ภูมิปัญญาท้องถิ่น:หัตถกรรมเครื่องจักสานขุมชนบางจ้าฉ่า(ตอนที่ 1)


กระบวนการถ่ายทอดความรู้

หมู่บ้าน

พอดีได้มีโอกาสศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น(ภาคกลาง)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาการจัดการความรู้และการเสริมสร้างภูมิปัญญาดั้งเดิม    ซึ่งดิฉันเป็นนิสิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษา แขนงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

สิ่งแรกที่ตัวเองคิดถึงอยากจะศึกษาก็คือ ภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสาน(ปู่กับย่าเคยสอนทำตอนเด็กๆ)  โดยไปค้นหาที่ Google จึงได้มีโอกาสรู้จักชุมชนบางเจ้าฉ่าบ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง  ถือว่าเป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสไปศึกษาชุมชนแห่งนี้    

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น :กรณีศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง 

ความเป็นมาของปัญหา       

      หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบางเจ้าฉ่าที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน  หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  

                จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ต่างๆ อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก(ชูเกียรติ์  ลีสุวรรณ,2535) สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน

              จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่านั้นๆคงอยู่ตลอดไป ซึ่งผลจากการศึกษากระบวนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่านั้น จะนำไปเป็นข้อมูลที่จะนำไปไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในชุมชนบางเจ้าฉ่ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป

ขอบเขตการวิจัย

     พื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัย  คือ กลุ่มหัตถกรรมเครื่องจักสาน  ชุมชนบางเจ้าฉ่าอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

         

    จุดมุ่งหมาย  เพื่อการศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า ตำบลบางเจ้าฉ่า  อำเภอโพธิ์ทอง  จังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพหัตถกรรมจักสานจำนวน7 คน เป็นนำชุมชน 2 คนผู้เชี่ยวชาญการจักสาน  5 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(purposive  sampling)    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง(structured  interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(content  analysis)  การตีความข้อมูล (interpretation)แล้วหาข้อสรุปและนำเสนอด้วยการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา

 ขั้นตอนการจักสาน

   

    

วิธีการจักตอก

1. การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆแล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

2.  การจักตอกตะแคงใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้นแต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้นทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด

3.  การจักไพลใช้วิธีเดียวกับการจักตอกตะแคงแต่การหลาวจะหลาวให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากัน ทำการหลาวให้เรียบร้อยแล้วนำออกตากแดด

 

การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุดเริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง)ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน)ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติเหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษเนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆบานขึ้นบริเวณปาก

 

การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงสวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หูการผูกและพันด้วยหวาย จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การถักและพัน

เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมากรมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบแล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

 

การผูกพันด้วยหวาย9เส้น

                                ลายเครื่องจักสาน

   

  ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานชุมชนบางเจ้าฉ่า ตำบลบางเจ้าฉ่า  อำเภอโพธิ์ทอง  จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย

           1.เนื้อหาที่ถ่ายทอด  พบว่าไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ผู้ถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานได้บอกก่อนที่จะสอนให้ลงมือปฏิบัติ และมีการบูรณการเนื้อหาหลายในการถ่ายทอดเข้าด้วยกันเรื่องเข้าด้วยกัน

         2. วิธีการถ่ายทอดเน้นการถ่ายทอดเป็นรายบุคคลหรือตัวต่อตัวและเป็น

การสอน สาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างควบคู่กับการบอกเล่า และมีการซักถามได้เมื่อไม้ข้าใจ

         3.  สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอด แบ่งออกเป็น 2ประเภท 

             3.1 สื่อที่เป็นตัวบุคคลคือตัวผู้ถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานที่

เป็นเครือญาติ  เพื่อนบ้านหรือสถานประกอบการ

               3.2    สื่อที่เป็นของจริง คือ สื่อ วัสดุ  อุปกรณ์ เครื่องมือ  ซึ่งเป็น

              3.3    สิ่งที่ผู้ถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานใช้ปฏิบัติงานเป็นปกติ

ประจำวัน รวมถึงชิ้นงานเสร็จ

           แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

        1. ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานด้านเนื้อหาการถ่ายทอดยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้การถ่ายทอดโดยการบอกเล่า และเน้นการปฏิบัติตามซึ่งจะพบว่าถ้าผู้ถ่ายทอดเสียชีวิตและไม่มีการสืบต่อของความรู้นั้น ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เกิดการสูญหายไป ดังนั้นควรมีการเก็บภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในรูปความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit knowledge)โดยให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักในการเก็บบันทึก  หรือให้ส่วนภาคราชการ หรือองค์กรทางการศึกษาช่วยในการจัดเก็บบันทึก ซึ่งจะทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอยู่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

         2. ผลการวิจัยพบว่าวิธีการถ่ายทอดหัตถกรรมเครื่องจักสานจะเน้นการถ่ายทอดเป็นรายบุคคลและเป็นการสอนปฏิบัติ เนื้อหาไม่ชัดเจนใช้ประสบการณ์ของผู้สอน ดังนั้นผู้ฝึกการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานจึงต้องหาผู้ถ่ายทอดและเวลาในการปฏิบัติ ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการลำบากสำหรับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานราชการที่จะเข้าไปศึกษาโดยใช้เวลาช่วงสั้นๆ เพราะชิ้นงานที่สำเร็จของหัตถกรรมเครื่องจักสานในลักษณะที่มีความละเอียดมากจะใช้เวลามากเป็นเดือน จึงสังเกตได้ว่าผู้ทำหัตถกรรมจักสานจะเป็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นชุมชนนั่นๆเอง จึงเกิดการเผยแพร่ในวงกว้างค่อนข้างยาก แม้ว่าสถานศึกษาบางแห่งมีการสอนก็จะพบว่าต้องนำผู้เชี่ยวชาญหัตถกรรมเครื่องจักสานไปสอน แสดงให้เห็นว่าถ้าจะจัดหลักสูตรหัตถกรรมเครื่องจักสานในหลักสูตรการศึกษาไม่ว่าจะเป็นประถมศึกษามัธยมศึกษา  หรือการศึกษานอกโรงเรียนสานอาชีพควรใช้รูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาในชุมชนนั้นๆ โดยมีการสอนแบบตัวต่อตัวโดยผู้มีความเชี่ยวชาญในชุมชนนั้น และยังเป็นการสร้างค่านิยมและกระตุ้นให้เกิดการรักวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย

         3. ผลการวิจัยพบว่าสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเป็นบุคคลที่ที่มีความเชี่ยวชาญถ่ายทอดและใช้วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานสอนและสาธิตให้ปฏิบัติ ซึ่งจะสามารถใช้เสื่อได้ผู้ถ่ายทอดต้องว่างและพร้อมที่จะสอน ดังนั้นจึงควรใช้สื่อที่เป็นเทคโนโลยีช่วยเช่น การทำวีดีโอ การทำคู่มือ  การจัดบอร์ดเนื้อเกี่ยวกับกระบวนการทำหัตถกรรมเครื่องจักสานตั้งขั้นตอนการหาวัตถุดิบและการนำมาใช้ การสานลายต่างๆ การทำรูปทรงต่างๆให้มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งจะลดปริมาณเวลาไปนั่งเรียน และลดเวลาของผู้ถ่ายทอด

   ขอข้อเสนอแนะจากท่านผู้อ่านด้วยค่ะ จะเป็นประโยชน์ในเรียนรู้ร่วมกัน

    พบกันตอนที่ 2 ตอนต่อไปค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 166648เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2008 03:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2019 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาอ่านเรื่องราวดีดีของคนไทย
  • ขอบคุณที่น้องนำมาเผยแพร่
  • อิจฉาจัง ได้ไปศึกษาดูงาน
  • จะรออ่านอีกนะคะ

ขอบคุณครูอ้อยมากค่ะที่แวะมาอ่าน  หวังว่าคงมีโอกาสได้พบกันนะค่ะ

สวัสดีครับ จานแดง

  งานภูมิปัญญานี้ดีมากๆสำหรับคนในท้องถิ่น ..แต่ตอนนี้ที่อยากให้เป็น อยากให้มีการถ่ายทอดลงในหลักสูตร ของการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือระดับอุดมศึกษามา จะเป็นผลดีที่ภูมิปัญญานี้จะไม่หนีจากภูมิปัญญาไทย

เห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ  ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้คงต้องใช้เวลาพอสมควร  เห็นด้วยกับการใส่ในหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานค่ะ  แต่จะใส่ในหลักสูตรชั้นไหนต้องขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์...คุณครูและอาจารย์ทั้งหลายค่ะ.......ขอบคุณค่ะ 

แวะมาเยี่ยมชมค่ะ ขอบคุณสำหรับภูมิปัญญาดีดี และภาพสวยสวยที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

P 

ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่าน เราได้เรียนรู้ภูมิปัญญาดีๆจากเพื่อนๆมากมาย ขอบคุณหลักสูตรที่เราได้มีโอกาสมาเรียนรู้ร่วมกัน 

ขอขอบคุณที่เข้ามาแวะอ่านค่ะ เขียนทักทายกันได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ไม่งั้นผมคงไม่งานส่งอาจานขอให้ทำอย่างงี้ไปอีกเรื่อยๆน้าคับ แล้วจะมาอ่านอีกครับ

ขอบคุณมาค่ะถ้าไม่มีเว็บนี้หนูคงไม่ได้ส่งแผ่นพับครูหรอกค่ะ ขอบคุณมาค่ะ

ถ้าว่างจะมาค้นหาใหม่ค่ะ

ขอแนะนำว่าถ้ามีเวลาลงไปดูในพื้นที่จริงๆจะดีมากค่ะ เพราะ10ปากว่า ยังไม่เท่ากับตาเห็น

จานแดง

ต้องขอขอบคุณที่เข้ามาทักทายค่ะ

จานแดง

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาบอกต่อๆกัน

ถ้าไม่ได้คุณจานแดงช่วยคงส่งงานอาจารย์ไม่ทันแน่ๆเลยนะคะ

ขอบคุณอีกครั้งค๊ะ^^!~

ยินดีไม่มีปัญหาค่ะ ช่วยกันเผยแพร่ความรู้ของดีมีในไทยดีกว่าค่ะ

จานแดง

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงข้าพเจ้าน้องมิลค์ วัย 9 ปี กำลำศึกษาเพื่อทำรายงานเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ขอให้พระเจ้าได้คุ้มครองท่านด้วยเถิด

ไม่เป็นไรค่ะลูก (อายุน้อยกว่าลูกคนเล็กของป้าอีกค่ะ)

จานแดง

ต้องการข้อมูลมาทำรายงานอยู่พอดีเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

++++++++++++++++

หัตถกรรมไทย น่ายกย่องและนับถือ ควรแก่การดูแลรักษาไว้ตลอดไป

อยากได้ภูมิปัญญาของคนกรุงเทพบ้างค่ะ *_*

คุณค่าของงานคืออะไรครับ

งานนี้มีความสำคัญอย่างไรคะ

คุณค่าและความสำคัญหาดูได้จากเนื้อหาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

จานแดง

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณค่ะที่ได้อ่านข้อมูลดีๆได้ประโยชน์และนำกลับมาประยุกต์ในการทำรายงานอีกด้วย

ขอบคุณครับ

พอจะรู้จักปราชณ์ชาวบ้านในพิษณุโลกบ้างหรือเปล่าครับ อยากได้ไว้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน

อยากให้มีทุกๆภาค

ขอบคุณนะค่ะอต่ขอให้สั้นกว่านี้เพราะจะทำรายงานเลยเปิดมาหาดู

ขอบคุณมากๆๆๆๆนะค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

คงได้ความรู้ไม่มากก็น้อย

ความหมายอยู่ที่การทำความเข้าใจ

โดยเฉพาะถ้าได้เห็นของจริงค่ะ

จานแดง

สวยดีครับ...ถ้าผมมีวัสดุอย่างอื่น เช่น หนังแท้ที่ตัดเป็นเส้นแล้ว สามารถสานได้หรือป่าวครับ พอดีทำโรงงานฟอกหนังมีวัสดุหนังเป็นเส้นอยู่ครับ...สนใจครับ

ได้หรือเปล่าไม่ทราบค่ะ แต่น่าลองทำดูคงเป็นประเภทกระเป๋าก็น่าได้

ลองดูค่ะ ไม่ทำไม่รู้

จานแดง

ของเค้าดีจริง

ชอบงานนี้มากค่ะอยากจะสะสมไว้เยอะๆๆเลยไม่ทราบว่า จะหาซื้อได้จากที่ไหนคะ

อยากทามเปนบ้างจัง

อิอิ....................ไม่บอก

ได้อ่านเเล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้น

คือว่าต้องการจะศึกษาทำใบงานส่งครูน่ะค่ะ อยากจะถามว่าเรื่องจักรสานนี่เป็นมาตั้งแต่อยุธยาเลยหรือเปล่าคะ

แน่นอนค่ะ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในgoogleได้เลยค่ะ

ขอบคุณที่นำความรู้ดีดีมาให้

จานแดงทรูมูฟป่ะ อิอิ ลอเล่นค่ระ สวยงามมาก

๛มาเฟียหลวงสุริน♣

ขอบคุนคับ

ได้ความรุ้มากมาย

และที่สำคัน

งานผมเสร็จด้วย

ได้ความรู้มากกกก

ขอบคุณค่ะ

ดีใจที่อ่านแล้วได้ประโยชน์ค่ะ........

ขอบคุนสำหรับข้อมูลดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

แต่ก็ขอบคุณมากๆ จาก เมื่อกี้

 

ผมก็ชอบเคื่องจักรสาน

   คัฟ

 

อยากฝึกหัดจักสานบ้าง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จะติดต่อได้ที่ไหนอย่างไร ขอรายละเอียดด้วยครับ ของคุณครับ

ไปที่ชุมชนที่บอกนี่แหล่ะค่ะ เค้าสอนคนรุ่นใหม่ด้วย

 

ทำให้ได้รู้จักอะไรใหม่ๆค่ะ

สวยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้จ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท