เนื้อหาpower pointประชุมคณะทำงานชุดใหญ่7มีนาคม49


ปลาตาบอดจะหมุนติ้วไปตามโมเมนต์ของแรงจากภายนอกที่ไม่ผสานไปในทิศทางเดียวกัน โครงการจะไม่เป็นสายน้ำวนให้ปลาตาบอดหมุนติ้วเช่นเก่าก่อน ทั้งขบวนต้องยกระดับการพัฒนาไปตามบทบาทของแต่ละคุณ ทั้งคุณเอื้อจังหวัด คุณเอื้ออำเภอ/ตำบล ทีมวิชาการและคุณอำนวยจังหวัด คุณอำนวยตำบลและหมู่บ้าน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือเมืองแห่งการเรียนรู้ และบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศ คือ สังคม ฐานความรู้

ผมเตรียมเนื้อหาที่จะทำpower point เสนอในวันที่ 7 มีนาคมไว้ดังนี้

โครงการ "จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร"

(โครงการ "เสริมสร้างกระบวนการชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและวิสัยทัศน์จังหวัดนครศรีธรรมราช")

 

ทิศทาง/เป้าหมาย

เศรษฐกิจพอเพียง วิสัยทัศน์เมืองนคร "เมืองแห่งการเรียนรู้ พอเพียง น่าอยู่ ยั่งยืน"

เป้าหมายนำร่องปี 2549

ระดับครัวเรือนจำนวน 25,600 ครัวเรือน/คน รวม 400 หมู่บ้าน 165 ตำบล

สภาพที่เป็นอยู่

1)ระบบงานตามยุทธศาสตร์ โครงสร้าง พื้นที่ และอื่นๆ ต่างคนต่างทำ

2)ชุมชนไม่มีทิศทาง/เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของหน่วยงาน

สภาพในฝัน

1)บูรณาการงานตามยุทธศาสตร์ โครงสร้าง พื้นที่และอื่นๆอย่างมีเป้าหมาย

2)ชุมชนมีทิศทาง/เป้าหมายการพัฒนาจากฐานความรู้ที่เป็นจุดแข็งของตน หน่วยงานเป็นของชุมชน

(ขยายความสภาพที่เป็นอยู่)

รูปที่วาด เป็นรูปปลาตาบอด หมายถึงชุมชนไม่มีทิศทางเป้าหมาย ถ้าลงรายละเอียดก็คือภายใน ชุมชนจะมีปลาตัวเล็กๆ(แบบโมบาย)หมายถึงกลุ่มต่างๆในชุมชนก็ไม่มีทิศทางเป้าหมาย หรือมี ทิศทางเป้าหมายที่ต่างๆกันไป

ภายนอก(สี่เหลี่ยมที่มีลูกศรมากระทำกับตัวปลา)คือกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ ส่วนใหญ่จะมี เป้าหมายรายกิจกรรม(outputของกิจกรรม)มิใช่มุ่งผลสัมฤทธิของงาน และต่างก็มีเป้าหมายของ ตัวเอง แม้เป้าหมายรวมอาจดูว่าคล้ายๆกันคือสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน แก้ปัญหาความยากจน แต่เมื่อทำเป็นโครงการ/กิจกรรมจะเหลื่อมกันทั้งเวลาและกลุ่มเป้าหมาย ทำให้พลังหักล้างกันเอง สุดท้ายปลาตาบอดจะหมุนติ้วไปตามโมเมนต์ของแรงจากภายนอกที่ไม่ผสานไปในทิศทางเดียวกัน

สำหรับสภาพในฝันจะบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่างๆให้เป็นไปในทิศทาง/เป้าหมาย เดียวกันโดยกระบวนการจัดการความรู้จะเสริมการเรียนรู้ให้ชุมชนมีทิศทาง/เป้าหมายในการพัฒนาของตนเอง โดยเริ่มจากทุนรายครัวเรือนจัดแบ่งเป็น 4 ระดับการพัฒนา (ยากจน พอมีพอกิน มีกิน มีใช้ มั่งมีศรีสุข) มีการเชื่อมโยงกลุ่มย่อย(ปลาเล็กๆ)ภายใน เรียนรู้กันเป็นเครือข่ายเพื่อยกระดับการพัฒนาอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน

ทั้งชุมชน รัฐและเอกชน จะบูรณาการการทำงาน กลายเป็นปลาตาดีที่มองเห็นเป้าหมาย ใช้กำลังหางจากการวิเคราะห์ทุนครัวเรือนเพื่อการพึ่งตนเอง พึ่งพากันในชุมชนแหวกว่ายไปสู่เป้าหมายอย่างเต็มกำลัง หากหางไม่แข็งแรงพอ ก็มีแรงหนุนเสริมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่เป็น สายน้ำช่วยฝึกปรือให้หางแข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นสายน้ำที่ไหลไปในทิศทางเดียวกันกับ เป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย(ไม่เป็นสายน้ำวนให้ปลาตาบอดหมุนติ้วเช่นเก่าก่อน)

กระบวนการเรียนรู้

สำรวจทุนครัวเรือน ทำแผนชีวิต/ชุมชน เพื่อก้าวไปสู่วิสาหกิจชุมชนอย่างมีคุณภาพ (มาตรฐานชุมชน) ที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (จัดการความรู้)

เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง และสังคมฐานความรู้

การจัดขบวน

1)คณะกรรมการอำนวยการ (คุณเอื้อจังหวัด) ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ปลัดอบจ.และนายอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน (CKOจังหวัด) ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้คนทำงานภายในหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบทำงานได้อย่างคล่องตัว เต็มประสิทธิภาพ และประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นเพื่อเชื่อมโยงแผนงานเชิงโครงสร้างให้กลมกลืนกัน

2)คณะทำงานสนับสนุนภาคประชาชน (คุณเอื้ออำเภอ/ตำบล) ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ กำนันและนายกอบต. โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน (CKOอำเภอ) ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้คนทำงานภายในหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบทำงานได้อย่างคล่องตัว เต็มประสิทธิภาพ และประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นเพื่อเชื่อมโยงแผนงานเชิงโครงสร้างให้กลมกลืนกัน

3)คณะทำงานทางวิชาการ (ทีมวิชาการและคุณอำนวยจังหวัด) จำนวน 52 คน แบ่งเป็น 5โซนตามภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำ(ปากพนัง1 ปากพนัง 2 ตาปี 1 ตาปี 2 และลุ่มน้ำกลาย) แต่ละโซนมีทีมประสานงาน ทีมบันทึกความรู้ ทีมเชื่อมโยงการทำงาน ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานด้านการจัดการความรู้ของคุณอำนวยตำบล คุณเอื้อจังหวัด คุณเอื้ออำเภอและตำบล

4)คณะทำงานสนับสนุนการเรียนรู้ระดับตำบล (คุณอำนวยตำบล) จำนวน 495 คน ตำบลละ 3 คน

เป็นอย่างน้อย ประกอบด้วยผู้ประสานงาน ผู้บันทึกความรู้ ผู้นำกระบวนการประชุม ซึ่งทั้ง3คนสามารถทำหน้าที่สับเปลี่ยนกันได้ ทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคุณอำนวยหมู่บ้านและ คุณกิจเพื่อเรียนรู้สถานภาพของครัวเรือน/ชุมชนของตนเอง จัดระดับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมกับครัวเรือนเป้าหมาย ยกระดับการพัฒนาโดยจัดการเรียนรู้อย่างเข้มข้นเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการดำรงอยู่อย่างรู้เท่าทัน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

5)ผู้ปฏิบัติการระดับหมู่บ้าน-พัฒนาเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน (คุณอำนวยหมู่บ้าน) จำนวน 3,200 คน หมู่บ้านละ 8 คน ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้อย่างเข้มข้นเพื่อยกระดับการพัฒนาของคุณกิจให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

6) ผู้ปฏิบัติการระดับครัวเรือน (คุณกิจเป้าหมาย) จำนวน 25,600 คน เป็นเป้าหมายหลักของ โครงการที่ต้องการยกระดับการพัฒนาให้สูงขึ้นจากระดับที่วิเคราะห์ไว้ในช่วงต้น(4 ระดับ)

ที่จริงทั้งขบวนต้องยกระดับการพัฒนาไปตามบทบาทของแต่ละคุณ ทั้งคุณเอื้อจังหวัด คุณเอื้ออำเภอ/ตำบล ทีมวิชาการและคุณอำนวยจังหวัด คุณอำนวยตำบลและหมู่บ้าน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือเมืองแห่งการเรียนรู้ และบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศ คือ สังคม ฐานความรู้

หมายเลขบันทึก: 16536เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท