Open mind คุณมีอยู่ในใจบ้างหรือยัง


การเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นคือปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การทำงานต่างๆ ที่แสนยากเย็น สำเร็จลงไปได้ และต้องใช้หัวใจสัมผัสด้วยตัวเอง
วันนี้เป็นวันที่สามของการทำงานของจ๋า และได้มีโอกาสเข้าประชุมร่วมกับแพทย์หญิงฉายศรี สุพรศิลป์ชัย ผู้อำนวยการสำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ (Bureau of Non Communicable Disease: NCD) และทีมงาน อีก 3 ท่าน ซึ่งคุณหมอมีความตั้งใจที่จะดำเนินการจัดความรู้ในหน่วยงานของตนเอง โดยความต้องการจะใช้ KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสิทธิภาพ 3 ประเด็นหลักๆ คือ นโยบาย ระบบ และกิจกรรมนำร่อง และต้องการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ โดยมองที่ปัญหา เหตุของการเกิดปัญหา และเกิดการจัดการความรู้โดยให้มีความชัดเจนของเนื้องาน ซึ่งคุณหมอได้ฉายภาพมุมมองและความต้องการที่ชัดเจนให้กับคุณหมอวิจารณ์ฟัง 

         และจากการพูดคุยกันในที่ประชุมทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างคนทำงานด้วยกัน มีปัญหามากมายนับตั้งแต่ ขาดการรวมกลุ่มที่ดี ขาดความสามัคคีการร่วมมือร่วมมือร่วมใจในการช่วยงานส่วนรวม อันเนื่องมาจากงานล้นมือ ขาดงบประมาณในการดำเนินการ รวมไปถึง การที่เจ้าหน้าที่ใน NCD ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ ซึ่งน่าจะมีมุมมองที่แตกต่างแต่ขาดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมากๆ ถ้าต่างคนไม่หยิบวิทยายุทธที่ตนเองร่ำเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และงานจะสำเร็จตามเป้าหมายได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กรเข้าใจในนโยบายนั้นอย่างถูกต้องและดำเนินงานตามนโยบายนั้นๆ ดังนั้นควรให้มีการจัดเวทีแสดงความเข้าใจซึ่งกันและกันของ NCD โดยให้แสดงความคิดเห็นในเชิงบวก ซึ่งการแสดงความคิดเห็นนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดของเจ้าหน้าที่แต่ละคนที่ต้องการให้องค์กรรับทราบปัญหาของตนเพื่อจะได้นำไปแก้ไขและนำพาองค์กรนั้นไปสู้เป้าหมายที่ผู้บริหารได้วางไว้นั่นคือการเป็น National Agency ของการควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับประเทศ และเจ้าหน้าที่ทุกคนควรลด Ego และเปิดใจยอมรับฟังคำตอบในทุกๆด้าน และต้องฟังเสียงด้วยหัวใจ และหลังจากนั้นก็อาจจะมีการเปิดเวทีสาธารณะหน่วยงานหลักอื่น คือ สคร. (สำนักควบคุมโรค) และ สสจ. (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) โดยการทำผ่านพื้นที่นำร่อง 12 จังหวัดในประเทศไทย เป็นต้น

       แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีผู้บริหารระดับสูงคือคุณหมอฉายศรีให้ความสำคัญในการริเริ่มให้มีการจัดการความรู้ขึ้นใน NCD และเมื่อมีการจัดการความรู้ขององค์กรนี้แล้ว อาจส่งผลที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการจัดการความรู้ภายในเครือข่ายและต่อยอดไปจนถึงเครือข่ายอื่นๆเป็นลำดับต่อไปในลักษณะลูกโช่

        จากที่เล่ามาทั้งหมดก็อยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้เปิดใจในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นในเรื่องนั้นๆ ในเชิงบวกจะทำให้ท่านรู้สึกถึงแนวคิดใหม่ๆ ที่ตัวท่านเองอาจคิดไม่ถึงหรือไม่รู้มาก่อน และนำมาปรับใช้ในงานและชีวิตของตนเองก็เป็นได้
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16338เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะที่ดี ทาง NCD จะได้นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

    I totally agree with Ms Ja about having open mind between individuals. There have been numerous examples of having teamwork towards the achievement in organizations. Infact, KM proposed by Dr. Vicharn is very practical and compatible with organization where the coorperation is much involved. For example, to be a "active/proactive listener" is one of the first role in KM we might thing of. 

      After all, to use KM effectively in organizations, I 'd like to see we go step by step. And don't forget to evaluate and modify the result until you meet the effective KM.

This is quite a nice start, actually.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท