เครือข่าย : การบริหารจัดการ


หากเครือข่ายทางสังคมจะบริหารจัดการให้เป็นไปตามธรรมชาติ พึ่งพาอาศัยกัน เกื้อหนุนกันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด มีพลังอย่างสร้างสรรค์ เป็นภาพของความร่วมมือที่สวยงามยิ่ง
  • การบริหารจัดการเครือข่าย

  • หลักในการทำงานเครือข่ายมีดังนี้ (de la Sierra, 1995 และ ส.ย.ช., 2541)

  • ๑. สร้างความผูกพันและรับผิดชอบต่อการสร้างเครือข่าย ผู้ปฏิบัติงาน เอาด้วย มีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกัน

  • ๒. การสร้างเครือข่ายต้องใช้เวลา ผู้บริหารต้องให้เวลากับการสร้างเครือข่าย และสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ

  • ๓. มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ข้อนี้เป็นสำคัญยิ่ง หากไม่ไว้ใจในองค์กรหรือบุคคลที่จะเข้าไปสร้างเครือข่ายด้วย เลิกคิดเรื่องการสร้างเครือข่ายได้ 

  • ๔. ยึดหลักเสมอภาคในการทำงาน และมีความโปร่งใส

  • ๕. ยึดอัตตาและประโยชน์ของตัวองค์กรให้น้อย มองให้ชัดถึงเป้าหมายของเครือข่าย

  • ๖. ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสิ่งจำเป็น สมาชิกอาจต้องยอมเสียสละบางอย่างเพื่อเครือข่ายประสบความสำเร็จ

  • ๗. การลงนามในสัญญาหรือข้อตกลง ต้องทำอย่างรอบคอบและมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

  • ๘. ต้องมีความยืดหยุ่นพอสมควร เพราะสถานการณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลง และต้องเข้าใจในข้อจำกัดของแต่ละฝ่าย

  • ๙. ต้องมีความคาดหวังที่ตรงกันและมีความสุขในการทำงานเครือข่าย

  • ๑๐. ตระหนักในความแตกต่างทางวัฒนธรรมและพื้นที่

  • ๑๑. ตระหนักในความเป็นอิสระขององค์กรที่ร่วมเป็นเครือข่าย

  • ๑๒. รับผิดชอบในความสำเร็จหรือล้มเหลวร่วมกัน

  •  
  •           นอกจากหลักในการทำงานแล้ว เราจำเป็นต้องทราบว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีความสำคัญต่อการบริหารเครือข่าย และองค์ประกอบใดที่จะทำให้การทำงานเครือข่ายประสบความสำเร็จได้
  •  
  •  
  • ปัจจัยที่สำคัญต่อการบริหารเครือข่าย

  •           Badaracco, 1998: p. 193-194 เสนอว่า จุดเริ่มต้นที่จะเข้าใจในการบริหารเครือข่ายก็คือ การตรวจสอบปัจจัยที่สนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการให้ได้มาซึ่งประสิทธิผลของเครือข่าย ซึ่งมีน้ำหนักไม่เท่ากันในแต่ละสถานการณ์ ได้แก่

  • l ความชัดเจนในเป้าหมายของเครือข่าย

  • l   แรงจูงใจที่จะสร้างและแบ่งปันความรู้ในการทำงาน มีทรัพยากรต่างๆอย่างเพียงพอ รวมถึงคนที่มีคุณภาพด้วย

  • l มีผู้นำที่ให้ความสำคัญด้วย

  • l ทำงานเป็นทีมและมีความผูกพันต่อความสำเร็จของทุกองค์กรที่เป็นเครือข่าย

  • l สนับสนุนซึ่งกันและกัน พร้อมเผชิญความสำเร็จหรือล้มเหลวร่วมกัน

  • l ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

  •  
  •  
  • องค์ประกอบความสำเร็จในการทำงานแบบเครือข่าย

  •           ความสำเร็จของการทำงานแบบเครือข่ายมิได้ตัดสินกันเพียงจำนวนสมาชิกหรือภาคีเครือข่ายเท่านั้น แต่ต้องมองให้ถึงความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางร่วมกันไว้ (Eberherd E. Scheuing, 1994)

  • l          มีพันธสัญญาที่หนักแน่นระหว่างกัน (Commitment)

  • l          มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา (Continuous improvement)

  • l          มีพันธกรณีระยะยาว (Long-term Commitment)

  • l          การเสริมพลัง (Empowerment)

  • l          สร้างค่านิยมร่วมกัน (Shared value)

  • l          มีภาวะผู้นำ (Leadership)

  •  
  • นอกจากความเข้าใจในแนวทางที่จะบริหารเครือข่ายให้ประสบผลสำเร็จแล้ว  ควรทำความเข้าใจจุดอ่อนหรือปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับการทำงานแบบเครือข่าย
  •  
  • ปัญหาในการทำงานแบบเครือข่าย 

  • ในการทำงานแบบเครือข่ายย่อมจะมีปัญหาด้วยเช่นกัน เมื่อได้ทำงานแล้ว เราอาจพบปัญหาต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มิได้อยู่อย่างโดด แต่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ดังนี้

  • 1. ขาดบุคคลากรที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกคนต่างมีงานประจำของตนเอง และไม่ต้องพึ่งพิงเครือข่าย ทำให้ไม่ค่อยมีกิจกรรมและความเคลื่อนไหว

  • 2. ขาดความสามารถในการประสานงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานแบบเครือข่าย รวมทั้งเงินทุนและวิธีการประเมินประสิทธิผลเครือข่าย

  • 3.  มุ่งเน้นความสำเร็จเฉพาะหน้ามากเกินไป จึงขาดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ร่วมกัน

  • 4. ขาดความชัดเจนในกระบวนการทำงานทั้งในระดับลึกและกว้าง และขาดความต่อเนื่อง

  • 5. ขาดแนวร่วมในการทำงาน ปกติจะมีแต่องค์กรประเภทเดียวกันเท่านั้น ควรมีแนวร่วมในระดับกว้างด้วย เช่น นักวิชาการและสื่อต่างๆ

  • 6. ขาดผู้นำที่มีความสามารถและวิสัยทัศน์

  •  
  •  
  • บทบาทของเครือข่ายในงานพัฒนาชุมชน

  •           การรวมตัวกันเป็นเครือข่าย หรือเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มีพลังในการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง หรือเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น เครือข่ายเกี่ยวกับผู้บริโภค เครือข่ายเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร เครือข่ายเหล่านี้เป็นองค์กรชุมชนที่สามารถสร้างพลังต่อรองเพื่อสังคมโดยรวมได้  เพราะผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆย่อมจะรับฟังเสียงของคนหมู่มากที่โยงกันได้

  •           เครือข่ายองค์กรชุมชนในประเทศไทย ประสานงานโดยองค์กรพัฒนาเอกชน และภาครัฐ  ที่ได้ดำเนินการมานาน และเป็นที่รู้กันดีคือ  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย (กพ.อพช.)  ถือว่าเป็นเครือข่ายขององค์กรพัฒนาเอกชนไทย  นอกนั้นยังมีอยู่อีกหลายเครือข่าย และมีบทบาทสำคัญดังนี้

  • ·       แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ สื่อ อุปกรณ์
  • ·       ประสานงานทำให้ไม่ซ้ำซ้อน หรือแข่งขันกันเอง ทำงานเร็วขึ้น มีผลกระทบวงกว้างขึ้น
  • ·       เครือข่ายเชื่อมคนต่างระดับ ต่างภูมิหลัง ต่างองค์กร ซึ่งหากไม่มีเครือข่ายก็จะไม่มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (คนทำงานนโยบาย ผู้บริหาร ชาวนา เอ็นจีโอ นักวิจัย อาจารย์ ข้าราชการ)
  • ·       ช่วยให้คนร่วมมือ ให้กำลังใจ ช่วยเหลือกัน ประสานพลังเป็นหนึ่งในการดำเนินงานจนบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
  •  

  • การรวมตัวขององค์กรชุมชนมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ·       แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ความคิด แนวทาง วิธีการแก้ปัญหา ทักษะความชำนาญ แบ่งปันทรัพยากร ผลผลิต เครื่องมือ
  • ·       ร่วมกันคิด ร่วมกันทำกิจกรรมต่อเนื่องสม่ำเสมอ บางอย่างเป็นครั้งคราว บางอย่างลงทุนลงแรงลงขันร่วมกัน
  • ·       ช่วยกันแก้ไขปัญหา ให้กำลังใจ รวมพลังสามัคคี
  • ·       สร้างระบบการผลิต การจัดการ การตลาด แลกเปลี่ยนสินค้า พัฒนาวิสาหกิจ และระบบเศรษฐกิจชุมชน
  •  
  • ความยั่งยืนของเครือข่าย

  •  

  • เมื่อจุดประสงค์ของการตั้งเครือข่ายก็เพื่อดำเนินกิจกรรม เมื่อกิจกรรมลุล่วง เครือข่ายก็น่าจะสลายตัวไป ในทางปฏิบัติ มีทั้งเครือข่ายที่สลายตัวไปเมื่องานสำเร็จ และเครือข่ายที่สลายตัวไปเพราะไม่มีกิจกรรม

  • เครือข่ายองค์กรชุมชนจะเติบโตและยั่งยืนได้ หาก “ชุมชนเป็นเจ้าของ” เครือข่าย ผู้นำชุมชนเป็นแกนนำและเป็นหลักสำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม เป็นตัวประสาน เป็นผู้เสริมให้เครือข่ายเข้มแข็ง เครือข่ายองค์กรชุมชนเป็น “สมบัติ” ของชุมชนพวกเขาเป็นตัวของตัวเองไม่ใช่สมบัติของหน่วยงานใด

  • เครือข่ายที่เติบโตและยั่งยืนจะมี วัฒนธรรมเครือข่าย ซึ่งจัดความสัมพันธ์แนวราบ เคารพให้เกียรติกัน ไม่ใช่จัดองค์กรแบบเจ้านาย หัวหน้าลูกน้อง แต่ “เป็นพี่เป็นน้อง” สัมพันธ์กันด้วยใจ ด้วยจิตวิญญาณ ไม่ใช่ด้วยผลประโยชน์

  • ·       มีการพบปะ ไปมาหาสู่ สื่อสารกันเป็นประจำ
  • ·       มีเป้าหมายชัดเจนร่วมกันทุกฝ่าย เช่น การพึ่งตนเอง
  • ·       มีแผนงานและกิจกรรมร่วมกัน เช่น วิสาหกิจชุมชน
  • ·       มีกลุ่มแกนนำ ทำหน้าที่นำและประสานด้วยความมุ่งมั่น
  • ·       ร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ใช่แข่งขันกัน
  • บทสรุป
  •      การดำรงรักษาและการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมนี้  จะต้องขึ้นอยู่กับ คนแม้ธรรมชาตินั้นมีความเชื่อมโยงกันตามวิถีทางและลงตัวของมัน  แต่คนก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เกิดการเสียสมดุล  เช่น เรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมกันอย่างมโหฬารทั่วโลก  ฉะนั้นเครือข่ายทางสังคมนี้  เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของคน  และเรื่องของคนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การพิจารณาองค์ความรู้ที่นำเสนอนี้จึงไม่ควรจะมองแบบแยกส่วน  แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุและปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน  หากเครือข่ายทางสังคมจะบริหารจัดการให้เป็นไปตามธรรมชาติ  พึ่งพาอาศัยกัน  เกื้อหนุนกันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด  มีพลังอย่างสร้างสรรค์  เป็นภาพของความร่วมมือที่สวยงามยิ่ง
หมายเลขบันทึก: 162766เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ คุณพี่TAFS

* มายกมือ เห็นด้วยเต็มที่ค่ะ กับหลักการข้างต้น

* เพื่อนำไปสู่ มิตรภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ อย่างยั่งยืน ในที่สุดค่ะ

มีพันธสัญญาที่หนักแน่นระหว่างกัน (Commitment)

  • l          มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา (Continuous improvement)

  • l          มีพันธกรณีระยะยาว (Long-term Commitment)

  • l          การเสริมพลัง (Empowerment)

  • l          สร้างค่านิยมร่วมกัน (Shared value)

  • l          มีภาวะผู้นำ (Leadership)

  • ...

  • * เพื่อนำไปสู่ มิตรภาพ (Friendship)

  • สันติภาพ (Peace)

  • และภราดรภาพ (Fraternity)

  • อย่างยั่งยืน ได้ในที่สุด ขอบคุณค่ะ

  • เหมือนจะหายไปนานนะครับ อิอิๆๆ มาทักทายในฐานะโดนพาดพิง อิอิๆๆ

    มาสมัครเป็นเครือข่ายสุพรรณบุรี อิอิๆๆๆๆๆๆๆ

    ตั้งใจอ่านดี ๆ แล้วเอาไปแบ่งปัน นำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งครับ

    ตามมาอำเภอสตึกเสียดีๆๆ บ้านพ่อครูบาครับ..

    สบายดีนะคะ คุณTAFS

    * งานยุ่งไหมคะ

    * ระลึกถึงค่ะ

    * เป็นกำลังใจกับการงาน และชีวิตค่ะ

    สวัสดีครับน้อง poo

    ช่วงนี้ ไม่ได้ป้อนข้อมูลสู่โกทูโน เลย

    ขอบคุณ

    ขอให้โชคดีมีสุข

    แล้วจะกลับมาเร็วๆนี้

    สวัสดีค่ะคุณพี่แท๊ป

    สบายดีไหมคะ

    หายไป นานนนน นาน นะคะ

    ปู กลับมาก่อนแล้ว

    รีบมาไวๆ เด้อ

    งานยุง ยุ่ง เหมือนยุง ตีกัน ใช่ไหมคะ

    เป็นกำลังใจค่ะ

     

    OK.

    กลับมาแล้ว จะมากวนพวกท่านทั้งหลาย้เด้อ

    ไปเปิดไฮไฟครับที่ thaiasianfriendship.hi5.com

    เอารูปลงง่ายดี ผมไม่เก่งในเทคนิคคอมเลยยาก

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท