สมดุลย์ ของ เมตตา กับ อุเบกขา


ธรรมะต้องใช้เป็นชุด ให้ได้สัดส่วน และโอกาส

ผมมีโอกาสคุยกับ อจ ปรีดา มาลาสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยของ ศิริราช เมื่อคราวที่เราทั้งสองไปเป็นกก พิจารณาทุนวิจัยด้วยกัน ความรู้สึกของเราคือ โครงการวิจัยจำนวนไม่น้อยดูจะไม่มีคำถามวิจัยดีๆ แต่ในที่สุดเราก็มีมติว่าให้ทุนเถอะ เพราะคนที่ขอทุนดูมีความตั้งใจในการทำงาน และเราต้องให้โอกาสแก่คนที่ตั้งใจทำเรื่องดีๆ

อจ ปรีดาเลยเล่าให้ผมฟังว่าครั้งหนึ่ง อจ มีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณ คุณาภรณ์ (ท่าน ปยุต ปยุตโต) ท่านตั้งข้อสังเกตว่าคนไทยมักชอบใช้เมตตา มากกว่าอุเบกขา บางเรื่องควรใช้อุเบกขาก็ยังใช้เมตตากันอยู่  โดยหลักการแล้วธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน ท่านให้ไว้เป็นชุด และให้ใช้เป็นชุด ไม่ได้ให้เลือกใช้เป็นข้อเดี่ยวๆ ท่านอาจารย์ประเวศก็เคยพูดไว้แบบเดียวกัน แต่ท่านขอบยกตัวอย่างความไม่ได้ดุลย์ของการใช้ธรรมะ ว่าด้วย ศรัทธา กับปัญญา (สองในห้าของธรรมะในชุดที่ว่าด้วย พละ 5)  ซึ่งก็ต้องใช้ให้ได้ดุลย์กันเช่นกัน

ผมเข้าใจว่าท่าปยุตคงตั้งใจพูดถึงเรื่องทั่วไปในสังคมไทยที่ผมเองก็มีความรู้สึกว่าบางทีเราก็พยายามอุ้ม กันมากไป ไม่ปล่อยให้เรื่องราวเป็นไปตามธรรมชาติของมัน เพราะสงสารคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้ามองดูก็คงเห็นตัวอย่างมากมาย

ระบบฝากเด็กเข้าโรงเรียนอาจเป็นตัวอย่างหนึ่ง

ระบบการพยายามช่วยนักเรียนที่เรียนอ่อนให้ผ่านแทนที่จะประเมินกันอย่างจริงจัง อาจเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

มาดูเรื่องการให้ทุนวิจัยก็อาจจะพอเห็นได้ว่ามีการใช้เมตตาจนไม่ได้สัดส่วนกับการใช้อุเบกขา คือให้โอกาสครั้งแล้วครั้งเล่าก็ยังไม่ดีพอ แต่ก็ไม่รู้จะทำไงดี ต้องให้กันต่อไป เพราะอย่างน้อยเขาก็มีความตั้งใจ แม้ความสามารถจะยังไม่ถึงขั้น

แต่บางทีก็เห็นเข้มงวด นิดหน่อยก็ไม่ได้ ต้องให้ได้ชัดเจนเปะ๊ๆ ไม่งั้นไม่ให้ทุน

ว่าไปแล้ว ชาวตะวันจกดูจะอยู่กับ อุเบกขามากกว่าเมตตา ถ้าบอกให้อก้ไข หรือปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น แล้วยังไม่ดีพอ เขาก็ไม่ให้ทุน ไม่มานั่งดูว่าตั้งใจดีหรือไม่ดี เมื่อฝีมือไม่ดีพอก็รอไปก่อน ไม่ต้องมานั่งสงสารกัน ไม่งั้นไม่เข้มแข็งสักที 

เราลงความเห็นตรงกันว่า การใช้เมตตากับอุเบกขาที่ไม่ได้ดุลย์ (คือให้โอกาสกันมากไป หรือนานไปหน่อย ทั้งที่ควรทำในตัดทุนไปแล้ว) หรือเข้มงวดขีดเส้นไม่ได้ก็ไม่ให้ ไม่สนว่ามีความตั้งใจดีขนาดไหน ก็ยังดีกว่า การเลือกใช้เมตตากับบางคน บางกลุ่ม แต่เลือกใช้อุเบกขากับอีกกลุ่มหนึ่ง

เรียกว่า มีหลายมาตรฐาน และไม่จัดว่าเป็นการใช้เมตตา กับอุเบกขาอย่างได้ดุลย์ จริงไหมครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16568เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท