรือเปล่า และเมื่อได้มาแล้ว อ่านแล้วอาจจะงงยิ่งไปกว่าเดิมก็ได้ เพราะตามบันทึกลักษณะว่านในตำราเก่าๆ นั้นท่านให้รายละเอียดของว่านแต่ละชนิดไว้ยังกับลายแทงก็ไม่ปาน เรียกว่าถ้าเป็นนักเล่นหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านหูผ่านตาว่านชนิดนั้นๆ มาบ้าง หรือไม่มีครูว่านคอยเป็นพี่เลี้ยงชี้แนะแล้วก็แทบหมดโอกาสที่จะนึกภาพออกมาได้เลยว่าว่านชนิดนั้นๆ หน้าตาควรจะออกมาเป็นรูปลักษณะใด ผู้เขียนจะลองยกตัวอย่างมาให้ดูสักเล็กน้อย เช่น "ว่านพระยานก" ลักษณะต้นเหมือนท้าวยายม่อม ใบเหมือนใบคนทิสอ ดอกเหมือนดอกชิงชี่ หัวเหมือนเกล็ดปลาตะเพียน "ว่านหมูกลิ้ง" ลักษณะหัวของว่านใหญ่มาก โดยมากมักไม่ค่อยได้พบใบ เพราะพอใบแก่ก็มักจะหล่นไปหมด เนื่องจากธรรมชาติของว่านนี้เป็นเช่นนั้นเอง "ว่านอานุภาพ" ลักษณะต้นคล้ายต้นระกำ ใบเขียวเหมือนใบพลูและมีพรายปรอทเล็กน้อย ในตำราท่านให้รายละเอียดเอาไว้เพียงสั้นๆ อย่างนี้จริงๆ อ่านแล้วพอจะนึกภาพออกกันบ้างไหม ว่าว่าน 3 ชนิดนี้หน้าตามันน่าจะออกมาเป็นแบบไหน
                       
                       2) ตำราว่านรุ่นใหม่นั้นหาซื้อง่าย และยังมีภาพสีประกอบชัดเจน แบบที่ว่าแทบไม่ต้องอ่านลักษณะของว่านประกอบเลย เพียงเห็นภาพก็นึกรู้ได้ทันทีว่าเป็นว่านต้นไหน เคยมีหรือเคยเห็นที่ไหนมาก่อนหรือไม่อย่างไร ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นทั้งจุดดีและจุดเสียอย่างร้ายแรงของตำราว่านในยุคใหม่ๆ ถ้าตำราเล่มนั้นนำเอาภาพที่ถูกต้องมาลงก็ดีไป แต่ถ้านำเอาภาพของต้นอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาลงล่ะ หรือนำเอาภาพที่ไม่ได้ใกล้เคียงกับว่านต้นจริงเลย แต่ว่าตัวเองหรือพรรคพวกมีไม้ต้นนี้อยู่แยะก็เลยนำมาลงเป็นว่านเพื่อที่จะขายไม้ต้นนี้ล่ะ ผู้ที่ซื้อตำราเล่มนั้นๆ มาแทบจะไม่มีโอกาสรู้ความจริงเลยว่าโดนเขาหลอกเข้าแล้ว มิหนำซ้ำยังจะช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นหลงผิดตามๆ กันไปเสียอีก โดยอ้างจากตำราเล่มนั้นๆ แหละเป็นหลักฐาน ว่ามีว่านชื่อนี้รูปร่างหน้าตาต้องเป็นอย่างนี้นะ ครั้นไปเจอเอาว่านต้นจริงเข้ากลับหาว่าของเขาเป็นของปลอมไปเสียอีกแน่ะ


                                         .............................................


                       ตำราว่านในยุดหลัง พ.ศ.2520 มานี้ มีมากมายเสียจนไม่แน่ว่าจะมีใครจดจำไว้ได้ทั้งหมด แต่ทั้งหมดนั้นผู้เขียนขอยืนยันว่ายังไม่เคยพบเลยสักฉบับเดียว ที่ลงภาพต้นว่านโดยไม่มีข้อผิดพลาด (คือมีลักษณะตรงตามที่ตำราเก่าได้บันทึกไว้) มีแต่ผิดมากบ้างน้อยบ้างคละเคล้ากันไป ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์และจุดมุ่งหมายของผู้เรียบเรียงเป็นสำคัญ
                       
                       เพื่อให้เป็นประโยชน์ และแนวทางสำหรับนักเล่นว่านรุ่นใหม่ๆ ในการเลือกซื้อตำราว่านในยุคหลังๆ นี้มาใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเล่นว่าน ผู้เขียนจะขอแนะนำตำราว่านเล่มที่เห็นว่าผู้เรียบเรียงเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีความรู้และประสบการณ์ในการเล่นว่านมาอย่างดี และมีข้อผิดพลาดค่อนข้างน้อย โดยจะเรียงลำดับก่อนหลังตามปีที่จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรก ดังต่อไปนี้

                       1) "อภินิหารว่านศักดิ์สิทธิ์" เชษฐา พยากรณ์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2521 (เล่ม1-2) การที่ผู้คนเกิดการตื่นตัวหันมานิยมเล่นว่านกันอย่างบ้าคลั่งในช่วงนั้น สาเหตุหนึ่งก็เพราะคุณเชษฐานี่แหละ ที่นำเอาเรื่องว่านไปเขียนลง "ตะลุยดงว่าน" ในนิตยสารมหัศจรรย์ในช่วงแรกๆ แล้วนำมารวมพิมพ์เป็นเล่มในภายหลัง ตำราของเชษฐานอกจากเล่มนี้แล้วยังมี "108 ว่านมหัสจรรย์" และ "ตะลุยดงว่าน" ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นใน พ.ศ.2522 ถึงแม้ชื่อจะต่างกันแต่เนื้อหาก็เหมือนๆ กัน ตำราของเชษฐาจะเน้นจุดเด่นที่ภาพต้นว่านหรือหัวว่านซึ่งถ่ายไว้ชัดเจนดีมาก และยังให้รายละเอียดเรื่องฤกษ์ยามคาถาอาคมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับว่านไว้ค่อนข้างแยะ

             

                        2) "ตำราว่าน108 และสมุนไพร" แสวง เพชรศิริ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2523 (เล่ม1-2)ขณะที่เชษฐาเขียนตะลุยดงว่านลงมหัศจรรย์นั้น แสวง เพชรศิริ ก็เขียน "สารพัดว่าน" ลงเดลินิวส์ทุกวันจันทร์เช่นกัน สองแรงกระตุ้นจึงส่งผลให้ความนิยมว่านในช่วงนั้นพุ่งกระฉูด คุณแสวงนั้นได้ครูว่านดี คืออาจารย์มา เครื่องทองดี จากโคกสำโรง ลพบุรี (ผู้เขียนเคยเหมาหัวว่านของอาจารย์ท่านนี้มาปลูกเป็นจำนวนมากหลายอยู่) ตำราว่านของแสวง เพชรศิริ จึงเป็นตำราที่ผิดพลาดน้อยที่สุดในบรรดาตำราว่านยุคเดียวกันนี้

          

                         3) "108 ว่านมหัศจรรย์" ส. เปลี่ยนศรี รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2524 (เล่ม1-2) ท่าน ส. เปลี่ยนศรี ได้เป็นผู้เขียน "ตะลุยดงว่าน" ลงมหัศจรรย์ในช่วงหลังและเขียนอยู่หลายปี ท่านมีความรู้ในเรื่องว่านยาสมุนไพรค่อนข้างดีทีเดียว มีน้อยคนที่รู้ความจริงว่าท่านเป็นพระ เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าราบ ราชบุรี

                         4) "คู่มือดูว่าน" ของสมาคมว่านแห่งประเทศไทย โดยนายโอภาส ขอบเขตต์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2525 ภาพต้นว่านทั้ง 376 ชนิดในตำราเล่มนี้ถ่ายจากต้นจริงที่สวนว่านของอาจารย์หล่อ ขันแก้ว ที่ห้วยจรเข้ นครปฐม คุณโอภาส ขอบเขตต์ นั้นจบวนศาสตร์บัณฑิต ด้วยวิทยานิพนธ์เรื่อง "ลักษณะภายนอก และประโยชน์ของว่านบางชนิด" จบวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เมื่อ พ.ศ.2514 ด้วยวิทยานิพนธ์เรื่อง "สัณฐานวิทยาของว่านบางชนิดในวงศ์ขิง" ส่วนอาจารย์หล่อ ขันแก้ว นั้นเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมว่านแห่งประเทศไทยคนแรก มีความรู้ในเรื่องว่านยาสมุนไพรดีมาก เป็นผู้ที่ปลูกว่านมากกว่า 300 ชนิด ในเนื้อที่ 4 ไร่กว่า (ผู้เขียนเคยเหมาว่านอาจารย์หล่อนี้ มาปลูกมากชนิดที่สุด)

                                           
                            เมื่อ 2 เก่งมาเจอกัน แถมยังมีสมาคมว่านแห่งประเทศไทยการันตีให้อีก ลองนึกดูซิว่าตำราเล่มนี้จะน่าใช้เพียงใด ภาพสีทั้งเล่มเกือบ 400 ภาพ แต่ความหนาแค่เซ็นต์เดียว ราคา 80 บาทเท่านั้นด้วย คิดว่าตามร้านหนังสือเก่าน่าจะยังพอมีหลงเหลืออยู่

                                             ...........................................


                             ถึงแม้ตำราทั้ง 4 เล่มนี้ จะค่อนข้างมีข้อผิดพลาดน้อย แต่ถ้าจะให้ได้ว่านที่ถูกต้องตรงตามที่มีบันทึกอยู่ในตำราดั้งเดิมจริงๆ ก็จำเป็นที่จะต้องมีตำราในยุคก่อนเพื่อไว้ใช้ในการเทียบเคียงตรวจสอบลักษณะว่านอยู่ดี และตำราเก่าที่ผู้เขียนขอแนะนำก็คือเล่มที่ 10 ของสมาคมพฤกษชาตินั่นแหละ คิดว่าหนังสือเล่มนี้ยังคงมีวางขายอยู่แน่ๆ ราคา 60 บาทเอง

 


                          

หมายเลขบันทึก: 168368เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 03:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)

- - หลังจากอ่านแล้วรู้สึกได้เลยครับ ว่าเรื่องว่านนี่เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมากเลย น่าเสียดายที่เดี๋ยวนี้คนที่รู้เรื่องพวกนี้จริงๆ คงมีไม่ค่อยมากแล้ว หนังสือที่มีก็แพงมากๆครับ ผมเคยเจอหนังสือว่านเล่มนึง 600 กว่าบาท ซื้อไม่ไหว จะไปยืนดูนานๆ ก็เกรงใจร้านเค้า แถมยังงงๆ ว่ารูปมันคล้ายๆกันในบางต้น เลยต้องแวะไปถามในเว็บ pantip ครับ

ยังไงก็ขอบคุณนะครับ ที่ให้ความรู้กับผม เอาไว้ผมจะไปหามาปลูกเพิ่ม ถ้าขึนดีจะทยอยไปแจกคนรู้จัก ^^ ผมว่าการให้ต้นไม้บางทีมันดีกว่าให้ของขวัญแบบอื่นด้วยซ้ำ เพราะว่ามันมีคุณค่าและความหมาย แถมเป็นมงคลอีกด้วย แล้วจะแวะมาอีกนะครับ

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่กำลังศึกษาเรื่องว่านอยู่ในขณะนี้ และกำลังปลูกว่านอยู่ ผมหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับว่านได้ 8 เล่ม เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ปี 2550-2551 จำนวน 6 เล่ม และตีพิมพ์ช่วงปี 2540 อีก 2 เล่ม ปัญหาอย่างหนึ่งคือหนังสือแต่ละเล่มกล่าวถึงว่านแต่ที่ตนรู้จักเท่านั้น และเรียกชื่อว่านชนิดเดียวกันแตกต่างกัน เช่น ว่านช้างผสมโขลง บางเล่มว่าว่านพระยาเทครัว ซึ่งเป็นปัญหาต่อนักอนุรักษ์ว่านรุ่นใหม่

คุณ ole ไม่เห็นบอกด้วยล่ะครับว่าได้ตำราเล่มไหนมาบ้าง โดยเฉพาะตำราเก่า ซื้อมาจากที่ไหน มีขายแยะไหม และราคาเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังต้องการหาซื้อตำราอยู่น่ะครับ

ว่านเกือบทุกชนิดแหละครับที่ไม่ได้มีเพียงชื่อเดียว ว่านต้นเดียวกันเมื่ออยู่คนละถิ่นคนละภาคย่อมมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปเป็นของธรรมดา มิหนำซ้ำว่านชื่อเดียวกันยังมีตั้งหลายต้นอีกด้วย นี่ซิคือปัญหาที่น่าปวดหัวเป็นอย่างยิ่ง

ก็เพราะเห็นถึงปัญหาและความสับสนของชื่อว่านนี่แหละครับ ที่ทำให้ผมต้องมานั่งเขียนถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อว่านในตอนที่ 3 และตอนต่อๆ ไป เพื่อให้นักเล่นว่านรุ่นใหม่ๆ ได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเรื่องว่านสืบต่อไปน่ะครับ

1. หนังสือ 108 ว่านมหัศจรรย์ เล่ม 1 แต่งโดย อุทัย ธานี ราคา 190 บาท

2. หนังสือ 108 ว่านมหัศจรรย์ เล่ม 2 แต่งโดย อุทัย ธานี ราคา 190 บาท

3. หนังสือ 108 ว่านมหัศจรรย์ เล่ม 3 แต่งโดย อุทัย ธานี ราคา 190 บาท

หาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ร้านเปิด 08.30 -17.30 น. หยุด เสาร์-อาทิตย์

ที่อยู่

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์

อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน

ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพมหานคร Thailand 10900

โทรศัพท์ 0-2579-9596,0-2942-8063-6

4. หนังสือ ชุมนุมว่านยา และไม้มงคล แต่งโดย บัว ปากช่อง ราคาปก 180 บาท แต่ซื้อที่ร้าน พญาว่าน 108 สวนจตุจักร โครงการ 3 ในราคา 120 บาท มีว่านตัวเป็นๆ ให้ดูด้วย อ้อเกือบลืม ร้านเปิดเฉพาะ เสาร์-อาทิตย์ เท่านั้น เวลา 12.00-18.00 น.

ลองติดต่อดูนะครับที่ 08-5160-3019 และ 08-7798-5973 ติดต่อคุณปวีณา หรือ เจ๊ยี ครับ

หนังสือยังมีให้ท่านที่นิยมปลูกว่าน และนักอนุรักษ์ว่านรุ่นใหม่ ได้ศึกษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย และร่วมอนุรักษ์ว่านเหล่านี้ เพื่อมิให้สูญพันธ์ไปในอนาคต ส่วนหนังสือว่านเล่มอื่นๆ จะทยอย นำมาแนะนำให้ท่านที่สนใจเกี่ยวกับ ว่าน สมุนไพร และไม้มงคล ได้รู้จักกัน ยังอยู่ในตู้หนังสือ อีก 6-7 เล่ม ประมาณวันพรุ่งนี้ หรือ วันถัดจากวันพรุ่งนี้ จะนำมาแนะนำให้ทุกท่านได้ทราบครับ

ต่อนะครับ

5. ตระกูลว่านไทย แต่งโดย โชติอนันต์ และคณะ ราคา 269 บาท

6. ตำรายา และว่านมงคล ตำรับเขาอ้อ แต่งโดย เวทย์ วรวิทย์ ราคา 200 บาท

หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงตำรับยาของสำนักเขาอ้อ เสียเป็นส่วนมาก เช่น ยาประสระไพล ยาประสระแร้งคอดำ ยาแก้สันนิบาต เป็นต้น แต่ที่มีเนื้อหาน่าสนใจนั้น น่าจะเป็นตำราว่านยา ที่บันทึกโดยลายมือของ หลวงพ่อคง หรือ พ่อท่านคง วัดบ้านสวน ศิษย์เอกสำนักเขาอ้อนั่นเอง ว่านบางอย่างผมก็ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน แต่ท่านคัดลอกจากตำราไทย หรือ สมุดข่อย และ ใบลาน ที่เป็นของเก่าใช้ สำนวนเดิมๆ ยิ่งอ่านยิ่งน่าสนใจ เช่น สนังรอด, สมิงคำราม, พระยายา (ไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ หนังสือเขาว่าอย่างนี้) เป็นต้น

7. ว่านอภิมหาโชคลาภ แต่งโดย พฤกษพล ราคา 150 บาท

8. ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย : Medicinal and Lucky Plant of Thailand (ปกแข็ง)แต่งโดย ณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม ราคา 615 บาท (พิมพ์ 4 สี เล่มหนามาก)

9. ว่านสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เสริมมงคลชีวิต แต่งโดย โชติอนันต์ อินทุใสตระกูล และคณะ ราคา 170 บาท

10. คู่มือเรื่องว่านมงคล แต่งโดย อภิชาติ ศรีสอาด, บก.ราคา 150 บาท

รายการที่ 5-10 หาซื้อได้ที่ ซีเอ็ด บุคเซ็นเตอร์ ทุกสาขา ถ้าไม่มีก็ติดต่อที่เคาน์เตอร์ นั่นแหละ แล้วสั่งจองไว้ เขาจัดหาให้ได้ เมื่อหนังสือส่งมาถึงแล้ว เขาจะโทรบอกผู้ที่สั่งจองไว้ รายการที่ 4 ก็สั่งที่ ซีเอ็ด บุคเซ็นเตอร์ ได้เช่นกัน

ต่อนะครับ

11. ว่านยาเสน่ย์มหามงคล เล่ม 2 แต่งโดย รังว่าน อินทุใส ราคา 250 บาท

เล่มนี้บอกลักษณะว่าน 75 ชนิด พิมพ์ 4 สี เป็นหนังสือรวบรวมผลงานการเขียนของ รังว่าน อินทุใส ในหนังสือพิมพ์ มติชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544

12. ว่านยาเสน่ย์มหามงคล เล่ม 3 แต่งโดย รังว่าน อินทุใส ราคา 250 บาท

พิมพ์ 4 สี เป็นหนังสือรวบรวมผลงานการเขียนของ รังว่าน อินทุใส ในหนังสือพิมพ์ มติชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

รายการที่ 11 และ 12 ยังมีให้ท่านผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับว่านสมุนไพรของไทย ได้อ่านและศึกษา ตลอดจนถึงคุณลักษณะของว่านสมุนไพรแต่ละชนิด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

สำนักพิมพ์มติชน

บริษัท มติชน จำกัด (จำกัด)

12 ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ 1

เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

โทรศัพท์ 02-5890020 ต่อ 3324 Fax 02-5800558

หากคุณต้องการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของสำนักพิมพ์มติชน เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อโดยตรง ในเวลาทำการ ( ทุกวัน เวลา 11.00 - 17.30 น.) หรือ ส่งอีเมล์มาที่ [email protected]

เป็นที่น่าเสียดายมากที่ หนังสือ ว่านยาเสน่ย์มหามงคล เล่ม 1 นั้นเพิ่งหมดจากสต๊อก ของสำนักพิมพ์ และไม่มีการพิมพ์เพิ่ม

หมายเหตุ

ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่าผมไม่ได้มีอาชีพขายหนังสือ แต่เป็นหนอนหนังสือ ผมก็ซื้อหนังสือมาอ่านเหมือนกัน ผมเป็นนายช่าง เกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล

ต่อนะครับ

13. หนังสือ "กบิลว่าน 108" แต่งโดย สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2516 ก็ยังมีขาย มีเยอะพอสมควร บอกราคาขายหนังสือ แล้วจะตกใจ ราคา 25 บาท (พิมพ์ไม่ผิดนะครับ ราคา ยี่-สิบ-ห้า-บาท-ถ้วน)ผมมี 4 เล่ม หาซื้อได้ที่ ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ร้านเปิด 08.30 -17.30 น. หยุด เสาร์-อาทิตย์

ที่อยู่

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์

อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพมหานคร Thailand 10900 โทรศัพท์ 0-2579-9596,0-2942-8063-6

รายการที่ 13 นี้เป็นหนังสือ "กบิลว่าน 108" แต่งโดย สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร ปกเป็นสีชมพูครับ เป็นหนังสือเก่านะครับ เหมือนกับที่คุณ San โพสไว้นั่นแหละครับ

อนึ่ง ถ้าข้าพเจ้าเจอะเจอหนังสือเกี่ยวกับว่านไทยเก่าๆ ที่ไหนแล้วละก็ จะเป็นกระจิบกระจอกข่าว หรือ กระบอกเสียง ป่าวประกาศให้รับทราบโดยทั่วกัน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเร่องหนังสือ และที่จำหน่ายนะครับ คุณ ole ตอนนี้กำลังหาๆ ดูอยู่เช่นกันครับ แต่ผมเพิ่งหัดปลูกพวกไม้มงคล เพราะว่าเพิ่งได้จากผู้ใหญ่มาต้นหนึ่ง ตอนนี้เลยไปหาหัวมาปลูก แต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะออกต้นเท่าไหร่ ^^ ยังไงก็จะคอยดูครับ บางหัวก็ไม่รู้ว่าจะเป้นต้นอะไร เลยว่าจะหาซื้อหนังสือที่พอจะน่าเชื่อถือไว้สักหน่อย จะได้รู้ว่าเป็นต้นอะไรกัน สนับสนุนสังคมการอนุรักษ์ว่านครับ ขอบคุณในน้ำใจอีกครั้งนึงครับ

ตอนนี้ สำนักพิมพ์บ้านและสวนออกหนังสือว่าน ที่สมบูรณ์มาก ชื่อ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

ภาพสวยมากครับ รายละเอียดเยอะ ลองไปอ่านกันดูสิครับ คนเขียน ชื่อณรงค์ศักดิ์ คนที่เอาว่านไปโชว์ที่ the Mall ปีก่อน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับคุณjoe

หนังสือในเครือของสำนักพิมพ์บ้านและสวนนี่ไม่เคยทำให้ใครผิดหวังอยู่แล้วละครับ แต่คนเขียนนี่ซิตั้งแต่ได้ฟังคำสัมภาษณ์ และจากการที่เอาว่านดอกทองมาอวดเป็นราคราคะ ทำให้อดฉงนสนเท่ห์เสียมิได้

เดี๋ยวผมเขียนตอนที่ 3เสร็จ ก็คงจะได้รู้กันละครับว่าดีจริงหรือเปล่า เพราะชื่อว่านนี่แหละมันจะเป็นตัวบ่งชี้ได้อย่างดีว่าคนไหนมีความจัดเจนและศึกษาเรื่องว่านมาจริงจังมากน้อยเพียงไหน และการนำเสนอได้ให้ความรู้ที่ถูกต้องตรงตามตำราหรือว่าออกปากอ่าว

ติดตามอ่านอยู่ครับผม

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ไว้ณ.ที่นี้ อนุโมทนาครับ....

อยากเห็นว่านดอกทอง ตัวเมียครับ มีภาพให้ชมไหมครับ

ผมไปหาซื้อที่เกษตร หลายครั้งแล้ว ถามพนักงานแล้ว หนังสือ เก่าๆ ไม่มีครับ

อยากได้ของอุทัยเพราะยังไม่มี ใครมีเมลบอกหน่อยครับ

[email protected]

หนังสือตำราคุณลักษณะว่านและวิธีปลูกว่าน ของอ.เลื่อนยังมีขายรึป่าวคับอยากได้คับซื้อที่ไหนคับ ตอนนี้ซื้อของคุณณรงศักดิ์แล้วอยากได้มาเปรียบเทียบกันนะคับ

คุณkarn ไม่ได้อ่านความเห็นของคุณjoe ในตอนที่ 3 ชื่อว่านหรือครับ ผมไปคัดมาให้อ่านแล้ว อยู่ข้างล่างนี่ครับ

18. joe

เมื่อ อ. 01 ก.ค. 2551 @ 14:14

724120 [ลบ]

คุณปรีชาครับ ลองดูหนังสือ หมายเลข10 ที่คุณซานแนะนำสิครับ ยังมีขาย ที่จตุจักร ตรงข้างห้องน้ำ กลุ่มที่ขายหนังสือ ครับ ถ้าหันหน้าเข้าห้องน้ำจะอยู่ซ้ายมือ

อีกเล่มก็ ของบ้านและสวน แพงหน่อยแต่คุ้ม หนาปึก ลองเทียบชื่อวิทย์แล้ว ก็ ตรงกันมาก

แฮ่ๆเจอแล้วคับ อ่านหลายรอบแล้วนะคงจะเบลอๆ(เพราะคำว่าหมายเลข10 )ขอบคุณ คุณซานครับ ผมก็มือไหม่คับ ชอบปลูกต้นไม้มานานแล้วทุกชนิด แต่(คำว่า)ว่านที่ผมปลูกและรู้จักประมาณ6-7ปีแล้วต้นแรกเลยคือผมไปบ้านแม่ที่อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เห็นตนมันสวยเลยขอคุณตาแกมาปลูก แกบอกว่าชื่อว่านไฟใจดำ แต่จุดสนใจจริงๆเมื่อประมาณ3-4ปีนี่เอง ไปเจอขายหัวว่านที่จตุจักรเลยซื้อมาปลูกมหาปราบ(ชอบชื่อขลังดี)และเสน่ห์จันทร์ขาว(ตายแล้ว)มหาปราบยังอยู่ แต่อยู่ในกระถางตลอด(ตลอด3ฤดู)ยังไม่เจอดอกเลยครับ แล้วผมก็ไปเจอหนังสือว่านของ บัว ปากช่องซื้อมาอ่าน(ทั้งขอนแก่นมีแค่นี่ละมั้ง)เพราะผมหาของนักเขียนอื่นไม่มีคับ(ผมจึงยึดเล่มนี่เป็นหลัก)และแล้วผมก็มาเจอเวบคุณซานนี่และคับ ผมเลยไปซื้อของบ้านและสวนมา สรุปว่าผมมีแค่สองเล่ม อ่านเปรียบเทียบกันแล้วมันก็มีแตกต่างกันเยอะ เล่มไหนน่าเชื่อถือมากกว่าคับ ผมจะได้เร่มสะสมและอนุรักษ์อย่างจริงจัง เพราะตอนนี่มีไม่ถึง10ว่านคับ อยากศึกษาก่อนซื้อ(กลัวโดนหลอกอีก)ขอบคุณครับ

หน้าใหม่และมือใหม่ครับ อยากลองปลูกบ้างแต่ไม่ทราบว่าจะแหล่งที่ขายน่าเชื่อถือได้ที่ไหนช่วยแนะนำด้วยครับ

ร้ายขายว่านปัจจุบันก็คล้ายๆ กันหมดแหละครับ มีทั้งตรงบ้างไม่ตรงบ้าง ขอแนะนำให้เลือกซื้อเฉพาะว่านที่เรารู้จักหรือแน่ใจเสียก่อน แล้วค่อยๆ ศึกษาเรียนรู้หรือถามผู้รู้ให้เข้าใจดีก่อนค่อยซื้อเพิ่มเติมครับ

ว่านไฟใจดำ หน้าตาเป็นยังไงคะ เคยได้ยินแต่ชื่อ แต่ไม่เคยเห็นต้นจริงๆซักที

ขอรบกวนถาม ผมมีว่านอยู่ 3 ต้น ปลูกมาหลายปี แต่ปีนี้ตอนต้นๆ ก็งอกงามดี เเต่อาทิตย์นี้ทำใบ มีจุดเหลืองๆ เต็มไปหมด ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร

อ้อลืมบอกไป ว่านชื่อ เกราะเพชรไพทูร และ ขมิ้นขาวปัดตลอด มหากวัก ก้เป็นเเต่แค่บางใบเท่านั้น ใครทราบช่วยชี้เเนะผมด้วยครับ

ตอบ คุณนินา

ว่านไฟใจดำ เป็นชื่อที่คนทางอีสานใช้เรียก "ว่านไพลดำ" นั่นเองครับ

ตอบคุณ ปิยะ

ว่านทั้งสามชนิดของคุณ เป็นว่านลงหัวแบบขมิ้นครับ ฉะนั้นถ้าใบเค้าจะโดนเพลี้ยลงบ้างหรือเป็นเชื้อราบ้าง ถ้าหากเป็นไม่มากนักก็ไม่ต้องไปสนใจหรอกครับ พอถึงฤดูหนาวยังไงเสียต้นใบเค้าก็ต้องแห้งไปอยู่ดีเหลือเพียงหัวอยู่ในดิน

ผมเคยปลูกว่านโดยยึดตามตำราของท่านนึง (ขอสงวนนาม) ปรากฎว่าล้มเหลว เพราะไม่รู้ลึกซึ้งถึงกลเม็ดเคล็ดลับต่างๆ ของการปลูกที่ถูกต้อง แต่ยังโชคดีครับที่ทำให้ได้รู้ว่าหากว่านออกดอกแล้วจะมีโชคลาภจริงอย่างที่ตำราของผู้ทรงภูมิเรื่อว่านท่านนั้นได้บอกเอาไว้ ตอนนั้นผมปลูกช้างผสมโขลงอยู่ครับ พอออกดอกมาผมซื้อสลากกินแบ่ง ฯ แบบไม่เจาะจงตัวเลขก็ถูกรางวัลได้เงินใช้ และอีกต้นนึงคือเสน่ห์จันทร์ศรีมหาโพธิ์ ซื้อมาจากตลาดนัดจตุจักรครับ จากป้าบุญช่วย พอซื้อมาว่านต้นนี้เค้าก็ออกดอกให้เลย ก็ถูกล๊อตเตอรี่อีกเช่นกันครับ

ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากจะขอคำแนะนำหรือจะขอพบตัวจริงของคุณซานได้ไหมครับ พอดีตอนนี้ผมกลับมาสนใจเรื่องว่านอีกครั้งนึงแล้วครับจึงอยากได้ครูว่านที่มีความรู้คอยแนะนำแนวทางการปลูกว่านที่ถูกต้องครับ เพราะมีคนเคยกล่าวแบบไม่รู้ว่ารู้จริงหรือไม่จริงอย่างไรก็ไม่ทราบได้ ว่า ว่านจะขลังก็ต่อเมื่อเสกคาถาเท่านั้น ไม่ได้มีความขลังในตัวเองมาตั้งแต่แรก

แต่สำหรับผม ๆ เชื่อว่า ว่านนั้นเปนของกายสิทธิ์ มีความขลังในตัวเองตั้งแต่แรกแม้ไม่ต้องอาศัยคนมาปลุกเสกก็ขลัง....

และผมก็ยังเชื่ออีกว่า หากว่าน มีความขลังในตัวเองแต่เริ่มแรก หากเราเอามาปลุกเสก ก็จะกลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ไปเลย......

ขอบคุณทุกทุกท่านอย่างจริงใจด้วยครับสำหรับวิทยาทานครับ

ขออนุญาตแนะนำเวปพูดคุยและจำหน่ายว่านครับ

ใครมีแหล่งขายหนังสื่อว่าน หรือมีอยู่หลายเล่ม ขอความเมตตา *mail* มาที่ [email protected] /0844817615 หน่อยจะนะครับเป็นพระคุณอย่างสูง

ต้นเสน่ห์จันทร์ขาว ออกดอกครั้งหนึ่ง นานไหมครับ นับถึงตอนนี้ 23 ดอกเเล้ว และยังคงออกอยู่ ร่วมๆ สองเดือนเเล้ว ถือว่าผิดปกติไหมครับ ?

ขอขอบคุณ คุณชานที่ช่วยตอบคำถาม ครั้งก่อน ตอนนี้หัวว่าน ทิ้งใบหมดเเล้ว ปลุกคราวหน้า ควรเปลี่ยนดินใหม่ ไหมครับ ?

ธีรศักดิ์ กล้าอาสา

ขายหนังสือว่านเก่าชื่อ สารพัดว่าน อ.เเสวง เล่ม2 1เล่ม สภาพเก่าเก็บพ.ศ 2525 ผมเก็บมานานตอนนี้หนังสือว่านเก่าๆๆหายากมาก เล่มนี้สีทั้งเล่ม ราคา1,100บาท ฟรีค่าส่ง ต้องการโทร 0890607377 เเละรับจัดหาหนังสือว่านรุ่นเก่าๆๆด้วยคับ

มีหนังสือว่านเล่ม 2 ของ อ. แสวง เพชรศิริจำหน่ายครับ ราคา 300 บาท รวมค่าส่งไปรษณีย์ ให้ครับ

คุณเม้ง 086 759 2614

ขอความรู้หน่อยครับ

ผมเพิ่งได้ปลูกเสน่ห์จันทร์ขาวเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา ต่อมาสังเกตว่าใบเริ่มมีจุดเป็นสีเหลืองทั่วใบ ตอนแรกเป็นแค่ใบเดียว ตอนนี้ลามไปทุกใบเลยครับ ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร

ข้อมูลมีดังนี้

กระถางดิน ๑๒ นิ้ว(มีถาดรองน้ำ

ดินปลูกผสมด้วย ใบก้ามปูนิดหน่อย ปุ๋ยคอก มะพร้าวสับ แกลบดำกับข้าวเปลือกก้นกระถางรองด้วยอิฐหัก

ตั้งในที่ร่มตลอดเวลาเพราะกลัวโดนโขมย

รดน้ำเฉพาะเวลาน้ำในถาดเกือบแห้ง(สามวันครั้งนะครับ)

จึงอยากทราบว่าเค้าเป็นโรคอะไรและมีวิธีรักษาเค้าอย่างไร ขอบคุณครับ

เรียนถาม คุณซาน ว่าว่านต้นนี่คือว่าน ปัดตลอดตัวผู้ไหมครับ ?

เพราะว่า ผู้ที่ให้มาว่าเป็นว่านตัวนี้

http://upic.me/i/fp/p1100673large.jpg

http://upic.me/i/xz/p1100649large.jpg

http://upic.me/i/re/p1100668large.jpg

อัพเดทภาพครับ เมื่อกี้ใส่เป็นลิงค์ไป

เรียนถามคุณซาน เรื่องว่านอีกตัวครับ ว่าว่านตัวนี้เป็นว่าน เกราะเพชรไพทูรย์ หรือว่าเป็นว่านไพลดำ เพราะถ้าดูจากลักษณะที่เคยสังเกตุ จะมีส่วนคล้ายไปทางไพลดำเหมือนกัน เลยอยากให้คุณ ซาน ช่วยฟันธงให้หน่อยครับ

คุณกุล คห.ที่ 31

อาจเป็นเพราะคุณใช้ปุ๋ยคอกก็เป็นได้นะ

เพราะโดยปกติแล้วการปลูกว่าน เค้าไม่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ค่ะ

ลองเปลี่ยนดินปลูกดู และอย่ากดดินแน่นเกินไป

ที่บ้านก็มีปลูกไว้ 2 กระถางตอนนี้มีดอกให้ชมเรียบร้อยแล้วคะ : )

รบกวนหน่อยนะคะ อยากได้ "ตำราว่าน108 และสมุนไพร" แสวง เพชรศิริ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2523 (เล่ม1-2)

หาได้ที่ไหน ช่วยหน่อยนะคะ tel 0865170775 หรือ [email protected] ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ถึงคุณ เม้ง ค่ะสนใจหนังสือมากค่ะถ้าจะกรุณาช่วย telกลับหรือรับTelก็ได้ เพราะได้ติดต่อแล้วพี่ไม่รับสาย

อยากได้ด่วนจริงๆๆค่ะ ขอขอบพระคุณนะค่ะ 0865170775

พี่ค่ะหนูอยากรู้ว่าว่านที่พี่ถ่ายรูปมาตัวหลังใบแดงที่ไม่ใช่เกราะเพชรไพทูรย์ มันคือว่านอะไรค่ะใช่เมฆประสิทธิ์หรือป่าวค่ะพอดีหนูอยากได้มากเลยหามานานมากแล้วถ้าใช่ช่วยตอบทีแล้วมีขายหรือป่าวถ้าไม่ใช่เมฆประสิทธิ์แล้วมันคืออะไรหลอมันแปลกดีหนูอยากได้ว่านที่หายากหนูกำลังปลูกว่านทุกชนิดที่มีอยูในตำราว่าน108ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

สวัสดีครับ คือผมอยากเรียญถามว่า หนังสือเกี่ยวกับว่านที่นำมาโพรสนั้นยังมีขายที่ไหนบ่างครับ และราคาเท่าไร จะสั่งซื้อได้ที่ไหนครับ และมีเบอร์โทรติดต่อไหมครับ ขอขอบคุนมากครับ (จาก คนเมืองพระพิษณุโลกสองแคว)

เรียนคุณคนเมืองพระพิษณุโลกสองแคว หนังสือที่คุณถามถึง บางเล่มก็ยังมีอยู่ครับแต่บางเล่ม หายากแล้วเช่นหนังสือว่านของสมาคมว่าน แต่บางเล่มเช่นของอาจารย์แสวง ผมซื้อได้ที่คูณเม้ง บางเล่มผมซื้อที่ร้านหนังสือ โอเดี้ยนบุ๊คสโตร์แถววังบูรพา ยังพอหาได้อยู่ครับ

สวัสดีครับคือผมอยากทราบว่า ว่านเสน่ห์จันทร์ขาวจะมีการกลายพันธุ์ได้หรือเปล่าครับ คือว่านเสน่ห์จันทร์ขาวที่ผมปลูกไว้นั้นน่ะ

ตอนต้นอ่อนๆ ที่แยกหน่อออกมาจากหัวเก่าทีแรก เมื่อเอามาปลูกผมสังเกตุได้ว่าต้นอ่อนทำไมจึงมีสีเขียวปนมาด้วยครับเขียวทั้งก้าน

ตลอดทั้งใบเลยล่ะครับ ผมขออณุญาติช่วยให้คำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับว่านเสน่ห์จันทร์ขาวให้ผมด้วยนะครับ ผมขอโทษนะครับ ที่ต้องรบกวน ขอขอบคุณมากครับ จาก นาย ณรงค์ งามขำ (นักเพิ่งหัดเล่นว่านมือสมัครเล่น)

เรียนคุณ ณรงค์ อยากจะแนะนำไปเยี่ยมชม บอร์ด Magnolia Thailand น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน และรวดเร็วครับ เสน่จันทร์อยู่ในหมวดไม้หัวครับ

คุณณรงค์ ครับ

ว่านเสน่ห์จันทน์ขาวนั้นสามารถกลายเป็นต้นเขียวได้ 2 กรณี คือ

1) ต้นแม่เสน่ห์จันทน์ขาวเมื่อแตกยอดอ่อนมาแล้วใบเปลี่ยนเป็นสีเขียว ในกรณีนี้ส่วนโคนต้นจะยังคงลักษณะของเสน่ห์จันทน์ขาวอยู่ คือเมื่อแตกหน่อออกมาก็จะยังคงเป็นเสน่ห์จันทน์ขาวอยู่เหมือนเดิม

2) เมื่อแตกหน่ออกมาแล้วกลายเป็นสีเขียว(เหมือนดังของคุณณรงค์ที่นำมาถาม) ในกรณีนี้เมื่อเราเลี้ยงหน่อนั้นจนโตแล้วออกหน่อมาก็จะเป็นสีเขียวเช่นนั้นตลอดไป เรียกว่ากลายแล้วกลายเลยไม่คืนกลับ

* ว่านเสน่ห์จันทน์ขาวเมื่อกลายเป็นต้นเขียว จะยังคงมีลักษณะรูปร่างของต้น-ใบเหมือนดังเสน่ห์จันทน์ขาวอยู่ทุกประการ ผิดแต่เส้นใบและก้านใบจะกลายเป็นสีเขียวเท่านั้น แต่จะยังคงเหลือสีขาวให้เห็นอยู่ 2 แถบที่กาบด้านในของโคนก้านใบครับ

*** ต้นสีเขียวที่กลายมาจากว่านเสน่ห์จันทน์ขาวนี้ ก็คือ "ว่านเสน่ห์จันทน์มหาโพธิ์" นั่นเอง ตามตำราดั้งเดิมกล่าวว่าว่านเสน่ห์จันมหาโพธิ์นี้ เป็นว่านที่ทรงอานุภาพสูงที่สุดในบรรดาว่านเสน่ห์จันทน์ทุกชนิดครับ

ผมอยากได้บ้างคร้บ

 

ผมอยากได้หนังสือว่านทั้งห้าเล่มครับไม่รู้จะหาชื้อได้ที่ไหนครับ

สวัสดีครับ คือผมขอรบกวนถามคำถามสักหน่อยนะครับ ถ้าคำถามไหนตอบได้ช่วยตอบให้ปมหน่อยนะครับคือ

๑. เคล็ดลับที่เขาปลูกว่านเสน่ห์จันทร์ขาวให้ต้นใหญ่นั้นเขามีวิธีปลูกและบำรุงรักษาอย่างไรบ้างครับ

๒. ที่ว่ากันว่าว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์นั้นที่จริงแล้วว่ากลายพันธุ์มาจากว่านเสน่ห์จันทร์ขาวนั้นจริงหรือเปล่าครับ

ผมมีคำถามเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ขอความเมตตากรุณาช่วยตอบให้หน่อยนะครับ (ขอขอบคุณมากเลยครับ)

สวัสดีครับ คือผมขอรบกวนถามคำถามสักหน่อยนะครับ ถ้าคำถามไหนตอบได้ช่วยตอบให้ปมหน่อยนะครับคือ

๑. เคล็ดลับที่เขาปลูกว่านเสน่ห์จันทร์ขาวให้ต้นใหญ่นั้นเขามีวิธีปลูกและบำรุงรักษาอย่างไรบ้างครับ

๒. ที่ว่ากันว่าว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์นั้นที่จริงแล้วว่ากลายพันธุ์มาจากว่านเสน่ห์จันทร์ขาวนั้นจริงหรือเปล่าครับ

ผมมีคำถามเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ขอความเมตตากรุณาช่วยตอบให้หน่อยนะครับ (ขอขอบคุณมากเลยครับ)

ช่วยตอบหน่อยครับไวๆๆนะครับ

ว่านเสน่ห์จันทน์เงินเป็นไม้ประสมไหมค่ะ

ว่านมหาโชคของคุณเชษฐา กับว่านเพ็ชรนารายณ์ ต้นเหมือนกันแต่คนละชื่อ แล้วต้นไหนคือมหาโชคของแท้

เรียนคุณซาน

เพิ่งเข้ามาดูครับ ขอความรู้เรื่องว่าน ที่คุณ ปิยะ นำมาลง IP.58.9.1.30 เมื่อวันที่ 15 พค.2553 #1999573

เป็นว่าน ชื่ออะไรหรือครับ ยังพอหาได้หรือไม่ครับ

ช่วยกรุณาให้ความรู้่ด้วยครับ

ขอแสดงความนับถือ

พรเลิศ

อยากทราบว่าถ้าหากเราปลูกว่านแต่มีหลายอย่างการวางว่านติดกันได้หรือไม่

ตอนนี้ไม่รู้ว่า มีหนังสือว่านเล่มไหนบ้าง ที่ยังพอจะหลงเหลือ คงค้าง หรือมีแหล่งที่หาได้จริงๆในปัจจุบัน ช่วยบอกข้อมูลให้หน่อยนะคับ พอดีตามมานานก็ยังได้ไม่ครบเลย ถ้าญาติธรรมท่านไหนจะมาแลกเปลี่ยนหรือมีข้อแนะพิเศษเกี่ยวกับว่าน เชิญมาสนทนาได้ที่ Facebook [email protected] ขอขอบพระคุณล่วงหน้าคับ

คุณสามารถหาอ่านความรู้ที่เกี่ยวกับว่านเพิ่มเติม รวมทั้งสามารถโหลดตำราหลักที่หายากๆ มาอ่านได้ฟรี พร้อมซักถามปัญหาและปรึกษาพูดคุยในทุกเรื่องของว่านได้ที่..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tachaiy

https://www.facebook.com/profile.php?id=100010577946064

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท