เครื่องดนตรีไทยประเภทสี


สี

ประเภทเครื่องสี  
หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งที่มีสาย  ทำให้เกิดเสียงได้โดยการใช้สี  เครื่องดนตรีประเภทนี้  ในวงการดนตรีไทยได้แก่
                 1.  ซอด้วง
                 2.  ซออู้
                 3.  ซอสามสาย
                 4.  สะล้อ
    
 
ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มี 2 สาย  ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรี
ของจีน  ร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายเมื่อราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์  หรือถ้าก่อนนั้นก็คงราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันกับซออู้   มีหน้าที่เป็นผู้ทำทำนองเพลง    สีเก็บถี่ๆบ้าง  โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง  เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง  และเป็นผู้นำวง ด้วยเหตุที่เรียก "ซอด้วง"  ก็เพราะว่ากะโหลกซอนั้น  มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ด้วงดักแย้"  ส่วนประกอบของซอด้วงมีดังนี้

กะโหลกทำด้วยไม้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกลำตัวมีกระพุ้งเล็กน้อย    ตอนปลายผาย  ภายในเจาะแต่เป็นโพรง  ใกล้หน้าขึ้นหนังจะเจาะรู 2 รูเพื่อสอดใส่ไม้คันทวน
หน้าซอ  ขึ้นด้วยหนังงูเหลือมหนังลูกแพะ หรือหนังลูกวัว
คันทวน  ทำด้วยไม้มีส่วนประกอบดังนี้                
เดือย  เป็นส่วนล่างสุดกลึงให้เล็ก  เพื่อสอดใส่เข้าไปในรูกะโหลกตอนบนทะลุออกตอนล่าง เล็กน้อย
เท้าช้าง  กลึงลักษณะกลมเพื่อยึดติดกะโหลกซอตอนบน
ลูกแก้ว  กลึงเป็นวงกลมรอบไม้ต่อจากเท้าช้าง
เส้นลวด  กลึงเป็นวงเส้นนูนเล็กๆห่างจากลูกแก้วขึ้นมาเล็กน้อย
บัวกลึงบากให้เป็นเหลี่ยมเพื่อให้รับกับโขนซอ
โขนซอที่ปลายคันทวน  จะกลึงเป็นทรงสี่เหลี่ยมโค้งไปทางหลังเล็กน้อย เรียกว่า"โขนซอ" และที่โขนซอเจาะรู๒รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด               
ลูกบิด  ทำด้วยไม้กลึงหัวใหญ่มีลักษณะ เป็นลูกแก้ว  ก้านบัวประดับเม็ด ปลายกลมเรียวแหลม  เพื่อสอดใส่ในรูลูกบิด  ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องเล็กสำหรับพันผูกสายซอบิดลดเร่งเสียง                                   
สายใช้สายไหมทั้ง 2 เส้นๆหนึ่งเป็นสายเอก  อีกเส้นหนึ่งเป็นสายทุ้ม   ต่อมาใช้สายเอ็นผูกที่เดือนใต้กะโหลกผ่าน "หย่อง" ซึ่งทำด้วยไม้เล็ก เพื่อหนุนสายให้ลอยตัวผ่านหนังหน้าซอไปยังลูกบิดและไปพันผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสอง  ก่อนถึงลูกบิดบริเวณใกล้บัว ใช้เชือกรัดสายให้ตึงห่างจากคันทวนพอประมาณเรียกว่า   "รัดอก"    
คันชัก  ทำด้วยไม้กลึงกลมโค้งเล็กน้อย    ตอนหัวและหางกลึงเป็นลูกแก้ว ตอนล่างจะกลึงไม้นูนกลมออกมาจากคันซอเล็กน้อย เพื่อคล้องหางม้า  สำหรับตอนบนเจาะรูเพื่อสอดใส่หางม้าที่มีจำนวนหลายๆเส้น  โดยขมวดไว้ที่ปลายคันซอ   โดยปกติคันชักของซอด้วงและซออู้จะอยู่ในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม
            เพื่อให้สวยงามนิยมแกะสลักฝังมุขเป็นลวดลายต่างๆสวยงาม  บางคันทำด้วยงาทั้งคัน  ตลอดจนกะโหลกหรือลูกบิดก็เป็นงาด้วย

หลักการสีซอด้วง
                 ผู้สีนั่งท่าพับเพียบ  ลำตัวตรง  มือซ้ายจับคันทวน  ให้ฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว ไม่หักหรืองอข้อมืออยู่ใต้รัดอก  คันทวนอยู่ชิดง่ามนิ้ว    ระหว่างนิ้วหัวมือกับนิ้วชี้นิ้วหัวแม่มืออยู่ในท่าประคองคันทวน  กระบอกซอวางอยู่ประมาณกึ่งกางของหน้าขาซ้าย     คันทวนอยู่ในแนวตั้ง  แขนซ้ายอยู่ในท่างอข้อศอกห่างจากลำตัวพองาม    มือขวาหงายมือจับคันทวนแบบสามหยิบ  ให้คันชักขนานพื้น  วิธีจับแบบสมาหยิบ  คือ  มือขวาจับคันชักห่างจากหมุดตรึงหางม้าในช่วงไม่เกินหนึ่งฝ่ามือ  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วนางจับก้านคันชัก  และให้นิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนคันชักนิ้วชี้และนิ้วกลางรองรับอยู่ด้านล่าง     ส่วนนิ้วนางสอดเข้าไปในระหว่างก้านคันชักกับกับหางม้า  โดยเรียงลำดับให้สวยงาม  แขนขวาไม่หนีบหรือกางข้อศอกจนเกินงาม

วิธีสีซอด้วงมีดังนี้

            1. สีไล่เสียง  ด้วยการกดสายทีละนิ้ว  ยกเว้นนิ้วก้อย
            2. สีไล่เสียง  โดยใช้นิ้วก้อย 9 เสียง                             
            3. สีเก็บ  คือการสีด้วยพยางค์ถี่ๆโดยตลอดเป็นทำนองเพลง
            4. สีสะบัด  คือการสีที่มีพยางค์ถี่และเร็ว โดยมากเป็น 3 พยางค์
            5. สีนิ้วพรมเปิด  คือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงช้า
            6. สีนิ้วพรมปิด  คือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงถี่ๆ
            7. สีนิ้วประ  คือการสีสายเปล่าใช้กลางนิ้วของนิ้วกลางแตะขึ้นลงที่สาย
            8. สีครั่น  คือการใช้นิ้วกดยืนเสียงตามด้วยนิ้วกลางและใช้นิ้วกลางเลื่อนขึ้นเลื่อนลง
            9. สีสะอึก  คือการสีให้เสียงขาดเป็นตอนๆ                            
          10. สีรัว  คือการใช้ส่วนปลายของคันชักสีออกสีเข้าสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและ เร็วที่สุด
          11. สีดำเนินทำนองเพลงเป็นทางของจะเข้                     
    
 
ซออู้  เป็นเครื่องสีอีกประเภทหนึ่งที่เป็นคู่มากับซอด้วง  เข้าใจว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ชนชาติจีนเล่นมาก่อน  มารวมเล่นเป็นวงเครื่องสายในระยะเดียวกับซอด้วง    มีหน้าที่สีดำเนินทำนองเพลงในลักษณะหยอกยั่วเย้าไปกับผู้ทำทำนองเพลงบางครั้งใช้สีคลอไปกับร้อง  ด้วยภายหลังเมื่อมีวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์ไม้นวม  จึงได้นำซออู้เข้ามาบรรเลงร่วมด้วย   ส่วนประกอบของซออู้มีดังนี้

กะโหลกซอ  ทำด้วยกะลามะพร้าว  โดยเฉพาะกะลามะพร้าวที่มีลักษณะ กลมรีขนาดใหญ่  นำมาปาดกะลาออกด้านหนึ่ง  เพื่อขึงหรือขึ้นหน้าซอ  ที่ตัวกะโหลกนั้นขัดเกลาให้เรียบ  บางกะโหลกด้านหลังที่เจาะเป็นรู  แกะลวดลายต่างๆให้สวยงาม เพื่อใช้เป็นรูระบายเสียงไปในตัว  ส่วนตอนบนเจาะรูทะลุตรงกลางเพื่อสอดใส่คันทวน        
คันทวน  ทำด้วยไม้แก่น  กลึงเหลาให้กลมมีลักษณะเรียวยาว  โคนเล็ก ปลายขยายใหญ่ขึ้นคันทวน    
เดือย  กลึงเล็กเรียวยาวพอทะลุกะโหลกด้านล่างเพื่อไว้ผูกสาย
เท้าช้าง  กลึงกลมโดยรอบเพื่อยึดกับกะโหลก
ลูกแก้ว  กลึงกลมโดยรอบต่อจากเท้าช้าง              
เส้นลวด  กลึงกลมโดยรอบ  โดยห่างจากลูกแก้วเล็กน้อย
            จากเส้นลวดจะกลึงให้มีขนาดเรียวใหญ่ขึ้นไปจนถึงปลายเรียกว่า"ทวนปลาย" ที่บริเวณทวนปลายจะกลึงเป็นลูกแก้ว 3 ช่วงห่างกันพอประมาณ  ระหว่างช่วงลูกแก้ว ทั้งสามเจาะรู 2 รูสำหรับสอดใส่ลูกบิด  ปลายสุดของทวนบนจะกลึงคล้ายลูกแก้ว    ตรงกลางขอบสุดจะกลึงขีดเป็นเส้นวงกลม  สำหรับปลายทวนของซออู้จะเป็นไม้ตัน แต่ทวนบนของซอสามสายจะเป็นโพรงภายใน

ลูกบิด ทำด้วยไม้แก่นกลึงกลมหัวใหญ่ ประกอบลูกแก้ว    ปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ในรูคัน       ทวนตอนปลายสุดเจาะรูเล็กเพื่อผูกพันสายซอ                       
สายใช้สายไหมหรือสายเอ็น 2 เส้น  ผูกที่เดือยใต้กะโหลกขึงผ่าน"หมอน" ซึ่งทำด้วยผ้า  พันลักษณะกลมสำหรับหนุนสายให้ผ่านหน้าซอและไปผ่านหมอนไปถึงลูกบิด  พันผูกที่ลูกบิดทั้งสอง  ก่อนถึงลูกบิดจะใช้เชือกมัดสายทั้งสองกับคันทวนให้ห่างพอประมาณเรียกว่า " รัดอก "      เพื่อให้เสียงไพเราะยิ่งขึ้น
คันชัก  ทำด้วยไม้แก่น  เหลากลมยาว  มีลักษณะเช่นเดียวกับคันชักซอด้วงและสอดใส่อยู่ในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม  เพื่อให้สวยงาม  นิยมแกะสลักเป็นลวดลายประดับมุขเป็นลวดลายต่างๆสวยงามบางคันทำด้วยงาทั้งคัน
            หลักการสีซออู้

            ผู้สีนั่งท่าพับเพียบ  ลำตัวตรง  มือซ้ายจับคันทวนให้ฝ่ามือหันเข้าหาลำตัว  ไม่หักหรืองอ         ข้อมืออยู่ใต้รัดอก  คันทวนอยู่ชิดง่ามนิ้ว  ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ นิ้วหัวแม่มืออยู่ในท่าประคองคันทวน  กระบอกซอวางอยู่ประมาณกึ่งกางหน้าขาซ้าย  คันทวนอยู่ในแนวตั้ง  แขนซ้ายอยู่ในท่างอข้อศอกห่างจากลำตัวพองาม มือขวาหงายมือจับคันทวนแบบสามหยิบ  ให้คันชักขนานพื้น  วิธีจับแบบสามหยิบ  คือมือขวาจับคันชักห่างจากหมุดตรึงหางม้าในช่วงไม่เกินหนึ่งฝ่ามือ      โดยใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วนางจับก้านคันชัก    และให้นิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนคันชักนิ้วชี้และนิ้วกลางรองรับอยู่ด้านล่าง  ส่วนนิ้วนางสอดเข้าไปในระหว่างก้านคันชักกับหางม้า โดยเรียงลำดับให้สวยงาม  แขนขวาไม่หนีบหรือกางข้อศอกจนเกินงาม

วิธีสีซออู้มีดังนี้

            1. สีไล่เสียง  ด้วยการกดสายทีละนิ้วยกเว้นนิ้วก้อย
            2. สีไล่เสียง  โดยใช้นิ้วก้อย ๙ เสียง                            
            3. สีเก็บ  คือการสีด้วยพยางค์ถี่ๆโดยตลอดเป็นทำนองเพลง
            4. สีสะบัด  คือการสีที่มีพยางค์ถี่และเร็ว  โดยมากเป็น 3  พยางค์
            5. สีนิ้วพรมเปิด  คือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงช้า
            6. สีนิ้วพรมปิด  คือสีกดนิ้วลงที่สายในลักษณะแตะขึ้นแตะลงถี่ๆ
            7. สีนิ้วประ  คือการสีสายเปล่าใช้กลางนิ้วของนิ้วกลางแตะขึ้นลงที่สาย
            8. สีรัว คือการใช้ส่วนปลายของคันชักสีออกสีเข้าสลับกันด้วยพยางค์ถี่ๆและเร็วที่สุด
            9. สีดำเนินทำนองเพลงเป็นทางของจะเข้     
          
 
ซอสามสาย  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่เก่ามาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยมีวิธีการประดิษฐ์ลักษณะของซอได้อย่างปราณีต สวยงาม  มีเสียงไพเราะนุ่มนวล  เดิมใช้เป็นเครื่องประกอบในพระราชพิธี  โดยเฉพาะในวง" ขับไม้ "  ซึ่งใช้บรรเลงขับกล่อมในพระราชพิธี " กล่อมพระอู่ " หรือพระราชพิธี " สมโภชน์ขึ้นระวางช้างต้น " ( พิธีกล่อมช้าง ) เป็นต้น  ส่วนประกอบของซอสามสายมีดังนี้

กะโหลก  ทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดที่มีลักษณะนูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม คล้ายวงแหวน 3 อัน  วางอยู่ในรูปสามเหลี่ยมจึงเป็นสามเส้า    ผ่ากะลาให้เหลือปุ่มสามเส้า เพื่อใช้เป็นกะโหลกซอ  ขึงขึ้นหน้าซอด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว   โดยปิดปากกะลา  ขนาดของหน้าซอจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับกะลาที่จะหามาได้ที่กะลา ด้านบนและด้านล่างเจาะรูเพื่อสอดใส่ไม้ยึดคันทวน  โดยให้โผล่ตอนบนยาวกว่าตอนล่าง
คันทวน  ทำด้วยไม้แก่นประกบต่อจากกะโหลกซึ่งมี ๓ ตอนคือ
ทวนล่าง  ประกอบด้วย " ปากช้างล่าง "   บากไม้ภายในให้รับกับตอนล่าง ของกะโหลก  ถัดจากปากช้างล่างมี " รูร้อยหนวดพราหมณ์ " คือการควั้นเชือกติดกับ เนื้อไม้เพื่อสำหรับผูกพันสายซอ  จากนั้นจะกลึงไม้แก่นเป็นวงๆเรียงลำดับลดหลั่นลงมาเรียกว่า " เส้นลวด "  ต่อจากนั้นจะกลึงเป็น " ลูกแก้ว " คั่นกลาง   แล้วต่อด้วยเส้นลวด ขนาดลดหลั่นเล็กลงไป   ล่างสุดจะทำเป็นเท้าซอซึ่งทำด้วยโลหะกลึงกลมปลายแหลมเพื่อตรึงยึดกับพื้น  ขณะสี  ทวนล่างจะสอดเข้าไปในไม้ยึดประกบชิดติดกับกะโหลกซอด้านล่างทวนกลาง กลึงลักษณะกลมยาวภายในโปร่ง  เพื่อสอดเข้าไปในไม้ยึด  ตอนโคนเรียบ  จากนั้นจะกลึงเป็นแหวนเรียงลำดับลดหลั่นขึ้นไป         ตอนปลายนิยมแกะสลักประกอบมุขหรืองาเป็นลวดลายต่างๆ
ทวนบน  กลึงลักษณะกลมภายในโปร่งเรียวใหญ่ขึ้น  มีเส้นลวด 4 เส้นๆที่ ๑-๒-๓ เจาะรูทะลุ  สำหรับสอดใส่ลูกบิด  และเจาะรูสำหรับสายซออีกรูหนึ่ง           บริเวณใกล้ตอนรอยต่อทวนกลางกับทวนบน  ปลายคันทวนเรียกว่า " ลำโพง "  จะบานผายออก     ปลายสุดจะกลึงเป็นเส้นลวดโดยรอบไว้                                     
ลูกบิด  ทำด้วยไม้  กลึงกลมเรียว  ตอนหัวกลึงเป็นรูปเม็ด   ตอนปลายเรียวเล็กลงเพื่อสอดใส่ในรูคันทวนปลาย   ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องไว้สำหรับพันผูกสายซอ           
สายซอ  ใช้สายไหมหรือสายเอ็นพันผูกกับหนวดพราหมณ์ที่ทวนล่าง  ขึงผ่านหน้าซอผาดไว้บน " หย่อง " ซึ่งทำด้วยไม้หรืองา  โค้งติดไว้ที่หน้าซอตอนบน  เพื่อหนุนสายให้ลอยเหนือคันทวนกลาง                           
            ปลายทวนกลางจะนำเชือกไหมมารัดสายทั้ง 3 เส้นติดไว้กับคันซอหลายรอบเรียกว่า " รัดอก " จากนั้นนำสายไหมทั้ง ๓ เส้นจะสอดเข้าไปในรูทวนบนเพื่อไปผูกพันที่ปลายลูกบิด  ที่หน้าหนังซอจะใช้รักก้อนเล็กๆประดับด้วยเพชรพลอย     สำหรับเป็นเครื่องถ่วงเสียงให้เกิดกังวานดังไพเราะยิ่งขึ้น

คันชัก  ทำด้วยไม้กลมยาว  ตอนปลายโค้ง  ใช้หางม้าหลายเส้นผูกรวมกันจากปลายคันชักมาสู่โคนคันชัก  โดยการนำเชือกอีกเส้นหนึ่งมามัดไว้กับโคนคันชัก     เพื่อความสวยงาม  ที่ปลายหางม้าจะถักหางเปีย  ที่โคนคันชักจะดัดไม้โค้งงอเล็กน้อย
            หลักการสีซอสามสาย

            นิยมนั่งในท่าพับเพียบ  ให้เท้าของซอปักลงตรงหน้าที่นั่ง  มือขวาจับคันชักสีเข้า-ออกโดยผ่านสายทั้งสาม  ขณะเดียวกันก็ใช้นิ้วของมือข้างซ้ายกดสายให้แนบชิดติดกับคันทวนกลางเพื่อให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ  และจะใช้อุ้งมือบังคับคันซอหันไปมาเพื่อให้สายสัมผัสกับคันชัก  ซึ่งจะทำให้เกิดเสียง  2 แบบคือ

1. สีดังเป็นเสียงเดียว                                      
                2. สีดังเป็นสองเสียงพร้อมกันเป็นเสียงประสานที่ไพเราะอันเป็นลักษณะของซอสามสาย ต่อมาภายหลังนิยมนำซอสามสายเข้าร่วมบรรเลงกับวงเครื่องดนตรีอื่น ๆ เช่น เข้าร่วมบรรเลงในวง " มโหรี " (คือวงที่มีเครื่องสายกับเครื่องตีในวงปี่พาทย์ผสมกันโดยย่อสัดส่วนเครื่องดนตรีในวงเครื่องตีหรือวงปี่พาทย์ให้เล็กลงทั้งนี้       เพื่อให้เสียงกลมกลืนกับเครื่องสาย) มีหน้าที่บรรเลงคลอไปกับเสียงร้อง และบรรเลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีอื่นๆตามทำนองเพลง
            เมื่อวงมโหรีขยายขนาดของวงใหญ่ขึ้น   ซอสามสายจึงมีเพิ่มขึ้นอีกคันหนึ่งแต่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า " ซอสามสายหลิบ " บรรเลงคู่กันไปกับซอที่มีอยู่เดิม  แต่ไม่มีหน้าที่คลอเสียงไปกับคนร้อง  เพียงแต่ช่วยดำเนินทำนอง  สอดแทรกแซงในทางเสียงสูง

            วิธีสีซอสามสายเพื่อให้เกิดเสียงมีดังนี้

            1. การสีสายเปล่าแบบไกวเปล  คือการสีที่ใช้มือขวาจับคันชักแบบสามหยิบ
มือซ้ายกดสายให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ  ในขณะเดียวกันจะหันหรือพลิกหน้าซอไปมาให้สายรับกับคันชักมีลักษณะเหมือนไกวเปล
            2. การสีไล่เสียง  คือการสีที่ไล่เสียงไปตามลำดับสูงต่ำ
            3. การสีพร้อมกันทั้งสองสายเปล่าให้เกิดเสียง คู่สี่ล่างและคู่สี่บน
            4. สีเก็บ  คือการสีให้มีพยางค์ถี่ๆโดยตลอด                
            5. สีนิ้วประ  คือการใช้นิ้วชี้กดยืนเสียงใดเสียงหนึ่งและใช้นิ้วกลางกดขึ้นลงจะเกิดเสียงห่างๆเท่าๆกัน
            6. นิ้วพรม  คือการทำเช่นเดียวกับนิ้วประ  แต่ยกนิ้วกลางที่กดขึ้นลงให้เกิดเสียงถี่ๆกว่านิ้วประ
            7.สีนิ้วแอ้  คือการใช้นิ้วชี้แตะตรงตำแหน่งรัดอกและเลื่อนนิ้วมายังตำแหน่งของเสียงทีหนึ่งพร้อมทั้งสีคันชักออก
            8. สีนิ้วครั่น  คือการใช้นิ้วชี้กับนิ้วนางเรียงชิดติดกันกดลงบนสายพร้อมทั้งเลื่อนนิ้วขึ้นลงให้เกิดครึ่งเสียงและตามด้วยการพรมนิ้ว
            9. การสีดำเนินทำนองเพลงทำให้เกิดเป็นทางเฉพาะของซอสามสาย      
            
 
 สะล้อ  เป็นเครื่องสีอีกอย่างหนึ่งนิยมบรรเลงเล่นกันในภาคเหนือของไทยดังมีชื่อเรียกกันว่า " วงสะล้อซอซึง " เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไปแอ่วสาว   ต่อมาใช้บรรเลงรวมวงกับซึงและปี่จุม เรียกว่า " วงดนตรีพื้นเมืองเหนือ " สามารถบรรเลงเพลงสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ  เช่นเพลงละม้าย  จะปุ  อื่อ  ประสาทไหว  เพลงเชียงใหม่ฯเป็นต้น   เดิมเป็นเครื่องสีที่มี 2 สาย  สีด้วยคันชักคล้ายซอด้วง   มีวิธีการประดิษฐ์ไม่สู้ปราณีตนัก  ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้าน

ต่อมาภายหลังพบว่าได้มีการสร้างสะล้อขึ้นด้วยความปราณีตสวยงามขึ้นและเพิ่มสะล้อขึ้นเป็น 3 ขนาดคือ
                1. สะล้อเล็กมี 2 สาย                                                   
                2. สะล้อกลางมี 2 สายแต่ใหญ่กว่าสะล้อเล็ก              
                3. สะล้อใหญ่มี 3 สายขนาดใหญ่กว่าสะล้อกลาง

ทั้ง 3 ระดับได้ทำขึ้นอย่างปราณีตโดยคันทวนทำด้วยงา  ที่กะโหลกก็ประดับงาบางคันทำด้วยไม้แต่ประกอบด้วยงา  ส่วนประกอบของสะล้อมีดังนี้

กะโหลก  ทำด้วยกะลามะพร้าว  ไม่ใหญ่เหมือนกะโหลกซออู้  ตัดปาดครึ่งลูกสำหรับขึ้นหน้า  ด้านหลังเจาะเป็นช่องระบายเสียงมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ  ตอนบนเจาะรูทะลุด้านล่างเพื่อสอดใส่ไม้คันซอ
คันทวน  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งกลึงกลม เรียวยาว  ตอนล่างเล็ก      ตอนปลายจะขยายใหญ่ขึ้น  ตอนล่างสุดจะสร้างคล้ายกับทวนล่างของซอสามสาย        แต่เล็กกว่าคือกลึงเป็นเส้นลวดเรียงตามลำดับ  มีเท้าซึ่งทำด้วยโลหะแหลมสำหรับปักลงกับพื้น  ( บางคันคันไม่ได้ทำเท้าเป็นโละ) ช่วงต่อจากกะโหลกจะกลึงเป็นเส้นลวดโดยรอบห่างพอสมควร  กลึงเส้นลวดอีกอันหนึ่ง  ส่วนตอนบนกลึงลูกแก้ว 2 ลูก  ตรงช่องกลางลูกแก้วเจาะเป็นรู 2 รูทะแยงกันสูงต่ำกันเล็กน้อยเพื่อสอดใส่ลูกบิด  ที่ปลายสุดของคันซอ  ( ทวนปลาย ) จะกลึงเป็นเม็ดเพื่อความสวยงาม
ลูกบิด  ทำด้วยไม้กลึงกลมเรียวหัวกลึงเป็นเม็ดปลายเรียวแหลมสำหรับ
สอดใส่ในรูคันซอ                   
หน้าซอ  ทำด้วยไม้แผ่นบางๆปิดหน้ากะลา                       
สายใช้สายลวด ๒ สายผูกกับหลัก ซึ่งทำด้วยไม้หรือโลหะโค้งเล็กน้อย  ลากสายผ่าน" หย่อง " ซึ่งทำด้วยไม้ลักษณะเป็น ๓ เหลี่ยมเพื่อหนุนสายให้ลอยตัว   จากนั้นลากผ่านคันซอขึ้นไปพันผูกที่ลูกบิดทั้งสอง   ก่อนถึงลูกบิดจะใช้หวายมัดให้สายติดกับคับซอเรียกว่า " รัดอก " การที่ใช้หวายมัดเป็นรัดอกจะทำให้เสียงกังวานและแกร่งขึ้น  ในระหว่างรัดอกจะมี" จิม " ซึ่งทำด้วยไม้แผ่นบางๆมายัดให้แน่นขณะเลื่อนรัดอก  เพื่อหาเสียงที่ไพเราะ
คันชักมีลักษณะเช่นเดียวกับคันชักของซอด้วง   พบสะล้อที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความปราณีตสวยงาม        ที่บ้านของเจ้าสุนทร ณ. เชียงใหม่ครูดนตรีพื้นเมืองของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ท่านได้สร้างขึ้นให้มีเสียงดังกังวาน  โดยการเพิ่มกะลามะพร้าวที่ทำเป็นกะโหลกให้มีลักษณะเป็นพูเช่นเดียวกับกะโหลกซอสามสายเจาะ  ตรงพูให้เป็นรูปหัวใจเพื่อระบายเสียงให้กังวานคันทวน  ทำด้วยงา  โคนทวนกลางกลึงเป็นรูปวงแหวนลดหลั่นตามลำดับปลายทวนกลึงเป็นลูกแก้วลูกบิดก็กลึงเป็นลูกแก้วประดับเม็ดระหว่างลูกบิดทั้งสามจะกลึงเป็นรูปแหวน 2 วงขนาบลูกบิดไว้  ส่วนสายนั้นใช้สายกีต้าแทน
            หลักการสีสะล้อ

            เดิมผู้สียืนสี  คาดผ้าที่เอวให้ปลายคันทวนปักลงที่ผ้าคาดเอว  มือขวาจับคันชักมือซ้ายกดสายลำตัวสะล้อค่อนไปทางซ้ายมือของผู้ดีด  ปัจจุบันผู้ดีดนั่งสีในท่าขัดสมาธิหรือพับเพียง  ปักปลายคันทวนลงกับพื้นด้านหน้าทางซ้าย  มือขวาจับคันชัก  มือซ้ายกดสายเวลาสีจะพลิกตัวสะล้อหันไปมาเพื่อรับกับสายคันชัก

            วิธีสีและเสียงของสะล้อมีดังนี้

            1.การสีสายเปล่า                                                         
            2.การสีไล่เสียงยาวๆ                                                   
            3.การสีเก็บ                                                                 
            4.การสีพรม                                                                
            5.การสีดำเนินทำนองสะล้อ         
        

คำสำคัญ (Tags): #สี
หมายเลขบันทึก: 168040เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

อยากได้ชื่อและประวัติของเครื่องดนตรีในภาคเหนือหาได้ที่ไหนค่ะ ต้องการเอาไปทำรายงานวิชาดนตรี-นาฏศิลป์อย่างด่วนค่ะ

น้อง

ไม่มีรูป

 Miga
  • ต้องถามอาจารย์ กู นะครับ
  • กูเกิ้ล
  • พิมพ์คำว่า ประวัติของเครื่องดนตรีในภาคเหนือ
  • โชคดีครับ
  • ขอให้รายงานเสร็จ
  • ก๊อบเนื้อหามา ส่งอาจารย์ อ่านด้วยนะครับ
  • จะได้รับความรู้

สวัสดีครับ

ครูโย่งสอนดนตรีไทยด้วยเหรอครับ

เมื่อไหร่เล่าเรื่องอังกะลุงครับ รออ่าน (อันนี้ของจริง ไม่ได้แซว)

ขอบคุณ

P

  • ผมสอนทั้งสองอย่างครับ
  • สากล กับไทย
  • อังกะลุงนะครับ
  • เดี๋ยวจัดให้ ครับ

ยาวมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ คือว่าอยากได้ปรของคีตกวีในสมัยรัตนโกสินทร์ จ้าว่ามีใครบ้างทำหน้าที่อะไรอะ

และประวัติเครื่องดนตรีตั้งแต่ ร.6 ถึง ร.9 ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างอะค่ะ ตอนนี้ต้องทำงานส่งอยากได้ข้อมูลและคำแนะนำจ้า ถ้ามีกรุณาส่งให้ทีนะคะจะขอบคุณอย่างแรงจ้า [email protected]

DD คร๊าฟ คือว่าผมยากได้แบบเครื่องดนตรีไทย

ประเภทเครื่องสาย คร๊าฟ

[email protected] คร๊าฟ

สวัสดีคร้าบ

ตามมาดูเครื่องดนตรีไทย ประเภทสี

เผื่อว่าสักวัน จะมีโอกาสได้สีกะเขาบ้าง..อิ อิ

สบายดีนะครับ วันนี้ก็ยังคิดถึงอยู่เด้อ

ขอบ คุณ เพราะ กำ ลัง จะ ทาม ราย งาย อยู่ เยย โชค ดี โคต

ขอบคุณค่ะหนูดีใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยหนูทามรายงานเสร็จแล้ว

หนูก็ทามรายงานเสร็จแย้วขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ค น โ ง่ ๆ ที่ ได้ เรียน

ผ ม มัน โง่

ขอบคุณสำหรับข้อมูลคร่ะ

ต้องใช้ในการทำรายงานพอดีเลย

ช่วยได้มากเลยค่ะ

thanks หลายจ้า~*

ดี ค๊

ต้อง การ ควา มรู้ เกี่ย วกับ ดน ตรีไท ยม ากเ ลย ค๊

+10 com ไม่ใช่คอมพิวเตอร์

ทำไมบางทีที่ พิมพ์ว่า ประเภทเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด,ตี,เป่า,สีบางอันมัน ปนกันไปหมด ล่ะค่ะ

+10 com ไม่ใช่คอมพิวเตอร์

เเล้วทำไมบางอัน ถึง ไม่ปนกันล่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะที่เขียนไว้ข้างบนเกี่ยวกับดนตรีไทยนะค่ะ เพราะต้องทำการบ้าน น่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะที่เขียนไว้ข้างบนเกี่ยวกับดนตรีไทยนะค่ะ เพราะต้องทำการบ้าน น่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ ถ้าไม่ได้เว็บนี้แย่แน่เลย

บอกเครื่องดนตรีแบบสีได้อีกไหมค่ะ

ขอบคุณมากๆคับคุณคูร

ดีจังเลย

  • ดีมากค่ะ
  • สุดยอด
  • เก่งจังเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท