เคี้ยวน้ำแข็งกับโรคเลือดจาง


"เดือนนี้ผู้เขียนเข้าร่วมประชุมเรื่องต่างๆ ในหน่วยงานหลายครั้ง ท่านผู้เข้าร่วมประชุมท่านหนึ่งชอบเคี้ยวน้ำแข็ง จึงถือโอกาสแนะนำท่านว่า การเคี้ยวน้ำแข็งอาจเป็นอันตรายต่อฟันได้...

เดือนนี้ผู้เขียนเข้าร่วมประชุมเรื่องต่างๆ ในหน่วยงานหลายครั้ง ท่านผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งชอบเคี้ยวน้ำแข็ง จึงถือโอกาสแนะนำท่านว่า การเคี้ยวน้ำแข็งอาจเป็นอันตรายต่อฟันได้

กลไกที่การเคี้ยวน้ำแข็งทำให้ฟันเสียหายที่สำคัญเกิดจากการแตกร้าวเป็นร่องเล็กๆ (microfractures) ก่อน หลังจากนั้นรอยร้าวจะลามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ฟันแตกเป็นร่อง

...

ฟันที่แตกเป็นร่องอาจจะผุเป็นโรคฟันผุ เคลือบฟันอาจจะแตกออก ทำให้เสี่ยงต่ออาการเสียวฟันได้ง่าย

เว็บไซต์เมโยคลินิก (www.mayoclinic.com) มีช่องทางให้ผู้เข้าชมถามปัญหาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้ วันนี้ (22 กุมภาพันธ์ 2549) มีคำตอบจากผู้ชมที่เขียนไปถามว่า การเคี้ยวน้ำแข็งเกี่ยวข้องกับเรื่องเลือดจางหรือไม่

...

อาจารย์ท่านตอบว่า เป็นไปได้ การกินสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร เช่น น้ำแข็ง ดินเหนียว แป้งข้าวโพด กระดาษ ฯลฯ จัดเป็นปัญหาสุขภาพกลุ่ม “ไพค่า (pica)”

ความรู้สึกอยากกินและเคี้ยวน้ำแข็งมักมีความสัมพันธ์กับโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก นอกจากนั้นยังอาจเป็นผลจากปัญหาทางจิตใจ เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิด-ย้ำทำ พัฒนาการผิดปกติในเด็ก ฯลฯ

...

ท่านผู้อ่านเคยชอบเคี้ยวน้ำแข็งไหมครับ ถ้าไม่มีก็ขอแสดงความยินดีด้วย ถ้ามีก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจ ตรวจเลือดดูก่อนว่า มีโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กหรือไม่

ถ้าตรวจพบนับว่าโชคดีมาก เพราะโรคนี้รักษาให้หายได้ หลังจากรักษาโรคเลือดจางแล้วจะสดชื่นขึ้น แข็งแรงขึ้นมาก

...

ถ้าไม่มีโรคเลือดจาง การออกกำลังกายและการฝึกหายใจช้าๆ ให้ท้องป่องออก-ยุบเข้าช่วยลดความเครียดได้ ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆ ควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน โดยเฉพาะการปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์จะช่วยได้มาก

คนเราป่วยได้ไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ การเจ็บป่วยทางใจก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ควรหาทางแก้ไข ให้ร้ายกลายเป็นดี ให้หนักกลายเป็นเบา เพราะคนเรามีศักยภาพที่ทำอะไรดีๆ ได้มากกว่าที่คิดไว้เสมอ

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

 

 

ที่มา                                                  

...

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ > 18 ตุลาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 16341เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

ดิฉัน เพิ่งมาทราบว่าตนเองเป็นโรคเลือดจาง

ดิฉัน มีสีเหลืองที่ตาขาว มึนหัวบ่อย

ดิฉันมีพฤติกรรม ชอบกินน้ำแข็ง กินตลอดมาเป็นเวลา8ปีแล้ว

ดิฉันควรทำไรต่อไปค่ะ

ติดต่อกับที่ [email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณพลอย

  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มุ่งส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค 
  • ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาโรค
เรียนเสนอให้ปรึกษาหมอใกล้บ้านครับ

คือหนูชอบกินน้ำแข็งมีวันนี้ที่กินเข้าไปแล้วรู้สึกชาที่ปากค่ะ

หนูกังวลควรทำไงดีค้ะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท