ความก้าวหน้า KM พัสดุ/การเงิน


การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานการเงินและพัสดุ

ผลที่ได้จากการประชุม

 1) กลุ่มผู้บริหาร หัวปลา :

 (1) เทคนิคการทำงานที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

 (2) เทคนิคการจัดเวลาที่เหมาะสมกับการพัฒนา

 (3) เทคนิคในการประสานงาน

 (4) เทคนิคการทำงานในหน่วยงานขนาดใหญ่ สมาชิกกลุ่ม จำนวน 19 คน จุดเด่น : ผู้บริหารจากหลากหลายหน่วยงาน ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ KV "เทคนิค และประสบการณ์ สู่ Best Practice"

2) กลุ่มหัวหน้างานการเงินและพัสดุ หัวปลา : การปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการเงินและพัสดุ สมาชิกกลุ่ม จำนวน 15 ท่าน จุดเด่น: การปรับกระบวนการทำงาน, การใช้กระบวนการเงินทดรองจ่าย,จ่ายค่าตอบแทน,สร้างการทำงานเป็นทีม รวมถึงการเสนอการมอบอำนาจในการทำงาน

3) กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและพัสดุ หัวปลา : เรื่องระบบ GFMIS จำนวน 18 คน   จุดเด่น:ป้องกันระบบคอรับชั่น, ร้านค้าได้รับความสะดวกในการเบิกเงิน และเกิดความรวดเร็ว,    ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัยสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้จ่ายเงินงบประมาณได้, เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐ และเป็นการพัฒนาบุคลากรได้ใช้ระบบ IT

4) กลุ่มศูนย์วิจัยเฉพาะทาง หัวปลา : การพัฒนาการบริหารงานวิจัย สมาชิก 9 คน จุดเด่น :

 (1) การพัฒนาการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 (2) การบริหารงานวิจัยของศูนย์วิจัยเฉพาะทางสู่ความสำเร็จ

 (3) ตัวชี้วัดความสำเร็จของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง

 (4)การประชุมของศูนย์ และ

 (5) ปัญหาอุปสรรคในการทำงานของศูนย์

      

หมายเลขบันทึก: 1674เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2005 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความคืบหน้าในการจัดการแลกเปลี่ยน เรียน รู้ ของ ผู้อำนวยการกอง เลขาคณะวิชา หัวหน้างานพัสดุ และ ทีมงานวิจับเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เรียน ท่านที่สนใจในการพัฒนางานคลัง พัสดุ โดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครืองมือชนิดหนึ่ง ผมขออนุญาติเรียนความก้าวหน้าของการ ลปรร ในการพัฒนางาน ของมหาวิทยลัยขอนแก่น โดยมีทีมงานมาเข้าร่วมเกือบ ๗๐ กว่าท่าน

ผลสรุป หรือ การพัฒนาที่เห็นเป็นรูปธรรมบังเกิดขึ้นดังนี้ครับ

๑. หน่วยงานที่ส่งทีมงานมาครบทั้งคุณอำนวย คุณเอื้อ และ คุณกิจ คือ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์ และ คณะวิทยาการจัดการ

๒.ภาพของการพัฒนาโดยรวมที่ชัดเจน คือ

 ๒.๑การนำระบบ GFMIS มาใช้ลดขั้นตอนในการปฎิบัติงานครับ

 ๒.๒ลดระยะเวลาของการจัดหาพัสดุลงได้ร้อยละ ๕๐

๓. ทางศูนย์บริการวิชาการจะเป็นคุณประสานให้มีการหารรือร่วมกัยเพื่อพัฒนาในประเด็นที่ ๒ ให้ดียิ่งขึ้นในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๘ ที่ห้องประชุม SME ชั้น ๖ อาคารบริการวิชาการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ประจักษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ อ.สุรเชาฐ์ และ รองผู้อำนวยการ ผศ.ดร.พัชรี เป็น คุณเอื้อ และ คุณประสาน โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจะได้การพัฒนางานด้านการคลังและพัสดุที่ดีขึ้นครับ

๔.ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ที่คณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.นเรศ ได้ให้ทีมงานของศูนย์บริการวิชาการไปช่วยจัดสัมมนา KM เพื่อพัฒนาคน และ งาน อีกครับ

JJ

จากการติดตามความคืบหน้าในการจัดทำ KM ของกลุ่มงานคลังและพัสดุ เมื่อวันที่ 11 ส.ค.48 ในเรื่องของระบบ GFMIS จากผลสรุปของกลุ่ม จะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติยังไม่เข้าใจระบบดีพอ ยังต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ GFMIS มาให้คำแนะนำเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เรียนเชิญเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านระบบนี้อยู่คือกองคลังมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมในวันที่ 30 ส.ค.48 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม SMEs ชั้น 6 อาคารศูนย์วิชาการ ซึ่งทางศูนย์บริการวิชาการผู้ประสานจะดำเนินการเรียนเชิญผู้เกี่ยวข้องต่อไป ท่านใดสนใจขอให้แจ้งรายชื่อได้ที่ศูนย์บริการวิชาการ โทร. 2028-9 ต่อ 104

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท