เสียวฟัน ทำอย่างไรดี


อาการเสียวฟันเป็นปัญหาช่องปากที่พบบ่อยที่สุดในคนอเมริกัน มีการประมาณการณ์ว่า ผู้ใหญ่อเมริกันประมาณ 40 ล้านคนมีปัญหาเสียวฟัน (sensitive teeth)...

Hiker 

อาการเสียวฟันเป็นปัญหาช่องปากที่พบบ่อยที่สุดในคนอเมริกัน มีการประมาณการณ์ว่า ผู้ใหญ่อเมริกันประมาณ 40 ล้านคนมีปัญหาเสียวฟัน (sensitive teeth)

อาการเสียวฟันเกิดจากเคลือบแข็ง (enamel) ชั้นนอกสุดของฟันสึกกร่อนไป หรือเหงือกร่นลงไป ทำให้เนื้อฟันด้านใน (dentin) สัมผัสกับอาหาร

เมื่อเนื้อฟันด้านในสัมผัสของร้อน ของเย็น แรงกด เช่น แรงกดจากการแปรงฟัน ฯลฯ และกรดต่างๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ฯลฯ อาจเกิดอาการเสียวฟันขึ้นได้

ข่าวดีสำหรับอาการเสียวฟันคือ ส่วนใหญ่ป้องกัน และรักษาให้ทุเลาได้ อย่างไรก็ตาม... ธรรมชาติประการหนึ่งของข่าวดีคือ ข่าวดีบางทีก็มาคู่กับข่าวร้าย

ข่าวร้ายสำหรับอาการเสียวฟันคือ เมื่อเป็นแล้วรักษาไม่หาย ไม่ต้องตกอกตกใจไปนะครับ ดูแลรักษาดีๆ... ถึงไม่หายก็อยู่ได้สบายทีเดียว

คำแนะนำเพื่อป้องกัน และรักษาอาการเสียวฟันมีดังต่อไปนี้ครับ...

  • แปรงเบาๆ:
    เรื่องเหงือกและฟันคล้ายกับเรื่องอีกหลายเรื่องในชีวิตที่ควรปฏิบัติด้วยความทนุถนอม อาศัยความอ่อนโยน มิใช่ความอ่อนแอ ครูภาษาไทยของผู้เขียนท่านสอนไว้อย่างนี้

    คนอเมริกัน 90 % แปรงแรงมากเกิน วิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบว่า เราแปรงแรงเกินไปหรือไม่ ให้ดูที่แปรงสีฟัน ถ้าขนแปรงบานออกแสดงว่า แปรงแรงเกินไป การจับแปรงแบบจับปากกามีส่วนช่วยลดแรงกดต่อเหงือกและฟันได้มากกว่าการกำมือแปรง

  • อย่าลากแปรงเป็นทางยาว:
    การแปรงฟันแบบลากไปมาเป็นทางยาวคล้ายการถูพื้น (scrub) มีส่วนทำให้ฟันและเหงือกสึกกร่อนเพิ่มขึ้น ควรแปรงวนเป็นวงกลมในระยะทางสั้นๆ (Bass technique) ควรขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ช่วยทันตแพทย์เกี่ยวกับวิธีแปรงฟันให้ถูกวิธี

<ul><li>ใช้แปรงขนนุ่ม:
ควรเลือกใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม (soft) หรือนุ่มพิเศษ (extrasoft) และเปลี่ยนแปรงใหม่ทุก 3 เดือน หรือเปลี่ยนทันทีที่ขนแปรงบานออก
</li></ul><p></p><ul><li>แปรงฟันวันละ 2-3 ครั้ง:
ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อย่างมากวันละ 3 ครั้ง ถ้าแปรงมากกว่าวันละ 3 ครั้งจะทำให้เหงือกร่นลง เสี่ยงต่ออาการเสียวฟัน
</li></ul><p></p><ul><li>

แปรงฟันครั้งละ 2-3 นาที:
เรื่องเหงือกและฟันก็คล้ายกับเรื่องของชีวิตหลายเรื่องจำเป็นต้องอาศัยความ “ถี่ถ้วน (thoroughness)”
การแปรงฟันให้ครบทุกซี่ ทุกด้านจำเป็นต้องใช้เวลา 2-3 นาที หรือ 2 นาทีถึง 3 นาทีครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาของเพลงสากลนิยมตามวิทยุ (popular song) จบ 1 เพลงพอดี แปรงนานเกินไปอาจจะไม่ดี เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เหงือกร่น

</li></ul> <ul><li>อย่าเคี้ยวน้ำแข็ง:
น้ำแข็งมีความ “แข็ง” มากกว่าที่เราคิด การเคี้ยวน้ำแข็งจะทำให้ฟันแตกหรือหักเป็นรอยร้าวขนาดจิ๋ว เปรียบคล้ายแก้วร้าวที่ไม่นานก็จะแตก (สำนวนนี้ขอยืมมาจากเพลงชื่ออะไรก็ไม่ทราบ เพราะไม่ชอบฟัง) เมื่อเคลือบฟันด้านนอก (enemel) มีแผลมากพอจะเกิดอาการเสียวฟัน
</li></ul><p></p><ul><li> อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน:
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนพิจารณาใช้ </li></ul><p></p><ul><li>ดื่มน้ำผลไม้แล้วรีบบ้วนปาก:
น้ำผลไม้หลายชนิด เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว ฯลฯ มีกรดทำให้ฟันสึกเพิ่มขึ้น ท่านที่มีอาการเสียวฟันควรหัดดื่มน้ำผลไม้ให้เร็วหน่อย เพื่อให้กรดในน้ำผลไม้มีเวลาสัมผัสเนื้อฟันน้อยลง และรีบบ้วนปากด้วยน้ำหลายครั้งทันที หลังจากนั้นอย่าเพิ่งรีบแปรงฟัน ให้รอ 15 นาทีค่อยแปรงฟัน เพราะเคลือบฟันอาจจะอ่อนกว่าปกติชั่วคราว(หลังดื่มน้ำผลไม้ใหม่ๆ)
</li></ul> <ul><li>งดดื่มน้ำอัดลม:
ควรงดดื่มน้ำอัดลม น้ำอัดลมมีกรดหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทำลายเคลือบฟันอย่างแรง ถ้าพลาดพลั้งเผลอไผลดื่มเข้าไปให้รีบบ้วนปากด้วยน้ำหลายครั้งทันที หลังจากนั้นอย่าเพิ่งรีบแปรงฟัน ให้รอ 30 นาทีค่อยแปรงฟัน เพราะเคลือบฟันอาจจะอ่อนกว่าปกติชั่วคราว(หลังดื่มน้ำผลไม้ใหม่ๆ)
</li></ul><p></p><ul><li>ใช้ยาสีฟันพิเศษ:
ยาสีฟันที่มีสารโปแทสเซียม หรือสตรอนเทียมผสมอยู่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ ยาสีฟันเหล่านี้อาจใช้เวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์กว่าจะออกฤทธิ์ได้เต็มที่
</li></ul><p></p><ul><li> ใช้ไหมขัดฟัน:
ใช้ไหมขัดฟันเบาๆ วันละครั้ง เพื่อลดคราบจุลินทรีย์ (plaque) ที่ทำให้เกิดกรดไปทำลายฟัน และเกิดการอักเสบเรื้อรัง</li></ul><p></p><ul><li>ปรึกษาทันตแพทย์:
ถ้าทำ 8 วิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อพิจารณารักษาด้วยวิธีพิเศษ เช่น การเคลือบฟลูออไรด์ อุดฟัน ครอบฟัน ฯลฯ ต่อไป
</li></ul><p>แหล่งข้อมูล:</p><ul>

  • ขอขอบคุณ > Karen Barrow. Chew on This: Soothing Sensitive Teeth. > [ Click - Click ] > February 23, 2006.
  • ขอขอบคุณ > Taking care of your mouth. > [ Click - Click ]  > December 26, 2005.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ความเห็นและการอ้างอิงในบันทึกเป็นไป เพื่อสนับสนุนการให้ข้อมูลข่าวสาร และส่งเสริมการดูแลสุขภาพ... ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาทันตแพทย์ แพทย์ หรือบุคลากรสุขภาพที่ดูแลท่าน เช่น หมออนามัย พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์  > ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙.
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 16503เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท