ไซเตส (CITES)


 ไซเตส  (CITES)  คือ  อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ   ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์  (Convention  on   lnternational
Tradein  Endangered  Species  of  Wild  Fauna  and  Flora)
          การอนุรักษ์เป็นการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ  เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนที่สุดที่สามารถทำได้  และควรคุ้มครอง
ไว้เพื่อประโยชน์ของชนรุ่นนี้และอนุชนรุ่นต่อไป   ดังนั้นประชาชนและประเทศต่างๆ  สมควรเป็นผู้ให้ความคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าของตนดีที่-
สุด   รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  สำหรับการคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าบางชนิดเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ประโยชน์เกิน
สมควร  จากการค้าระหว่างประเทศ  และประเทศภาคีในอนุสัญญาฯ จึงตระหนักถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาของสัตว์ป่าและพืชป่าในด้านสุนทรีย
ภาพ  วิทยาศาสตร์   วัฒนธรรม   การพักผ่อนหย่อนใจ   และเศรษฐกิจ   อนุสัญญาฯ  ได้กำหนดกรอบการปฏิบัติระหว่างประเทศในการทำการค้า
ชนิดพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์  โดยกำหนดให้ประเทศภาคีที่เป็นผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไป
ตามวัตถุประสงค์
          สาเหตุของการมีอนุสัญญาไซเตส  เนื่องมาจากปริมาณและมูลค่าการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าทั่วโลกมีปริมารและมูลค่ามหาศาลมีผลโดยตรงและ
โดยอ้อม  ต่อประชาชนในธรรมชาติทำให้ลดลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์  มีการลักลอบทำการค้ารองลงมาจากการค้ายาเสพติด
          เป้าหมาย & เจตนารมณ์ของอนุสัญญาไซเตส  เพื่อต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลกเพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติของ
ชนรุ่นนี้  และอนุชนรุ่นต่อไปโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคามจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในอนาคตโดยสร้าง
เครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ  ทั้งสัตว์ป่าและพืชป่าตลอดจนผลิตภัณฑ์

พืชป่าในอนุสัญญาไซเตสที่ใกล้จะสูญพันธุ์
          บัญชีที่ 1
 หมายถึง  ชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์  ห้ามทำการค้า  โดยเด็ดขาดยกเว้นเพื่อการศึกษา  วิจัย  หรือขยายพันธุ์เทียมซึ่งจะต้องได้
รับการยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน  ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตให้ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย  เช่น
กล้วยไม้หายากบางชนิด ได้แก่  กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี  และฟ้ามุ้ย  เป็นต้น

พืชป่าชนิดอื่นที่อยู่ในสถานะอันตราย
          บัญชีที่ 2
 หมายถึง  ชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้จะสูญพันธุ์   อนุญาตให้ค้าขายได้แต่ต้องมีการควบคุม  ไม่ให้เสียหายหรือจำนวนประชากร
ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนใกล้จะสูญพันธุ์  ทั้งนี้ประเทศที่จะส่งออกจะต้องควบคุมไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้น ๆ  ใน
ธรรมชาติ
          บัญชีที่ 3  หมายถึง  ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอความร่วมมือจากประเทศภาคีให้ช่วยดู
แลในการนำเข้าด้วย  กล่าวคือ  จะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด
          ปริมาณพืชป่าในอนุสัญญาไซเตส
                    บัญชีที่ 1               310   ชนิด
                    บัญชีที่ 2          24,881   ชนิด
                    บัญชีที่ 3                   6   ชนิด

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาไซเตส (ประเทศไทย) ได้แก่
          สัตว์ป่า  (Fauna)  พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  พ.ศ. 2535
          พืชป่า  (Flora)  พ.ร.บ.พันธุ์พืช  พ.ศ. 2518  แก้ไขเพิ่มเติมโดย  พ.ร.บ.พันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) 2535

การปฏิบัติงานตามอนุสัญญาไซเตส (ประเทศไทย
  แบ่งความรับผิดชอบดังนี้
          กรมวิชาการเกษตร ------------  พืชป่า (Flora)
          กรมป่าไม้  --------------------------  สัตว์ป่า (Fauna)
          กรมประมง  ------------------------  ปลาและสัตว์น้ำ (Fauna)

สาระสำคัญ พ.ร.บ. พันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
          พืชอนุรักษ์  หมายถึง  พืชป่าในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญา CITES (มาตรา 3,  มาตรา 29 ทวิ)
          -  ห้ามมิให้ผู้ใด   นำเข้า  ส่งออกหรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์  เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาต  (CITES  Permits)  จากอธิบดี-
             กรมวิชาการเกษตร  หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย  (มาตรา 29  ตรี)
          -  ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า  ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงอนุรักษ์เพื่อการค้าต่อ
             กรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29  จัตวา)
          -  การขยายพันธุ์เทียมต้องกระทำภายใต้การจัดการและควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยมนุษย์    เพื่อการผลิตพันธุ์และต้องคงปริมาณพ่อ -  แม่-
             พันธุ์ไว้  (มาตรา 3  และประกาศกรมฯ)
          (การยื่นขอจดทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า  ยื่น  ณ  สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ   กรมวิชาการเกษตร   ซึ่งปัจจุบัน-
เปลี่ยนเป็นกองคุ้มครองพันธุ์พืช)

บทกำหนดโทษ
          ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29  ตรี  (ไม่มีหนังสืออนุญาต  CITES)  หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29  จัตวา  (ไม่ยื่นขอจดทะเบียนสถานีที่เพาะเลี้ยงพืชอนุ
รักษ์เพื่อการค้า) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3  เดือน  หรือปรับไม่เกิน 3,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

การขอหนังสืออนุญาตไซเตส
          อนุญาตนำเข้า
  การอนุญาตให้นำเข้า  จะต้องมีหนังสืออนุญาตส่งออกจากประเทศต้นทางกำกับมาด้วย   และผู้นำเข้าสามารถขออนุญาตนำ
เข้าได้  ที่ด่านตรวจพืชทุกด้าน  และที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ  กรมวิชาการเกษตร
          อนุญาตส่งออก  สามารถขออนุญาตส่งออกได้ที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่  และด่านตรวจพืชท่าเรือภูเก็ต
          สำหรับพืชลูกผสม (Hybrids)  ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส   กรมวิชาการเกษตร  จะบริการออกหนังสือรับรอง  การส่งออกพืชลูก-
ผสมให้  โดยสามารถขออนุญาตส่งพืชลูกผสมได้ที่
               -  สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ  กรมวิชาการเกษตร
               -  งานมาตรฐานและบริการส่งออก  กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร  กรมวิชาการเกษตร  และที่คลังสินค้าดอนเมือง
               -  ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
               -  ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่
               -  ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต

          สำหรับค่าธรรมเนียม  หนังสืออนุญาตนำเข้า - ส่งออก  และนำผ่านพืชอนุรักษ์ 100  บาท/ ฉบับ  ค่าจดทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์
เพื่อการค้า  จะเสียค่าธรรมเนียมเฉพาะพืชในบัญชี 1  จำนวน 500  บาท/5 ปี  สำหรับพืชในบัญชีอื่น ไม่เสียค่าธรรมเนียม
          สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ   กรมวิชาการเกษตร   โทร.  0-2940-7214 ,  0-2940-6573   0-2940-6670
                                                                                                     http://www.doa.go.th/learning/jan-fer_46/cites.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16645เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท