ความรู้ที่เต็มและงดงามดัง “จันทร์วันเพ็ญ”


ความรู้ที่เต็มและงดงามดัง “จันทร์วันเพ็ญ”


          พระจันทร์วันเพ็ญดู “เต็มดวง” และงดงาม   ใช่ไหมครับ


          มองในมุมของการจัดการความรู้   นั่นคือ “ภาพหลอน” ครับ   ไม่ “เต็มดวง” จริง


          เราเห็นพระจันทร์เพียงซีกเดียว   ไม่เห็นอีกด้านหนึ่งของพระจันทร์


          การจัดการความรู้ต้องระวัง “มายา” แบบนี้


          ผมเรียนรู้เรื่องนี้จากการร่วมงานกับนักวิชาการต่างชาติจำนวนหนึ่งในการเขียนบทความ “KM and Health Promotion” จากการชักชวนของ WHO ที่เจนีวา   คนที่ร่วมกันเขียนมี 4 คน   โดยมีผมร่วมด้วยและเป็นเหตุให้ผมได้เรียนรู้ว่าคนในวงการวิชาการด้านสุขภาพมองเห็นเรื่อง Health Promotion (HP – การสร้างเสริมสุขภาพ) แบบเห็นพระจันทร์วันเพ็ญ


          บทความที่นักวิชาการ 3 ท่าน (ยกเว้นผม) เขียนออกมาในฉบับร่างที่เป็นร่าง 2 (คือปรับแก้กันแล้ว 1 รอบ) มีความสมบูรณ์งดงามอย่างยิ่งในสายตาของผม   โดย “งามดั่งจันทร์วันเพ็ญ” คือนำเสนอความจริงเพียงด้านเดียว   คือมอง KM in Health Promotion ในส่วนที่เป็นบทบาทของคนที่ทำหน้าที่ส่งเสริม HP คือบุคลากรด้านสุขภาพ   ไม่มีมุมมองด้าน KM in Health Promotion ในส่วนที่เป็นกิจกรรมหรือบทบาทของตัวชาวบ้านเอง


          เห็น KM หลงทิศไหมครับ   เป็น KM “คุณอำนวย”   ไม่เน้น KM “คุณกิจ” หรือไม่เห็นบทบาทของ “คุณกิจ”  


          จริง ๆ แล้วเราต้องการทั้ง KM คุณอำนวย   และ KM คุณกิจในสัดส่วนประมาณ 20:80


                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                                                                                                   15 ก.ค.48

หมายเลขบันทึก: 1666เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2005 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท