เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า


เป่า


 
 
 ประเภทเครื่องเป่า 
เครื่องเป่า    หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้ลมเป่าให้เกิดเสียง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
                1. ประเภทที่มีลิ้น ซึ่งทำด้วยใบไม้  หรือไม้ไผ่  หรือโลหะ   สำหรับเป่าลมเข้าไปในลิ้นๆจะเกิดความเคลื่อนไหวทำให้เกิดเสียงขึ้น เรียกว่า " ลิ้นปี่ " และเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่า " ปี่ "
                2. ประเภทไม่มีลิ้น      มีแต่รูบังคับให้ลมที่เป่าหัก    มุมแล้วเกิดเป็นเสียง เรียกว่า " ขลุ่ย "

            ทั้งปี่และขลุ่ย มีลักษณะเป็นนามว่า " เลา " มีวิธีเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การเป่าด้วยการระบายลม  ซึ่งให้เสียงปี่ดังยาวนานติดต่อกันตลอด

            เครื่องเป่าที่มีลิ้น
            ปี่ในวงการดนตรีไทยมี 9 ชนิดคือ
            1.  ปี่ใน ใช้เป่ากับวงปี่พาทย์ไม้แข็งคู่กับปีนอก    
            2.  ปี่นอก ใช้เป่ากับวงปี่พาทย์ไม้แข็งคู่กับปี่ใน                     
            3.  ปี่นอกต่ำ  ใช้เป่ากับวงปี่พาทย์ในสมัยหนึ่ง                       
            4.  ปี่กลาง  ใช้เป่ากับการแสดงหนังใหญ่                                    
            5.  ปี่ชวา  ใช้เป่ากับปี่พาทย์นางหงส์       และ เครื่องสายปี่ชวา และวงปี่กลอง
            6.  ปี่มอญ  ใช้เป่ากับวงปี่พาทย์มอญ           
            7.  ปี่อ้อ              
            8.  ปี่จุม                                        
            9.  แคน
            เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น
            ปี่ในวงการดนตรีไทยมี 3 ชนิดคือ
            1.  ขลุ่ยหลิบ
            2.  ขลุ่ยอู้
            3.  ขลุ่ยเพียงออ
          
 
 ปี่ใน   เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น   ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มา  แต่โบราณ   ที่เรียกว่า " ปี่ใน "  ก็เพราะว่า  ปี่ชนิดนี้  เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า " เสียงใน "   ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเป็นพื้นฐาน


ตัวเลา   ทำด้วยไม้ชิงชัน หรือไม้พยุง  กลึงให้ป่องกลาง และบานปลายทั้งสองข้าง         ภายในเจาะเป็นรูกลวงตลอดหัวท้าย   มีรูสำหรับเปิดปิดนิ้ว 6 รู       โดยให้ 4  รูบนเรียงลำดับเท่ากัน        เว้นห่างพอควรจึงเจาะอีก 2 รู   ระหว่างช่องตอนกลางของแต่ละรู จะกรีดเป็นเส้น ประมาณ 3 เส้นเพื่อให้สวยงาม   ตอนหัวและตอนท้าย  ของเลาปี่จะมีวัสดุกลมแบน ทำด้วยยาง หรือไม้มาเสริม โดยเฉพาะตอนบนสำหรับสอดใส่ลิ้นปี่เรียกว่า " ทวนบน "  ส่วนตอนล่างจะใช้ตะกั่วมาต่อ     สำหรับลดเลื่อนเสียงเรียกว่า " ทวนล่าง "  ตัวเลาปี่นอกจากจะทำด้วยไม้  แล้วยังพบปี่ซึ่งทำด้วยหิน เป็นของเก่าแต่โบราณ       ลิ้นปี่ประกอบด้วย
กำพวด    ทำด้วยโลหะ     ลักษณะกลมเล็ก  เรียว ภายในโปร่ง   ข้างหนึ่งเล็ก ข้างหนึ่งใหญ่
ใบตาล   ใช้ใบตาลแก่และแกร่ง      ตัดซ้อนเป็น  4 ชั้น หรือ 4 กรีบ       ผูกรัดด้วยเชือกในลักษณะเงื่อน" ตะกรุดเบ็ด "  ให้ติดกับกำพวดทางด้านเล็ก  ส่วน  ทางด้านใหญ่จะถักหรือเคียนด้วยเส้นเล็กๆ มีขนาดพอดีกับรูปี่ด้านบน (รูเป่า) เพื่อสอดใส่ลิ้นปี่ให้แน่น                                 
            หลักการเป่าปี่
             ผู้เป่านั่งในท่าพับเพียบ หรือขัดสมาธิ ลำตัวตรง  จับปี่ให้รูบังคับเสียงอยู่ด้านบน    โดยประเพณีนิยมใช้มือ  อยู่ด้านบน มือซ้ายอยู่ด้านล่าง และให้นิ้วหัวแม่มือค้ำอยู่  ด้านใต้เลาปี่เพื่อให้ปี่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม       ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของทั้งสองมือเปิดปิดรูบังคับ เสียงให้มีเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ ส่วนนิ้วก้อยทั้งสอง จะใช้ประคองปี่       แขนทั้งสองข้างยกขึ้นและกางออกพองาม   ให้ข้อศอกอยู่ต่ำกว่าระดับหัวไหล่    ผู้เป่าต้องอมลิ้นปี่จนริมฝีปากชิดทวนบน ตะแคงลิ้นปี่  45 องศา     การใช้ลมเป่าปี่ ๒ ลักษณะคือ  การใช้ลมตรงจากปอด (ทรวงอก)  และการใช้ลมที่ถูกบังคับจากภายในกระพุ้งแก้ม     ทั้งนี้ใช้สลับกันในลักษณะที่เรียกว่า "ระบายลม "  คือการสูบลมจากจมูกไปเก็บไว้ที่กระพุ้ง แก้ม  แล้วบีบลมจากกระพุ้งแก้มไปยังลิ้น  ในขณะเดียวกัน  ก็สูบลมเข้ามายังกระพุ้งแก้ม  ซึ่งทำต่อเนื่องกัน

            วิธีเป่าปี่ 
            จากหลักการเป่าปี่ดังกล่าว   ก่อให้เกิดวิธีเป่าและเสียงปี่ที่เป็นพื้นฐานดังนี้
            1. เสียงตือ  คือเสียงเร                                                  
            2. เสียงฮอ  คือเสียงเร    (เสียงเดียวกับ เสียงที่ 1 แต่นิ้วต่างกัน
            3. เสียงแฮ  คือเสียงมี                                                  
            4. เสียงฮือฮอๆ  คือเสียงซอล-มี                                   
            5. เสียงตอ  คือเสียงลา                                                
            6. เสียงแต  คือเสียงที                                                  
            7. เสียงอือ  คือเสียงเรบน (แหบ)                     
            8. เสียงอื๊อ  คือเสียงมีบน  (แหบ)                                 
            9. เสียงอือ  คือเสียงเรบน (แหบ)เหมือนกับ เลข ๗
            10. เสียงตอ  คือเสียงลา (เหมือนกับหมายเลข ๕                    
            11. เสียงตือ  คือเสียงซอล  (แต่เป็นเสียงบน  ที่ใช้บังคับนิ้วเช่นเดียวกับตือ-เร   แต่ใช้ลมดันต่างกัน  
            12. เสียงแต่  คือเสียงฟา                                              
            13. เสียงตือ  คือเสียงซอล  (เหมือนหมายเลข ๑๑)
            14. เสียงตอล็อค  คือเสียงลา-   (แต่ต่างกันเนื่องจากการบังคับลิ้นปี่)
            15. เสียงต๋อย คือเสียงลา-เร                                         

            ในวงปี่พาทย์ ปี่มีหน้าที่เป่าโดยดำเนินทำนองถี่ๆบ้าง   โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง     มีวิธีดำเนินทำนองที่ผูกพันเป็นกลอน  อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปี่     ดังที่เรียกว่า " ทางปี่ "  ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีการเป่าดังต่อไปนี้
        --  เป่าเก็บ  เป็นการเป่าดำเนินทำนองด้วยพยางค์ถี่ๆร่วมไปกับทำนองเพลง    ด้วยวิธีระบายลม
        --  เป่าโหย   เป็นการเป่าทำนองบางตอนให้มีเสียงยาวๆ โดยลากผ่านเสียงหนึ่งไปยังอีกเสียงหนึ่ง
        --  เป่าตอด   เป็นการบังคับเสียงให้เกิดความชัดเจน  ด้วยการใช้ลิ้นตอดบริเวณปลายลิ้นปี่
        --  เป่าควงเสียง   เป็นการบังคับเสียงที่ตามออกมา  ในระดับเสียงเดียวกัน
        --  เป่าพรม   เป็นการเป่าให้มีพยางค์ถี่ๆ     ในเสียง เดียวกัน ด้วยการเปิดปิดนิ้วเร็วๆ ซึ่งสามารถทำได้ 2 อย่าง คือ พรมนิ้วเดียว   (เกิดเสียงคู่ 2) และพรม   ๒ นิ้ว (เกิดเสียงคู่สาม)   จะเกิดเสียงถี่ รัวจนริก                   
        --  เป่าปริบ เป็นการบังคับลม และนิ้วให้เกิดเสียงสั่น ในลักษณะสั้น
        --  เป่าครั่น    เป็นการทำให้เสียงปี่สะดุด     สะเทือน   เช่นเดียวกับการขับร้อง 

            นอกจากนั้นปี่ในยังสามารถเป่าล้อเลียนเสียงร้องได้อย่างชัดเจน เช่น เป่าในเพลงฉุยฉาย และสามารถเป่าเดี่ยวประกอบการแสดงได้อย่างสนิทสนม  ในชุด " จับนาง " ด้วยเพลงเชิดนอก

            ในบันดาเครื่องเป่าด้วยกัน ปี่ในเป็นเครื่องเป่าที่มีความพิศดาร มีความเป็นพิเศษ ทั้งตัวปี่ และตัวผู้เป่า กล่าวคือ   

            1. มีรูเป่า 6 รู  แต่สามารถเป่าได้ถึง 17 - 21  เสียง                               
            2. มีรูเป่า 6 รู  ที่เรียงระยะไม่เท่ากัน         แต่สามารถเป่าเสียงได้เรียงกันมากกว่า 6 เสียงขึ้นไป                                
            3. มีวิธีเป่าติดต่อกันยาวนานโดยไม่หยุดหายใจ ด้วยวิธีระบายลม     ซึ่งไม่เหมือนกับเครื่องใดใดในโลก  
                 
 
 ปี่นอก, ปี่นอกต่ำ, ปี่กลาง ทั้งสามชนิด เป็นปี่ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับปี่ในทุกอย่าง เพียงแต่มีขนาดและเสียง ตลอดจนวิธีการนำไปใช้แตกต่างกันคือ

          

ปี่นอก  มีขนาดเล็กสุด      ใช้เป่าในวงปี่พาทย์ชาตรี   ในการเล่นโนราห์ หนังตลุง  และละคอนชาตรี ต่อมาได้เข้ามาบรรเลงผสมในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่และ             เครื่องใหญ่ โดยเป่าควบคู่ไปกับปีใน มีระดับเสียง สูงกว่าปีใน     มีวิธีเป่าคล้ายคลึงกับปี่ใน                  
ปี่นอกต่ำ มีขนาดใหญ่กว่าปี่นอก มีเสียงต่ำกว่าปี่นอก  จึง เรียกว่า " ปี่นอกต่ำ " เคยใช้เป่าในวงปี่พาทย์มอญมาสมัยหนึ่ง  ในปัจจุบันมิได้พบเห็นในวงปี่พาทย์  อาจเป็นด้วยหาคนเป่าได้ยาก หรือความไม่รู้เท่า ตลอดจนความไม่ปราณีตของผู้บรรเลง ที่ใช้ปี่มอญเป่าในขณะบรรเลงเพลงไทยในวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งทำให้อรรถรสของเพลงไทยผิดเพี้ยนไป        
            ต่อมาเมื่อการค้นคว้าหาข้อเปรียบเทียบของปี่ทั้ง 4 ชนิด    พบว่าปี่นอกต่ำใช้เป่าอยู่ในวง " ตุ่มโมง  "  ประกอบพิธีศพของผู้มีบันดาศักดิ์ทางภาคพื้นอิสานใต้มาแต่เดิม  และในการเล่นโนราห์ชาตรีของชาวภาคใต้ในปัจจุบัน พบว่าได้ใช้ปี่นอกต่ำเป่ากันเป็นพื้นฐาน

            สำหรับวิธีการเป่าปี่นอกต่ำ เช่นเดียวกับไปใน และปี่นอก เพียงแต่ใช้นิ้วและเสียงที่แตกต่างกัน

ปี่กลาง    เป็นปี่ที่มีสัดส่วนและเสียงอยู่กลางระหว่างปี่นอกกับปี่ใน จึงเรียกปี่ชนิดนี้ว่า " ปี่กลาง "ใช้เป่าประกอบการเล่นหนังใหญ่มาแต่โบราณ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดให้เกิดเสียง " ทางกลาง " ขึ้น       ปัจจุบันไม่ใคร่ได้พบเห็น มีวิธีการเป่าเช่นเดียวกับปี่นอกและปี่ใน เพียงแต่ผิด กันที่นิ้วและระดับเสียง    
           
 
 ปี่ชวา เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากชวา    เข้าใจว่าเข้ามา  เมืองไทยในคราวเดียวกับกลองแขก  โดยเฉพาะในการเป่าเพลงประกอบการรำ " กริซ "ในเพลง " สะระหม่า "   ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น " ๑ "  พบว่าปี่ชวาใช้เป่าร่วมกับกลองในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคและสถลมาคร      นอกจากนั้นยังพบเห็นปี่ชวาเป่าประกอบการเล่นกระบี่-กระบอง และการชกมวย
            ในงานศพในสมัยโบราณ  ปี่ชวาจะเป่าร่วมวงกับกลองมาลายูที่เรียกว่า " วงกลองสี่ปี่หนึ่ง "  ประโคมเป็นระยะๆ   ต่อมาลดกลองมาลายูเหลือ 2 ลูก เรียกว่า " วงบัวลอย "    ซึ่งเป็นเครื่องประโคมศพมาอีกระยะหนึ่ง   ต่อมาวงบัวลอยได้เข้ามาผสมกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง  โดยเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีบางชิ้นในวงปี่พาทย์ออกเรียกวงนั้นว่า " ปี่พาทย์นางหงส์ "   ใช้บรรเลงประคมในงานศพมาอีกระยะหนึ่ง (ปัจจุบันปี่พาทย์นางหงส์มิได้พบเห็นในงานศพ เพราะนิยมใช้วงปี่พาทย์มอญมาแทน)  ส่วนประกอบและลักษณะของปี่ชวามีดังนี้

ตัวเลา    ทำด้วยไม้จริง แบ่งเป็น 2 ท่อนๆแรก เรียกว่า " เลาปี่ "   กลึงให้กลมเรียวยาว     ภายในโปร่ง ตลอด   ตอนโคนกลึงให้ใหญ่ออกเล็กน้อย   มีลูกแก้วคั้น  ตอนบนของลำปี่   ใต้ลูกแก้วเจาะรู ๗ รูเรียงลำดับ  สำหรับปิดเปิด   และมี " รูนิ้วค้ำ "  อยู่ด้านหลังใกล้กับลูกแก้ว    อีกท่อนหนึ่งเรียกว่า " ลำโพงปี่ "   ทำด้วยไม้จริง  กลึงให้กลมเรียว  ปลายบานเหมือนดอกลำโพง   ภายในโปร่ง  ตอนกลางกลึงเป็นลูกแก้วคั่น   ตอนบนจะหุ้มด้วยแผ่นโลหะบางๆโดยรอบ    สวมรับกับตัวลำปี่ได้พอดี
ลิ้นปี่   ทำด้วยใบตาลแก่ แกร่ง  ตัดพับซ้อนเป็น 4 กลีบ       สอดใส่ในที่ปลาย " กำพวด "  ซึ่งทำด้วยโลหะกลมเล็กยาว  ภายในโปร่ง   ผูกด้วยเชือกเส้นเล็กๆ  ด้วยเงื่อนตระกรุดเบ็ด        เคียนด้วยด้ายที่โคนกำพวด  เพื่อสอดใส่ให้แน่นในรูปี่ เฉพาะลิ้นปี่ชวาจะมี " กระบังลม "  ซึ่งดำด้วยไม้ หรือกะลา บางกลม   สำหรับรองรับริมฝีปากขณะเป่า            สำหรับตัวเลาปี่ชวา  นอกจากจะทำด้วยไม้แล้ว ยังสามารถทำให้สวยงามด้วยงาทั้งเลา หรือทำด้วยไม้ประดับงา
            วิธีเป่าปี่ชวา
            ท่านั่ง
            นั่งท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ลำตัวตรง โดยประเพณีนิยมใช้มือขวาอยู่บน มือซ้ายอยู่ล่าง ปิดเปิดรูด้วยนิ้ว ทั้งสองมือ กางแขนพองาม
            วิธีเป่า
            เป่าด้วยลมในปาก ผ่านลิ้น ด้วยวิธีการใช้ลมตรงจากปอด และเป่าด้วยการเก็บลมจากกระพุ้งแก้มที่เรียกว่า " ระบายลม "   สามารถเป่าได้ถึง 17-20 เสียงเรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง ลักษณะของวิธีเป่ามีดังนี้
            1. เป่าเก็บ    คือการเป่าให้มีพยางค์ถี่ๆ ดำเนิน ติดต่อกันตลอด
            2. เป่าโหย     คือการเป่าที่มีเสียงยาวไหลเลื่อนระหว่างเสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งอย่างสนิทสนม
            3. เป่าตอด    คือการเป่าบังคับเสียงให้เกิดความชัดเจน  ด้วยใช้ลิ้นคนตอดที่ปลายลิ้นปี่
            4. เป่าควงเสียง      คือการเป่าบังคับให้เสียง   ที่ตามออกมาในระดับเดียวกัน โดยใช้นิ้วบังคับต่างกัน
            5. เป่าพรม     คือการเป่าให้มีพยางค์ถี่ๆ ด้วยการขยับนิ้วที่รูปิดเปิดเร็วๆ
            6. เป่าปริบ    คือการเป่าที่บังคับลม และนิ้วให้เสียงสั่น ในลักษณะสั้น
            7. เป่าครั่น    คือการเป่าให้เสียงสะดุด     หรือสะเทือน ด้วยการบังคับลมให้สะเทือนมาจากลำคอเช่นเดียวกับการร้องครั่น
            การเป่าดำเนินทำนองในรูปแบบต่างๆที่เรียกว่า  " ทางปี่ "     
            ลักษณะการใช้ลม
            มี 2 อย่างๆหนึ่ง ใช้ลมตรงจากปอด (ทรวงอก)  อีกอย่างหนึ่ง ใช้ลมจากกระพุ้งแก้มในลักษณะที่เรียกว่า " ระบายลม "

            การเป่าปี่ชวาในรูปแบบต่างๆ
            --  เป่าประกอบการเล่นกระบี่-กระบอง          
            --  เป่าประกอบชกมวย                                               
            --  เป่าวงบัวลอย                                                                     
            --  เป่าในวงเครื่องสายปี่ชวา                
                            
 
 ปี่มอญ เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น  ไทยเราได้แบบอย่างมาจากมอญ    ปัจจุบันยังใช้เป่าอยู่ในวงปี่พาทย์มอญ   มีเสียงดังกังวานมาก  เสียงของปี่ " โหย "   เป็นเสียงที่ไพเราะเยือกเย็น ระคนเศร้า     มีส่วนประกอบดังนี้

           

ตัวเลา   แบ่งเป็น 2 ท่อนๆหนึ่งเรียกว่า " ตัวเลา "   ทำด้วยไม้จริง กลึงให้กลมเรียวยาว    ภายในโปร่งตลอด  ตอนปลายกลึงผายออกเล็กน้อย ถัดลงมากลึงเป็นลูกแก้วคั่น  สำหรับผูกพันเชือกโยงกับตัวลำโพง   ที่ตัวเลาด้านหน้าเจาะรู  7 รู เรียงตามลำดับเพื่อปิดเปิดนิ้วบังคับเสียง   ด้านหลังตอนบนเจาะ อีก 1 รู เป็น " รูนิ้วค้ำ "  อีกท่อนหนึ่งเรียกว่า"ลำโพง" ทำด้วยโลหะทองเหลือง  ลักษณะคล้ายดอกลำโพง แต่ใหญ่กว่า ปลายผายบานงุ้มขึ้น ตอนกลางและตอนปลายตีเป็นลูกแก้ว  ตัวเลาปี่   จะสอดใส่เข้าไปในลำโพง  โดยมีเชือกเคียนเป็นทักษิณาวัฏ ในเงื่อน " สับปลาช่อน " ยึดระหว่างลูกแก้วลำโพงปี่ กับลูกแก้วตอนบนของเลาปี่                                               
ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลแก่ และแกร่ง มีกำพวด   เชือกกระบังลม ลักษณะเช่นเดียวกับลิ้นปี่ชวา    แต่มีขนาด ใหญ่กว่า
            ท่านั่ง
            นั่งในท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ลำคัวตรง  มือขวาอยู่บน มือซ้ายอยู่ล่าง ใช้นิ้วทั้งสี่ของมือทั้งสอง ปิดเปิดรูบังคับเสียง เฉพาะนิ้วหัวแม่มือปิดเปิดรูนิ้วค้ำ

            วิธีเป่า
            เนื่องจากลำโพงปี่ใหญ่มีน้ำหนักมาก เวลาเป่าให้ลำโพงปี่วางกับพื้นเอียง 45 องศา   เสียงปี่จะกระทบพื้น   จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ให้เสียงปี่มอญดังกังวานมาก  วิธีเป่าของปี่มอญ   มีลักษณะคล้ายคลึงกับปี่ชวาผิดกันที่เสียงของปี่  สามารถเป่าจากเสียงต่ำไปหาสูงได้    เสียง มีวิธีเป่าดังนี้
            1. เป่าเป็นเสียงยาวๆ ไล่เสียงเรียงลำดับ                      
            2. เป่าเก็บ                                                       
            3. เป่าโหย                                                                   
            4. เป่าตอด                                                                  
            5. เป่าควงเสียง                                                           
            6. เป่าพรม                                                                  
            7. เป่าครั่น                                                      
            8. เป่าปริบ                                                                  
             เป่าดำเนินทำนอง  โดยผสมวิธีดังกล่าวเป็น " ทางปี่ " สำหรับลมที่ใช้เป่าก็เช่นเดียวกับปี่ชวา และปี่ใน คือ ใช้ลม 2 อย่างๆหนึ่งเป็นลมตรงมาจากปอด  และอีกอย่างหนึ่งลมที่มาจากกระพุ้งแก้ม   อันเนื่องมาจากการระบายลม   
       
 
ปี่อ้อ เป็นปี่ของไทยที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง ตัวเลาทำด้วยไม้ลวกปล้องเดียว   ไม่มีข้อ   เขียนลวดลายด้วยการใช้ไฟลน  หัวและท้ายเลี่ยมด้วยทองเหลือง   หรือเงิน ด้านหน้าเจาะรูสำหรับปิดเปิดนิ้วบังคับเสียง 7 รู   และด้านหลังเป็นรูนิ้วค้ำ 1 รู  ลิ้นปี่นั้นทำด้วยไม้อ้อลำเล็กๆ  เหลาให้บาง ไว้ทางหนึ่งกลม พันด้วยด้ายเพื่อให้กระชับพอที่จะเสียบเข้าไปในเลาปี่    อีกทางหนึ่งผ่าเจียนเป็น 2 ซีก ปลายมน  ตัดไม้แบนเข้าแนบประกบ
            สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ได้ทรงอธิบายถึงกำเนิดวงเครื่องสาย       ทำให้พบว่า  ปี่อ้อเดิมใช้เป่าอยู่ในวงเครื่องสายที่เลียนแบบจีน ซึ่งมี ซอด้วง ซออู้ โดยนำจะเข้และปี่อ้อเข้ามาร่วม      แล้วนำไปผสมกับปี่ชวากลองแขก เรียกวงผสมนี้ว่า " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ซึ่งบรรเลงด้วยผู้ชายล้วน ต่อมาเรียกวงผสมนี้ใหม่ว่า " วงเครื่องสายปี่ชวา "โดยตัดปี่อ้อออก  ใช้ปี่ชวาซึ่งมากับกลองแขกแทน  และในวงเครื่องสายไทยก็ตัดปี่อ้อออก เอาขลุ่ยเพียงออมาเป่าแทน    ปี่อ้อ จึงเลิกหายไปจากวงการดนตรีไทยแต่นั้นมา แต่สำหรับทางภาคอิสาน   โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์   ศรีสะเกษ  ยังคงนิยมใช้เป็นเครื่องดนตรีประจำภาคอิสานใต้  มาจนถึงทุกวันนี้  โดยผสมบรรเลงกับวงกันตรึม ( กลองชนิดหนึ่งที่คล้ายกับโทน ) และตรัวหรือซอกันตรึม ( คล้ายซออู้แต่เล็กกว่า ) และใช้บรรเลงผสมกับวงมโหรีพื้นบ้าน คือ ซอด้วง  ซออู้  จะเข้  ขลุ่ยฯ   บรรเลงในงานรื่นเริงทั่วไป  นอกจากนั้นยังใช้บรรเลงในวง " จ็วลมาคร"  สำหรับทรงเจ้าเข้าผีบำบัดโรค  ประกอบด้วย กันตรึม 2 ลูก   ปี่อ้อ  หรือ ปี่สไล   ตรัวเอก   ฉิ่ง  ฉาบ  บางครั้งมีร้องเคล้าไปกับทำนองดนตรี   เช่นชุดกัลมอร์  
        ปัจจุบันปี่อ้อยังคงนิยมใช้บรรเลงตามวงดังกล่าวอย่างแพร่หลายในภาคพื้นอิสานใต้ บรรเลงเคล้าไปกับร้อง   และบรรเลงเป็นเครื่องนำขบวนแห่ต่างๆ เช่นขบวนแห่ขันหมากเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว
            วิธีเป่า
            เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน   จึงไม่มีกฏระเบียบแบบแผนการเป่าที่เป็นมาตรฐานนัก คงนั่งหรือ ยืนเป่า  อมที่ปลายลิ้นปี่ในลักษณะเม้มริมฝีปากเล็กน้อย  โดยใช้ลมตรงมาจากปอด    และใช้นิ้วของมือทั้งสองข้าง เปิดปิดรูบังคับเสียง
                                                                                          
 
 ปี่จุม เป็นเครื่องเป่าอีกชนิดหนึ่งที่มีลิ้น  ที่ใช้ประกอบกับซอพื้นเมืองของล้านนาไทย     ซึ่งเดิมใช้เป่าแอ่วสาวของหนุ่มชาวเหนือไปตามละแวกหมู่บ้าน   เป็นเครื่องดนตรีประจำภาคเหนือ หรือล้านนา  ปัจจุบันใช้เป่าร่วมสะล้อ   ซึง   กลองเมือง  (หรือกลองโป่งโป้ง)   บรรเลงเพลงที่มีสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ   มีชื่อเป็นนามว่า " เล่ม "

ตัวเลา  ทำด้วยไม้ลวก  ยาวกว่าปี่อ้อ  โดยใช้ไม้ลำเดียวกันทำเป็นปี่จุมคือ    โคนของไม้ทำเป็น  " ปี่แม่ "  ถัดจากโคนไม้จะทำเป็น " ปี่กลางใหญ่ " ถัดจากปี่กลาง  ใหญ่ทำเป็น " ปี่ก้อย "  ส่วนปลายไม้มาทำเป็น " ปี่กลาง " หรือ " ปี่กลางเล็ก " 
            แต่โบราณจะใช้ปี่จุม 3 เล่ม   คือ   ปี่แม่  ปี่กลาง   ปี่ก้อย  ถัดจากนั้นมาจะเป็นปี่จุม 5 เล่ม  คือ
            1. ปี่แม่         มี 6 รู
            2. ปี่กลาง       มี 7 รู
            3. ปี่ก้อย        มี 7 รู
            4. ปี่กลางเล็ก    มี 7 รู
            5. ปี่ก้อยน้อย     มี 7 รู
            ทั้งปี่จุม 3 และปี่จุม 5  ใช้มาประมาณกว่าร้อยปี  ประมาณ 60-70 ปี  เริ่มใช้ปี่จุม 4 เล่ม     โดยตัดปี่ก้อยน้อยออก  ปัจจุบันเห็นว่าปี่แม่มีบทบาทน้อย จึงเอาซึงเข้าเพิ่ม ( ซึงลูกสี่ของซึงกลาง )   จึงกลายเป็นปี่จุม 3 เล่มคือ ปี่กลาง  ปี่ก้อย   ปี่เล็ก        แต่บางโอกาสถ้ามีผู้เป่ามาก      ก็จะเอาปี่แม่เข้ามาเป่าร่วมด้วย เป็น 5 คน   แต่ไม่นับว่าเป็นปี่จุมห้า หรือปี่จุม 5 เล่ม

ตัวเล่ม  ทำด้วยไม้ไผ่ลวก     ทะลวงข้อเอาทางโคน   ซึ่งลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อยเป็นปลาย เอาทางเล็กกว่าเป็นหัว  ตรงหัวตัดให้มีข้อต้น   โดยไม่ทะลวงข้อ             คงเหลือและปล่อยให้ตันไว้   ปาดข้างที่ใกล้จุดหัวเล่มเป็นรูสี่เหลี่ยมผืนผ้า   เจาะทะลุสำหรับสอดลิ้นทอง เหลือง หรือเงิน  ซึ่งตีให้แบบนบาง ปิดรูประกบตรงที่ปาดไว้ที่ลำตัวเลาเจาะรู
7 รู    โดยเจาะให้ชอนทะลุ ขึ้นไปทางหัวที่สอดใส่ลิ้น เพื่อปิดเปิดบังคับเสียง
            วิธีเป่า
            ผู้เป่านั่งท่าขัดสมาธิ หรือไขว่ห้าง(แบบพื้นเมือง)ใช้ปากอมที่หัวเล่มจนมิดลิ้น  เป่าด้วยการระบายลม ซึ่งมีอยู่ 2 แบบคือ ลมนอกและลมใน   ลมนอกคือลมที่ใช้  จากกระพุ้งแก้ม และลมในคือลมที่เป่ามาจากปอด  ซึ่งจะมีเสียงยาวกว่าลมนอก   ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างปิดเปิดรูบัง คับเสียง โดยใช้มือซ้ายอยู่บน    มือขวาอยู่ล่าง ทั้งนี้เพื่อ         มิให้มือขวาติดกับกระพุ้งแก้ม มีวิธีเป่าที่เป็นเสียงดังนี้

            1. เสียงยาว  คือการเป่าให้มีเสียงยาว   ซึ่งใช้ลมใน
            2. เสียงเก็บ    คือการเป่าให้มีพยางค์เสียงถี่ๆ  ติดกันเป็นลำดับ โดยผสมผสานลมนอกกับลมใน ในขณะ เดียวกันก็ตอดลิ้น และตอดลมไปด้วย
            3. เสียงพรม    คือการเป่าที่ขยับนิ้วข้นลงที่รูปิด เปิดด้วยความถี่และเร็ว
            4. เสียงตอดลิ้น     คือการเป่าที่ใช้ลิ้นคน สัมผัสปลายลิ้นปี่
            5. เสียงตอดลม  คือการเป่าเช่นเดียวกับตอดลิ้น แต่ใช้ลมช่วยด้วย
            เดิมปี่จุมจะเป่าเพลงสำเนียงล้านนาได้   ผสมผสานกับเครื่องดนตรีอื่นๆได้ 5 แบบคือ
            1. ใช้เป่าทำนองเพลงเชียงใหม่ โดยบรรเลง  ร่วมกับซึง
            2. ใช้เป่าทำนองเพลงเงี้ยว  ซึ่งใช้ปี่จุมทั้ง 3 เล่ม    หรือร่วมกับซึ่งซึงโดยตัดปี่กลางและปี่แม่ออก
            3. ใช้เป่ากับทำนองเพลงจ๊อย ซึ่งเป็นเพลงที่มีความหมายรำพึงรำพันรัก สำหรับแอ่วสาว    โดยเป่าปี่ก้อยร่วมสะล้อ นิยมเล่นในตอนค่ำคืนที่อากาศสดชื่น คือพวกชายหนุ่มชาวเหนือแต่เดิม  ตกตอนค่ำจะพากันเดินไปตามบ้านที่มีหญิงสาว    แล้วบรรเลงขับร้อง   หรือไม่ก็พากันเดิน " จ๊อย " ไปตามทางในละแวกหมู่บ้าน เฉพาะจ๊อยนี้
จะเล่นกันในหมู่ผู้ชาย
            4. ใช้บรรเลงกับทำนองพระลอ  เป็นการใช้ประกอบในการขับเรื่องพระลอ
            5. ใช้บรรเลงกับทำนองเพลงพม่า                                           
            ปัจจุบัน นำปี่จุมมาบรรเลงผสมร่วมกับ สะล้อ ซึงกลองเมือง ขลุ่ย ตลอดจนเครื่องประกอบจังหวะเรียกว่า " วงพื้นเมืองเหนือ "    บรรเลงด้วยเพลงล้วนๆ และบรรเลงร่วมกับร้องได้อย่างไพเราะ     ตามแบ

คำสำคัญ (Tags): #เป่า
หมายเลขบันทึก: 168048เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)
  • สวัสดีค่ะครูโย่ง
  • โห ขยันจริง ๆ ตามอ่านจนตาลาย 
  • ยังจำไม่ค่อยจะได้
  • สงสัยต้องอ่านหลาย ๆ รอบ ฮ่าๆๆ
  • แต่ที่จำแม่นน้องเคยไหม  อ้าวเรียกน้องเลยแล้วกัน
  • ปี่ที่ทำจากต้นข้าวหนะ  อยากฟังเสียงสูง  ต่ำบอกได้  มีประสบการณ์
  • ได้ความรู้ดีครับ
  • ถ้าตัดเป็นตอน ๆ ประกอบภาพและผังโน้ต  อาจมีคนไปหามาฝึกเป่าฝึกเองก็ได้
  • ผมชอบฝึกแบบนี้  เป็นก็เป็น  ไม่เป็นก็รักไม่ลืม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณ

P  ... RAK-NA ...

  • ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย
  • เรียกน้องก็ได้ครับพี่
  • จะได้เป็นกันเอง
  • เคยครับ ปี่ที่ทำจากต้นข้าว
  • ผมก็ลูกชาวนา
  • มีประสบการณ์เหมือนกันครับ
  • สมัยเด็ก ๆ ก็เอาต้นข้าวนี่แหละครับมาทำ
  • สนุกมากๆ

ขอบคุณ

 P  ครูชา เปิงบ้าน

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายกัน
  • ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ
  • จะพยายามทำนะครับ
  • แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลา
  • ไว้ว่าง ๆ จะหาโน้ตมาฝากนะครับ

โชคดีจังที่เจอกระทู้นี้

กำลังหาข้อมูลให้หลานพอดีเลยคะ

น้องโย่งจ๋า..

หายไปนานนะจ๊ะ..

สบายดีปะ..แวะมาทักทายจ้ะ.คิดถึงงงง^^

ชอบมีความรู้ดี

ขอบคุณมากคับ ผมจะได้ไม่ต้องพิมพ์เองง่ายดี ขอขอบคุณมา ณ ที่นี่ด้วย

ขอบคุณมากเลยคะสำหรับบทความมีประโยชน์จริง ๆ

แต่อยากขอถามเรื่องเสียงปี่คะ คือสงสัยมากเลยว่า ปี่แต่ละรูสามารถเทียบเสียงโน๊ตได้ไหมคะ ถ้าเทียบได้ แต่ละรูเท่ากับเสียงอะไร อยากรู้จริง ๆ

ขอบคุณคะ

ขอบคุงคร่าพี่โย่ง

พี่นี่ สาระดีจริงจริง

ขอบคุณ ครูโย่ง มากค่ะ

ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องปี่ เยอะดีจริงๆ บทความมีประโยชน์มาก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลยนะเนี่ย คราวหลังถ้ามีเพลงที่ใช้ปี่เป่า ขอด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

น้องชายครูโย่งจ๊ะ

  • เป็นความรู้ที่ดีมาก และพี่จะขออนุญาตนำไป ลิงค์ไว้ที่สหวิชาคงได้นะคะ วิทยาทาน เพื่อมวลศิษย์ของผองเราชาวครูค่ะ

อยากรู้จังเลยคะ ว่าปี่นกมีประวัติความเป็นมาอย่างรัย

ขอบคุณนะคร่าครูโย่ง

สนุกมากคะขอบคุนคะ

ขอบคุนมากค่ะเนื้อหาเยอะมาก

รายงานทำได้สมบูรณ์แบบได้คะแนนเต็มเลย

ขอบคุนจริงๆนะค่ะ ^______________^

ขอบคุณมากกกคร้าบ...

ชอบอ่านมีความรู้ดี อยากฝึกเป่าบ้างปี่ใน

ขอบคุณมากค่ะ กำลังหาข้อมูลให้น้องพอดี

ขอให้มีข้อมูลดี ๆ ให้อีกนะคะ ขอบคุณมาก ๆ ๆ ค่ะ

ใช้มือขวาอยู่ด้านบนใช่ใหมครับใช้มือฃ้ายได้ใหม ขอบคุณครับ

แต่อย่างขอถามว่าทำไมไม่เอาประวัติเครื่องดนตรีประเภทเป่ามาลง

tank you ใจมากๆ ครับๆ *-*

ขอบคุนมากคับแต่ผมเป่าเป็นแล้วเป่าเล่นมโนราห์โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราฎร์ธานีด้วยคีบ

เป็นความรู้ที่ดีมาก

ช่วยบอกความเป็นมาของเครื่องดนตรีประเภทสี

ขอบคุณคับ

สาระดีด้วย

แต่ขาดเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้นและมีลิ้น

ถ้ามีภาพคงดีกว่านี้

นะคะ

ถูกจายสุดๆ บางวานถ้าม่ายมีหนางสือโดนตีก้อต้องหานายเนต

จีงป่าวคายอ่านแล้วช่วยตอบหน่อยกูเหงายางม่ายมีแฟนเลยยางโสด

เว๊ยเฮ้ย

ขออนุญาตนำข้อมูลบางส่วนไปทำรายงานนะครับ ^^

ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆครับ

ขออนุญาตนำข้อมูลบางส่วนไปทำรายงานนะครับ ^^

ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆครับ

สอนเป่าปี่ด้วยหรือป่าวครับสนใจเรียน

แล้วเสียงโด หายไปไหน เสียงโด ปีคือเสียงอะไร ไม่เห็นมีบอกเลย

ผมอยากเรียนปี่ให้เป็น มีที่ใหนสอนบ้างครับผมต้องการเรียนจริงๆ(ปี่ชวา)0923952058

ตนตรีไทยเนี่ย ต้องอยู่ในวงการจริงๆ จึงจะมีความต่อเนื่อง เคยหัดเป่าปีใน และปี่ชวา ช่วงเวลาหนึ่ง ใจรักอย่างเดียวไม่พอ นอกจากจะต้องอยูในวงการ สภาพแวดล้อมแล้ว สุดท้ายก็ต้องถอดใจ ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น หาที่ฝึกเป่าไม่ได้เพราะเสียงดัง และเพราะไม่ใช่นักดนตรี แต่หลงใหลเสียงปี่อย่างมาก อย่างไรก็ตาม อย่างน้อย ก็ได้เพลงมาบ้าง ลม นิ้ว และการตัดลิ้นปี่ เป็นความรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท