Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๔)_๒


คุณนภินทร  ศิริไทย: 
         เห็นไหมคะว่าเมื่อวานนี้เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 10 คนเราก็ได้รับความรู้มากมาย  ซึ่งถ้าเราแลก เปลี่ยนเรียนรู้มากกว่านี้จะมีพลังมหาศาล แต่ว่าอยากจะให้ทุกท่านได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษาบ้าง เมื่อวานนี้เราพูดถึงนักปฏิบัติเป็นครูเป็นคุณอำนวย เป็นคุณกิจ วันนี้เราจะมาดูว่าในฐานะที่เป็น CKO ซึ่งเป็นนักบริหารหรือผู้บริหารของโรงเรียนมีบทบาทในการสนับสนุน เพื่อพัฒนานักเรียน สุดท้ายคือมุ่งไปสู่การพัฒนาองค์กรได้อย่างไร   แต่ละท่านจะมีบทบาทอย่างไร ขอเชิญ อ. จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา  ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาครั้งนี้  ขอเรียนเชิญค่ะ

อ. จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา :
         ขอกล่าวสวัสดีท่านที่เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่เป็นครูของแผ่นดิน ดิฉัน ดูตาม profile    แสดงว่าทุกท่านเห็นด้วยกับความรู้ที่ฝังแนบแน่นกับในองค์กร   แม้ว่าเราไม่ได้เป็นครู แต่เราจะเป็น coach measurer  ในอนาคตในหน้างาน   ตรงนี้จะให้ขุมทรัพย์อย่างมาก  ดิฉันก็ต้องกราบขอบพระคุณ สคส. ที่เปิดพรมแดนหรือพื้นที่โอกาสให้ดิฉันซึ่งเป็นนักจัดการความรู้ภาครัฐ กับเอกชน  เพราะ  thesis  ดิฉันทำในเรื่องนี้  ทางด้านการศึกษายังไม่ค่อยมีข้อมูลเท่าไร  ถือว่าวันนี้ทาง สคส. ได้เปิดพื้นที่ให้ดิฉันได้เติมเต็มมารับความรู้จากท่าน  เมื่อวานเราคุยเรื่องกลยุทธ์ในจัดการความรู้ แต่วันนี้เราจะมาฟังเรื่องเล่าที่ประสบความสำเร็จของ CKO การบริหารจัดการ  การจัดกระบวนการเรียนรู้  ถามว่า CKO   สำคัญอย่างไร  วันนี้มีศัพท์ใหม่ที่เรียกว่า CKO  ตรงนี้ literature กำลังมีเยอะเลย   เพราะ CKO  มีที่ฝังอยู่ในองค์กร  เพระฉะนั้นผู้ที่เป็น  coach measurer จะต้องมีแนวคิดที่หลากหลายสำหรับคนที่หลากหลาย   พบว่าผู้นำเป็นปัจจัยความสำเร็จที่เรียกว่าเส้นทางอธิพลที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรสูงมาก  เพราะฉะนั้นในวันนี้บางท่านอาจยังไม่ได้เป็นผู้บริหาร แต่ท่านอาจมีลักษณะการนำ การนำมีลักษณะขององค์กรก็ได้  ในวันนี้เราจะได้ตัวอย่างของผู้บริการการศึกษา  และในวันนี้อยากเชิญชวนทุกท่านเป็นคุณลิขิตร่วมกัน ว่าท่านได้อะไร แล้วเรามาแลกเปลี่ยนกันตอนเย็นลิขิตได้อะไร  แต่พี่ๆ เติมเต็มให้เห็นมุมมองหลายๆ มุมมอง ขอเรียนเชิญเติมท่านเติมเต็มตอนเย็น เพื่อไม่ให้เสียเวลาดิฉันจะขอปรับเวลา เดิมจะมีการนำเสนอสองท่านและเป็นการเสนอ knowledge assets จะเปลี่ยน เป็นตอนเย็นเพื่อท่านผู้บริหารจะมีเวลาได้เล่าอย่างเต็มที่  และใช้เวลาให้มากเท่าที่เรามีอยู่  
         ในวันนี้เราได้รับเกียรติจากอาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข จากโรงเรียนเพลินพัฒนา  กรุงเทพ,  อาจารย์ชาญเลิศ  อำไพวรรณ  โรงเรียนวัดศรัทธาธรรม  จังหวัดสมุทรสงคราม  
ในช่วงแรกดิฉันจะขอแนะนำประวัติของวิทยากรโดยสังเขป ท่านแรกคือท่านอาจารย์ธิดา ซึ่งเรารู้จักกันในนามคุณครูหวาน แห่งโรงเรียนเพลินพัฒนา กรุงเทพ สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ ว่ามีโรงเรียนหนึ่ง มีปรัชญา มีกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ สร้างปฏิสัมพันธ์ ซึ่งกระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์มีหลายระดับ  ตั้งแต่ ครู  นักเรียนและชุมชน   คุณครูหวานของดิฉัน เมื่อดู profile แล้วแล้วรู้สึกประทับใจ ท่านจบในระดับบัณฑิต ศึกษาถึง 3 ศาสตร์  ศาสตร์แรกท่านจบพฤกษศาสตร์ ศาสตร์ที่สองท่านจบปฐมวัย และศาสตร์สุดท้ายท่านจบบริหารการ ศึกษา และจบการศึกษาระดับมหาบัณฑิตด้านบริหารการศึกษาและแนะแนว เพราะฉะนั้นความหลากหลาย เป็นความงดงาม  อยู่ในธรรมชาติก็มีความงดงาม  อยู่ในคนก็มีความงดงามเช่นนั้นนี่เป็นความประทับใจ  อาจารย์มี motto  ที่ดิฉันจะเอาไปขายบอกว่า สังคมดี ไม่มีขาย  อยากได้ต้องช่วยกันสร้าง  เพราะฉะนั้น เรามาดูกันนะคะว่าสังคมนี้มีอะไรดีบ้างในบทบาทของอาจารย์ในการสร้าง ขอกราบเรียนเชิญค่ะ

อาจารย์ธิดา  พิทักษ์สินสุข: โรงเรียนเพลินพัฒนา  กรุงเทพ 
         สวัสดีคณาจารย์ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน และท่านผู้ดำเนินรายการ  วันนี้คงมีจากหลายกลุ่ม วันนี้ก็จะมาเล่าเรื่อง  การเล่าเรื่องนี้เหตุการณ์อื่นก็คงเหมือนกันเพราะเป็นเรื่องการบริหารจัดการ ที่นี้ทำความรู้จักกับโรงเรียนนิดหนึ่งนะคะ โดยความมุ่งมั่นของโรงเรียนความตั้งใจของคณะผู้บริหารและคณะครูของเรา  ค่อนข้างจะสอดคล้องกับองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ เพราะว่าโดยอุดมการณ์ของเรา เราบอกว่าโรงเรียนเพลินพัฒนาจะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ผ่านองค์กรทางวัฒนธรรม  เป็นองค์กรที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้กับคนในองค์กรของเรา  เราจัดการความรู้อย่างไร เรามีการกำหนดป้าหมายหรือว่าวิสัยทัศน์ของเรา การกำหนดเป้าหมายเราจะมีสามแง่มุม  ในเรื่องของการงาน คือผลของงานที่จะเกิดขึ้น คือเรื่องของคนและพัฒนาองค์กรไปด้วย  เพราะเราต้องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นเป้าหมายที่จะทำให้เกิดผลงานเท่านั้น แต่กระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อยกระดับความรู้ของผู้คนในองค์กรของเรา และชุมชน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตรงนี้คือหัวใจ ในฐานะที่เป็น CKO เราจัดการอย่างไรให้ผู้คนของเรา องค์กรของเราเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำอย่างไรที่เราจะคัดกรองความรู้เลือกสรรจากภายนอกเข้ามาและเกิดการเรียนรู้อีก จากนั้นแล้วจากความรู้ที่เราได้มาเราจะตกผลึกอย่างไร และให้เกิดขึ้นคลังความรู้ และคลังความรู้ที่เกิดขึ้นจะย้อนกลับไปอย่างไรที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชนของเราอีก    ในฐานะที่เป็น CKO เรามองถึงวิสัยทัศน์ เรามองไปถึงผังโครงสร้างขององค์กรเอื้อต่อการเรียนรู้หรือไม่  ในส่วนของโรงเรียนเราจะจัดแบ่งงานเป็น สามด้านด้วยกันเพื่อเอื้อกับการจัดการความรู้ ส่วนงานการบริหารจัดการทั่วไป จะเกี่ยวกับการบริหารความรู้กับผู้ปกครอง  ส่วนงานบริการจัดการที่โรงเรียนเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของนักเรียนของครู งานที่สามคือด้านพัฒนาการศึกษา กลุ่มงานนี้เป็นงานที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับคลังความรู้ที่เกิดขึ้น โดยที่แต่ละส่วนมักจะทำงานของตนและทำงานที่เกี่ยวพันกันทั้งหมดไม่มีการแยกส่วนกันเพราะจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นฐานสำคัญ เช่น หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญ หน่วยงานสำคัญหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยการถ่ายโอนความรู้และการสะสมคลังความรู้ ส่วนงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ก็จะเป็นงานที่เกี่ยวพันกับผู้ปกครอง  ในส่วนของโรงเรียนโครงสร้างของโรงเรียนได้แบ่งโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่  หมายความว่า ในแต่ละโรงเรียนจะมีครูใหญ่ สำนักงานธุรการของตนเอง ทำไมต้องมีโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่    นอกจากเป็นเรื่องของการกระจายอำนาจแล้ว   ยังเป็นเรื่องสำคัญแต่ละช่วงชั้นจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วข้ามช่วงชั้น แล้วข้ามหน่วยงาน การที่เราแบ่งโรงเรียนใหญ่ให้เป็นโรงเรียนเล็กทำให้การจัดการความรู้ถึงหน่วยย่อยทุกหน่วยได้มากที่สุด ส่วนฝ่ายพัฒนาการศึกษาเรามีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานที่กลั่นกรอง สร้างและพัฒนาองค์ความรู้  เพราะฉะนั้นโรงเรียนจัดการทำงานทุกส่วนงานของเราเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่สร้างและเรียนรู้การทำงาน  แต่เราจะวิจัยกับงานไม่ได้เป็นหน่วยงานที่แยกออกไป
         ส่วนงานที่สอง เป็นหน่วยงานประมวลและจัดการความรู้ที่มีอยู่ที่เกี่ยวพันกับงาน KM  หลังจากที่เรากำหนดวิสัยทัศน์ มีกลยุทธ์ในการจัดการ เราต้องทำขั้นตอนที่สอง การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ KS  knowledge  sharing ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญเพราะมีวิสัยทัศน์ มีอะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่มีกระบวนการตรงนี้  ก็ยากที่จะเกิด KM  ในการประชุมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายส่วนของโรงเรียนในแนวระนาบ เช่น ชั้น ป.1,2,3,4 มีการประชุมกัน ขณะเดียวกันสายงานวิชาก็มีการประชุมกันอีก  ถึงการประชุมที่เล็กคือการประชุมที่คู่กับผู้เรียน การประชุมนี้ต้องสะสมความรู้  ครูจะมีการบันทึก  ในทุกระดับ ความรู้จะเอาไปยกระดับความรู้  เพราะฉะนั้น ความรู้ที่ได้เอาไป พัฒนาการเรียนการสอน สื่อการสอน เอาไปพัฒนากระบวนการเรียนของเขา  กระบวนการทำงานของผู้สอน จะทำงานอยู่ที่กระบวนการวิจัยของเขา  การทำงานของเขาจะมีการวิเคราะห์ผลงานของเขาตลอดเวลา ดังนั้นความรู้งานวิจัยจะอยู่ในตัวเขาตลอดไป ที่นี้ความรู้  ที่สำคัญต้องสังเคราะห์และวิเคราะห์  ทำอย่างไรที่ความรู้จะอยู่ในองค์กร  ครูทุกคนจะทำงานบน intranet ที่นี้ความรู้ก็จะเป็นความรู้ส่วนกลางที่ครูจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนางานของตนแล้ว นอกจากนั้นจะมีการเรียนรู้ต่อเนื่อง จากครูสู่ผู้ปกครองด้วย  เป็นการจัดกิจกรรมเป็นการเสวนา ให้ผู้ปกครองทำความเข้าใจว่าครูจะมีการสอนลูกเขาอย่างไร  กลุ่มผู้ปกครองจะมีการจัดการความรู้อย่างไร พ่อแม่จะมีกิจกรรมหนึ่งที่น่ารักมาก  คือเขาจะรวมตัวกัน ตอนนี้มีครบเกือบทุกห้องแล้ว  อย่างคุณแม่ท่านนี้ ท่านเก่งเรื่องของโภชนาการอาหาร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการบันทึก ส่วนเด็กมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประมวลความรู้ลงไปในสมุดประมวลความรู้   และเขาจะถ่าย ทอดความรู้อย่างไร เพราะสมุดประมวลความรู้นั้นเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวัยของเขาที่จะสร้างตำราที่เขาสามารถทำได้
         ส่วนที่สามด้านที่จัดระบบโครงสร้างที่เกี่ยวกับความรู้   อันนี้หมายถึงความรู้ที่หลั่งไหลจากภายนอกแล้ว  ความรู้ที่เราแลกเปลี่ยนนี้ วิทยากรภายนอกเราหมายถึงผู้ปกครองของเราที่อยู่นอกโรงเรียน   ชุมชนที่อยู่รอบข้าง เราอยู่ข้างสวนผัก  เราจะมีลุงชวนที่เป็นผู้นำหมู่บ้านผู้นำชุมชน   ลุงชวนมีความสามารถในการทำสวนเกษตรอินทรีย์  สวนเพียงตน  คุณเอนก นาวิกมูล มีพิพิธภัณฑ์เด็กอยู่ใกล้โรงเรียน นอกจากนั้นเรายังมีวิทยากรภายนอกรวมถึงวิทยากรจากต่างประเทศ   ที่นี้เราจะจัดการความรู้ตรงนี้อย่างไร  แค่อบรมความรู้ตกอยู่กับตน  ทำเอกสารเป็นความรู้อย่างหนึ่ง  จัดบันทึกวีดีโอก็เป็นกระบวนการที่เราจัดการความรู้อย่างหนึ่ง ที่นี้เราจะสร้างขุมความรู้อย่างไร ตอนนี้เรากำลังพัฒนา เรามีหน่วยงานที่จะช่วยเก็บรวบรวมให้เกิดคลัง ทั้งจัด  เก็บ ค้นหา จัดเก็บ ความรู้จะเข้าไปอยู่หน่วยงาน ก็จะมีระบบ  intranet ที่จะช่วยในเรื่องของการสะสมความรู้และมีหน่วยงานที่ช่วย search   สุดท้ายเราก็หวังว่าเราจะพัฒนาโรงเรียนให้ได้ตามเป้าหมาย ในการพัฒนาโรงเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ผ่านทางวัฒนธรรม เราทำให้โรงเรียนเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ขณะเดียวกัน ครู  นักเรียน ผู้ปกครอง ก็เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีก  แล้วเราก็มีการขยายวงไปสู่เครือข่ายภายนอกซึ่งเป็นชุมชนของเราเอง   เราเคยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนต่างจังหวัด คือโรงเรียนลำปลายมาศ  เพราะเขาก็มีสิ่งที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเรา   
         ในฐานะที่เป็น CKO  เราคงให้ความสำคัญกับสี่เรื่องเป็นหลัก  เพื่อว่าความรู้ที่เกิดขึ้นมันเกิดเป็นตัวความรู้  และความรู้ก็ไหลเวียนไป ถ้าความรู้ที่เกิดขึ้นไหลเวียนไป  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มีทั้ง 4  ข้อนี้  ต้องส่งเสริมวัฒนธรรมให้ผู้คนมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีบรรยากาศที่เขากล้าแสดงความคิดเห็น ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเขา เพราะฉะนั้นบรรยากาศที่สำคัญคือ บรรยากาศแห่งการไว้เนื้อเชื่อใจกัน  บรรยากาศที่ทำให้คนไม่เสียหน้าถ้าเขาจะเสนอความคิดใหม่ๆ ตรงนี้สำคัญมากมิฉนั้นจะไม่เกิดการเรียนรู้    CKO ต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของคน เชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพมีความสามารถ    เพียงแต่ว่า เราจะให้โอกาสเขาหรือไม่ ในการพัฒนาศักยภาพของเขา ต้องทำให้เขาเห็นความก้าวหน้าของเขา  เพราะนี่คือผลตอบแทนของการเรียนรู้ที่ธรรมชาติสร้างมาแล้วให้มนุษย์ทุกคนรักการเรียนรู้ ให้โอกาสเขาได้งอกงาม เราต้องเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพและต้องเชื่อว่าราทุกคนพัฒนาได้ เชื่อว่าทุกท่านที่ทำหน้าที่เป็น CKOทุกคนคงจะเชื่อมั่นในแบบเดียวกันกับที่คุณครูหวานเชื่อว่าสิ่งที่ CKO ต้องให้ความสำคัญคือทั้ง 4 ข้อนี้เป็นรากฐานที่สำคัญ   ขอบพระคุณ
มีต่อ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16494เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท