การเคลื่อนนโยบายกับการพัฒนานโยบาย


กระบวนการเคลื่อนนโยบายอย่างมีส่วนร่วมน่าจะสะท้อนความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเปอร์เซ็นต์คนออกมาลงคะแนนเลือกตั้ง

สสส อยากเห็นการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพในสังคมไทย

ที่ผ่านมา สสส สนับสนุนหลายเครือข่ายให้ทำงานดีๆ และภาคที่ทำงานจำนวนไม่น้อยก็มักจะมาถึงข้อสรุปสำคัญที่ว่า ทำรณรงค์ให้ความรู้ไปเรื่อยๆ ก็คงเหนื่อยไปเรื่อยๆ

สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปคือไปทำให้เกิดนโยบายสาธารณะมาเป็นฐานเสริมการสร้างสุขภาพ

อย่างเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการสูบบุหรี่

พูดไปก็เหนื่อย ในที่สุดฝ่ายที่ทำงานบุหรี่ก็สรุปว่าต้องมีการควบคุมการโฆษณา

กลุ่มเด็กไทยไม่กินหวาน ให้ความรู้ว่ากินหวานไม่ดี แต่เด็กไทยรวมทั้งพ่อแม่ พอจะให้ลูกกินนมก็เจอแต่นมเด็ก แถมด้วยขนมเด็กที่ล้วนชวนให้เด็กติดหวาน

ที่เมืองนอกเด็กหาซื้อนำ้หวานกระป๋องได้ง่ายมากเพราะเครือ่งขายหยอดเหรียญมีทั่วไป

เลยมีนักวิชาการทำวิจัย และเสนอว่าควรมีกฏหมายห้ามการตั้งเครื่องขายนำ้หวานหยอดเหรียญในบริเวณโรงเรียน

เด็กๆจะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากของที่ทำให้สุขภาพเสื่อม เพราะบริโภคเกินโดยไม่รู้ตัว

หลายคนมองการที่นักวิชาการไปศึกษาวิจัยแล้วนำไปสู่การเสนอนโยบายว่า เป็นการเคลื่อนนโยบาย

หมายความว่าผู้กำหนดนโยบายเขาไม่ได้อยากให้เกิด แต่มีคนไปเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดนโยบายใหม่ๆ

คำว่า เคลื่อนนโยบายน่าจะมีนัยยะว่า สังคมมีกระบวนการพัฒนานโยบายอีกแบบหนึ่งที่อาศัยการเคลื่อนไหวจากส่วนของผู้ที่ไม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายโดยตรง

ความจริงจะเรียกมันว่าอะไรไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญน่าจะอยู่ตรงที่ว่า นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดได้ง่ายๆ  ยิ่งถ้าสาเหตุของสุขภาพเสื่อมมาจากการบริโภคสินค้าต่างๆมากเกิน และการบริโภคมากเกินมาจากการให้ข้อมูลที่ไม่ได้สมดุลย์ จนไม่เห็นถึงผลเสียของการบริโภคมากเกิน

นโยบายแบบนี้คงต้องมีการขับเคลื่อน อาจจะไม่ได้เริ่มจาก นักวิชาการในมหาวิทยาลย  แต่เป็นนักวิชาการชาวบ้าน อาจเป็นกลุ่มคนที่มารวมกันเพื่อศึกษาหาข้อมูล จนได้ความรู้ชัดเจนไปเคลื่อนนโยบายหลายเรื่องก็ได้

อย่างกรณีเครือข่ายเกษตรกรที่ยโสธรที่รวมตัวกันเพื่อทำเกษตรอินทรีย์

หรืออย่างกรณีมูลนิธิหยาดฝนที่ตรังที่เริ่มจากคนในพื้นที่ ที่เป็นห่วงนิเวศชายฝั่ง เลยลงมือเก็บข้อมูล แล้วเอาข้อมูลที่ได้ไปพูดคุยกับชาวบ้าน และฝ่ายต่างๆ ค่อยๆนำไปสู่ข้อตกลงในระดับชุมชนจนกลายเป็นข้อตกลงของฝ่ายราชการกับชาวบ้านในที่สุด

ผมเข้าใจว่าเราคงจะเห็นการเคลื่อนนโยบายมากขึ้น ไม่ปล่อยให้ฝ่ายผู้มีอำนาจมาเป็นคนพัฒนานโยบายอยู่ฝ่ายเดียว

ถ้ามีการเคลื่อนนโยบายอย่างมีส่วนร่วม สังคมน่าจะได้ชื่อว่ามีประชาธิปไตยมากกว่า การมาวัดว่าเลือกตั้งแต่ละครั้งมีคนมาลงคะแนนกี่เปอร์เซ็นต์

เราน่าจะมาช่วยกันสร้างตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย และสร้างรูปธรรมของความเป็นประชาธิปไตยกันใหม่

โดยการช่วยกันริเริ่ม และขับเคลื่อนนโยบาบสาธารณะที่จะทำให้เรามีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น

เพิ่งอ่านข่าวศูนย์นมแม่เปิดเผยว่าบริษัทนมผง โฆษณาผลิตภัณฑ์สร้างความเข้าใจผิด และผู้บริโภคก็เชื่อ และมีแนวโน้มจะซื้อตามโฆษณา

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่น่าจะมาช่วยกันคิดว่าเราควรจะมีนโยบายสาธารณะว่าด้วยการโฆษณากันยังไงดี

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16466เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท